Thursday, 28 March 2024
เศษฐกิจ

'กอบศักดิ์' เผยประธานเฟดพูด 'ตัดรอนไม่เหลือเยื่อใย' จ่อขึ้นดอกเบี้ย สยบเงินเฟ้อ ซัดหุ้นร่วงระเนระนาด

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

9 นาทีเขย่าโลก
“ตัดรอน ไม่เหลือเยื่อใย”
นี่น่าจะเป็นข้อสรุปที่ตรงสุด สำหรับสุนทรพจน์ของท่านประธานเฟดเมื่อคืนนี้
1,301 คำที่ชี้ว่า “เฟดจะไม่ใจอ่อน และจะไม่เปลี่ยนใจ จนเงินเฟ้อลง”

We will keep at it until we are confident the job is done.

จึงไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อคืนนี้ 
Dow Jones -1,008 จุด หรือ -3.03%
Nasdaq -498 จุด หรือ -3.94%
Bitcoin -1,500 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 20,200 หรือ -6.75%
Ethereum -200 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 1,500 หรือ -12%
ระเนระนาด 

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะนักลงทุนแอบหวังว่า
เงินเฟ้อสหรัฐที่ลงมาให้เห็น 1 เดือนแล้ว เป็นสัญญาณที่ดี
หมายความว่า ดอกเบี้ยขึ้นไปไม่มาก แค่ 3.66% ก็จะจบ
ต้นปีหน้า เฟดน่าจะพอแล้ว
และน่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี

แต่สิ่งที่ท่านประธานเฟดพูดเมื่อคืน มันช่างต่างจากที่นักลงทุนคิดไว้มาก
ท่านบอกว่า

📌 สิ่งที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐหมกหมุ่น focus อยู่ ก็คือ เอาเงินเฟ้อลงมาที่ 2%
หน้าที่ของเรา คือ การสยบเงินเฟ้อให้ได้ 
ถ้าเฟดผิดพลาดเรื่องนี้ เศรษฐกิจก็จะไม่สามารถขยายตัวอย่างยั่งยืน 
เงินเฟ้อจะสร้างความเสียหายแก่ทุกคน

📌 การเอาเงินเฟ้อกลับเข้าเป้า “ต้องใช้เวลา” 
ต้องใช้นโยบายที่ “เข้มข้น” เข้าจัดการ
จะนำมาซึ่ง เศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าปกติ
คนต้องตกงาน 
ธุรกิจต้องปิด
คนทั่วไป อาจจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้
แต่นี่คือต้นทุนที่เราต้องแบกรับไว้ เพราะถ้าพลาดจะเสียหายยิ่งกว่านี้

📌 ล่าสุด เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอลงบ้าง 
แต่โดยรวมยังมีแรงส่งที่ดีอยู่
ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งมาก 
เงินเฟ้อกำลังกระจายไปภาคส่วนต่างๆ
ส่วนที่ลงมา 1 เดือน ถือเป็นข่าวดี 
แต่ยังไม่พอ 
ยัง falls far short ที่จะทำให้กรรมการมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลง

📌 เฟดจะปรับดอกเบี้ยไประดับที่เข้มข้น ที่ชะลอเศรษฐกิจลงมา 
ระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.5% เป็นระดับที่เรียกว่า Neutral rate
แต่จุดนี้ไม่ใช่จุดที่เฟดจะหยุดหรือชะลอการขึ้นดอกเบี้ย 
โดยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า อาจจะเป็น .75% 
เราจะดูข้อมูลที่ออกมาอีก 1 เดือน แล้วตัดสินใจว่าเหมาะสมหรือไม่ 
ทั้งนี้ ในอนาคต เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปได้สูงพอ อัตราการขึ้นอาจจะชะลอลงได้

📌 ในการที่จะเอาเงินเฟ้อลงมา เฟดคงต้อง “คงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลาที่นานพอควร” 
เพราะบทเรียนในอดีตชี้ว่า การลดลงเร็วเกินไป เชื้อเงินเฟ้อจะไม่ตาย และจะเกิดปัญหาอีกรอบได้
โดยเมื่อมิถุนายน กรรมการมองว่าจุดสูงสุดของดอกเบี้ยรอบนี้ต้องขึ้นไปอย่างน้อยใกล้ๆ 4% 
แต่ในการประชุมครั้งหน้าจะบอกอีกทีว่าจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ เท่าไหร

📌 สิ่งที่กรรมการคิด หารือแนวทางจัดการเงินเฟ้อ ตั้งอยู่บนบทเรียนสำคัญจากอดีต 3 เรื่อง

📌 เรื่องแรก – เป็นหน้าที่ของธนาคารกลางในการจัดการเงินเฟ้อ
ธนาคารกลางมีเครื่องมือในการสู้ศึกดังกล่าว ที่เคยใช้ได้ผลมาในอดีต
รอบนี้ก็เช่นกัน “ต้องเอาเงินเฟ้อลงมาให้ได้ อย่างไม่มีเงื่อนไขใดใด” 
We are committed to doing that job 
เฟดมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเรื่องนี้ โดยไม่ลังเล
(หมายความว่า เศรษฐกิจจะถดถอย คนจะตกงาน บริษัทจะปิดกิจการ ล้มละลาย รัฐบาลสหรัฐจะจ่ายหนี้ยากขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องไปปรับตัวเอง)

📌 เรื่องที่สอง – การคาดการณ์เงินเฟ้อของทุกคนสำคัญมาก
ในช่วง 1970 เงินเฟ้อสูง คนเคยชิน 
ยิ่งเฟ้อ ก็ยิ่งเอามาใช้ในการปรับขึ้นราคาสินค้า เงินเดือน
Paul Volcker บอกว่า หน้าที่ของเฟดคือ ตีหลังของเงินเฟ้อให้หัก 
และทำให้เงินเฟ้อไม่สามารถต่อยอดตนเองได้
Alan Greenspan บอกว่า เป้าหมายคือ เราต้องทำให้เงินเฟ้อต่ำ ต่ำจนทุกคนไม่ได้ใส่ใจ 
แต่ปัญหาใหญ่ของเราก็คือ ช่วงนี้ เงินเฟ้ออยู่ในใจทุกคน 
ยิ่งปล่อยไว้นาน เงินเฟ้อก็จะสามารถฝังรากลึก ต่อยอดตัวเองได้

📌 เรื่องที่สาม - เราต้องไม่วอกแวก ลังเล
อดีตสอนว่า ยิ่งช้า ยิ่งเสียหาย
ก่อนที่ Paul Volcker จะจัดการเงินเฟ้อสำเร็จ 
เฟดล้มเหลวแล้ว ล้มเหลวอีก เป็นเวลา 15 ปี
(ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะใจอ่อน เปลี่ยนนโยบายเร็วเกินไป เชื้อยังไม่ตาย ก็รีบเลิกให้ยา)
นโยบายการเงินที่เข้มข้น ดอกเบี้ยที่สูง ที่ค้างไว้ยาวนานพอ 
คือ หัวใจสำคัญในการหยุดเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มขึ้น และเอาเงินเฟ้อลงมา
A lengthy period of very restrictive monetary policy was ultimately needed to stem the high inflation and start the process of getting inflation down to the low and stable levels…
เราต้องมุ่งมั่นในการสู้ศึกครั้งนี้ เพื่อจะไม่พลาดเหมือนในอดีต

📌 ท่านประธานเฟดจบสุนทรพจน์โดยบอกว่า 
These lessons are guiding us as we use our tools to bring inflation down. We are taking forceful and rapid steps to moderate demand so that it comes into better alignment with supply, and to keep inflation expectations anchored. We will keep at it until we are confident the job is done.
บทเรียนทั้งสามเรื่อง คือ กรอบที่เราใช้ในการจัดการเงินเฟ้อรอบนี้
เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย “ให้แรงพอ” และ “เร็วพอ” เพื่อจัดการเงินเฟ้อ
และเราเดินหน้าต่อไป ไม่เปลี่ยนใจ 
จนเรามั่นใจว่าเงินเฟ้อยอมสยบ กลับเข้าเป้า

กฟผ. ทช. เมืองพัทยา สานพลังร่วมฟื้นฟูอ่าวไทย พร้อมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการประมง สร้างรายได้กระตุ้นเศษฐกิจ

วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2566) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และ เมืองพัทยา จัดกิจกรรมจัดวางฐานลงเกาะปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า โครงการบ้านปลา กฟผ. โดยมี นางจินตนา บำรุง ผู้แทนปลัดเมืองพัทยา พร้อมด้วย นายไพทูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และกำหนดมาตรการจัดการทรัพยากรทางทะเล กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล (ทช.)  นางสาวสุมิตรา กาญจนมิตร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง กฟผ. หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชลบุรี ชมรมผู้ประกอบการท่องเที่ยวดำน้ำแบบเดินใต้ทะเล (Sea Walker) นักดำน้ำอาสาสมัคร เข้าร่วมกิจกรรมนำฐานลงเกาะปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า กฟผ. กว่า 230 ชุด ไปวางบริเวณแนวปะการังพื้นที่เกาะสาก อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

นางจินตนา บำรุง ผู้แทนปลัดเมืองพัทยา เผยว่า ทช. และ กฟผ. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองพัทยา เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้นของประเทศไทย โดยฐานลงเกาะปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าจะเป็นแหล่งยึดเกาะปะการัง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศใต้ทะเลได้รับการฟื้นฟูกลับมาอุดมสมบูรณ์ ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและการประมงที่จะช่วยสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจของ จ.ชลบุรี ต่อไป  

นายไพทูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และกำหนดมาตรการจัดการทรัพยากรทางทะเล กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล (ทช.) กล่าวว่า ทช. และ กฟผ. ได้ร่วมมือกันในการฟื้นฟูท้องทะเลไทยทั่วประเทศให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ สร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิตบริเวณแนวปะการังในโครงการบ้านปลา กฟผ. โดย กฟผ. ได้ให้การสนับสนุนลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่ครบอายุการใช้งานมาทำเป็นฐานลงเกาะปะการังและนำไปวางในท้องทะเล เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล นับเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ทะเล และเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ในหลายพื้นที่ของ จ.ชลบุรี

นางสาวสุมิตรา กาญจนมิตร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง กฟผ. เปิดเผยว่า ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าเป็นหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ในแต่ละปีจะมีลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่ครบอายุการใช้งานเป็นจำนวนมาก กฟผ. ได้พิจารณาหาวิธีนำอุปกรณ์นี้มาใช้ประโยชน์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงนำมาทำเป็นฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการังเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล พร้อมประสานกับหน่วยงานทางทะเล และสถาบันการศึกษา เพื่อยืนยันลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ทั้งยังเกิดปะการังตามธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมา กฟผ. ร่วมกับ เครือข่ายพันธมิตร นำปะการังธรรมชาติจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า ไปวางไว้ใต้ทะเลไทยทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2554 โดยวางครั้งแรกที่ ต.แสมสาร  อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และกระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต รวมทั้งสิ้นกว่า 5,000 ชุด พร้อมเดินหน้าโครงการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ได้แก่  ทช. กองทัพเรือ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 โดยร่วมกันพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพื่อนำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ามาสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์ทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ทะเลตามแนวชายฝั่งให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top