Thursday, 24 April 2025
เหว่ยซือเฮ้า

‘เหว่ย ซือเฮ้า’ ชายชราที่เป็นผู้ให้อย่างแท้จริง ยอมเก็บขยะยังชีพ ส่งเงินบำนาญให้เด็กยากจนเรียน

เพจลึกชัดกับผิงผิง ได้ถ่ายทอดเรื่องราวสุดประทับใจของชายชรานาม ‘เหว่ย ซือเฮ้า’ ว่า...

เรื่องจริงที่อบอุ่นในโลกใบนี้

เดือนพฤศจิกายนปี 2014 ผู้เฒ่าเก็บขยะเดินเข้าหอสมุดเมืองหางโจว ล้างมืออย่างละเอียดเป็นเวลานาน แล้วจึงนั่งอ่านหนังสืออย่างเงียบๆ 

ผู้เฒ่าคนนี้มีชื่อว่า 'เหว่ย ซือเฮ้า' (韦思浩)เป็นหนึ่งในคนเก็บขยะและคนเร่ร่อนที่ชอบอ่านหนังสือ โดยมักขอเข้ามาอ่านหนังสือ ผู้อ่านส่วนหนึ่งเคยแสดงความไม่พอใจ แต่ผู้อำนวยการหอสมุดตอบว่า “ผมไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ ไม่ให้ใครเข้ามาอ่านหนังสือ แต่คุณมีสิทธิ์ตัดสินใจออกจากที่นี่” ดังนั้น หอสมุดหางโจวยังได้ชื่อว่า 'หอสมุดที่อบอุ่นที่สุด'

ส่วนผู้เฒ่า 'เหว่ย ซือเฮ้า' ตั้งอกตั้งใจอ่านข่าวสารอย่างมากจนทุกคนต่างยกย่องให้เป็นคนเร่ร่อนที่ใฝ่หาความรู้อย่างแท้จริง พร้อมให้ฉายาว่า 'ผู้เฒ่านักอ่าน'

วันที่ 18 พฤศจิกายนปี 2015 เขาหมดลมหายใจเพราะถูกรถชนจนเสียชีวิต เมื่อเขาตาย เรื่องราวชีวิตของเขาก็ถูกเปิดเผย ความลับนี้ทำให้ผู้คนตะลึงและเสียน้ำตาไปตามๆกัน 

ประวัติของเขาจบมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ปี 1960 ก่อนเกษียณอายุเป็นอาจารย์สอนใน รร.มัธยม ยังชีพด้วยเงินบำนาญไม่มากมายนัก และเขาก็เก็บขยะประทังชีวิตไปวัน ๆ ..

เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบทรัพย์สินของเขา ล้วนไม่มีราคาค่างวดอะไร.. แต่กลับพบใบอนุโมทนาบัตร ที่บริจาคเงินเพื่อทุนการศึกษา ซึ่งเขาเก็บไว้จนกระดาษเก่ากลายเป็นสีเหลืองซีด และไปรษณียบัตรที่ส่งมาจากที่ต่าง ๆ ลงชื่อของผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจากเขา แจ้งผลการเรียนทุกเทอมกลับมาให้เขาทราบทุกฉบับ 

แท้จริง .. ผู้เฒ่าต้องการประหยัด กินน้อย-ใช้น้อย มอบเงินที่มีอยู่ทั้งหมด พร้อมกับเงินบำนาญอันน้อยนิด บริจาคให้นักเรียนยากจน โดยไม่ยอมแม้แต่จะใช้ชื่อจริง เขาใส่ใจบรรดาเด็กๆที่ส่งเสียให้เรียน และเด็กที่ได้รับทุนทุกคนก็ไม่รู้ว่าผู้ส่งเสียให้เรียนยากจนข้นแค้นแค่ไหน เพราะผู้เฒ่าใช้ชื่อปลอม ปกปิดชื่อจริงในการให้ทุนมาตลอด ..

ชั่วชีวิต ผู้เฒ่ามีแต่ความเรียบง่าย อยู่อย่างประหยัดมัธยัสถ์ นอนเตียงไม้ 1 หลัง เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ไม่มีเลย, เมื่อ 10 ปีก่อน ก็ได้บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล เพื่อว่าตายไป อวัยวะส่วนไหนพอจะนำไปช่วยคนได้ เขาจะดีใจมากที่สุด 

ปี 1953 เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยเจ้อเจียง หลังจบการศึกษาเป็นครูสอนมัธยมปลายของโรงเรียนเฉาหยางเมืองหางโจว เขาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมาก ที่บ้านมีแต่ตู้เก็บหนังสือ เตียงนอน นอกจากนั้น ไม่มีเฟอร์นิเจอร์อย่างอื่น 

เหล่าลูกสาวของเขากล่าวว่า อาหารการกินของพ่อก็ง่าย ๆ กินอิ่มก็พอ ใช้เงินประหยัดมาก ๆ หรือกล่าวได้ว่าขี้เหนียวเลย

หลังเกษียณอายุแล้ว เขามีเงินบำนาญเดือนละ 5,600 หยวน ตามแนวปกติก็จะใช้ชีวิตได้อย่างสบาย เลี้ยงนกหรือปลูกดอกไม้ที่บ้าน ไปเล่นหมากรุกในสวนสาธารณะ 

แต่คิดไม่ถึงว่า เขาจะไปเก็บเศษขยะ ลูกสาวและนักเรียนเก่าของเขาล้วนไม่เข้าใจ แต่ไม่มีใครสามารถบอกให้เขายอมกลับไปพักที่บ้าน 

หลังเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต ลูกสาวของเขาไปจัดเก็บของเก่าด้วยอารมณ์เศร้า แต่พบความลับที่สะเทือนใจ มรดกของเขามีกล่องเหล็กอันหนึ่ง ข้างในเก็บใบโอนเงินที่เก่าจนกระดาษเป็นสีเหลืองซีดปึกใหญ่และจดหมายหลายฉบับ แต่ลายเซ็นด้านบนเป็นชื่อที่ไม่คุ้นเคย 'เว่ย ติงจ้าว'

'เว่ย ติงจ้าว' เป็นใคร มีความผูกพันกับพ่ออย่างไร บรรดาลูกสาวของเขาเริ่มค้นหาตามข้อมูล จึงได้รู้ความจริง ปรากฏว่าในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา พ่ออุบเรื่องหนึ่งไว้ไม่บอกพวกเธอ

ตั้งแต่ทศวรรษปี 1900 พ่อก็ใช้ชื่อ 'เว่ย ติงจ้าว' ในระหว่างช่วยเหลือเด็กนักเรียนยากจนที่ไม่รู้จัก เริ่มตั้งแต่หลายสิบหยวนจนถึงหลายพันหยวน การใช้เงินเพื่อการนี้ พ่อไม่เคยประหยัดเลย 

เด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งชื่อ 'หลัน เยี้ยนเยี่ยน' ได้เขียนจดหมายว่า “ขอบคุณความช่วยเหลือของคุณปู่ ที่ทำให้ฉันสมหวังเรียนหนังสือในโรงเรียน” จดหมายแบบนี้มีจำนวนมาก 

จนถึงเวลานี้ เพื่อนๆ และนักเรียนของเขาจึงได้รู้ว่า ผู้เฒ่าที่ขี้เหนียวคนนี้ ใช้เงินเดือนของตนไปช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ยากจน ถึงแม้เกษียณอายุแล้ว ก็ยังขยันไปเก็บเศษขยะ เพื่อได้เงินช่วยเหลือคนอื่นมากขึ้น 

นอกจากนั้น เมื่อ 10 ปีก่อน พ่อได้บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล เพื่อว่าตายไป อวัยวะส่วนไหนพอจะนำไปช่วยคนได้ เขาจะดีใจมากที่สุด 

เมื่อความจริงประจักษ์เช่นนี้ ลูกสาวสามคนพากันน้ำตาแตกเหมือนสายฝน นี่เป็นพ่อที่น่าเคารพมาก ๆ เสียดายที่แต่ก่อนไม่รู้เรื่องราวของพ่อ จึงไม่ได้สนับสนุนพ่อ 

ปี 2018 ชาวเน็ตจีนบริจาคเงินทำรูปปั้นของผู้เฒ่า 'เหว่ย ซือเฮ้า' แล้วนำไปตั้งที่หอสมุดหางโจว ผู้ที่เคยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากคุณปู่ 'เหว่ย ซือเฮ้า' พากันเดินทางจากท้องที่ต่างๆ มาร่วมงาน พวกเขาน้ำตาคลอเบ้า ร้องไห้คร่ำครวญ และทำความเคารพอย่างนอบน้อมที่สุด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top