Monday, 20 May 2024
โจรไซเบอร์

เตือนภัย!วาเลนไทน์ ‘โจรไซเบอร์’สวมรอย‘สาวสวย’ตุ๋นลงทุนเว็บปลอม

'รองฯรอย-ผู้ช่วยฯสมพงษ์' นำทีม ศปอส.ตร.-สอท. แจ้งเตือนประชาชนช่วง ‘วาเลนไทน์’ ระวังเจอ ‘โจรไซเบอร์’ สวมรอย ‘สาวสวย’ ตุ๋นลงทุนเว็บปลอม แนะวิธีตรวจสอบสกัดตกเป็นเหยื่อ 

13 กุมภาพันธ์ 2566 พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) , พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) หัวหน้าอำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) , พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบช.สพฐ./หัวหน้าด้านข่าวสารและประชาสัมพันธ์ , พล.ต.ต.อรุษ แสงจันทร์ รอง ผบช.ศปก.ตร./หัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ศปอส.ตร. , พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ ศปอส.ตร. และ พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง ผบก./รองหัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ร่วมกันเปิดเผยว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนหลายรูปแบบ ล่าสุดในช่วงเทศาลวาเลนไทน์จะมีการหลอกลวงในลักษณะโรแมนซ์สแกม ซึ่ง ศปอส.ตร. และ บช.สอท. ขอเตือนภัยให้กับประชาชน โดยเฉพาะการ “หลอกเป็นสาวสวย ชักชวนลงทุนกับเว็บปลอม exness” 

อย่าหลงเชื่อ!! ‘โจรไซเบอร์’ อาละวาด!! ปั่นข่าวปลอมอ้างชื่อสถาบันการเงิน ‘ออมสิน’ เจอศึกหนัก ทั้งหลอกลงทุน-ปล่อยเงินกู้

‘กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม’ เผยตัวเลข‘ข่าวปลอม’สัปดาห์ล่าสุด ประชาชนแห่สนใจเรื่องการลงทุนและการปล่อยกู้วงเงินสูง-ดอกเบี้ยต่ำ หลังมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นสถาบันการเงิน โดยเฉพาะ‘ธนาคารออมสิน’ และหน่วยงานด้านการลงทุนอื่นๆ ขณะที่ข่าวปลอม‘กรมการขนส่งทางบก’รับต่ออายุใบขับขี่ และทำใบขับขี่เร่งด่วนผ่านไลน์ ทำก่อนจ่ายทีหลัง ขึ้นแท่นข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด เตือนประชาชนต้องมีสติ ตรวจสอบข้อมูลให้ครบทุกด้านอย่าหลงเชื่อจนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

(12 มี.ค. 66) นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประจำวันที่ 3 - 9 มีนาคม 2566  พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,207,100 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 210 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 180 ข้อความ ข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 29 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Facebook จำนวน 1 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 127 เรื่อง

ทั้งนี้ ดีอีเอส ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดีและความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 49 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 44 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 11 เรื่อง
กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 23 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิด-19 จำนวน 3 เรื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลเชิงลึก (Insight) ยังพบข้อน่าเป็นห่วงและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีการกระจายข่าวปลอมเกี่ยวกับการเงินเป็นส่วนใหญ่ ทั้งเรื่องการปล่อยสินเชื่อ การให้เงินกู้ หรือชักชวนลงทุน โดยอ้างชื่อสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคข่าวสารออนไลน์อย่างมาก รวมทั้งการแอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการ ทั้งประกันสังคม ส่งข้อความให้ประชาชน ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาโควิด และกรมการขนส่งทางบกรับต่ออายุใบขับขี่ และทำใบขับขี่เร่งด่วนผ่านไลน์ ทำก่อนจ่ายทีหลัง

สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 3 - 9 มีนาคม 2566 ดังนี้
อันดับที่ 1 เรื่อง เพจ Asaia money ของธนาคารออมสิน ปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่
อันดับที่ 2 เรื่อง ออมสินให้เงินทุน เปิดให้กู้สินเชื่อประชาชนสุขใจ ง่าย ๆ ผ่านมือถือ
อันดับที่ 3 เรื่อง เพจเฟซบุ๊กชื่อ “สินเชื่อ ออมสินประกันสังคม” เปิดให้กู้สินเชื่อสวัสดิการ ไม่ต้องมีคนค้ำ วงเงินสูงอันดับที่ 4 เรื่อง เพจเฟซบุ๊กรับต่ออายุใบขับขี่ ผ่านการรับรองโดยกรมการขนส่งทางบก

‘บิ๊กอู๊ด-ศปอส.ตร.’ย้ำกฎหมายใหม่ฟาดแก๊งโจรไซเบอร์ ตกเป็นเหยื่อทำอย่างไรได้บ้าง

25 มีนาคม 2566 พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ในฐานะหัวหน้างานบริหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้มีกฎหมายใหม่ออกมาเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ช่วยเหลือในการถูกโกงถูกหลอกลวงของเหล่ามิจฉาชีพ ซึ่งเป็นปัญหารูปแบบใหม่สำหรับอาชญากรรมในสังคมปัจจุบันคืออาชญากรรมทางไซเบอร์หรือทางเทคโนโลยี ซึ่งการหลอกลวงของวิชาชีพได้เปลี่ยนรูปแบบไปไม่ได้เป็นการจี้ ชิง ปล้นซึ่งหน้าแต่อย่างใด แต่เป็นการหลอกลวงทางโทรศัพท์ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในโลกปัจจุบัน

ทั้งนี้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) มีความห่วงใยประชาชน โดยให้เร่งประชาสัมพันธ์กฎหมายคลอดใหม่ช่วยเหลือประชาชนที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงโอนเงินทางมือถือ คือ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่

สำหรับสาระสำคัญคือเมื่อประชาชนถูกฉ้อโกงทางออนไลน์ สามารถโทร.อายัดเงินธนาคารเจ้าของบัญชีม้าได้ทันที รวมทั้งธนาคารตรวจพบการโอนถอนเงินผิดปกติ สามารถอายัดได้เอง โดยไม่ต้องร้องขอ และให้ธนาคารแห่งแรกแจ้งธนาคาร สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจอื่นๆ ต้องอายัดต่อทุกทอด จากนั้นให้ท่านเดินทางไปสถานีตำรวจที่สะดวก เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ ภายใน 72 ชม. เพื่อให้มีการสอบสวน และมีหมายอายัดเงินกับทางธนาคารต่อไป ให้ธนาคารอายัดไว้ 7 วัน เมื่อครบ 7 วัน หากไม่มีหมายอายัดจากพนักงานสอบสวน ให้ธนาคารถอนการอายัดทันที

ทั้งนี้ ผู้เปิดบัญชีม้า ต้องระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน 3 ปี /ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ธุระจัดหา โฆษณา ไขข่าว เพื่อให้มีการ ซื้อ ขาย ให้เช่า ให้ยืม บัญชีม้า ต้องระวางโทษ จำคุก 2-5 ปี และปรับ 2-5 แสนบาท

ธุระจัดหา โฆษณา ไขข่าว เพื่อให้มีการ ซื้อ ขาย เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ผี ต้องระวางโทษ จำคุก 2-5 ปี และปรับ 2-5 แสนบาท


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top