Thursday, 28 March 2024
เรือประมง

กองทัพเรือโดย ทัพเรือภาคที่ 3 ช่วยกู้เรือประมงจมกลางทะเล

นาวาเอก เชษฐา คุ้มเจริญ ผู้ช่วยโฆษกทัพเรือภาคที่ 3 ได้แถลงข่าว ถึงการช่วยเหลือเรือประมงจมน้ำกลางทะเล จ.สตูล ว่าเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.64 ที่ผ่านมา พลเรือโท สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ได้จัดหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ เกาะหลีเป๊ะ (นรภ.ทร.เกาะหลีเป๊ะ) จัดกำลังพลพร้อมเรือยางท้องแข็ง (RIB) ให้ความช่วยเหลือชาวประมงในการกู้เรือประมงสีนิล 7 ที่ประสบเหตุจมกลางทะเลสตูล โดยลูกเรือ 7 คนได้รับช่วยเหลือขึ้นจากน้ำและกลับเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย ทั้งนี้เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.64 ที่ผ่านมา ได้ลากเรือดังกล่าวมาเกยหาดที่บริเวณชายฝั่งแหลมเตะปัน ท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล เป็นที่เรียบร้อย

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.64 ได้ระดมกำลังพล นรภ.ทร.เกาะหลีเป๊ะ ทั้งหน่วยร่วมกับเจ้าของเรือ นำเครื่องสูบน้ำที่ได้รับการสนับสนุนจากเรือ ต.996 มาทำการสูบน้ำออกจากตัวเรือ เพื่อกู้เรือนำกลับไปซ่อมแซม ตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาพลบค่ำ ทำให้ระดับน้ำในเรือลดลง และสามารถกู้เรือที่จมน้ำได้ในที่สุด

ศพดส.ตร. พบเรือประมงสองจังหวัด สวมทะเบียนลอบทำประมงผิดกฎหมาย สั่งขยายผลจับกุมผู้เกี่ยวข้อง เชื่อ!!เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนรู้เห็น

จากกรณีที่ประเทศไทยได้ถูกลดอันดับการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์จากทางการสหรัฐฯ ลงเป็นอันดับประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยมีข้อสังเกตในเรื่องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและแรงงานข้ามชาติซึ่งเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการประมง รวมทั้งปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามที่ทราบแล้ว นั้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการบังคับใช้แรงงานในภาคการประมง โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการประมง เพื่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ/ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/ รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยเร่งด่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร./รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้เดินทางมาตรวจสอบเรือประมงต้องสงสัยในการสวมซาก ปลอมเปลี่ยนแปลงชื่อเรือ ที่คานเรือ ต.โกรกกราก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 

หลังได้รับรายงานจาก สภ.สัตหีบว่า เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2565 เจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจประมงชลบุรีเข้าตรวจสอบเรือประมงชื่อโนรีนาวา ณ ท่าเทียบเรือสะพานปลาป้าแคลง ซึ่งเรือลำดังกล่าวยื่นคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชั่วคราว เนื่องจากกรณีตัวเรือเกิดชำรุดเสียหายต้องซ่อมแชม โดยนำเรือเข้าอู่เรือคานเรือ หรือท่าเทียบเรือประมงไว้กับด่านตรวจประมงชลบุรี แต่เมื่อไปตรวจสอบ ไม่พบเรือลำดังกล่าวที่ท่าเทียบเรือสะพานปลาป้าแคลง จึงขยายผลตรวจสอบ จนพบเรือดังกล่าว ถูกนำไปจอดไว้ห่างออกไป ซึ่งคาดว่าจะนำเรือไปจม เพื่อนำหมายเลขเรือดังกล่าวไปสวมซากเรือ 

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภ.1/หน.ชป.2 พ.ต.อ.น้ำเพขร ทรัพย์อุดม รอง ผบก.คด./รอง หน.ชป.ที่ 2 พร้อมพวกตำรวจสืบสวนขยายผลจนได้ข้อมูลว่า มีเรือที่เกี่ยวข้องกัน อยู่ที่ จ.สมุทรสาคร จึงเดินทางมาตรวจสอบพบเรือต้องสงสัยอีก 1 ลำ จึงร่วมกับพิสูจน์หลักฐาน กรมเจ้าท่า กรมประมง ศรชล. ตำรวจน้ำ ทำการตรวจพิสูจน์

เบื้องต้นพบว่า นายสนั่น แซ่ลี้ เป็นเจ้าของเรือ โดยให้การว่า ซื้อเรือ ศุภประภานำโชค   มาจาก น.ส.สุธีรา มุกดา อยู่ที่ ต.แสมสาร  ชลบุรี  เมื่อวันที่ 16 พ.ย.64  ในราคาสามแสนบาท   โดยจดทะเบียนที่ กรมเจ้าท่าถูกต้อง ก่อนผู้ขายจะขับเรือมาส่งให้ ที่ท่าหน้าบ้าน เลขที่ 82/6 ม.2 ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร  โดยผู้ซื้อเดินทางด้วยรถยนต์ มาจดทะเบียนโอนเรือให้ที่ จท.สมุทรสาคร  และจอดเรือไว้ที่ท่าหน้าบ้านประมาณ 20 วัน จึงนำเรือมาขึ้นคานซ่อมแซม ที่คานเรือ เนื่องจากเรือมีสภาพทรุดโทรมมาก จากนั้นตน ก็ไปขอโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ และได้รับแล้ว  มีเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง  

จากการตรวจสอบกายภาพของเรือ พบมีชื่อ เลขทะเบียน เลขเครื่องหมายประจำเรือประมง  มีการตอกเลขอัตลักษณ์2 แห่ง จึงได้แจ้งจท. Pipo ศรชล. พฐ. ร่วมตรวจสอบเรือ โดยตรวจวัดขนาด และตรวจเลขอัตลักษณ์ พฐ.ตรวจพิสูจน์ ชื่อเรือ  เลขทะเบียน โดยจะลอกสี  เพื่อดูชื่อเรือที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ รวมทั้งตรวจ การตอก ร่องรอยลักษณะ 

โดยเบื้องต้นพบว่า เรือลำดังกล่าวมีการขูดเปลี่ยนแปลงหมายเลขเป็นอีกลำหนึ่ง ซึ่งน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ เรือ ศุภประภานำโชค เรือโนรีนาวา ที่ตรวจพบที่ สัตหับ จ.ชลบุรี

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เรือต้องสงสัยที่ตรวจพบทั้งหมด มีความเชื่อมโยงกัน มีการขูดลอกเลข เพื่อปลอมแปลงชื่อเรือ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบโดยละเอียดของกองพิสูจน์หลักฐาน หากพบการกระทำความผิด จะเรียกผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี รวมทั้งขยายผลว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจหรือไม่ ยืนยันว่าจะทำความจริงให้ปรากฏ แยกน้ำดีออกจากน้ำเสีย เพื่อแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายตามนโยบายรัฐบาล” 

 

สมุทรปราการ - บิ๊กโจ๊ก!! สนองนโยบายรัฐบาล ลงพื้นที่ตรวจเรือประมง กว่า 10,000 ลำ ก่อนออกใบอนุญาต ลั่น! พร้อมปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย

ที่ท่าเทียบเรือสะพานปลาสมุทรปราการ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ โดย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เดินทางมาเป็นประธาน เปิดปฏิบัติการ joint Mission by IUU Hunter ณ บริเวณท่าเทียบเรือสะพานปลาสมุทรปราการ โดยมี นายอานันต์ อัลมาตร์ ผอ.กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิตกรมประมง พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จาก กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และองค์กรภาคประชาสังคมตลอดจนคณะเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการร่วมให้การต้อนรับและร่วมในพิธีเปิดปฏิบัติการการตรวจเครื่องมือประมงพาณิชย์แบบบูรณาการ

ด้าน พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เปิดเผยว่า โดยในวันนี้ได้มีการกำหนดให้มีการตรวจสอบเรือประมง โดยการสอบตรวจเรือประมงนั้น จะอยู่ในระยะเวลาคราวละ 2 ปี ต่อครั้ง ซึ่งในวันนี้ก็ครบรอบในการตรวจสอบเรือประมงเพื่อที่จะออกใบอนุญาตในปี 65 - ปี 67 โดยยอมรับว่าในรัฐบาลปัจจุบันโดยท่าน พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดแม่แบบโดยให้ประเทศไทยเป็นผู้นำอาเซียนในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย

และสิ่งสำคัญในวันนี้คือ การทำประมงอย่างยั่งยืนเพื่อให้สัตว์น้ำอยู่ต่อถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยได้กำหนดมาตรการ 4 ส่วน คือ การตรวจการออกใบอนุญาตเรือประมงพาณิชย์ การกำหนดมาตรฐานของเรือประมง การกำหนดการตรวจสภาพการจ้างงานเพื่อคุ้มครองดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างเรือประมง และการกำหนดเครื่องมือการจับสัตว์น้ำการทำประมง เพื่อช่วยควบคุมดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในอนาคต

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เป็นประธานเปิดการอบรมยกระดับความสามารถการตรวจเรือประมงและแรงงานในเรือประมงของศุนย์ PIPO รุ่น 10

วันนี้ (13 ก.ค.66) เวลา 11.30 น. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผอ.ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง (ศพดส.ตร.) ได้เป็นประธานในการเปิดโครงการอบรมสัมมนา ยกระดับขีดความสามารถในการตรวจเรือประมงและแรงงานในเรือประมงของผู้ปฏิบัติงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก รุ่นที่ 10 ณ โรงแรมมณีจันทร์ รีสอร์ท จ.จันทบุรี โดยจะอบรมระหว่างวันที่ 12 – 14 ก.ค.66 ซึ่งในครั้งนี้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน และพนักงานสอบสวน รวมจำนวนกว่า 702 คน

การจัดการฝึกอบรมนี้ สืบเนื่องจากการประเมินระดับการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ของทางการสหรัฐฯ ซึ่งประเทศไทยได้รายงาน TIP Report และได้รับคำแนะนำเป็นข้อสังเกตว่า ประเทศไทยยังต้องมีการพัฒนาการตรวจแรงงานที่ท่า ซึ่งยังไม่ได้ใช้วิธีการตามมาตรฐานในการตรวจสอบการสูญหายในทะเล และการค้ามนุษย์บนเรือประมง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ยังขาดความสม่ำเสมอและขาดประสิทธิภาพในการตรวจเนื่องจากยังขาดประสบการณ์ ดังนั้น ในปีที่ผ่านมา ศพดส.ตร. จึงได้มีการปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ PIPO ประจำปี 2566 โดยมุ่งพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ เพิ่มแนวทางปฏิบัติกรณีพบลูกเรือพลัดตกน้ำ การตรวจหนังสือคนประจำเรือ การตรวจคุ้มครองแรงงานบนเรือประมง และตรวจสภาพแวดล้อมของแรงงานเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้เป็นการยกระดับมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ได้มีแผนที่จะอบรมเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ PIPO ทั่วประเทศในปีนี้จำนวน 10 รุ่นด้วยกัน

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การอบรมสัมมนารุ่นนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายประจำปีงบประมาณ 2566  เป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มความรู้เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ PIPO ซึ่งในปีนี้ ศพดส.ตร. จึงได้มีการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ PIPO รวมทั้งจัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพในการตรวจแรงงานในเรือประมง รวมทั้งสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทยก้าวหน้าไปอีกขึ้นหนึ่ง และยกระดับประเทศไทยสู่เทียร์ 1 ต่อไป

ศรชล.ภาค 1/ทรภ.1 ส่งเรือช่วยเหลือลูกเรือประมง เชือกพันขาขาด กลางทะเล

เมื่อเวลา 21.30 น. วันที่ 27 ก.พ.67 ทัพเรือภาคที่ 1 และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 1 (ศรชล.ภาค 1 ) ได้รับแจ้งจากไต๋เรือ ส.ตะวัน 14 ว่ามีลูกเรือได้รับบาดเจ็บจากเชือกพันขาขาด บริเวณระยะ 29.6 ไมล์ทะเล จากแหลมปู่เจ้า ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 

หลังรับแจ้ง ได้ส่งเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง 268 (ต.268) ให้การสนับสนุนขนย้ายผู้ป่วย ลูกเรือ ส.ตะวัน 14 กลับมายังท่าเรือ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร.กร.) เขาหมาจอ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และดำเนินการส่งต่อไปยัง รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เพื่อรับการรักษาโดยเร่งด่วนต่อไป

โดยผู้บาดเจ็บ เป็นลูกเรือประมงที่ประสบอุบัติเหตุอาการสาหัสจากเชือกพันขาจนขาขวาขาด ดังกล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top