Sunday, 20 April 2025
แม่ทัพภาคที่2

แม่ทัพภาคที่ 2 ตรวจเยี่ยมหน่วยป้องกันชายแดน อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 พลโทสวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาคที่ 2 เดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วยในพื้นที่ชายแดนแม่น้ำโขง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พลตรี วีระยุทธ รักศิลป์ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี และ ผู้บังคับหน่วยในพื้นที่ให้การต้อนรับ และร่วมปฏิบัติภารกิจ 

แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฎิบัติงานใน พื้นที่รับผิดชอบกองกำลังสุรนารี เน้นย้ำเฝ้าระวังป้องกันชายแดนทุกด้าน

(8 ต.ค. 67) ที่ กองบัญชาการกองกำลังสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พลโท บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมคณะ เดินทางเข้าตรวจเยี่ยม และรับฟังบรรยายสรุปการปฏิบัติงานในพื้นที่กองกำลังสุรนารี โดยมี พลตรี ไชยนคร กิจคณะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 พันเอก จิรัฏ  ช่วงฉ่ำ , พันเอก บุญเสริม  บุญบำรุง รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้กองกำลังสุรนารี มีภารกิจในการป้องกันชายแดนในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน ตามพันธกิจ 5 ประการ ของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก โดยที่ผ่านมาได้ฝึกเตรียมความพร้อมให้กับกำลังพลทุกด้าน และทำการเฝ้าตรวจตามแนวชายแดนตลอดเวลา โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา และแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน

ทั้งนี้ พลโท บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ได้เน้นย้ำ การป้องกันชายแดน เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และการหลบหนีเข้าเมือง โดยให้มีการประสานความร่วมมือ หน่วยงานต่างไป และกองกำลังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ และเป็นการร่วมมือในการป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารในพื้นที่เฝ้าระวังป้องกันจนนำไปสู่การปฏิบัติด้านยุทธการต่อไป

ปุรุศักดิ์  แสนกล้า  ข่าว/ภาพ

(บุรีรัมย์) แม่ทัพภาคที่ 2/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 เป็นประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์เกียรติภูมิ 'พันโท ธีรเดช เพชรบุตร'

เมื่อวานนี้ (23 พ.ย. 67) พลโท บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 เป็นประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์เกียรติภูมิ พันโท ธีรเดช เพชรบุตร ณ ช่องโอบก อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี พลตรี วีระยุทธ รักศิลป์ รองแม่ทัพภาคที่ 2/รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 พลตรี สมภพ ภาระเวช ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี นายเกรียงศักดิ์ สมจิต ปลัดจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยผู้บังคับหน่วย และส่วนราชการในพื้นที่ ให้การต้อนรับและร่วมปฏิบัติภารกิจ ซึ่งกองกำลังสุรนารี มีแนวคิดที่จะจัดสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อบันทึกเรื่องราวการสู้รบของหน่วยในทุกพื้นที่ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ และเทิดเกียรติวีรชนที่เสียสละชีวิตพร้อมเลือดเนื้อ เพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งผืนแผ่นดินไทยตลอดมา และในครั้งนี้กองกำลังสุรนารี ได้จัดสร้างอนุสรณ์สถานในชื่อ 'อนุสรณ์เกียรติภูมิ พันโทธีรเดช เพชรบุตร' 

โดยมีประวัติการสู้รบในพื้นที่ ดังนี้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เวลา 10.30 นาฬิกา พันโท ธีรเดช เพชรบุตร ได้นำกำลังพลออกลาดตระเวน บริเวณพื้นที่เนิน 339 ช่องจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ตรวจพบกำลังฝ้ายตรงข้าม ประมาณ 7 นาย เกิดการปะทะกันประมาณ 10 นาที ฝ่ายตรงข้ามได้ถอนกำลัง ออกจากพื้นที่ปะทะ พันโท ธีรเดช เพชรบุตร ได้นำกำลังพลไล่ติดตาม และได้เหยียบกับระเบิดของฝ่ายตรงข้าม ทำให้ พันโท ธีรเดช เพชรบุตร ได้รับบาตเจ็บสาหัส ขาขาดทั้งสองข้าง และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ณ จุดเกิดเหตุ วีรกรรมของ พันโท ธีรเดช เพชรบุตร ในครั้งนั้น นับเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างสมเกียรติสมศักดิ์ศรีของชายชาติทหาร ควรได้รับการยกย่องเชิดชู เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดี และความเสียสละเพื่อประเทศชาติสืบไป ในโอกาสนี้กองกำลังสุรนารี ได้เรียนเชิญคณะญาติ และเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร เพื่อร่วมรำลึกถึงวีรกรรมของพันโท ธีรเดช เพชรบุตร ดังนี้ คณะญาติ ประกอบด้วย คุณต่าย(พี่สาว) (คุณตุ้ม) และหลานสาว เพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร ประกอบด้วย พลตรีกิตติศักดิ์ หนูมิตร  พลโทวิฑูรย์ ศิริปักมานนท์ พลเอกสุรพล เจียรณัย และ พลโท เดชา ปุญญบาล 

นครพนม-แม่ทัพภาคที่ 2 แถลงข่าวทหารพราน 'Seal Stop Safe' สกัดยาเสพติดชายแดน รวบ 3 ผู้หาขนยาไอซ์ 658 กิโลกรัมพร้อมยาบ้ากว่าแสนเม็ด ริมฝั่งแม่น้ำโขงบ้านอำเภอบ้านแพง 

เมื่อวันที่ (12 ก.พ. 68) เวลา 15.00 น. ที่กองร้อยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 2101 บ้านปากห้วยม่วง ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม พลโทบุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2/ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดสารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24) พร้อมด้วยพลตรี สุคนธรัตน์ ชาวพงษ์  ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี, พลเรือตรีณรงค์ เอมดี ผู้บัญชาการหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง,พันเอกศิวดล ยาคล้าย ผู้บังคับการกองบังคับการควบคุมที่ 1 ( ร.3 ), พันเอกอินทราวุธ  ทองคำ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21,นายคณิศร ภาพีรนนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4 , นายอำเภอบ้านแพง พร้อมกับหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องร่วมกันแถลงผลการจับกุมผู้ต้องหาชาว สปป.ลาว 3 ราย 

พร้อมตรวจยึดยาเสพติดประเภท 1 ยาไอซ์ จำนวน 16 กระสอบ 658 กิโลกรัม/ก้อน และยาบ้า  58 มัด จำนวน 116,000 เม็ด รถตู้ 1 คัน เรือกีบติดเครื่องยนต์ 2 ลำ ที่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำโขงบ้านแพงใต้ ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม โดยร้อยโท วันชาติ  เหมือนปืน ผู้บังคับกองร้อยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 2101 หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 21 ได้นำกำลังพลหน่วยขึ้นตรงกองบังคับการควบคุมที่ 1 กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ได้รับแจ้งว่าจะมีการลักลอบลำเลียงยาเสพติด จากฝั่ง สปป.ลาวเข้ามายังพื้นที่ฝั่งไทยเพื่อนำเข้าสู่พื้นที่ตอนใน บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำโขงบ้านแพงใต้ ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพงจึงได้ประสานกำลังกับหน่วยงานฝ่าวความมั่นคงที่เกี่ยวข้องซุ่มเฝ้าตรวจ พบเรือกลีบ จำนวน 2 ลำรถยนต์(รถตู้)จำนวน 1 คันพร้อมผู้ต้องหา จำนวน 3 คน เป็นชาวสปป.ลาว ประกอบด้วย ท้าวดำ (ไม่ทราบนามสกุล) อายุ 16 ปี บ้านนาข่า เมืองคูนคำ แขวงคำม่วน สปป.ลาว-ท้าว ลี (ไม่ทราบนามสกุล) อายุ 17 ปี บ้านทางแยกหลักซาว เมืองปากกะดิ่ง แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว และท้าวพง อภัยโส อายุ 30 ปี อยู่บ้านดอน เมืองปากกระดิ่ง แขวงบอลิคำไซ สปป. ลาว พร้อมของกลาง 4 รายการ คือยาไอซ์ จำนวน 16 กระสอบ น้ำหนัก 658 กิโลกรัม/ก้อน,ยาบ้า 58 มัด 116,000 เม็ด,เรือกลีบเล็กพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ-รถยนต์ (รถตู้) จำนวน 1 คัน ทางหน่วยได้นำของกลางมาตรวจนับอีกครั้ง ที่กองร้อยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 2101 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21

และนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.บ้านแพง ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปจากการสอบถามผู้ต้องหาทั้งสามคนรับสารภาพว่าได้รับค่าจ้าจากนายทุนชาวลาวให้นำของกลางมาส่งที่ฝั่งไทยแลกค่าจ้างคนละ 20,000 บาทก่อนจะมาถูกจับกุมเสียก่อน โอกาสนี้ แม่ทัพภาคที่ 2 /ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 ได้กล่าวขอบคุณกำลังพลทุกนาย และทุกภาคส่วน ที่ได้มีการบูรณาการกำลัง ได้ทุ่มเทเสียสละ แรงกายแรงใจ ร่วมกันสกัดกั้น ป้องกันและปราบปราม การลักลอบนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน ปฏิบัติภารกิจในการเสริมสร้างความมั่นคงป้องกัน/ปราบปราม ต่อการกระทำผิดกฎหมายทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ในทุกภารกิจต่อไป

ซึ่งหลังจากวันที่ 30 มกราคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาว แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดมอบนโยบายปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Seal Stop Safe ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน ในห้วงที่ผ่านมาในพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 2  มีสถิติการจับกุมในพื้นที่อําเภอชายแดนของจังหวัดนครพนม จำนวน 139 ครั้งผู้ต้องหา 237 ราย โดยมีของกลางยาบ้ามากถึง 16,707380 เม็ด, ไอซ์ 778 กิโลกรัม, เฮโรอีน 67 กิโลกรัม และเคตามีน 320 กิโลกรัม การจับกุมในพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 7 จังหวัด 25 อําเภอ จํานวน 428 ครั้ง ผู้ต้องหา 626 คน โดยมีของกลางยาบ้ามากถึง 74,168,318 เม็ด, ไอซ์ 2,566,308 กิโลกรัม, เฮโรอีน 123.95 กิโลกรัม, เคตามีน 573.83กิโลกรัม, และอื่น ๆ (ยาอี 1,490 เม็ด. happy Water 800 ซอง, ฝิ่น 0.66 กรัม)

นบ.ยส.24 โชว์ผลงานสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 6 เดือนปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Seal Stop Safe ของรัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

(4 เม.ย. 68) เวลา 1000 น. พลโทบุญสิน  พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2/ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24) มอบหมายให้  พลตรีฉัฐชัย  มีชั้นช่วง  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่210/รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ผบ.มทบ.210/รอง ผบ.นบ.ยส.24 (2)) เป็นประธานการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 6 เดือน (ต.ค.67 - มี.ค.68) และหารือ ประสานงาน/บูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีหน่วยงาน/ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดนครพนม จำนวน 15 หน่วย และหน่วยงาน/ส่วนราชการนอกพื้นที่จังหวัดนครพนม ผ่านระบบประชุมทางไกล Video Conference (ผ่าน Zoom meeting) จำนวน 54 หน่วย ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 จังหวัด 25 อำเภอชายแดนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมพระยอด กองบังคับการมณฑลทหารบกที่210 ค่ายพระยอดเมืองขวาง ตำบลกุรุคุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ปัจจุบันสถานการณ์ยังคงมีการลักลอบลำเลียงยาเสพติด/เข้ามาในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ตอนในอย่างต่อเนื่อง จากการตรวจสอบเครือข่ายและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีการเชื่อมโยงกับบุคคลจาก สปป.ลาวและมีคนไทยในพื้นที่ชายแดนเป็นผู้ขนส่ง โดยได้รับค่าจ้างในราคาที่สูงซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญโดยพบว่าขบวนการลักลอบ ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ซึ่งพฤติการณ์ส่วนใหญ่จะนำยาเสพติดมาพักคอยในพื้นที่เมืองชายแดน ของ สปป.ลาว ก่อนจะใช้เรือลำเลียงมาตามแม่น้ำโขง บางพื้นที่จะนำยาเสพติดขึ้นไปพักคอยบนเกาะดอน ก่อนลักลอบนำเข้ามาในฝั่งไทยจะใช้วิธีการนำยาเสพติดที่อำพรางมาในรูปแบบต่างๆ (รูปปั้น สินค้าทางการเกษตร สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารเสริม) ไปกระจายตามพื้นที่ และให้กลุ่มลำเลียงมารับตามจุดที่นัดหมาย เพื่อขนย้ายด้วยยานพาหนะขนาดใหญ่หรือยานพาหนะส่วนบุคคลไปตามเส้นทางชนบทที่ยากต่อการตรวจสอบ ก่อนจะนำยาเสพติดมาพักคอยตามปั๊มน้ำมัน บ้านพัก หรือรีสอร์ทในพื้นที่อำเภอตอนในต่อไป

สรุปสถิติและการปฏิบัติที่สำคัญแต่ละมาตรการตั้งแต่ 1 ตุลาคม2567 ถึง ปัจจุบัน ดังนี้
1. มาตรการสกัดกั้น : มอบให้ กองกำลังป้องกันชายแดน เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีสถิติการซุ่มเฝ้าตรวจ 18,838 ครั้ง,ลาดตระเวนทางบก 16,351 ครั้ง,ลาดตระเวนทางน้ำ 169 ครั้ง,จัดตั้งจุดตรวจด่านตรวจ 4,656 ครั้งรายละเอียดตามจอภาพ/ เป็นผลทำให้สามารถสกัดกั้นยาเสพติดที่สำคัญในพื้นที่ ณ แนวชายแดนได้ แยกเป็นยาบ้า จำนวน 64,000,005 เม็ด, ไอซ์ น้ำหนัก 2,603 กก., เฮโรอีน น้ำหนัก 124 กก. 
2. มาตรการปราบปราม : มอบให้ ตำรวจภูธรภาค 3, ภาค 4 และตำรวจปราบปรามยาเสพติดเป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการปิดล้อมตรวจค้น 231 ครั้ง ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด จำนวน 73 คดี 
รวมผลการตรวจยึดจับกุมตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปราม ณ ปัจจุบัน มีการตรวจยึดจับกุม จำนวน 607 ครั้ง ผู้ต้องหา 848 ราย ของกลาง ยาบ้า 86,767,305 เม็ด,ไอซ์ 3,124.644 กิโลกรัม, เฮโรอีน 124 กก. เคตามีน 776.87 กิโลกรัม และอื่นๆ รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นมากถึง ห้าพันเก้าร้อยล้านบาทเศษ (5,936,581,800 บาท)
3. มาตรการป้องกัน : มอบให้ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก     โดยมีการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ จำนวน 1,896 ครั้ง, ฝึกอบรมพัฒนา ชรบ. จำนวน 116 ครั้ง,การปฏิบัติงานของ ชรบ. จำนวน 872 ครั้ง, การจัดระเบียบสังคม จำนวน 748 ครั้ง,  การอบรมและการสร้างชุมชนเข้มแข็ง จำนวน 66 ครั้ง
4. มาตรการบำบัดรักษา : มอบให้ สาธารณสุขจังหวัด เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการดำเนินโครงการชุมชนล้อมรักษ์ (CBTx) จำนวน  2,852 ราย ดำเนินโครงการมินิธัญญารักษ์ จำนวน 1,421 ราย ดำเนินการรายงานในระบบข้อมูลการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ จำนวน 8,073 ราย ควบคุมตัวบุคคลคลุ้มคลั่ง จำนวน 300 ราย 
5.มาตรการบูรณาการ : เน้นให้ทุกส่วนราชการ บูรณาการร่วมกันทั้งงานด้านการข่าว และแผนงานโครงการ ต่างๆ โดยมีการดำเนินการจัดการประชุมขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหายาเสพติด 245 ครั้ง ดำเนินการประชุมโต๊ะข่าวแลกเปลี่ยนข้อมูล 106 ครั้ง กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด 94 ครั้ง
6. มาตรการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน : มอบให้ ส่วนบังคับบัญชา, ส่วนอำนวยการ ของ นบ.ยส.24, ปปส.ภาค 3 และ ปปส.ภาค 4 เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 32 ครั้ง ดำเนินการประชุมแลกเปลี่ยนข่าวสาร จำนวน 2 ครั้ง ประสานการจับกุม และส่งมอบผู้ต้องหาข้ามประเทศ จำนวน 1 ครั้ง
ซึ่งมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย ตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) หน่วยมีผลการปฏิบัติตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปราม ณ แนวชายแดน โดยทำการซุ่มเฝ้าตรวจ 6,540 ครั้ง, ลาดตระเวนทางน้ำ? 64 ครั้ง, ลาดตระเวนทางบก 5,383 ครั้ง, จัดตั้งจุดตรวจด่านตรวจ 1,530 ครั้ง ทำการปิดล้อมตรวจค้น 47 ครั้ง ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สิน คดียาเสพติด จำนวน 28 คดี รวมผลการตรวจยึดจับกุมตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) มีการตรวจยึดจับกุมจำนวน 216 ครั้ง/ ผู้ต้องหา 272 ราย ของกลาง ยาบ้า 26,970,802 เม็ด,ไอซ์ 1,216.336 กิโลกรัม, และอื่นๆ

เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top