Saturday, 18 May 2024
เห็ด

มองโกเลีย - นักศึกษาปริญญาโทชาวมองโกเลีย ปลูดเห็ดสมุนไพร “หญ้าหนอน” สร้างชื่อเสียงระดับโลกได้สำเร็จ!!

อูลานบาตอร์ /มองโกเลีย “Monkhjargal” นักศึกษาปริญญาโทชาวมองโกเลีย สามารถปลูกเห็ดที่มีชื่อเสียงระดับโลกและมีราคาแพงได้สำเร็จ ซึ่งเห็ดนี้เรียกกันว่า “หญ้าหนอน” บนมูลสัตว์ ก้านทะเล buckthorn และเศษเมล็ด ซึ่งอุดมไปด้วยสารยาหลายชนิดและรับประทานได้เช่นกัน

โดย “Monkhjargal” ได้กล่าวว่า “เราต้องปลูกเห็ดที่กินได้และกินเอง อาหารที่เรากินในวันนี้มีสารอาหารต่ำมากดังนั้นสารอาหารที่เราได้รับจากอาหารของเราจึงไม่เพียงพอต่อร่างกายของเรา นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องการปรับปรุงโภชนาการของเรา เพราะเราก็ต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน ดังนั้นเห็ดที่กินได้จึงกลายเป็นประเด็นเชิงกลยุทธ์สำหรับเรา ก่อนที่เราจะสามารถทำกำไรได้”

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการใช้เห็ดเพื่อสกัดสารสมุนไพรและในอาหารเสริมทางชีวภาพ ยารักษาโรค เครื่องสำอางและแม้แต่ยารักษาสัตว์หลายชนิด

ซึ่ง “Monkhjargal” ตั้งเป้าที่จะรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเห็ดภายใต้ “ห่วงโซ่คุณค่าเห็ดเพาะเลี้ยง” เพื่อปลุกจิตสำนึกในความสำคัญของเห็ดที่ปลูก เพิ่มผลผลิต และกระชับการทดลองและการวิจัยเกี่ยวกับยารักษาโรคและเห็ดสายพันธุ์ใหม่อื่น ๆ

 

นักวิจัย ม.ทักษิณ และคณะ ค้นพบ 'เห็ดกรวยส้มทักษิณา' เห็ดชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

อาจารย์ ดร.ภูมิน นุตรทัต คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ จับมือ ดร.นครินทร์ สุวรรณราช และ ดร.จตุรงค์ คำหล้า สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัณณิดา ขุนนามวงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันสำรวจและศึกษาวิจัยจนค้นพบ “เห็ดกรวยส้มทักษิณา” เห็ดชนิดใหม่ของโลก ซึ่งจัดอยู่ในสกุล Gloeocantharellus ที่ขึ้นอยู่ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จากความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในพื้นที่ คาดว่าจะพบเห็ดชนิดใหม่อีกหลายชนิดที่รอการยืนยันและการศึกษาเชิงลึกต่อไป

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลฐานชีวภาพภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบระบบนิเวศป่าสาคู ซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้อวิจัย “เห็ดป่าในป่าสาคูจังหวัดพัทลุงสู่การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาต่อยอดทางอุตสาหกรรมเกษตร” เพื่อศึกษาความหลากชนิดของเห็ดในป่าสาคู ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2566  จากมหาวิทยาลัยทักษิณ

ทีมวิจัยยังได้สำรวจความหลากชนิดของเห็ดเบื้องต้นในรั้วมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และจากการสำรวจและวิจัยของทีมวิจัยได้ค้นพบเห็ดชนิดใหม่ของโลก “เห็ดกรวยส้มทักษิณา” ซึ่งจัดอยู่ในสกุล Gloeocantharellus ที่เป็นเห็ดเอกโตไมคอร์ไรซากับพืชถิ่นของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Gloeocantharellus thailandensis” ทั้งยังเป็นการรายงานครั้งแรกของเห็ดสกุลนี้ในประเทศไทยอีกด้วย

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ใช้หลักอนุกรมวิธานสมัยใหม่ในการบ่งบอกชนิดเห็ดสกุลนี้ จากข้อมูลสัณฐานวิทยาร่วมกับศึกษาข้อมูลทาง DNA ของลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนไรโบโซม internal transcribed spacer (ITS) และ large subunit (LSU) รวมถึงการใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของโปรตีนในส่วน mitochondrial ATPase subunit 6 เพื่อใช้ศึกษาแผนภูมิวิวัฒนาการของเห็ดสกุลนี้ จนสามารถยืนยันได้ว่าเห็ดที่ศึกษานี้เป็นเห็ดชนิดใหม่ของโลก

ปัจจุบันเห็ดสกุล Gloeocantharellus มีรายงานการค้นพบแล้ว 19 ชนิดทั่วโลก โดยเห็ดชนิดใหม่ที่ค้นพบในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ถือเป็นชนิดที่ 20 ที่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสมาชิกใหม่ของโลก และงานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในหัวข้อ “Gloeocantharellus thailandensis (Gomphaceae, Gomphales), a new macrofungus from southern Thailand”

จากการศึกษาความหลากชนิดของเห็ดเบื้องต้นในครั้งนี้ยังพบเห็ดที่คาดว่าเป็นเห็ดชนิดใหม่อีกหลายชนิดในรั้วมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ที่รอการยืนยันชนิดและการศึกษาเชิงลึกต่อไป

การพบเห็ดชนิดนี้อยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ถือเป็นการสะท้อนบ่งบอกว่าพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศเป็นอย่างดี และสมควรที่จะต้องดูแลรักษาไว้ โดยมหาวิทยาลัยทักษิณสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และสนับสนุนการจัดการพื้นที่สีเขียวภายในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ของมหาวิทยาลัยยังคงเป็นพื้นที่สีเขียวมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาวิทยาลัยทั้งหมด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top