Thursday, 24 April 2025
แก้ไข

อบจ.สุโขทัยจัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิญผู้นำท้องถิ่น17 จังหวัดภาคเหนือร่วมคิดร่วมแก้

ดร.มนู พุกประเสริฐ ประธานในพิธี พร้อมด้วย รองนายกฯ สมาชิกสภาฯ และ คณะผู้บริหาร อบจ.สุโขทัย ร่วมพิธีเปิดการประชุมและฝึกอบรมโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของ อบจ.สุโขทัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และการบรรยายการบูรณาการความร่วมมือการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด" โดยมีนายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย และ นายศรันยพงษ์ วงษ์นาคพงษ์ ประธานชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน 17 จังหวัดภาคเหนือพร้อมคณะร่วมโครงการ

และการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "การบริหารงานหมู่บ้านแบบบูรณาการ" โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย นายสุชาติ ทีคะสุข 

โดยมีนายกสมาคมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน 17 จังหวัดภาคเหนือ  สมาชิกกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จาก 9 อำเภอ ในพื้นที่ จ.สุโขทัย จำนวน 500 คน ร่วมประชุมและฝึกอบรม เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ด้วยการบูรณาการร่วมกับผู้นำท้องที่-ชุมชน ให้เป็นพลังสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตนเอง เมื่อ 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องสุโขทัย โรงแรมไพลิน ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย

บริษัท อุบลราชธานี ดีเวลลอปเม้นท์ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำร่างรายงานและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประชุมรับฟังความคิดเห็น ประชาชนครั้งที่ 2

วันนี้ (26 ธ.ค. 66) เวลา 08:30 น.-12:00 น. ณ.วัดบ้านทุ่งเทิง ต.ทุ่งเทิง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานีบริษัท  อุบลราชธานี ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ต่อการจัดทำร่างรายงานและมาตรการ โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม อุบลราชธานี ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ตั้งอยู่ที่ ตำบล นากะแซง และตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งดำเนินการโดย บริษัทโฟร์เทียร์คอนซัลแตนต์ จำกัด ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาโครงการ โดยมี นายสุริยา บุตรจินดา หัวหน้าส่วนสำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดการประชุม

ทั้งนี้มีประชาชนในพื้นที่ตั้งโครงการฯ และพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรโดยรอบ โครงการฯ จาก 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เดชอุดม อ.ทุ่งศรีอุดม 5 ตำบล ได้แก่ต.นากระแซง ต.สมสะอาด ต.ทุ่งเทิง ต.นาห่อม และต.หนองอ้ม จ.อุบลราชธานี รวมกว่า 1,200 คน มาร่วมรับฟังการประชุม บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

นายสุริยา บุตรจินดา กล่าวว่า การจัดการประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีเปิดเวทีให้ทุกคนได้แสดงความเห็น และข้อเสนอแนะที่มีการจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนและบ้านของเราขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผลในการพูดคุย เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนจังหวัดอุบลราชธานีของเราให้เดินหน้าต่อไปได้ 

ด้านคุณณัฐวัฒน์ เลิศสุรวิทย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการนำเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี โดยในวันนี้ได้มีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ และขอขอบคุณทุกความเห็น ทุกข้อเสนอแนะจากผู้นำชุมชน ประชาชน รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ซึ่งทางโครงการฯ จะนำความเห็นเหล่านี้ ไปกำหนดเป็นมาตรการในการดูแลโครงการ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยั่งยืนตลอดไป

ด้าน น.ส. นันยา ฮูมเมลิงค์ วิศวกร จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ. จะนำรายงานและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ผ่านความเห็นชอบไปกำกับดูแลโครงการ รวมทั้งบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมภายใต้กรอบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) คือ การพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของพื้นที่ ให้เจริญเติบโตไปพร้อมกับความเจริญของ ชุมชนและการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างสมดุลเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

ฉะเชิงเทรา-บลูเทค ซิตี้ร่วมกับ สพฐ.จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10

เพาะกล้ารักษ์ เพื่อเพาะกล้าไม้ 1,000,000 ต้น แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อดูดซับคาร์บอน 10ล้านกิโลกรัมคาร์บอน

วันนี้( 25 ก.ค. 67) ที่ โรงเรียนบางปะกง “บวรวิทยายน” อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา คุณกุลพรภัสร์ วงค์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ มอบหมายให้ นายสุเทพ คล่องโยธา หัวหน้าฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้  เข้าร่วมกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เพาะกล้ารักษ์ เพื่อเพาะกล้าไม้ 1,000,000 ต้น แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อดูดซับคาร์บอน 10ล้านกิโลกรัมคาร์บอน โดยมี รองฯสุกัญญา แสงสุข รองศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานเปิดโครงการ พร้อมด้วย คุณสาโรช กิจประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าบางปะกง , ผอ.กฤษณะ ซื้อสัตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางปะกง “บวรวิทยายน”

โรงเรียนบางปะกงบวรวิทยายน ตั้งอยู่ในอําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มี ความสําคัญทางระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปากแม่น้ําบางปะกงที่ไหลลงสู่อ่าวไทย การที่เราได้ริเริ่ม โครงการนี้จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของเรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเป็นแบบอย่างในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทรงสืบสานพระราชปณิธานของพระบรมชนกนาถในการดูแลรักษาป่าไม้และแหล่งน้ํา จึงเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการน้อมนําแนว พระราชดําริมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดย โครงการเพาะกล้ารักษ์ เพื่อเพาะกล้าไม้ 1,000,000 ต้นนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติแล้ว ยังเป็นการร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลก รวมถึงชุมชน ของเราด้วย ต้นไม้จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนกลับสู่อากาศ ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ โครงการเพาะกล้ารักษ์ยังส่งผลอีกหลายประการ อาทิเช่น

1. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น
2. สร้างแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์น้ำและนกนานาชนิด
3. ช่วยลดอุณหภูมิในชุมชนและโรงเรียนของเรา
4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพกายใจของนักเรียนและชาวบางปะกง 5. สร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน โครงการของเราในวันนี้จึงเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของลูกหลานชาวบางปะกงและประเทศไทย เป็น การสร้างมรดกแห่งความยั่งยืนให้แก่ท้องถิ่นของเรา ขอเชิญชวนให้นักเรียน คณะครู และชุมชนทุกท่านร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่ เพียงแค่การร่วมปลูกต้นไม้ในวันนี้เท่านั้น แต่ขอให้นําความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ใน ชีวิตประจําวัน ด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ลดการใช้พลาสติก และร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และชุมชนของเรา

ทั้งนี้ ยังร่วมกันปล่อยพันธ์ปลาสวาย จำนวน 5,000 ตัว กลับลงสู่ธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ รักษาระบบนิเวศ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนและโรงเรียน ต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top