Saturday, 27 April 2024
เศรษฐกิจดิจิทัล

‘ชัยวุฒิ’ หนุนไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ตั้งเป้าปี 70 เพิ่มมูลค่าแตะ 30% ของ GDP

รมว.ดีอีเอส โชว์วิสัยทัศน์พัฒนาดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ พร้อมเดินหน้าหนุนไทย สู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ ตั้งเป้า เพิ่มมูลค่าแตะ 30% ของ GDP ภายในปี 70

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน Huawei Connect 2022 Bangkok หัวข้อ “มุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่เฟื่องฟู” ว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้ทำให้เกิดการหยุดชะงักในระบบเศรษฐกิจส่งผลกระทบในด้านของคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เทียบเท่าในช่วงสถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิด เป็นสิ่งที่ทุกประเทศกำลังทำรวมถึงประเทศไทยก็พร้อมที่จะส่งเสริมกำลังของไทยเพื่อก้าวสู่อนาคตในฟื้นฟูกับเส้นทางที่มีความมั่นคงมากขึ้น

เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มต่าง ๆ ประเทศไทยต้องเดินหน้าต่อไปตามรูปแบบการเติบโต และรูปแบบการเติบโตที่นำโดยนวัตกรรม และตั้งอยู่บนองค์ความรู้ ท่ามกลางการเกิดการแพร่ระบาดเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาสังคมได้เกิดความก้าวหน้าอย่างมีนับสำคัญ เกิดการรุกตลาดในเทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนที่เป็นแอพพลิเคชัน เช่น โมบายเพย์เมนต์ การค้าอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น ชยายตัวมากกว่า 120% ถือเป็นบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

ในปี 64 อัตราการเติบโตรายปีของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ จะสูงแตะ 44% และอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์จะขยายตัวมากถึง 26% รวมถึงอุตสาหกรรม Big Data จะขยายตัวได้ 4% ขณะเดียวกันมีหลายแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย อาทิ

1. การเผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และสภาพแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ ซึ่งการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นหลักประกันว่าจะสามารถฟื้นตัวและพัฒนาต่อไปในด้านของเศรษฐกิจได้

2. แนวคิดหรือนโยบาย 4.0 รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 จะกลับกลายมาเป็นศูนย์กลางของโลกในด้านอุตสาหกรรมและดิจิทัลอัจฉริยะ รวมถึงการใช้นวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ ที่จะสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วย

3. ไทยได้กำหนดพันธกรณีคือไทยต้องการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นเศรษฐกิจรวบรวมอุตสาหกรรมที่ใช้คาร์บอนต่ำ รวมถึงแนวคิด BCG ของไทยก็จำเป็นต้องใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้าต่อไป

ด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและสภาพแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ ประเทศไทยได้มีการทำมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลผ่านโครงการที่ริเริ่มด้านนโยบาย โดยกระทรวงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล หรือดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ ซึ่งจะเป็นเสาหลักในการที่จะบรรลุความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ จะเป็นการกระตุ้นการลงทุนและขับเคลื่อนความเติบโตเศรษฐกิจด้วย

ทั้งนี้ คาดว่าภายในปี 2570 มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลจะขยายตัวสูงถึง 30% ของจีดีพีประเทศไทย และความสามารถในการแข่งขันของไทยตามอันดับความสามารถในการแข่งขันของโลก หรือ world digital competitiveness ranking มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ใน 30 อันดับแรก และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยเป็นเว้นทางหลักในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในภูมิภาคอาเซียนตอนเหนือ และศักยภาพการทำงานข้ามพรมแดน การวางเคเบิลใต้สมุทร และการจัดตั้งศูนย์ Data center ขนาดใหญ่นั้น จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปตลอดทั่วทั้งภูมิภาคของประเทศ

นายชัยวุฒิ กล่าวอีกว่า รัฐได้เสริมความแข็งแกร่งเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกคน และการพัฒนาที่มีความมั่งคั่ง เช่น กระทรวงได้จัดตั้ง Data center และบริการคลาวด์ที่จะสนับสนุนนวัตกรรมและทำให้รัฐสามารถมอบบริการสาธารณะที่มีความเท่สเทียมได้ นอกจากนี้ สามารถดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมได้ด้วยเช่นกัน เป็นต้น

ด้วยพื้นฐานระดับสูงที่มีอยู่ในวันนี้และการใช้เทคโนโลยีประมวลผลต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ และทำให้อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดิจิทัล เช่น ยุคสมัยของเว็บ 3.0 ธุรกรรมต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในแพลตฟอร์มเศรษฐกิจดิจิทัล และดิจิทัลคอนเทนท์อีโคโนมี หรือเศรษฐกิจดิจิทัลคอนเทนท์แบงก์เสมือนจริง ๆ เมตาเวิร์ส เป็นต้น จะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และไทยมีความยินดีที่จะเห็นว่าการดำเนินการเหล่านี้ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาในประเทศไทย จึงมีเป้าหมายจะบรรลุการให้บริการอินเตอร์เน็ตไฮสปีดที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมด้วยราคาสมเห็นสมผล ขณะเดียวกันการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

‘Thailand Digital Valley’ บิ๊กโปรเจกต์ดึงดูดต่างชาติ กับความพรัอมสู่ศูนย์กลางด้านดิจิทัลระดับอาเซียน

(21 ก.ย. 65) เฟซบุ๊กเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ 'Thailand Digital Valley ศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัล EECd ศูนย์บ่มเพาะ Startup และเทคโนโลยี แห่งใหม่ของ DEPA สู่ศูนย์กลางระดับอาเซียน!!!' ว่า...

วันนี้ไปงาน Building Construction Technology Expo ซึ่งเราเป็น Media Partner ของโครงการ แล้วไปเจอกับบูธ depa Thailand หรือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งได้นำโครงการหนึ่งในโครงการที่สำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานภายใน EEC คือ Thailand Digital Valley ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่ EECd หรือพื้นที่ในการพัฒนาด้านดิจิทัล

ซึ่ง Thailand Digital Valley ถูกวางไว้เป็น ศูนย์บ่มเพาะ Startup เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในประเทศ รวมถึงดึงดูด Tech Startup และบริษัทจากทั่วโลก มาใช้สาธารณูปโภคร่วมกันในพื้นที่ EECd ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทขนาดใหญ่ มาเช่าพื้นที่เพื่อทำศูนย์วิจัยแล้ว!!!!

มาทำความรู้จักกับ Thailand Digital Valley กันก่อน
https://youtu.be/o1HGYVJGuiM

Thailand Digital Valley ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม EECd บริเวณ ศูนย์โทรคมนาคมศรีราชา ในขอบเขตเดียวกับ GISTDA ซึ่งเป็น Gateway internet ด้วยสาย Fiber Obtic ของ CAT อีกด้วย!!!

จึงทำให้หาความได้เปรียบของตำแหน่งในการพัฒนาสู่ศูนย์กลางของธุรกิจดิจิทัลของไทย เพื่อเป็น ศูนย์กลางด้านการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงแห่งภูมิภาคอาเซียน

โดยภายในโครงการ Thailand Digital Valley มีพื้นที่สำหรับพัฒนาโดยรวม 30 ไร่ แบ่งเป็น 5 อาคาร (ตามเฟสการก่อสร้าง) ได้แก่...

1. อาคาร depa Digital One Stop Service พื้นที่ 1,500 ตารางเมตร (สร้างเสร็จแล้ว มีพื้นที่ให้เช่า พร้อมกับ Co-Working space ให้ใช้งาน)

เป็นพื้นที่ให้บริการอำนวยความสะดวกกับนักลงทุน (One Stop Service : OSS) และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเชื่อมต่อข้อมูลมายังศูนย์สั่งการอัจฉริยะของเมือง โดยจะมีระบบรองรับการบริหารจัดการเมืองในลักษณะ Intelligent Operation Center ผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายเมืองอัจฉริยะ (smart city) รวมถึงเป็นศูนย์ประสานงานสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคตะวันออก

2. อาคาร Digital Startup Knowledge Exchange Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 1) พื้นที่ 4,500 ตารางเมตร (กำลังก่อสร้าง จะเสร็จภายในปี 65 นี้!!!) 

ซึ่งอาคารนี้เป็นหน้าด่าน และประตูของทั้งโครงการ เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้นวัตกรรมดิจิทัล ประกอบด้วยพื้นที่ทำงานร่วม (Co-Working Space) พื้นที่สำนักงาน (Office) และพื้นที่ธุรกิจ (Commercial Area)

3. อาคาร Digital Innovation Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 2) พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร (เริ่มก่อสร้างแล้ว เสร็จปี 66)

เป็นศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล ประกอบด้วยพื้นที่ทดสอบเทคโนโลยี 5G (5G Testing Lab) ห้องปฏิบัติการระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent Lab) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) พื้นที่ออกแบบนวัตกรรมไอโอทีและระบบอัจฉริยะ (IoT Design Center) พื้นที่ประดิษฐ์ต้นแบบนวัตกรรมไอโอที (Prototyping Fabrication Lab) และพื้นที่ออกแบบและทดสอบเครื่องกลและหุ่นยนต์ (Mechatronics and Robotics Lab)

4. อาคาร Digital Edutainment Complex (อาคารนวัตกรรม IoT 3) พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร 

เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้และท้าทายความสามารถ อาทิเช่น Robotic School, Robot Fighting Arena, Drone School และ Drone racing Arena

5. อาคาร Digital Go Global Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 4)พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร 

เป็นศูนย์ออกแบบและทดสอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติ (International Digital and Innovation) และกำหนดให้เป็นพื้นที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ Startup ของไทย เพื่อให้มีการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศด้วยนวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นในการสร้าง Product, พัฒนา Product

‘หมอชลน่าน’ ชู 2 เสาหลักสร้าง ศก.ดิจิทัล ตั้งเป้าปี 2570 สร้างคนดิจิทัล 2 ล้านคน

(22 ธ.ค. 65) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมมนา ‘NEXT STEP THAILAND 2023 ทิศทางแห่งอนาคต’ จัดโดยสปริงนิวส์ เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ โดยในโอกาสนี้นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย นางสาวตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย นางสาวชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เข้าร่วมงานสัมมนาด้วย

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว กล่าวว่า ภายในปี 2570 พรรคเพื่อไทยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยต้องเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค คนไทยต้องรู้เท่าทัน รู้การเปลี่ยนแปลง และก้าวไปได้ทันกับเศรษฐกิจดิจิทัล เพราะเศรษฐกิจดิจิทัล มีทั้งโอกาสและอันตรายซ่อนอยู่ คือ เค้กชิ้นใหญ่ที่ทุกฝ่ายอยากไขว่คว้ามาแบ่งกัน ปัญหาคือประเทศไทยไม่มีคนผลิตเค้ก พรรคเพื่อไทยจึงต้องตอก 2 เสาหลัก เพื่อวางอนาคตด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่

1. โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ซึ่งคือเครื่องผลิตเค้ก พรรคเพื่อไทยไม่ได้หยุดอยู่ที่อินเทอร์เน็ตฟรีทุกหมู่บ้าน หรือแท็ปเล็ตฟรีทุกครอบครัว แต่พรรคเพื่อไทยต้องการวางโครงสร้างระบบการเงินของประเทศด้วย Central Bank Digital Currency (CBDC) ให้คนไทยทุกคนมีกระเป๋าสตางค์ดิจิทัล มี digital ID ของตนเอง ทลายกำแพงการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย Blockchain สัญชาติไทย รวมทั้งการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

พรรคเพื่อไทยประกาศเปิดเขตธุรกิจใหม่ 4 แห่ง เชียงใหม่ กรุงเทพ ขอนแก่น หาดใหญ่ เพื่อสร้างกฎหมายธุรกิจใหม่ ดึงดูดการลงทุนต่างชาติด้านดิจิทัล และธุรกิจในโลกยุคใหม่ เขตธุรกิจใหม่นี้จะสร้างและเชื่อมเอสเอ็มอีที่มีตลาดในมือ กับ สตาร์ตอัปที่มีไอเดียและเทคโนโลยี และยังดึงดูดแรงงานทักษะสูงจากต่างชาติเข้าทำงานระยะยาวในไทย

'เหงียน' คิดใหญ่!! มุ่งสู่ 'ประเทศ ศก.ดิจิทัล-หลุดรายได้ปานกลาง' พา 'เวียดนาม' เป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2045 

รัฐบาลเวียดนาม เดินหน้า Road Map ยกระดับประเทศกำลังพัฒนารายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล ตั้งเป้าในการเป็นสังคมดิจิทัล 100% ภายในปี 2030 ที่จะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ Start-ups และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีใหม่ และจะช่วยการยกระดับรายได้ประชาชนในประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัลของเวียดนาม เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2020 ที่จะผลักดันภาคเศรษฐกิจดิจิทัลให้โตขึ้นจากเดิม 14% ของ GDP ให้ได้ถึง 20% ของ GDP ภายในปี 2025 โดยเชื่อว่า หากรัฐบาลสามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างประเทศที่ขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ จะสามารถพาเวียดนามขึ้นสู่ประเทศที่มีรายได้สูงในอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า

ตัวเลขเหล่านี้ รัฐบาลเวียดนาม อ้างอิงจากการคาดการณ์ของ World Bank ที่กล่าวว่า หากภาคธุรกิจดิจิทัลโตได้ถึง 10% ในแต่ละปี ตั้งแต่ปีนี้ (2021) จะสามารถสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ ภายในปี 2045 ซึ่งเกือบเท่ากับ GDP ของเวียดนามในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลเวียดนามจึงตัดสินใจปูพรมมุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นใหม่ สร้างศูนย์ฝึกอบรม Start-ups ในหลายเมือง อาทิ ฮานอย, ดานัง, โฮจิมินห์ ซิตี้ อัดฉีดงบประมาณเพื่อการศึกษา พัฒนา นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ ให้ได้ 1% ของ GDP

จึงเกิดปรากฏการณ์ธุรกิจดิจิทัลบูมอย่างมากในเวียดนาม จากตัวเลขผู้ประกอบการธุรกิจในเวียดนามตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา พบว่ามี Start-ups หน้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และมีบริษัทด้านธุรกิจ IT ทั้งฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และ สร้างสรรค์คอนเทนต์ดิจิทัลเกือบ 14,000 บริษัท จากเดิมที่หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีก่อน ในเวียดนามแทบไม่มีธุรกิจประเภทนี้เลยในประเทศ

และตอนนี้เวียดนามกำลังเป็นประเทศที่น่าจับตาที่ดึงดูดนักลงทุนด้านธุรกิจดิจิทัลจากทั่วโลก โดยล่าสุดเวียดนามขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของประเทศที่มีการตกลงทำสัญญาในธุรกิจด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในอาเซียน และมีธุรกิจที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ หรือที่เรียกว่า 'ยูนิคอร์น' ถึง 4 บริษัท ได้แก่ VNG, VNPay, MoMo และ Sky Mavis

ถึงแม้รัฐบาลเวียดนามจะทุ่มเทอย่างเต็มที่สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล แต่ก็ยังมีอุปสรรคบางประการที่อาจทำให้เวียดนามไปไม่ถึงเป้า และยังเป็นจุดที่นักลงทุนกังวล คือ การปรับกรอบข้อกฎหมายใหม่ให้เข้ากับธุรกิจในยุคดิจิทัล เช่น การจัดเก็บภาษี การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันฐานข้อมูลสำคัญ หรือการเข้าแทรกแซงของภาครัฐ อีกทั้งปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในประเทศที่มีทักษะในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับสูง ที่จะรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบของประเทศ

แต่ก็นับว่าเวียดนามเป็นเสือซุ่มที่น่าจับตาในอาเซียน ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไกล และตั้งเป้าไว้สูงของรัฐบาลเวียดนามนั้น ทำให้ไทยเราต้องเร่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล หากไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

เอาแล้ว!! จีนเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม ‘เมตาเวิร์ส’ พุ่งเป้าสู่เสาแห่ง ‘วิถีชีวิต-เศรษฐกิจดิจิทัล’

(11 ก.ย. 66) สำนักข่าวซินหัว เผย กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน และหน่วยงานอื่นๆ อีก 4 แห่ง ร่วมออกแผนปฏิบัติการ ระยะ 3 ปี (2023-2025) เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมเมตาเวิร์ส (Metaverse)

แผนปฏิบัติการดังกล่าวกำหนดรายละเอียดมาตรการอันรวมถึงการสร้างเทคโนโลยีเมตาเวิร์สขั้นสูงและระบบอุตสาหกรรม โดยจีนจะมุ่งสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้ และด้านอื่นๆ เกี่ยวกับเมตาเวิร์ส รวมถึงทำให้เมตาเวิร์สกลายเป็นเสาแห่งการเติบโตที่มีนัยสำคัญในเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากนั้นจีนตั้งเป้าหมายบ่มเพาะบริษัทเกี่ยวกับเมตาเวิร์สที่มีอิทธิพลระดับโลก 3-5 แห่ง และสร้างเขตกลุ่มอุตสาหกรรม 3-5 แห่ง พร้อมมุ่งยกระดับนวัตกรรมเชิงบูรณาการของเทคโนโลยีเมตาเวิร์สที่สำคัญ และวางพันธกิจขั้นต้นในอุตสาหกรรมเมตาเวิร์สและวิถีชีวิตดิจิทัล

‘จีน’ ออกแผนส่งเสริมความเจริญร่วมกัน ผ่าน ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ หนุนสร้างความสมดุลในการพัฒนา-อุดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ

(27 ธ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า สำนักข้อมูลระดับชาติของจีน รายงานว่า จีนได้ออกแผนการดำเนินงานว่าด้วยการสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ผ่านเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยิ่งใหญ่และดีขึ้น

แผนการข้างต้นร่วมออกโดยสำนักฯ และคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ มุ่งสนับสนุนการบูรณาการเชิงลึกของเทคโนโลยีดิจิทัลและภาคเศรษฐกิจจริง พร้อมกับแก้ไขปัญหาการพัฒนาอันไม่สมดุล และไม่เพียงพอผ่านวิธีการทางดิจิทัล

จีนควรมีความก้าวหน้าเชิงบวกในการอุดช่องโหว่ระหว่างภูมิภาค พื้นที่เมืองและชนบท กลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน ตลอดจนการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี 2025

ต่อจากนั้น จีนควรมีความก้าวหน้าอันเป็นรูปธรรมในการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ผ่านเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี 2030 โดยมีชุดแนวปฏิบัติทางนวัตกรรมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก พร้อมใช้ซ้ำและส่งเสริมทั่วประเทศ

แผนการข้างต้นกำหนดการเตรียมการ 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาระดับภูมิภาคเชิงประสานผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล เดินหน้าการพัฒนาทางดิจิทัลในชนบท เพิ่มพูนความรู้ทางดิจิทัลของสาธารณชนเพื่อการจ้างงานที่ดีขึ้น และเกื้อหนุนการบริการทางสังคมอันครอบคลุมผ่านวิธีการทางดิจิทัล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top