Friday, 4 April 2025
โปแลนด์

‘ธรรมศาสตร์’ แจง!! ยุตินำเข้า ‘โมเดอร์นา’ ล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดส จากโปแลนด์

เพจโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของความพยายามจัดหาวัคซีนทางเลือก ว่า…

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ทำ MOU กับเอกชนหลายกลุ่มในการจัดหาวัคซีน ทั้งโมเดอร์นา ไฟเซอร์ และวัคซีนชนิด Protein Based ซึ่งค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง และค่าประกันภัยเป็นของเอกชน โดย มธ.จะขอรับบริจาควัคซีนในสัดส่วนไม่เกิน 10% มาให้บริการฟรีแก่ประชาชนผู้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ วัคซีนนอกเหนือจากนั้น ให้เอกชนสามารถนำไปให้บริการโดยคิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประสงค์จะรับวัคซีนได้

สำหรับการประสานขอรับบริจาค #วัคซีนโมเดอร์นา ซึ่งยังมีอายุใช้งานได้ถึงเดือน เม.ย. 65 จำนวน 1.5 ล้านโดส ผู้แทนที่ มธ. มอบหมายได้ติดต่อประสานกันกับสำนักงานสำรองทางยุทธศาสตร์ของโปแลนด์ ซึ่งได้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรในนามของหน่วยงานมายัง มธ. โดยตรง เพื่อที่จะบริจาควัคซีนดังกล่าว 

กระทรวงการต่างประเทศ ตบหน้า 'รพ.ธรรมศาสตร์' แจงดีล Moderna ล่ม เหตุโปแลนด์ไม่ให้เอาไปขาย

กระทรวงการต่างประเทศ แจงเหตุ ดีลบริจาควัคซีน Moderna จากโปแลนด์ล่ม เพราะรพ.ธรรมศาสตร์ จะขอรับวัคซีน 1 ใน 3 ส่วนอีก 2 ใน 3 ให้เอกชนที่เป็นหุ้นส่วนนำไปจำหน่ายให้ผู้สนใจ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งโปแลนด์แจ้งว่าไม่อนุญาตให้นำวัคซีนที่ได้รับบริจาคไปขาย

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ ออกคำชี้แจง หลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ อ้างว่ากระทรวงการต่างประเทศ ไม่ทำหนังสือยืนยันตัวตนให้ รพ.ธรรมศาสตร์ในการขอรับบริจาควัคซีน Moderna ซึ่งยังมีอายุใช้งานได้ถึงเดือนเมษายน 2565 จำนวน 1.5 ล้านโดส จากประเทศโปแลนด์ เป็นเหตุให้ต้องยุติการขอรับบริจาคลง โดยระบุว่า…

ตามที่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เฟซบุ๊กโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ได้ลงข้อความพาดพิงถึงการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอรับบริจาควัคซีนโมเดอร์นาจากสำนักงานสำรองทางยุทธศาสตร์ของโปแลนด์ จำนวน 1.5 ล้านโดส โดยระบุว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกจดหมายยืนยันว่า รัฐบาลไทยยินดีรับบริจาควัคซีนดังกล่าว เนื่องจากหน่วยงานผู้บริจาคประสงค์ให้รัฐบาลไทย โดยหน่วยงานภาครัฐที่มีสถานะเป็นผู้แทนรัฐบาล แจ้งเจตนาจะรับบริจาค แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่ออกหนังสือดังกล่าวให้ ทำให้การบริจาควัคซีนดังกล่าวต้องยกเลิกไปนั้น

กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจงดังนี้ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แจ้งกระทรวงการต่างประเทศว่า ในการรับบริจาควัคซีนจากโปแลนด์ครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงจะรับวัคซีนจำนวน 1 ใน 3 ของวัคซีนที่ได้รับบริจาคไว้เอง เพื่อให้บริการประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และจะมอบวัคซีนที่ได้รับบริจาคมาอีก 2 ใน 3 ให้เอกชนที่เป็นหุ้นส่วน เพื่อนำไปจำหน่ายให้ผู้สนใจ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

กระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์แล้ว ได้รับแจ้งว่าไม่อนุญาตให้นำวัคซีนที่ได้รับบริจาคไปขาย และฝ่ายไทยต้องได้รับ market authorization จากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาด้วย ซึ่งทั้งสองประเด็นเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไปของการบริจาควัคซีนและเวชภัณฑ์ระหว่างประเทศ และไม่สามารถเจรจาต่อรองเป็นอื่นได้

โยนเผือกร้อน! 'ยูเครน' อ้าง 'สหรัฐฯ' ไม่ขวาง 'โปแลนด์' หากส่งมอบเครื่องบินรบช่วยยูเครนสู้รัสเซีย

ยูเครนระบุว่าสหรัฐฯไม่คัดค้านการส่งมอบฝูงบินรบให้แก่เคียฟ เพื่อช่วยขจัดการรุกรานของรัสเซีย หลังจากก่อนหน้านี้เพนตากอนปฏิเสธข้อเสนอหนึ่งจากโปแลนด์ ที่จะส่งมอบเครื่องบินรบแก่เคียฟผ่านฐานทัพอากาศอเมริกาในเยอรมนี

ดมรีโทร คูเลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงความคิดเห็นกับเอเอฟพีว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ในวอชิงตัน "ไม่คัดค้านการส่งมอบเครื่องบิน ตราบใดที่เราสามารถหาข้อสรุป ตอนนี้มันขึ้นอยู่กับฝั่งโปแลนด์ เราจะดูเรื่องนี้เพิ่มเติม ในการสนทนากับสหายโปแลนด์"

ความคิดเห็นของ คูเลบา มีขึ้นไม่นานหลังจากเขาร่วมประชุมหนึ่งในโปแลนด์ ซึ่งมี โอเลคซี เรซนิคอฟ รัฐมตรีกลาโหมยูเครนและประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ เข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ ไบเดน เดินทางเยือนโปแลนด์ ชาติสมาชิกนาโต เพื่อยกระดับการสนับสนุนของสหรัฐฯที่มีต่อประเทศแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวชายแดนติดกับยูเครน

โปแลนด์เคยระบุว่าพวกเขาสนับสนุนแผนๆหนึ่ง ซึ่งโปแลนด์จะส่งฝูงบินรบ MiG-29 ยุคสมัยสหภาพโซเวียต ผ่านฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ ในเยอรมนี

อย่างไรก็ตามเมื่อช่วงต้นเดือน เพนตากอนได้ข้อสรุปปฏิเสธข้อเสนอของโปแลนด์ โดยบอกว่า "มันเสี่ยงเกินไป" ในแผนส่งเครื่องบินรบจากโปแลนด์ไปยังยูเครน เพื่อต่อสู้กับกองกำลังรัสเซีย ดับความหวังของยูเครนในความพยายามควานหาพลานุภาพบนท้องฟ้าเพิ่มเติม

'โปแลนด์' โวย 'ฝรั่งเศส-เยอรมนี' ใกล้ชิดรัสเซียเกินไป แถมล้มเหลวหนุนอาวุธยูเครน-ไม่คว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย

สำนักข่าว AFP รายงาน รัฐบาลวอร์ซอได้กล่าวหารัฐบาลปารีส-รัฐบาลเบอร์ลิน ว่าใกล้ชิดกับรัฐบาลมอสโกมากเกินไป

โดยรองนายกรัฐมนตรีของโปแลนด์ กล่าวหาถึงท่าทีของฝรั่งเศสและเยอรมนีว่า มีความใกล้ชิดรัสเซียมากเกินไปในการให้สัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะที่เขาประณามพฤติกรรมของรัฐบาลเบอร์ลินที่มีต่อรัฐบาลมอสโกก่อนการรุกรานยูเครนด้วย

"เยอรมนีก็เหมือนกับฝรั่งเศส ที่มีอคติอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนมอสโก” ยาโรสลอว์ คาซินสกี้ ซึ่งเป็นผู้นำพรรคกฎหมายและความยุติธรรม (PiS) บอกกับหนังสือพิมพ์รายวันของเยอรมัน Die Welt ในการให้สัมภาษณ์ โดยเขาบนเข็มต่อว่าไปทางรัฐบาลเบอร์ลินหนักกว่ารัฐบาลปารีสค่อนข้างมากอีกด้วยว่า...

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนรัฐบาลเยอรมันจะไม่ต้องการเห็นสิ่งที่รัสเซียกำลังทำสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน แต่เราเห็นผลลัพธ์ที่จริงแล้วในวันนี้” คาซินสกี้ กล่าว

“โปแลนด์ไม่พอใจกับบทบาทของเยอรมนีในยุโรป” เขากล่าวเสริม พร้อมตำหนิเบอร์ลิน ที่พยายามเดินตามรอยสิ่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีออตโต ฟอน บิสมาร์ก เคยทำมาในศตวรรษที่ 19 นั่นคือ "พลังอำนาจของเยอรมันที่มีรัสเซียคอยเคียงข้าง"

(ทั้งนี้ ในยุคของบิสมาร์กเยอรมนีได้กลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปและของโลกและสามารถถ่วงดุลอำนาจในยุโรป ด้วยการไม่ทำตัวเป็นศัตรูกับรัสเซีย เพื่อให้เยอรมนีสามารถต่อกรกับภัยคุกคามจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้) 
 

‘โปแลนด์’ ประกาศหยุดส่งอาวุธให้ยูเครน เหตุจากปมพิพาทเรื่องการค้าธัญพืช

(21 ก.ย. 66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รัฐบาลโปแลนด์ตัดสินใจประกาศหยุดจัดส่งอาวุธให้แก่ยูเครนแล้ว สาเหตุเกิดจากปมข้อพิพาทเกี่ยวกับการค้าธัญพืช ทำให้โปแลนด์และยูเครนเริ่มเข้าสู่ความตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ

อีกทั้งรัฐบาลโปแลนด์ไม่พอใจถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ที่กล่าวระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก ว่า มีบางประเทศในยุโรปแสร้งทำเป็นสมานฉันท์กับยูเครน

‘เกษตรกรโปแลนด์’ รวมตัวเททิ้ง ‘ธัญพืชจากยูเครน’ ประท้วงนโยบายเกษตรของ EU-ต่อต้านสินค้ายูเครน

นับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน โปแลนด์นับเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดชาติหนึ่งของยูเครน ทว่าตั้งแต่กลางปีที่แล้วความขัดแย้งได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน ตอนนี้ยูเครนมีความโกรธแค้นอย่างมาก เกี่ยวกับการประท้วงของเกษตรกรชาวโปแลนด์ที่พากันเททิ้งธัญพืชของยูเครนจากรถบรรทุกลงบนพื้นบริเวณจุดผ่านแดน 

อันเดร ซาดอฟวี นายกเทศมนตรีเมืองลาวีฟ ทางตะวันตกของยูเครน โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์ม Telegram เมื่อวันจันทร์ว่า นี่เป็นเรื่องเลวร้ายและน่าละอาย “ชาวยูเครนต้องรดน้ำไร่นาที่เมล็ดพืชเหล่านี้เติบโตมาพร้อมกับเลือดของพวกเขา การเก็บเกี่ยวข้าวสาลีในท้องทุ่งที่เกิดสงครามก็เหมือนกับคนเก็บกวาดกับระเบิด” ซาดอฟวียังเรียกเกษตรชาวโปแลนด์ว่าเป็น “พวกยั่วยุที่เข้าข้างฝ่ายรัสเซีย”

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา คลิปวิดีโอจากสมาคมเกษตรกรโปแลนด์ได้แสดงให้เห็นภาพผู้ประท้วงเปิดประตูท้ายรถบรรทุกของยูเครน 3 คันเพื่อเททิ้งสินค้าธัญพืชลงไปกองบนพื้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในดินแดนโปแลนด์ที่บริเวณจุดผ่านแดนโดโรฮุสค์ 

วาสซิล สวาริตช์ เอกอัครราชทูตยูเครนประจำกรุงวอร์ซอ เรียกร้องให้ทางการโปแลนด์เข้าแทรกแซงเพื่อหยุดการกระทำที่ยั่วยุดังกล่าว ตำรวจโปแลนด์ในเมืองเชล์มสั่งให้มีการสอบสวนเรื่องดังกล่าวแล้ว

ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เกษตรกรชาวโปแลนด์ได้ออกมาประท้วงทั่วประเทศ ต่อต้านนโยบายการเกษตรของสหภาพยุโรป แต่ก็ต่อต้านการนำเข้าสินค้าเกษตรราคาถูกจากยูเครนด้วย และมีการปิดการจราจรที่จุดผ่านแดน 3 แห่งอีกครั้งเมื่อวันจันทร์ 

อันเดร เดมเชงโก โฆษกหน่วยรักษาชายแดนยูเครนกล่าว ผู้ประท้วงชาวโปแลนด์ปล่อยให้รถบรรทุกผ่านแดนได้เพียง 1-3 คันต่อชั่วโมงเท่านั้น และอนุญาตให้ผ่านเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคล รถประจำทาง รถบรรทุกขนาดเล็ก รวมถึงรถบรรทุกสิ่งของด้านมนุษยธรรม

ทางฝั่งของโปแลนด์มีรถบรรทุกประมาณ 1,200 คันจอดรถเข้าคิวเพื่อข้ามชายแดนไปยังฝั่งยูเครน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาการประท้วงของเกษตรกรและบริษัทขนส่งของโปแลนด์ทำให้การทำงานที่จุดผ่านแดนยากขึ้น

‘นักวิทย์โปแลนด์’ พบโครงกระดูกถูกโซ่คล้องเท้า-คอตรึงวิญญาณ ตำนานท้องถิ่นชี้อาจเป็น 1 ใน 10 คนที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็น 'แวมไพร์'

(1 พ.ย. 67) ทีมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศโปแลนด์พบโครงกระดูกไร้ชื่อที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ถูกฝังไว้ในสุสานแห่งหนึ่งในเมือง Pien ทางตอนเหนือของประเทศโปแลนด์ โดยข้ออิงจากหลักฐานตำนานท้องถิ่นเชื่อว่า อาจเป็น 1 ใน 10 คนที่ชาวบ้านยุคนั้นเชื่อว่าอาจจะเป็น 'แวมไพร์'

รายงานระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ ได้ใช้วิธีการสแกนโครงการดูกเพื่อสร้างรูปแบบจำลอง 3 มิติ  เผยให้เห็นสภาพโครงกระดูกอายุ 400 ปีที่ถูกล่ามไว้ด้วยโซ่ตรวนที่บริเวณคอและข้อเท้า 

ออสการ์ นิลส์สัน หัวหน้านักโบราณคดีชาวสวีเดนกล่าวว่า "เป็นเรื่องน่าตลกที่จากสภาพศพของเธอเชื่อว่า มีผู้คนพยายามฝังเธอพร้อมสะกดวิญญาณไม่ให้ฟื้นจากความตาย ... แต่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันเราพยายามสร้างภาพจำลองของเธอเหมือนกับปลุกให้เธอคืนชีพอีกครั้ง"

ทีมนักโบราณคดีตั้งชื่อโครงกระดูกนี้ว่า Zosia เธอถูกขุดค้นเมื่อปี 2022 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Nicolaus Copernicus ในเมือง Torun 

จากการสันนิษฐานคาดว่าเธออาจเสียชีวิตช่วงวัย 18-20 ปี โดยจากการวิเคราะห์กะโหลกศีรษะชี้ให้เห็นเธอมีอาการเจ็บป่วยบางอย่าง ซึ่งอาจทำให้เป็นลมและปวดศีรษะรุนแรง รวมถึงอาจมีปัญหาสุขภาพจิตด้วย นิลส์สันกล่าว 

Zosia ถูกฝังพร้อมกับ เคียว, กุญแจล็อค และไม้บางชนิดที่พบในหลุมศพในสมัยนั้นที่มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันแวมไพร์ ตามที่ทีมวิจัยของนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสกล่าว ซึ่งในบริเวณสุสานเดียวกันยังพบศพเด็กที่ถูกฝังคว่ำหน้าพร้อมใส่กุญแจที่ข้อมือและเท้าไว้เช่นกัน 

ทั้งนี้ ในช่วงยุคกลางของยุโรปมักมีความเชื่อว่าสตรีบางคนอาจเป็นแม่มด จากรูปลักษณะของใบหน้าที่มีจมูกแหลม หรือใบหน้าที่เรียวเล็กผิดปกติ ขณะเดียวกันสตรีที่มีพฤติกรรมผิดปกติทางจิตก็อาจถูกมองว่าเป็นแวมไพร์เช่นกัน

ปธน.โปแลนด์ เผยต้องการนิวเคลียร์จากสหรัฐฯ เพื่อป้องกันการรุกรานจากรัสเซียในยุโรปตะวันออก

(14 มี.ค. 68) ประธานาธิบดีอันด์แชย์ ดูดา ของโปแลนด์ได้ออกมาเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาส่งอาวุธนิวเคลียร์เข้าประจำการในดินแดนโปแลนด์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและเป็นเครื่องมือในการป้องปรามการรุกรานจากรัสเซียในอนาคต ซึ่งคำเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่โปแลนด์ยังคงเผชิญกับความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการรุกรานของรัสเซียในภูมิภาคยุโรปตะวันออก

ในคำแถลงของเขาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (12 มี.ค. 68) ประธานาธิบดีดูดาได้กล่าวว่า โปแลนด์จำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งทางทหารในฐานะสมาชิกขององค์การนาโต้ (NATO) โดยการมีอาวุธนิวเคลียร์ในดินแดนของตนจะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงการป้องปรามและเพิ่มความมั่นคงให้กับทั้งโปแลนด์และพันธมิตรในภูมิภาค

การเรียกร้องของประธานาธิบดีโปแลนด์มีขึ้นหลังจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงหลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ซึ่งทำให้หลายประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ รู้สึกถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และต้องการเพิ่มความเข้มแข็งด้านการป้องกันประเทศ

แม้ว่าการประจำการของอาวุธนิวเคลียร์ในโปแลนด์จะเป็นการกระทำที่อาจกระตุ้นความตึงเครียดกับรัสเซีย แต่ประธานาธิบดีดูดาก็ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการป้องกันประเทศในระยะยาว และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค

การเรียกร้องของโปแลนด์ได้รับการสนับสนุนจากบางประเทศในนาโต้ แต่ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้และผลกระทบทางการเมืองจากการที่สหรัฐอเมริกาจะยอมรับคำขอนี้หรือไม่

นอกจากนี้ อันด์แชย์ ดูดา แห่งโปแลนด์ได้แสดงความยินดีต้อนรับข้อเสนอของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ที่จะขยายขอบเขตการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของฝรั่งเศสไปยังประเทศสมาชิกนาโต้ (NATO) อื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในยุโรป โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกของยุโรปที่มีความตึงเครียดจากการรุกรานของรัสเซีย

ทั้งนี้ การขยายขอบเขตของอาวุธนิวเคลียร์ฝรั่งเศสอาจกลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในกลุ่มนาโต้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญกับความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารระหว่างประเทศมหาอำนาจต่างๆ การตัดสินใจในการขยายอาวุธนิวเคลียร์จะต้องพิจารณาผลกระทบทั้งในด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศ

ผลสำรวจชี้ ชาวโปแลนด์กว่าครึ่งไม่ต้องการเข้าร่วมการฝึกทหารอดีตหน่วยรบพิเศษ GROM ผิดหวัง เตือนควรตื่นตัวมากกว่านี้

(26 มี.ค. 68) ผลสำรวจโดย Opinia24 สำหรับสถานีวิทยุ RMF FM เผยให้เห็นว่า ประชาชนโปแลนด์มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับโครงการฝึกทหารของรัฐบาล โดยมีเพียง 35% เท่านั้นที่พร้อมเข้าร่วมการฝึกโดยสมัครใจ ขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากร (54%) ไม่ต้องการเข้าร่วม

สำหรับรายละเอียดของผลสำรวจพบว่า 14% ของผู้ตอบแบบสอบถาม “พร้อมอย่างแน่นอน” 21% “ค่อนข้างพร้อม” 21% “ค่อนข้างไม่พร้อม” 33% “ไม่พร้อมอย่างแน่นอน” และอีก 12% ระบุว่า "ไม่ทราบ/ยากที่จะตอบ" 

โดยโครงการฝึกอบรมทางทหารดังกล่าวเป็นนโยบายที่นายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสก์ (Donald Tusk) ประกาศเมื่อต้นเดือนมีนาคม กำหนดให้ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนต้องเข้ารับการฝึก ขณะที่ผู้หญิงสามารถเข้าร่วมได้โดยสมัครใจ

ด้าน พาเวล มาเตนชุก (Paweł Mateńczuk) อดีตทหารจากหน่วยรบพิเศษ GROM และปัจจุบันเป็นผู้แทนกระทรวงกลาโหมด้านเงื่อนไขการรับราชการทหาร ได้แสดงความผิดหวังต่อผลสำรวจดังกล่าว โดยเขาระบุว่า

“ผมมั่นใจในกองทัพโปแลนด์ในฐานะสถาบันที่พัฒนาตัวเองเพื่อปฏิบัติภารกิจปกป้องประเทศของเรา (แต่ผมรู้สึกเศร้าเมื่อเห็นสถิติเหล่านี้ เพราะผมคิดว่าเมื่อมีโอกาสในการฝึกทหาร และเรามีพรมแดนติดกับประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม สังคมของเราควรมีความกระตือรือร้นมากกว่านี้”

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงกระแสต่อต้านจากประชาชนจำนวนมาก ซึ่งอาจมาจากความกังวลเกี่ยวกับภาระหน้าที่ ความเสี่ยง และมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับนโยบายด้านกลาโหมของรัฐบาล

ขณะที่รัฐบาลยังไม่ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับกระแสต่อต้านจากประชาชน การสำรวจนี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อแนวทางการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงในอนาคต


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top