Tuesday, 22 April 2025
แอนิเมชัน

'ผู้กำกับแอนิเมชัน 2475' โต้!! 'จอมไฟเย็น' นักโทษหนีคดีที่ฝรั่งเศส แขวะแบบไร้หลักฐาน หวังให้คนเข้าใจผิดว่า 'หนัง' ได้รับทุนหนุนจากรัฐ

(26 มิ.ย. 67) จากกรณี จอมไฟเย็น ปฏิกษัตริย์นิยม ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า “อะไรที่รับทุนรัฐมันจะมีข้อกำหนดห้ามเอาผลงานไปทำกำไรอยู่นะ - มิตรสหายท่านหนึ่ง - ”

ด้านเพจ ‘2475 Dawn of Revolution’ ก็ได้ออกมาไขข้อกระจ่าง ว่า “หนังหลายเรื่องรับทุนสนับสนุนของรัฐยังเอาไปหารายได้ได้เลยครับ อย่างแอนิเมชันเรื่อง นักรบมนตรา ก็ได้ทุนสนับสนุนส่วนหนึ่ง หนังนเรศวรก็ได้ ประเด็นคือเรื่องพวกนี้มันปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว คุณยังไปหลงเชื่อข้อความอะไรแบบนี้ด้วยเหรอครับ…

“ผมมาทราบเรื่องการขอทุนสนับสนุนหนัง หลังจากที่เปิดตัวแอนิเมชันไปแล้วหนึ่งเดือน เขามีเงื่อนไขเพียง เป็นหนังที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนและพร้อมฉายในรอบปีงบประมาณนั้น…

“สส.มี กมธ.ก็มีนะครับ ขอข้อมูลภาครัฐได้ ถ้าจะกล่าวหาใคร ควรไปค้นหากันครับว่า แอนิเมชันเรื่องนี้ได้งบจากรัฐ หรือใช้เงินภาษีมาทำหรือไม่…

“พวกคุณถนัดแต่พูดลอย ๆ หวังให้คนคิดและเข้าใจไปเองผิด ๆ ต่อไปควรหัดใช้หลักฐานและตรรกะกันบ้างนะครับ”

‘ญี่ปุ่น’ เล็งใช้ AI ‘วาด-แปลภาษา’ ผลงานใน ‘อุตฯ อนิเมะ-มังงะ’ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน-เพิ่มผลิตภาพในเวลาอันรวดเร็ว

(19 ส.ค. 67) นิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) รายงานว่า อุตสาหกรรมแอนิเมชันของญี่ปุ่นกำลังเปิดรับศักยภาพของ Generative AI หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Gen AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อหยุดยั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก แม้จะมีข้อกังวลเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์อยู่มากก็ตาม

โดยเมื่อปีที่ผ่านมา เคแอนด์เคดีไซน์ (K&K Design) เผยว่าใช้ Gen AI ในขั้นตอนการทำงานลงสีและวาดภาพพื้นหลัง ซึ่งสามารถลดเวลาวาดภาพพื้นหลังจากหนึ่งสัปดาห์ลงมาเหลือแค่ห้านาทีได้

ฮิโรชิ คาวาคามิ (Hiroshi Kawakami) ผู้อำนวยการบริษัทเคแอนด์เคดีไซน์ กล่าวว่า จำเป็นต้องทำงานโดยใช้ Gen AI เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานขณะที่ต้องรักษาคุณภาพของการผลิตไว้ด้วย

การเติบโตของสตรีมมิ่งอนิเมะผ่านอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ได้เรียกร้องให้การผลิตมีคุณภาพและความเร็วในมาตรฐานที่สูงมาก และการขาดแคลนแรงงานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ต้องใช้ Gen AI 

ตามข้อมูลจากสมาคมแอนิเมชันญี่ปุ่น (Association of Japanese Animations - AJA) รายงานว่า อุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่น มีมูลค่าตลาดทั่วโลกอยู่ที่ 2.9 ล้านล้านเยนในปี 2022 (ราว 6.78 แสนล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนหน้า 

ถึงแม้อย่างนั้น การขยายตัวของตลาดถูกรั้งไว้ ส่วนหนึ่งเนื่องด้วยค่าจ้างที่ต่ำและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน

ในแบบสำรวจแรงงานอุตสาหกรรมแอนิเมชันโดยสมาคมอนิเมะและภาพยนต์ญี่ปุ่น (Nippon Anime & Film Cultural Association) พบว่า 38% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้ต่อเดือนจากงานที่เกี่ยวกับอนิเมะต่ำกว่า 200,000 เยน (ราว 47,000 บาท) ชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 219 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าเวลาทำงานปกติถึง 1.3 เท่า

การมอบหมายงานบางส่วนให้กับ AI อาจช่วยให้มนุษย์สามารถจดจ่ออยู่กับการวางแผนและการออกแบบตัวละครได้ ซึ่งผลิตภาพที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ขณะที่การเพิ่มความหลากหลายของงานอาจช่วยเสริมการส่งออกไปยังต่างประเทศ

ทั้งนี้ AI ยังช่วยในเรื่องการแปลภาษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำการค้ากับต่างประเทศ ออเร้นจ์ (Orange) สตาร์ตอัป AI ได้พัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการแปลมังงะมากถึง 10 เท่า และได้รับเงินร่วมลงทุนจากกองทุนซึ่งร่วมกับบรรษัทการลงทุนแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Investment Corporation)

ผู้บริหารกองทุนกล่าวเกี่ยวกับการลงทุนในออเร้นจ์ว่า เป็นโครงการที่จะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น

คาดว่าในญี่ปุ่นมีงานมังงะประมาณ 700,000 ชิ้นงาน แต่กลับมีเพียง 14,000 ชิ้นงานเท่านั้นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ออเร้นจ์ยังพิจารณาถึงการขยายบริการไปยังประเทศที่พูดภาษาสเปนและอินเดีย ที่ซึ่งมีผู้อ่านจำนวนมาก

บริษัทผู้ผลิตเว็บตูนเอ็นดอลฟิน (En-dolphin) กำลังพัฒนา Gen AI ที่สามารถสร้างภาพประกอบโดยเรียนรู้จากผลงานของศิลปินมังงะในอดีต ด้วยการมอบสคริปต์หรือภาพร่างคร่าว ๆ ระบบสามารถสร้างผลงานที่มีรูปแบบและองค์ประกอบเหมือนกับผลงานของศิลปินต้นฉบับได้

รัฐบาลยังได้ส่งเสริมให้มีการใช้ AI ในอุตสาหกรรมคอนเทนต์อีกด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry) เผยแพร่แนวทางการปรับใช้ AI ให้กับบริษัทเกมและแอนิเมชัน

แนวทางดังกล่าวระบุว่า Gen AI สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตเนื้อหาได้หลายแง่มุม ซึ่งในอนาคต รัฐบาลจะพิจารณามอบเงินอุดหนุนและการช่วยเหลืออื่น ๆ แก่บริษัทที่ใช้ AI โดยหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยแก้ปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมได้

แต่การพัฒนา AI อย่างรวดเร็วก็มีความเสี่ยงเช่นกัน มีความกังวลว่าผลงานของญี่ปุ่นจะถูกนำไปรวมเข้ากับโมเดล AI ในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจนำไปสู่การเลียนแบบ

อย่างไรก็ตาม ก็มีกลุ่มนักวาดภาพประกอบชาวญี่ปุ่นมากกว่า 10,000 รายชื่อ ได้ออกมาเรียกร้องให้มีข้อกฎหมายปกป้องผู้สร้างสรรค์ผลงานในปีที่ผ่านมา

เปิดตัว!! หนังสือการ์ตูน ‘2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ผู้กำกับ เผย!! อยากให้คนรุ่นใหม่ เข้าใจประวัติศาสตร์มากขึ้น

(9 พ.ย. 67) นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ เปิดตัวหนังสือการ์ตูนต่อยอดแอนิเมชัน เสริมฉากที่ไม่มีในหนัง พิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม ปกแข็งทนทาน บอกเล่าเหตุการณ์ย่อยเรื่องยากให้ง่าย เข้าใจประวัติศาสตร์มากขึ้น ภูมิใจมีเด็ก ป.5 อ่านแล้วรู้เรื่อง สนุกแทบวางไม่ลง เผยมีอีกหลายเรื่องอยากคลี่คลาย ให้เด็กรุ่นหลัง ได้รู้ที่มาที่ไปให้แข็งแรง และหยัดยืนเติบโตได้

"ในระหว่างทำแอนิเมชัน เราเคยคิดเรื่องการดัดแปลงเป็นหนังสือการ์ตูน แต่ภาพยังไม่ค่อยชัดมาก ตอนนั้นคิดแค่ว่าเอาแอนิเมชันให้จบก่อน พอจบแล้วเสียงตอบรับดี เนื้อหาของเรื่องมันได้ บทที่ใส่ไปในเรื่องมันพร้อมที่จะทำ คิดว่าถ้ามันประสบผลสำเร็จ ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเป็นรายได้ให้กับพวกเราด้วย แต่ผมก็ไม่อยากที่จะให้หนังสือมันแพงมาก ผมต้องการให้หนังสือมีคุณค่า ผมจึงทำเป็นปกแข็งและทำสี่สีทั้งเล่ม" นายวิวัธน์ กล่าว

สำหรับการจัดทำหนังสือการ์ตูนดังกล่าว นายวิวัธน์ กล่าวว่า เดิมตั้งเป้าไว้ที่ 3 เดือน สุดท้ายอยู่ที่ 4 เดือน แต่ถือว่าเร็วเมื่อเทียบกับการวาดการ์ตูนใหม่ทั้งหมด หากฉากไหนไม่สมบูรณ์ก็นำมาวาดเพิ่ม แต่ด้วยความที่มีแหล่งวัตถุดิบอยู่แล้ว และได้คุณเก่ง สุทธิ บุญมนัส เป็นคนวาดการ์ตูนและวางโครงเรื่อง ทำให้เล่าเรื่องราวอย่างราบรื่น ออกมาเป็นการ์ตูนแบบญี่ปุ่นที่เด็กๆ ย่อยง่ายและสนใจอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งมาจากการสืบค้นกว่า 3 ปี มาเรียบเรียงใหม่ ถือเป็นการรวมพลังของคนทำแอนิเมชันเพื่อส่งต่องานให้สมบูรณ์

"สิ่งที่ภูมิใจที่สุด คือ เด็กอ่านแล้วรู้เรื่อง อ่านแล้วสนุก อันนี้คือหัวใจสำคัญในการทำประวัติศาสตร์ที่เล่ายาก ๆ เป็นเรื่องที่ตึงเครียด แต่ทำให้เด็กสามารถอ่านแล้วสนุกกับเนื้อหา และได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปด้วยกัน คือคุณทำตำราเรียนมา 1 เล่ม มันมีแต่ข้อความ เด็กมันเบื่อไม่อยากอ่าน แต่พอทำเป็นการ์ตูน เด็กเกิดความสนใจที่จะศึกษาต่อ ผมคิดว่าเราประสบความสำเร็จมาก คุณแม่ส่งรูปมาให้ดูว่าลูกชาย ป.5 นั่งอ่านการ์ตูนโดยที่วางไม่ลง พวกเรารู้สึกหายเหนื่อยในสิ่งที่ทำมา มันได้ประโยชน์จริง ๆ" นายวิวัธน์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยความภาคภูมิใจ

‘น้อง ป.5 - น้อง อ.3’ รีวิวหลังอ่าน ‘2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ สนุกมาก วางไม่ลง!! ได้เรียนรู้ ความจริงในประวัติศาสตร์

(10 พ.ย. 67) รีวิวจาก น้อง ป.5 และน้อง อ.3 ที่ได้อ่าน ‘2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก 

เด็กอ่านแล้วรู้เรื่อง อ่านแล้วสนุก

ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดสร้าง ที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นจริงในประวัติศาสตร์ ให้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้าใจ จะได้ไม่ถูก ‘บิดเบือน’

ระหว่างอ่าน!! มีถามแม่ “กษัตริย์ เป็นคนดีไหม”

ถ้าเป็นคุณ ‘จะตอบคำถามนี้ ของลูกว่าอย่างไร’ 

ส่งข้อความมาคุยกันกับ THE STATES TIMES

คืบหน้า บ.ผู้ผลิต ‘2475 Dawn of Revolution’ ฟ้องประชาไท ปมเสนอข่าวให้คนอ่านเชื่อว่า “รับเงินจากกองทัพบกมาจัดทำแอนิเมชัน”

เมื่อวันที่ (25 มี.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘2475 Dawn of Revolution’ ได้โพสต์ข้อความว่า แจ้งความคืบหน้า กรณี บจก.นาคราพิวัฒน์ ผู้ผลิตแอนิเมชัน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ฟ้อง มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (ประชาไท) คดีหมิ่นประมาทและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากนำเสนอข่าว ให้คนอ่านเชื่อว่า “รับเงินจากกองทัพบกมาจัดทำแอนิเมชัน”

ล่าสุด ศาลอาญารัชดาสั่งประทับรับฟ้อง ชี้คดีมีมูล!

ทีมงานแอนิเมชัน ๒๔๗๕ ขออธิบายเรื่องราวดังนี้ 

หลังจากเราเผยแพร่แอนิเมชันทางออนไลน์ไปในวันที่ 13 มีนาคม 2567 ทางเว็บไซต์ข่าวประชาไท ก็ได้เสนอรายงานข่าวว่า ผู้ผลิตแอนิเมชัน ๒๔๗๕ รับจ้างกองทัพ 11 สัญญาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า แอนิเมชัน ๒๔๗๕ ได้รับการสั่งจ้างจากกองทัพ จนเกิดผลกระทบตามมาสู่ทีมงาน ผู้ร่วมงาน และบริษัทของเราอย่างมาก เราจึงตัดสินใจฟ้อง ประชาไท ผู้บริหารประชาไท และ อินฟลูเอนเซอร์บางรายที่แชร์ข่าวออกไป ทำให้ขยายความเข้าใจผิดในวงกว้าง 

ในวันเบิกความ เรามีหลักฐานคอมเมนท์ของผู้รับสาร ที่อ่านข่าวประชาไทและโพสต์โจมตีแอนิเมชันจำนวนมาก อาทิ "ทหารจ้างทำไอโอ" "เอาภาษีมาอวยกันเอง" หรือ "เอาภาษีประชาชนมาสร้างความแตกแยก" ซึ่งสื่อฯดังกล่าวก็ละเลยที่จะแก้ไขความเข้าใจผิด แต่กลับปล่อยคอมเมนท์เหล่านั้นไว้ในโซเชียลมีเดีย แสดงให้เห็นว่า การนำเสนอข่าวนี้มีส่วนชี้นำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจเช่นนั้นจริงๆ

ล่าสุดวันนี้ 25 มีนาคม 2568 ศาลสั่งประทับรับฟ้อง ชี้คดีมีมูล
และให้เดินหน้า สอบคำให้การ และสืบพยานต่อไป

นี่เป็นเพียงขั้นตอนแรกของกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น การต่อสู้คดียังอีกยาวไกล หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดี ทีมงาน ๒๔๗๕ จะนำมาเสนอทุกท่านในโอกาสต่อไป

สำหรับคดีดังกล่าว บริษัท นาคราพิวัฒน์ จำกัด ซึ่งมี วิวัธน์ จิโรจน์กุล กรรมการผู้มีอำนาจ และผู้กำกับภาพยนตร์การ์ตูนประวัติศาสตร์ “2475 Dawn of Revolution” เป็นโจทก์ฟ้อง มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน จำเลยที่ 1, เกษม ศิริสัมพันธ์ จำเลยที่ 2 และ เทวฤทธิ์ มณีฉาย อดีตบรรณาธิการบริหารประชาไท จำเลยที่ 3 และฟ้องบุคคลทั่วไปที่แชร์ข่าวอีก 3 รายเป็นจำเลยที่ 4,5 และ 6
ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 มาตรา 14(1) และ (5) จากการนำเสนอข่าว “พบเจ้าของแอนิเมชัน '2475 Dawn of Revolution' รับโครงการทำสื่อแบบวิธีเฉพาะเจาะจง 'กองทัพบก' 11 สัญญา” เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top