Thursday, 3 April 2025
เบนซิน

กระจ่างชัด!! ทำไมน้ำมันไทยมีหลายประเภท แล้วแต่ละประเภทต่างกันยังไง

ในปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนในประเทศไทยใช้กันเป็นประจำทุกวัน แต่ทราบหรือไม่ว่าน้ำมันแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วทำไมราคาถึงไม่เท่ากัน? 

ก่อนที่จะมาหาข้อแตกต่างระหว่างน้ำมันแต่ละชนิด เราต้องเข้าใจถึงความแตกต่างกันระหว่าง ‘เครื่องยนต์’ ก่อนว่ามีหลายรูปแบบ เช่น เครื่องยนต์ ‘ดีเซล’ กับ ‘เบนซิน’ แต่ละแบบก็มีอัตรากลไกการทำงานที่ต่างกัน อย่าง อัตราส่วนของการอัดอากาศ ก็คนละอย่างกัน อาทิ ดีเซล จะมีอัตราการอัดอากาศเยอะ ในขณะที่เบนซินจะมีแรงอัดอากาศที่ต่ำกว่า

โดยดีเซลไม่ใช่ชื่อตัวละครใน Fast And Furious แต่อย่างใด แต่น้ำมันดีเซลเป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน (เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะใช้กับรถกระบะ, รถบรรทุก, เรือประมง, เรือโดยสาร, เพราะสามารถสร้างแรงบิดได้สูง ตั้งแต่ในรอบต่ำ นั้นจึงเหมาะกับการฉุดลากหรือขนส่งสิ่งของนั้นเอง 

ส่วนน้ำมันไบโอดีเซล คือ น้ำมันที่สกัดจากพืชผลทางการเกษตร เช่น ปาล์ม (ส่วนหลัก), ข้าวโพด, รำข้าว, สบู่ดำ, มะพร้าว, ทานตะวัน, ถั่วเหลือง, เมล็ดเรพ และน้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีจนเกิดเป็น สารเอสเตอร์ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล เรียกว่า ‘ไบโอดีเซล’ หรือ ‘B100’

ทีนี้ เรามาดูกันต่อ สำหรับความแตกต่างระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ว่ามันต่างกันอย่างไร?

น้ำมันเบนซินนั้นไม่มีส่วนผสมของสารที่เอาไว้เพิ่มค่าออกเทนหรือเอทานอล ส่วนแก๊สโซฮอล์นั้นมาจากคำว่า แก๊สโซลีน + แอลกอฮอล์ หรือน้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล โดยในประเทศไทย 

แก๊สโซฮอล์ไม่เพียงหมายถึงการผสมเอทานอลในระดับต่ำ (E 10, E 20) แต่ยังรวมถึงเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย (เช่น E 85 ซึ่งเป็นส่วนผสมของเอทานอล 85% และน้ำมันเบนซิน 15%)

ในการใช้งาน ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เบนซินให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า และการหล่อลื่นที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันน้ำมันเบนซินหาได้ยาก ในขณะที่แก๊สโซฮอล์จะเป็นที่แพร่หลายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม แก๊สโซฮอล์ ก็ยังมีทั้งแก๊สโซฮอล์ 91 กับ 95 แล้ว 2 ตัวนี้ มันต่างกันยังไง? 

‘มิ่งขวัญ’ ชูแคมเปญ ‘ลดเบนซิน 18 บาท-ดีเซล 6 บาท’ ลั่น!! อยากได้น้ำมันราคานี้ ต้องเลือก ‘พปชร.’

(18 มี.ค.66) เมื่อเวลา 18.20 น.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายพรรคพปชร. กล่าวปราศรัยโดยชูนโยบายลดราคาน้ำมัน ว่า พรรคพปชร.มีแคมเปญราคาน้ำมัน ที่จะส่งให้พรรคพปชร. เข้าไปนั่งอยู่ในใจของประชาชนทุกคน โดยราคาพลังงานจะสามารถปรับลงลดเพื่อช่วยประชาชนได้ เรามีแนวคิดที่จะรื้อโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยจะปรับลด 1 ปี นับตั้งแต่เป็นรัฐบาล เมื่อเป็นรัฐบาลแล้ว ช่วง 3-4 เดือนแรก จะมีคณะกรรมการขึ้นมาปรับโครงสร้างใหญ่ คือ ภาค 2 ที่จะดำเนินการ การปรับลดสามารถทำได้ เมื่อเราเป็นรัฐบาล เพื่อลดรายจ่าย ค่าเดินทาง การขนส่งสินค้า

ที่สำคัญที่สุด คือ ลดต้นทุนการผลิตสินค้า ทุกขั้นตอนลดอัตราเงินเฟ้อ และจะทำให้ราคาสินค้า อุปโภคบริโภคของประชาชนถูกลง หากโครงสร้างถูกปรับเปลี่ยน จะสามารถลดราคาน้ำมันเบนซิน ลงได้ประมาณลิตรละ 18 บาท และลดราคาน้ำมันดีเซล ลงประมาณลิตรละ 6 บาท

‘ก.พลังงาน’ เอาจริง!! ขู่ ‘ผู้ค้าน้ำมัน’ คุมค่าการตลาด ‘เบนซิน’ หากไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมผนึก ‘ก.พาณิชย์’ ใช้กฎหมายบังคับ

(22 พ.ย. 66) นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า หลังจากที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับค่าการตลาดน้ำมันเบนซินของผู้ค้า ที่สูงกว่าที่กระทรวงพลังงานขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ ให้ปรับลดราคาขายปลีกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน และได้มีการศึกษามาแล้วว่า ถึงแม้ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจาก ค่าแรง ค่าเช่า อัตราภาษีที่ดิน ตลอดจนค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น ผู้ค้ายังควรต้องรักษาระดับค่าการตลาดให้อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสม และเป็นธรรมกับผู้บริโภค

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์การปรับขึ้น-ลงค่าการตลาดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางช่วงก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 2 บาท แต่ในบางช่วงก็อยู่ในระดับที่สูงกว่า 2 บาท พบว่า ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน มีค่าสูงเกินค่าที่เหมาะมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด 4.8 บาทต่อลิตร และกระทรวงพลังงานได้ขอให้ผู้ค้าให้ความร่วมมือ ไม่ให้ค่าการตลาดน้ำมันกลุ่มเบนซินในภาพรวมสูงเกินกว่า 2 บาทเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมันให้แก่ประชาชน ซึ่งหากมีความจำเป็น กระทรวงพลังงานจะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ใช้มาตรการด้านกฎหมายในการเข้ากำกับดูแล

ทั้งนี้ ค่าการตลาด คือ ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดการคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ รวมถึงการให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน

“ผมได้ขอให้ผู้ค้าน้ำมันทุกราย ควบคุมค่าการตลาดน้ำมันเบนซินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นธรรมกับทั้งผู้ค้าน้ำมันและประชาชนผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ค้าน้ำมันจะมีการปรับขึ้น-ลงค่าการตลาดน้ำมันเฉลี่ยทุกชนิด ซึ่งบางช่วงก็ต่ำกว่า 2 บาท และบางช่วงก็สูงกว่า 2 บาท แต่ในช่วงนี้ ค่าการตลาดสูงเกินไป ถึงแม้ว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวน แต่อยากให้ผู้ค้าน้ำมันคำนึงถึงประชาชน ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันในช่วงนี้”

ดังนั้น หากยังไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมัน อาจจำเป็นต้องประสานกับกระทรวงพาณิชย์ในการใช้มาตรการด้านกฎหมายเข้ากำกับดูแล

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะสร้างสมดุลด้านราคา โดยเฉพาะค่าการตลาด ระหว่างผู้ค้าน้ำมันกับผู้บริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกฎหมาย แต่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ

ส่องราคาน้ำมัน ในอาเซียน 'เบนซิน-ดีเซล' ใครแพงที่สุด-ถูกที่สุด?

จัดอันดับราคาน้ำมัน 'เบนซิน-ดีเซล' ในอาเซียน ใครแพงที่สุด-ถูกที่สุด? แล้วไทยอยู่ตรงจุดไหน? ✨✨

ข้อควรรู้ : การเก็บข้อมูลราคาน้ำมันในอาเซียน

- แต่ละประเทศสมาชิกมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน
- หลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคาอยู่
- ไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

(หมายเหตุ : ข้อมูลราคาน้ำมันข้างต้น ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95, E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด)

‘มาเลเซีย’ ไม่แบกต่อ จ่อยกเลิกอุดหนุนราคา ‘เบนซิน 95’ ต่อจากดีเซล คาด!! ทำเงินเฟ้อแตะ 3.5 แต่เพื่อลดเป้าขาดดุลเหลือ 4.3% ต้องทำ!!

(11 มิ.ย.67) อามีร์ ฮัมซาห์ อาซิซาน รัฐมนตรีช่วยคลังของมาเลเซีย แถลงว่า รัฐบาลจะยกเลิกมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลแบบปูพรม โดยนับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 10 มิ.ย.67 นี้เป็นต้นไป ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกหน้าปั๊มจะปรับขึ้นมาเป็นราคาตลาดที่ 3.35 ริงกิตต่อลิตร (ราว 26.21 บาท) ยกเว้นเพียงรัฐซาบาห์ ซาราวัก และเขตลาบวน ที่จะยังได้รับการอุดหนุนที่ราคาเดิม 2.15 ริงกิตต่อลิตร (ราว 16.83 บาท) ต่อไป 

รัฐบาลประกาศด้วยว่าจะดำเนินการยกเลิกการอุดหนุน "น้ำมันเบนซิน RON95" แบบปูพรมเป็นรายการต่อไป โดยปัจจุบันเบนซิน RON95 เป็นน้ำมันเบนซินที่มีราคาถูกที่สุด และเป็นที่นิยมมากที่สุดในมาเลเซีย โดยนอกจากรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณอุดหนุนมหาศาลแล้ว ก็ยังมีปัญหาการลักลอบขนน้ำมันไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านริงกิตอีกด้วย   

อามีร์ กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการอุดหนุนราคาดีเซลครั้งนี้คาดว่าจะช่วยรัฐบาลประหยัดได้ถึงราว 4 พันล้านริงกิตต่อปี (ราว 3.1 หมื่นล้านบาท) ขณะที่รัฐบาลใช้งบประมาณอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลในปี 2566 ไปถึง 1.43 หมื่นล้านริงกิต (ราว 1.12 แสนล้านบาท)

หลังจากที่ยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลแบบปูพรมทั้งประเทศแล้ว รัฐบาลจะหันไปใช้มาตรการช่วยเหลือแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมายแทน โดยจะแจกเงินให้กลุ่มเป้าหมายที่ใช้น้ำมันดีเซลกว่า 3 หมื่นราย เข้าบัญชีคนละ 200 ริงกิตต่อเดือน (ราว 1,500 บาท) เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.67 นี้ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์บางประเภท เช่น ขนส่งสาธารณะ และประมง จะได้รับการช่วยเหลือภายใต้โครงการอุดหนุนเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย

ธนาคารกลางมาเลเซีย เคยคาดการณ์ว่า การยกเลิกมาตรการอุดหนุนทั้งดีเซล และเบนซิน 95 อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศขยายตัวแตะระดับสูงสุด 3.5% ในปีนี้ จากระดับต่ำกว่า 2% ในเดือนก.ย.2566 

ขณะที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม เคยประกาศเป้าหมายจะลดการขาดดุลงบประมาณปีนี้ลงให้เหลือ 4.3% จากเดิมที่ขาดดุล 5% ในปี 2566 ท่ามกลางแรงกดดันให้ทยอยยกเลิกมาตรการอุดหนุนแบบปูพรม โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปที่นักลงทุนจับตาอย่างใกล้ชิด 

'ชาวมาเลเซีย' โอด!! 'เบนซิน-ดีเซล' เตรียมขึ้นราคาแบบไร้ปรานี คาด!! ต้องใช้ SPR เป็นคำตอบสุดท้าย แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันพุ่ง

ตั้งแต่จันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2024 ที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียได้ตัดสินใจลดการอุดหนุนน้ำมันดีเซล ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันลอยตัวเป็นอัตราตลาดที่ 3.35 ริงกิต (26.50 บาท) ต่อลิตร จากราคาเดิม 2.15 ริงกิต (17 บาท) ต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 55 

ในวันที่ 9 มิถุนายน รัฐบาลมาเลเซียได้การประกาศเหตุผลในการตัดสินใจลดการอุดหนุนน้ำมันดีเซล โดย ‘ดาโต๊ะ เสรี อามีร์ ฮัมซาห์ อาซิซาน’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “มาเลเซียจะไม่ยอมสูญเสียเงินปีละหลายพันล้านริงกิตจากการลักลอบขายน้ำมันออกนอกประเทศต่อไปอีก และจะเป็นการดีกว่าถ้าเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวมาเลเซียและเพื่อการพัฒนาประเทศมาเลเซียของเรา”

โดยวันที่ 24 พฤษภาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังผู้นี้กล่าวว่าการอุดหนุนน้ำมันดีเซลทำให้ประเทศต้องเสียเงินกว่า 1 พันล้านริงกิต (7.9 พันล้านบาท) ต่อเดือน ในขณะที่ความสูญเสียจากการรั่วไหลจากการลักลอบส่งออกอยู่ที่ราววันละ 4.5 ล้านริงกิต ในปี 2023 มีการใช้เงินอุดหนุนน้ำมันดีเซลถึง 1.45 หมื่นล้านริงกิต (1.15แสนล้านบาท) ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียคาดว่าจะสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ประมาณปีละ 4 พันล้านริงกิต

สำหรับมาตรการช่วยเหลือโดยกระทรวงการคลังจะแจกเงินสด 200 ริงกิต สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตลอดจนเกษตรกร ขณะเดียวกันยังคงให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ค้าที่ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งประกอบด้วยรถขนส่งสาธารณะ 10 ประเภท และรถขนส่งสินค้า 23 ประเภท ธุรกิจเหล่านี้รวมถึงผู้ให้บริการรถโดยสารและรถแท็กซี่ภายใต้ระบบควบคุมดีเซลแบบอุดหนุน (the Subsidised Diesel Control System) : SKDS 1.0 และ SKDS 2.0

ภายใต้ SKDS 2.0 ผู้ใช้ยานพาหนะเพื่อการขนส่งที่มีสิทธิ์ได้รับบัตรฟลีทการ์ด ซึ่งเป็นบัตรสำหรับน้ำมันดีเซลที่ได้รับการอุดหนุนเพื่อใช้ที่ปั๊มน้ำมัน แทนที่จะจ่ายเงินสดหรือใช้บัตรเครดิต/เดบิต และต้องจ่าย 2.15 ริงกิตมาเลเซีย (17 บาท)ต่อลิตร ในขณะที่ SKDS 1.0 ซึ่งมุ่งเป้าไปที่รถโรงเรียน, รถด่วน, รถพยาบาล และรถดับเพลิง มีราคาต่ำกว่าอยู่ที่ 1.88 ริงกิต (14.85 บาท) ต่อลิตร และมาตรการต่อไปคือการเลิกอุดหนุนน้ำเบนซิน (RON95) ซึ่งราคาอยู่ที่ 2.05 ริงกิต (15.97 บาท) ต่อลิตร เทียบกับน้ำมันเบนซิน 95 ในประเทศไทยที่ราคาลิตรละ 37.35 บาท

แต่ราคาน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงยังคงอยู่ที่ 1.65 ริงกิต (13 บาท) ต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักยังคงอยู่ที่ 2.15 ริงกิต (17 บาท) ต่อลิตร เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ที่นั่นใช้น้ำมันดีเซล ไม่เหมือนในฝั่งที่เป็นคาบสมุทรมาเลเซีย ด้วยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล จึงทำให้มีการลักลอบส่งน้ำมันออกเป็นจำนวนมาก ทั้งด้านไทย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลมาเลเซียใช้งบในการอุดหนุนราคาน้ำมันปีละหลายหมื่นล้านบาท แต่ในขณะที่ไทยเราใช้เงินจากกองทุนน้ำมันในการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเงินที่คิดจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินไปอุดหนุนราคาน้ำมันเช่นเดียวกับที่รัฐบาลมาเลเซียเคยปฏิบัติมาจนพึ่งจะมายกเลิก

กองทุนน้ำมันจะมีเงินกองทุนมากหรือน้อยหรือติดลบนั้นขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกสูงขึ้น เงินกองทุนน้ำมันก็จะถูกใช้เพื่ออุดหนุนราคาน้ำมันไม่ให้สูงขึ้นตามไปด้วย 

ปัจจุบันกองทุนน้ำมันถูกใช้อุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลโดยเก็บจากน้ำมันเบนซิน เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกสูง จึงต้องชดเชยราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซ LPG ด้วยเป็นน้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิงเศรษฐกิจ หากไม่ได้รับการอุดหนุนก็จะมีราคาแพงส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ และเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงกองทุนน้ำมันก็จะไม่มีภาระที่จะต้องอุดหนุนชดเชย เงินที่ถูกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น 

ทั้งนี้หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนต่างก็พยายามที่จะยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตั้งกองทุนน้ำมันเพื่อทำหน้าที่แทนเพื่อไม่ให้กระทบต่อเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อนำไปใช้ในกิจการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติแทน

แต่การใช้กองทุนน้ำมันจะสามารถแก้ปัญหาได้ในเวลาที่จำกัด หากปัญหาที่เกิดขึ้นต้องยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนานเกินไป กองทุนน้ำมันก็จะตกอยู่ในสภาพต้องจ่ายเงินออกเรื่อย ๆ จนต้องติดลบมหาศาลเช่นที่ไทยเราเป็นอยู่ในขณะนี้ 

แต่ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เร่งผลักดันเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดระบบ SPR : Strategic Petroleum Reserve หรือ การสำรองเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทางยุทธศาสตร์ เพื่อเข้ามามีบทบาททำหน้าแทนที่กองทุนน้ำมันมากขึ้น ด้วยในอนาคตเมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานเป็นผู้ถือครองปริมาณน้ำมันมากที่สุดในประเทศจนเพียงพอสำหรับการใช้งานในประเทศได้ถึง 50-90 วันแล้ว รัฐบาลย่อมสามารถนำปริมาณสำรองเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศได้ 

เพราะที่ผ่านมาปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจากวิกฤตเชื้อเพลิงมีการใช้ ‘เงิน’ จาก ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ความเป็นจริงแล้วในยามเกิดวิกฤตน้ำมัน ‘เงิน’ ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหา เพราะต้องใช้ ‘เงิน’ มากขึ้นในการซื้อน้ำมัน หรือบางสถานการณ์แม้จะมี ‘เงิน’ แต่อาจไม่สามารถหาซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง หรือซื้อแล้วก็ไม่สามารถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงมายังประเทศไทยได้ 

ดังนั้นการมีระบบ SPR ด้วยการถือครอง ‘น้ำเชื้อเพลิงสำรอง’ โดยรัฐที่มากพอสำหรับการใช้งาน 50-90 วัน ซึ่งนานพอจนกระทั่งวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงได้เบาคลายลดลงต่างหากจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

กบน.ประกาศ ลดราคาน้ำมันเบนซิน-ดีเซล 1 บาท/ลิตร มอบเป็นของขวัญให้ประชาชนช่วงสงกรานต์

กบน. มีมติปรับลดอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ลง 1 บาท/ลิตร เพื่อบรรเทาค่าครองชีพ รองรับกลับภูมิลำเนา ท่องเที่ยว ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เผยสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ทิศทางอ่อนตัว ส่งผลดีต่อ  ฐานะกองทุนฯ ภาระหนี้ลดลง 

(24 มี.ค. 68) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กบน. ได้ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางดูแลราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้สอดรับกับสถานการณ์ และความเหมาะสม โดยพิจารณาจากแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลง และสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เริ่มมีรายรับเพิ่มขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงสำหรับกลุ่มน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลงรวม 1 บาทต่อลิตร ซึ่งการปรับลดราคาดังกล่าวจะดำเนินการเป็น 2 ระยะ ครั้งละ 50 สตางค์ต่อลิตร ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 28 มีนาคม 2568 และครั้งที่ 2 วันที่ 4 เมษายน 2568 เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อประชาชน 

“การปรับลดอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากน้ำมันเบนซิน-ดีเซล ครั้งนี้ เพื่อเป็นของขวัญให้ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเดินทางเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะกลุ่มดีเซล คิดเป็น 2 ใน 3 ของปริมาณการใช้น้ำมันทั้งหมด เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางกลับภูมิลำเนา และเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัว กระตุ้นการเดินทาง เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศช่วงเทศกาลสงกรานต์”

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) รายงานถึงสถานการณ์ และฐานะของกองทุนน้ำมันฯ ในช่วงต้นปี (มกราคม 2568 - วันที่ 23 มีนาคม 2568) พบว่า ฐานะกองทุนน้ำมันฯ มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านราคาน้ำมันดิบดูไบช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเฉลี่ยกว่า 8,000 ล้านบาท/เดือน ทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯ จากเดิมเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568 กองทุนฯ ติดลบอยู่ที่ 75,945 ล้านบาท (บัญชีน้ำมันติดลบ 64,066 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบ 47,597 ล้านบาท) ปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันฯ ปรับลดลงเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2568 เหลือติดลบ 60,052 ล้านบาท (บัญชีน้ำมันติดลบ 14,063 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบ 45,989 ล้านบาท

“กบน.ยืนยันความมุ่งมั่นในการรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานให้กับประชาชน ขอให้ประชาชนมั่นใจว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะยังคงทำหน้าที่ดูแลราคาพลังงานให้เหมาะสมและเป็นธรรม พร้อมมุ่งมั่นดำเนินงานภายใต้หลักการ “เปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้” เพื่อประโยชน์ของประชาชน และทุกภาคส่วน” นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top