Sunday, 20 April 2025
เทสที่สร้างร่างที่เป็น

รู้จัก 'จิตรากร ตันโห' คนรุ่นใหม่ผู้มีแนวคิดแบบประนีประนอม ภายใต้มุมมองความสมดุลแห่งอำนาจ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น'

ถือเป็นอีกหนึ่งงานเสวนาที่ห้ามพลาด!! กับ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ ที่ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดยงานนี้ ได้รับเชิญผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ...

'โอ๊ต' จิตรากร ตันโห จบการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนิสิตปริญญาโท สาขาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำหรับ 'โอ๊ต' จิตรากร ตันโห ถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีมุมมองต่อภาพภูมิรัฐศาสตร์ไทยอย่างมีเหตุมีผล เปิดรับฟังความรอบด้าน และมักจะนำเสนอบทความเชิงสร้างสรรค์สู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง

โอ๊ต เคยกล่าวว่า ตนเป็นคนที่มีแนวคิดแบบประนีประนอมและเชื่อในระบอบการปกครองแบบผสม (Mixed Constitution) ซึ่งเป็นระบอบการเมืองที่ว่ากันว่าสามารถทำให้เกิดความสมดุลทางการเมือง และจะไม่มีผู้เล่นทางการเมืองคนใดสามารถใช้ระบบดังกล่าวเพื่อทำลายอีกฝ่ายได้ ประกอบด้วย 3 ส่วนผสมกัน 

ส่วนแรกก็คือ The One (เอกบุคคล หรือประมุข) ส่วนสองเรียกว่า The Few (คณะบุคคล) ส่วนสามก็คือ The Many (มหาชน หรือประชาชน) การที่เราจะปกครองประเทศหรือรัฐ 

"เราต้องทำให้ทั้ง 3 ส่วนเสมอกัน ไม่ให้ประมุขของประเทศมีอำนาจมากเกินไป ไม่ให้คณะบุคคลมีอำนาจมากเกินไป รวมถึงไม่ให้ประชาชนมีอำนาจมากเกินไปด้วย ซึ่งแนวคิดการไม่ยอมให้ใครมีอำนาจมากเกินไปสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนมากในสหรัฐฯ ในตอนแรกผู้นำสหรัฐฯ บอกว่าเขาไม่ได้สร้างประชาธิปไตย เขาบอกว่าจะสร้างสาธารณรัฐ ซึ่งในการบอกว่าเขาจะสร้างสาธารณรัฐ แนวคิดพื้นฐานคือวางอยู่บนความไม่ไว้วางใจใครเลย ดังนั้นเลยออกมาในรูปแบบของกลไกในการถ่วงดุลอำนาจไม่ให้ใครมีอำนาจมากเกินไป คำถามคือในประเทศไทยเราใช้กรอบการปกครองแบบนี้ได้สมดุลหรือยัง?"

โอ๊ต เผยอีกว่า 'หากพิจารณาการเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมา จะพบว่าไม่เคยสมดุลเลย อย่างช่วง พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2500 เป็นช่วงที่ทหารเข้ามาปกครองล้วน ๆ ประชาชนหรือ The Many ถูกฆาตกรรมออกมาจากระบอบการปกครอง รวมทั้งในตอนนั้นเอง บุคคลหรือพระมหากษัตริย์ก็เป็นเพียงผู้สำเร็จราชการแทน จะเห็นว่ามันไม่ครบองค์ประกอบในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขณะที่ไทยเริ่มใช้กรอบเรื่องการถ่วงดุลอำนาจมามองการเมืองไทยตั้งแต่ทศวรรษ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งจะเห็นว่ามันเพิ่งครบองค์ประกอบออกตอนช่วง พ.ศ. 2520 เอง"

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ โอ๊ด ให้ความคิดเห็นอีกว่า "ร่วม 40 กว่าปีมานี้ ประเทศไทยเดินมาไกลแล้ว ประชาชนเริ่มมีอำนาจมากขึ้นกว่าสมัยก่อน และผมรู้สึกว่าเรามีความหวังนะ เด็กรุ่นใหม่หลาย ๆ คน มีการคิดวิเคราะห์ที่น่าสนใจมากขึ้น ทุกคนรู้สึกอยากจะแก้ไขประเด็นสังคมกันมากขึ้น แต่ทุกคนก็ต้องไม่พยายามจัดการทุกอย่างอยู่คนเดียว อย่าจับทุกปัญหาไปวางในม็อบหนึ่งม็อบ ต้องสร้างเครือข่ายแล้วผลักดันไปด้วยกัน ที่สำคัญแต่ละฝ่ายต้องไม่พยายามชี้นิ้วไปหาอีกฝ่ายว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เราต้องทำให้สังคมไทยเกิด ‘ความโอบอ้อมอารี' โดยเริ่มต้นจากทางภาษาก่อน แล้วมันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความทรงจำที่ทำให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันได้ในทุกเรื่องมากขึ้น"

สำหรับงานเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พร้อมรับชม '2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution' ในเวลา 13.30 - 16.40 ณ สถานที่เดียวกัน

📌 สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งเข้าร่วมกิจกรรมฟังเสวนาและชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/1utXQT68NCUZks5YYcILGBQ91B76zILkSoQ7srQ2ymoc/viewform?ts=66a737cb&edit_requested=true

รู้จัก 'ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์' 'นักวิชาการรุ่นใหม่' ผู้หวังให้สังคมไทยไม่มองตนถูกต้องที่สุด ส่วนผู้อื่นผิดหมด หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น’

ถือเป็นอีกหนึ่งงานเสวนาที่ห้ามพลาด!! กับ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ ที่ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดยงานนี้ ได้รับเชิญผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ...

ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ รองผู้อำนวยการศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ ถือเป็นบุคคลที่มีความสนใจเชิงลึกในทฤษฎีการเมือง, ปรัชญาสังคมศาสตร์, การเมืองการปกครองไทย รวมถึงทฤษฎีประชาธิปไตย สะท้อนผ่านผลงานทางวิชาการ และ งานวิจัยมากมาย อาทิ...

จาก 'เดโมกราเตีย' ถึง 'เดโมคราซี่' การเปลี่ยนไปของมโนทัศน์ 'ประชาธิปไตย' / นักสอพลอประชาชนแห่งประชาธิปไตยเอเธนส์กับบทเรียนต่อประชาธิปไตยไทยร่วมสมัย / 'การศึกษากำเนิดและความเสื่อมของระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์' / 'การเมืองของกระบวนการกำหนดนโยบายโฉนดชุมชน' / 'ระบอบการปกครองลูกผสมไทย: 'บทเรียน' หรือ 'ลางร้าย' ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในอาเซียน' / 'คุณธรรม' ใน 'เจ้าผู้ปกครอง' ของมาคิอาเวลลี' และอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ในฐานะนักวิชาการรุ่นใหม่ ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ มักจะมองการเมืองไทยในปัจจุบันและสะท้อนออกมาสู่สังคมได้อย่างจี้ใจดำผู้คนเสมอ โดยอาจารย์ เคยเผยถึงนิยามหนึ่งของ 'การเมือง' ให้รับทราบกันด้วยว่า...

'การเมืองไทยในปัจจุบัน มันไม่ใช่การเมืองแล้ว แต่มันคือ การยุทธ์ การรบ หรือการสงครามมากกว่า และทุกฝ่ายเลยที่เข้าร่วมแบบไม่มีข้อยกเว้น ตั้งแต่ นักการเมือง, ทหาร, ตำรวจ, นักวิชาการ, นักกิจกรรม, นักศึกษา ผมเห็นแต่ละฝ่ายจ้องจะเอาชนะคะคานกันอย่างเดียว พูดกันตรง ๆ ฝั่งเสื้อแดงขึ้นก็บี้ เสื้อเหลือง-เสื้อน้ำเงิน-เสื้อเขียว ให้ตายไปข้าง เสื้อเหลือง-เสื้อน้ำเงิน ขึ้นก็บี้เสื้อแดงให้ตายไปอีกข้าง สุดท้ายบี้กันเองจนเละ เสื้อเขียวเข้ามาก็จัดการทุกฝ่าย อย่างที่เห็น ๆ กันอยู่

"ฉะนั้นผมถือว่าสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีแต่สัญญาณอันตรายของการเมืองไทย สังคมของเรามาถึงจุด ที่น่าเป็นห่วงมาก ดูเหมือนว่าเราไม่อยากจะอยู่ร่วมกันแล้ว ที่มันน่ากลัวคือ สังคมเราแบ่งขั้วแบบสุดโต่ง ไร้เหตุผลกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ใครมีแนวคิดทางการเมืองเป็นเสื้อสีอะไรก็เห็นตัวเองถูกอยู่พวกเดียว พวกอื่นผิดหมด บ้านเมืองเรามาถึงจุด ๆ นี้ได้อย่างไร ไม่ดูเหตุดูผลกันแล้ว แต่ไปดูที่เป็นพวกใคร เป็นฝ่ายไหน ถ้าไม่ใช่กลุ่มตัวเองแค่อ้าปากก็ผิดแล้ว แล้วผมคิดว่ามันเป็นกันทุกกลุ่ม แย่พอกันทั้งหมด"

ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ เผยอีกว่า "ถ้ากรอบคิดในการมองการเมืองไทยเป็นแบบนี้ อนาคตการเมืองไทยจะเละเป็น 'ซีเรีย' แน่นอน แต่ทางออกยังมี อย่างผมเองถือว่ามีโอกาสดีที่ตอนเรียนปริญญาโทได้ไปเป็นผู้ช่วยวิจัยที่ศึกษาวิธีคิดของกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดง พอเราได้ลงไปสัมผัสพี่น้องเสื้อแดงและเสื้อเหลืองอย่างใกล้ชิด มันเห็นเลยว่า เขาหวังดีต่อบ้านเมืองด้วยกันทั้งคู่ ผมเชื่อว่าคนเราพอสัมผัสกันมันมองกันออก มันอ่านใจกันออก ในยุคนี้ก็เหมือนกัน ทหารก็ไม่ได้แย่กันทั้งกองทัพ หรือแม้แต่ตัวเราเองยังมีดี มีชั่ว มีถูก มีผิดกันทั้งหมด...

"อย่ามองความเห็นตัวเองถูกไปทั้งหมด แล้วมองคนอื่นผิดหมด โทษทุกอย่างยกเว้นตัวเอง ต้องเลิกเสียที ถ้าคิดอย่างนี้ได้ก่อน อคติหรือการเหมารวมที่มันนำไปสู่ความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มมันจะเบาบางลง มันจะเริ่มคุยกันได้ คุยกันรู้เรื่อง ถอยคนละก้าวบ้าง สังคมเราจึงพอจะเห็นทางออกจากวิกฤตนี้"

สำหรับงานเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พร้อมรับชม '2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution' ในเวลา 13.30 - 16.40 ณ สถานที่เดียวกัน

📌 สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งเข้าร่วมกิจกรรมฟังเสวนาและชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/1utXQT68NCUZks5YYcILGBQ91B76zILkSoQ7srQ2ymoc/viewform?ts=66a737cb&edit_requested=true

รู้จัก ‘ฤกษ์อารี นานา’ อดีตนักเรียนไทยในต่างแดน ผู้ไม่ถูกกลืนตัวตน-ละทิ้งความเป็นไทย หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ‘มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น’

ถือเป็นอีกหนึ่งงานเสวนาที่ห้ามพลาด!! กับ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดยงานนี้ ได้รับเชิญผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ แมน-ฤกษ์อารี นานา ทายาทของ ‘ไกรฤกษ์ นานา’ นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของประเทศไทย ซึ่งต้องบอกว่าเป็นบุคคลทรงคุณค่าและมีดีกรีไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

โดย ฤกษ์อารี นานา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง Institut Catholique de Vendee ประเทศฝรั่งเศส และระดับปริญญาโท เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา SOAS University of London ประเทศอังกฤษ และเคยปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

สำหรับมุมมองต่อประเทศฝรั่งเศสรวมถึงประเทศในแถบยุโรป ‘ฤกษ์อารี นานา’ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการ UTN World กับ แมน นานา EP.1 ซึ่งได้เล่าเรื่องราวขณะที่ตนได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส สรุปได้ว่า…

สมัยนั้นระบบการศึกษาที่ฝรั่งเศส ก็มีความคล้ายคลึงกับในไทย คือ เน้นท่องจำ เน้นทฤษฎีซะส่วนใหญ่ แต่จะต่างกันตรงเด็กส่วนใหญ่จะมีเป้าหมายในการทำคะแนนที่แข่งกับตัวเองอย่างมาก และถึงขั้นต้องทำคะแนนให้ได้ดีกว่าเด็กโรงเรียนอื่นด้วย โดยที่ฝรั่งเศสเขาจะวัดคะแนนเป็นเต็ม 20 คะแนน แต่ถ้าเมืองไทยจะเป็นเกรด 1-2-3-4 ซึ่งถ้าอยู่ที่ฝรั่งเศสคะแนนเต็ม 20 หากทำได้สัก 15 ก็ถือว่าเก่งมากแล้ว 

“มีช่วงหนึ่งที่ผมไปสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ (เทียบระดับพอ ๆ กับ ม.6 ของไทย) ผมทำคะแนนได้ 19 คุณครูกับเพื่อน ๆ ก็ตกใจอย่างมาก” ฤกษ์อารี นานา กล่าวพร้อมอธิบายเพิ่มเติมต่อว่า “การที่คนที่นั่นรู้สึกตกใจในสิ่งที่คนเอเชีย ซึ่งเป็นคนไทย คนที่พวกเขาคิดว่ามาจากประเทศด้อยพัฒนาทำได้จากคะแนนที่สูงเช่นนั้น ส่วนสำคัญเพราะ หากการพัฒนาของประเทศไทย จะเป็นการพัฒนาทุก ๆ เรื่องไปตามการพัฒนาของประเทศ ซึ่งนั่นก็หมายรวมถึงความสามารถด้านการศึกษา แต่กลับกันกับฝรั่งเศสหรืออาจจะหมายรวมถึงยุโรปด้วยนั้น จะยังคงความเป็นอนุรักษ์นิยมค่อนข้างสูง”

“พวกเขายังชื่นชมในประวัติศาสตร์ของประเทศตน ทวีปตน ที่เคยยิ่งใหญ่ล้ำหน้าใครในโลก เรียนรู้เร็ว เจริญเร็ว แต่วันนี้พวกเขาเริ่มหยุดเจริญแล้ว และความเจริญที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็ล้วนมาจากบุญเก่า”

สังเกตได้ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ยังอยู่ได้เพราะชื่อเสียงด้านการศึกษา ทำให้มีนักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียนมากมายในลอนดอน ซึ่งหากถ้าไม่มีนักเรียนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนเอเชียด้วยแล้ว ก็นึกภาพอนาคตของประเทศนี้ไม่ออกเช่นกัน เพราะนักเรียนที่ไปเรียนต่อ ล้วนแล้วแต่ไปสร้างรายได้ให้กับประเทศของเขาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ค่าเรียนต่อ ค่าเช่าบ้าน ค่าร้านอาหาร ค่า Shopping และอื่น ๆ … ความขลังของบุญเก่ายังมีผลอยู่

จากมูลเหตุเหล่านี้ จึงทำให้ประเทศในยุโรป (ฝรั่งเศส) ยังกระหยิ่มยิ้มย่อง และทำให้เขามองว่าเอเชียอย่างเรา ยังไงก็ยังล้าหลัง

“เวลาเขามองประเทศไทยวันนี้ เขายังรู้สึกว่าเหมือนมองเมืองไทยในยุคเลย 20 ปีที่แล้วไปอีกไกล คนไทยขี่ช้างอยู่ คนไทยขี่เกวียนอยู่ จนกระทั่งวันที่เพื่อนของผมที่เป็นคนฝรั่งเศสได้มาไทย ก็ตกใจกันอย่างมาก เพราะเมืองไทยมีการใช้จ่ายผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด ใช้จ่ายกันตั้งแต่ร้านค้าใหญ่ ๆ ไปจนถึงร้านค้าเล็ก ๆ เมืองไทยมีรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ที่ไม่มีความสกปรก ไม่มีขอทาน รถไฟฟ้าไม่มีกลิ่นฉี่ ดูดีมาก แต่ในปารีสกลับมีหนู มีคนปัสสาวะเรี่ยราด มีขอทาน แล้วก็มีคนเล่นยาด้วยในรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งคนฝรั่งเศสคนไหนที่ได้มาเปิดหูเปิดตาในไทยตอนนี้ พูดได้แค่คำเดียวว่า ‘ศิวิไลซ์’ มาก ๆ...

“ไม่เพียงเท่านี้ เขายังมองอีกว่า บ้านเราอารยะ มีมารยาทสูง เอาแค่ในรถไฟฟ้าของไทย ผู้คนจะมีมารยาทในการใช้งาน ไม่โวยวาย ไม่คุยเสียงดัง เข้า-ออก ตามคิวอย่างเป็นระเบียบ และยังเอื้อเฟื้อต่อเด็ก, สตรีมีครรภ์ และ คนชรา ได้นั่งก่อน กลับกันในรถไฟฟ้าที่ยุโรป เช่น ในฝรั่งเศส ใครจะโทรศัพท์หาใคร จะตะโกนยังไงก็ได้ เพราะเขามองว่ามันก็เป็นสิทธิ์ของเขา หนักข้อคือจะกินข้าวเลอะเทอะยังไงก็ได้ ซึ่งตรงนี้ในมุมมองคนฝรั่งเศสที่ได้มาไทย เขายอมรับเลยว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้ว”

นอกจากมุมมองต่อประเทศฝรั่งเศสและประเทศในยุโรปแล้ว ‘ฤกษ์อารี นานา’ ก็ยังเคยแสดงความคิดเห็นต่อกรณีที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองไว้ด้วยว่า “ที่เข้ามาเพราะมีเรื่องหนึ่งที่ฝังลึกอยู่ในใจมานาน ก่อนจะกลับมาไทย คนที่จบเมืองนอกมาเหมือนกัน โดยเฉพาะที่ฝรั่งเศส แล้วพูดถึงความเท่าเทียม อะไรต่าง ๆ ในสังคม แล้วอ้างประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส แต่อยากให้ดูว่า ฝรั่งเศสก็ไม่ได้เจริญขึ้นมากกว่า 400 ปีที่แล้ว ไม่ได้มีความเท่าเทียมกัน ก็ยังมีชนชั้นเหมือนเดิม ซึ่งเกิดขึ้นจากระบบทุนนิยม รัฐบาลต้องลดความเหลื่อมล้ำนั้นในสังคม”

“อย่างไรก็ดีมองว่า ปัจจุบันประเทศไทยดีที่สุด และดีมากกว่านี้ได้แต่ต้องปรับปรุงแก้ไข โดยไม่ใช้วิธีการยกเลิก ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นการทำการเมืองที่ง่ายเกินไป และที่ผ่านมาก็ไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตคนดีขึ้น ถ้าไม่มีหลักในตัวเอง”

ไม่เพียงเท่านั้นยังได้ฝากความห่วงใยไปยังเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยด้วยว่า “เป็นห่วงคนรุ่นใหม่เหมือนกัน ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่จบเมืองนอกมาก็ไม่อยากให้คนไทยสรรเสริญต่างชาติมากเกินไป เพราะคนไทยก็มีอะไรหลาย ๆ อย่างที่ดี และต้องปรับปรุงแก้ไขให้มันดีขึ้น ไม่อยากเห็นคนรุ่นใหม่ด้อยค่าตัวเอง ให้มองประเทศไทยดีกว่านี้เป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่านี้และมีความหวังไม่ใช่ต้องย้ายประเทศ ผมก็มีเพื่อนฝรั่งเศสย้ายมาไทย และเขาก็สรรเสริญประเทศไทยดีทุกอย่าง”

สำหรับงานเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พร้อมรับชม '2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution' ในเวลา 13.30 - 16.40 ณ สถานที่เดียวกัน

📌 สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งเข้าร่วมกิจกรรมฟังเสวนาและชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/1utXQT68NCUZks5YYcILGBQ91B76zILkSoQ7srQ2ymoc/viewform?ts=66a737cb&edit_requested=true

รู้จัก ‘วิวัธน์ จิโรจน์กุล’ ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution’ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ‘มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น’

ถือเป็นอีกหนึ่งงานเสวนาที่ห้ามพลาด!! กับ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดยงานนี้ ได้รับเชิญผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ซัง-วิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution หรือ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ซึ่งเป็นผู้สนใจในประวัติศาสตร์ไทยในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และมุ่งมั่นคืนความเป็นธรรมให้ในหลวงรัชกาลที่ 7 โดยใช้วิธีบอกเล่าผ่านภาพยนตร์แอนิเมชัน เพื่อสื่อสารให้คนไทยรู้ว่าในหลวง ร.7 สู้เต็มที่ และพยายามจะทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองในไทยเกิดขึ้นอย่างราบรื่นที่สุด

โดยคุณ วิวัธน์ จิโรจน์กุล เคยได้ให้สัมภาษณ์ถึงจุดเริ่มต้นการทำภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้ไว้ว่า…

“แอนิเมชันเรื่องนี้ใช้เวลาสร้างนานถึง 3 ปี มีทีมงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดประมาณ 30-40 คน มีทั้งคนที่เข้ามาแล้วก็ออกไป จุดเริ่มต้นมาจากคนกลุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงหาทีมงานเพิ่มในภายหลัง หลายคนเป็น ‘ตัวจี๊ด’ พร้อมปะทะโต้เถียงบนโลกโซเชียล แต่ตนก็ได้บอกไปว่า ‘ตีกันไป-มา’ แบบนั้นไม่ได้ประโยชน์ มาทำความจริงป้อนให้เป็นความรู้จะดีกว่า…

“ซึ่งขั้นตอนที่ยากที่สุดในการทำงานภาพยนตร์เรื่องนี้คือการหาหลักฐานข้อมูล แล้วถึงจะหยิบประเด็นจากหลาย ๆ มุมมอง เพื่อหาว่ามุมมองต่าง ๆ มองเรื่องนี้ที่เป็นเรื่องเดียวกันคือเรื่องอะไร เราถึงหยิบพวกนี้มาเล่า”

และแม้จะเลือกการนำเสนอกึ่ง ๆ จะเป็นนิยาย (Fiction) แต่ข้อมูลที่นำเสนอมาจากบันทึกจริงในประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าโดยบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลานั้นซึ่งรวมถึงของฝ่ายคณะราษฎรผู้ก่อการด้วย ทั้งนี้ เมื่อรวบรวมข้อมูลมาได้แล้วก็ต้องมาเลือกอีกว่าจากข้อมูลจำนวนมากจะนำเสนออย่างไรให้พอดีกับเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงได้โดยสอดคล้องกับเป้าหมายหลักคือให้เข้าใจบทบาทของรัชกาลที่ 7 ที่พยายามประคับประคองสถานการณ์ในยุคเปลี่ยนผ่านให้ไปรอด

เช่น รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ร่างโดยคณะราษฎรหลายคนที่ร่วมก่อการก็ไม่ได้อ่าน แต่รัชกาลที่ 7 ท่านอ่านและแนะนำให้ไปแก้ไขมาใหม่ นอกจากนั้นยังมีความขัดแย้งภายในกลุ่มคณะราษฎร ระหว่างหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกับพระยาทรงสุรเดช ซึ่งเข้าใจได้ว่าหลวงประดิษฐ์ฯ หรือนายปรีดี มีความเป็นนักวิชาการแนวคิดหัวก้าวหน้า ณ ช่วงเวลานั้น แต่ยอมรับว่ายังมีรายละเอียดอีกมากที่ไม่ได้ใส่เข้าไป 

วิวัธน์ จิโรจน์กุล ยังได้กล่าวถึงประเด็นดรามาเกี่ยวกับงบประมาณในการทำภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้ด้วยว่า…

“ตอนแรกไม่รู้นะว่างบประมาณในการสร้างภาพยนตร์มันต้องใช้เท่าไรต่อเรื่องหนึ่ง แล้วเป็นเรื่องพีเรียด (Period - เนื้อเรื่องแนวย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์) ต้องย้อนอดีต หาสถานที่ พร็อพ ขนาดวาด (รูป) แต่เมื่อริเริ่มโปรเจกต์แล้ว ก็เริ่มวางแผนการสร้าง ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า หากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้นักแสดง ทุนสร้างอาจอยู่ที่ประมาณ 15-20 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย อีกทั้งทุนประมาณนี้คงจะเป็นเพียงภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฉากเขียว (Green Screen) แล้วใส่กราฟิกเป็นฉากหลังเข้าไป ผลงานที่ออกมาก็อาจไม่น่าดู หรือหากจะทำแอนิเมชันแบบ 3 มิติ เท่าที่ไปสอบถามราคามา พบว่าต้องใช้งบประมาณสูงถึง 100 ล้านบาท จึงมาสรุปที่การทำเป็นแอนิเมชัน 2 มิติ แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มทำในทันที เพราะสอบถามราคาแล้วต้องใช้งบประมาณ 30 ล้านบาทซึ่งเวลานั้นยังมีทุนไม่พอ…

“ดังนั้นเพื่อที่จะให้แอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้ได้ จึงใช้วิธีสร้างทีมนักวาดขึ้นมา สามารถทำรูปแบบเฟรมต่อเฟรม ออกแบบตัวละครและฉากทั้งหมด แล้วจึงนำเค้าโครงที่ร่างไว้นี้ไปให้สตูดิโอทำ ซึ่งพบว่าลดต้นทุนลงได้มาก แต่เมื่อเห็นผลงานแล้วก็ยังไม่ถูกใจ ท้ายที่สุดทีมงานจึงเลือกที่จะลงมือทำกันเองทั้งหมด โดยไปหาคนที่ชำนาญเรื่อง In Between หรือการเชื่อมต่อภาพแต่ละเฟรมให้ดูเหมือนตัวละครขยับเขยื้อนได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแอนิเมชันมีความยาว 2 ชั่วโมง ต้องใช้รายละเอียดมากในขณะที่มีทีมงานน้อย…

“ใช้แรงงานเยอะแต่มีคนน้อย ดังนั้นจะเห็นว่าบางเฟรมเราก็จะใช้ซ้ำ ๆ บางเฟรมเราก็จะใช้ 3D มาผสม เพราะ 3D เราสามารถทำแล้ว Render ทีเดียว มันก็จะเป็นภาพขยับต่อเนื่อง ในฉากที่ทหารเยอะ ๆ เน้นใช้ 3D เข้ามาช่วย มันจะเป็นสื่อผสมหลาย ๆ อย่าง ใช้ Motion Graphic บ้าง ใช้ 3D ใช้ 2D ความรู้สึกผมเหมือนเป็นเชฟที่เห็นของเหลือในตู้เย็น สุดท้ายปรุงอย่างไรก็ได้ ออกมาให้มันเล่าเรื่อง 2 ชั่วโมงนี้จบอย่างที่เราต้องการ พอมันจบเสร็จปุ๊บ ก็รู้สึกโล่ง ตอนนั้นคือโล่ง เหมือนยกภูเขาออกจากอก มันเสร็จแล้ว แค่นั้นผมพอใจแล้ว หลังจากนั้นผมไม่สนใจแล้วคนดูจะรู้สึกอย่างไร…

“แอนิเมชันเรื่องหนึ่งใช้ทุนสร้างเป็นหลักสิบล้านบาท เป็นทุนของผมแล้ว 5 ล้านบาท แม้จะเป็นหนี้ก็ตาม เพื่อทำโปรเจกต์แอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution ผมต้องไปหยิบยืมเงินจากญาติสนิทมิตรสหายมาเพื่อทำให้สำเร็จ และในวันที่ผลงานแล้วเสร็จก็ถือว่าสำเร็จแล้ว เพราะได้ทำในสิ่งที่ต้องการมาตลอด…สำหรับผมวันนี้ถือว่าถึงตายก็ไม่เสียชาติเกิดแล้ว จะเป็นหนี้หรือล้มละลายก็ไม่เป็นไร  เพราะต่อให้ล้มละลายต้องปิดบริษัท ผมก็ยังไม่ตาย ไปทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้ ผมเพียงอยากให้ผลงานนี้ทำเสร็จสมบูรณ์”

“อย่างที่ผมบอก ไม่ว่าจะแลกด้วยอะไรผมต้องทำให้มันเสร็จ ดังนั้น ผมต้องบอกเลยว่าผมแลกไปเยอะมาก ดังนั้นการที่มากล่าวหาว่าผมได้รับงบประมาณจากกองทัพ หรือมีเงินจากส่วนไหน ๆ มาช่วยซัปพอร์ตโปรเจกต์นี้ ผมถือว่าดูถูกผมมากเลย ดังนั้นผมก็เลยมองว่าวิธีการทำแบบนี้ผมอาจจำเป็นต้องใช้กฎหมาย แต่ถ้าเกิดคุณมาด่าว่าบิดเบือน หรือด่าว่าแอนิเมชันห่วย-กาก ผมไม่กังวลอะไร ไม่ว่าอะไร คุณวิจารณ์ได้ แต่ถ้าเกิดคุณมาด้อยค่าความตั้งใจมุ่งมั่นของทีมงาน หรือเครดิตของคนที่ตั้งใจทุ่มเทเพื่องานนี้ ผมแค่ไม่ยอมเรื่องนี้เรื่องเดียว” วิวัธน์ กล่าว

นอกจากนี้ วิวัธน์ จิโรจน์กุล ยังได้เผยถึงกระแสและผลตอบรับหลังเผยแพร่ภาพยนตร์แอนิเมชันแล้วว่า… “ตั้งเป้าไว้ว่ามียอดรับชมประมาณหลักหมื่นวิวก็สูงแล้ว และแม้จะไม่ได้ตั้งเป้าว่าอยากได้ยอดวิวเท่านั้นเท่านี้ แต่ทุกครั้งที่ยอดวิวขึ้น คนที่สนับสนุนแอนิเมชันเรื่องนี้ก็ดีใจและตื่นเต้นไปกับทีมผู้สร้างด้วย ผมก็จะคอยรายงานยอดเป็นระยะ ๆ โดยมีหนึ่งในทีมงานมาช่วยวาดรูปประกอบทุก ๆ ครั้งที่ยอดเพิ่มครบ 1 แสนวิว…”

“สำหรับผมยอดวิวไม่สำคัญเท่าการที่มีคนเข้ามาดูแล้วรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น” วิวัธน์ กล่าว

ส่วนประเด็นที่มีคนถามเข้ามามากมายว่า ทำไมไม่นำภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ วิวัธน์ จิโรจน์กุล ได้ตอบประเด็นนี้ไว้ว่า… 

“ประเด็นแรกเวลาทำหนังเสร็จ ถ้าเกิดจะเอาไปฉายตามโปรแกรมทั่วไปปกติ จะต้องผ่านกองเซ็นเซอร์ก่อน จัดเรตหนัง อนุญาตเรียบร้อยแล้วถึงจะฉายโรงได้ แต่ผมก็ประเมินแล้ว ผมเข้ากองเซ็นเซอร์ผมโดนหั่นเหี้ยนแน่เลย ประเด็นที่ผมกังวลที่สุดคือเราอาจจะโดนตัดฉากรัชกาลที่ 7 ออก กลัวว่าจะกระทบ เพราะผมบอกว่าเรื่องนี้ การเล่าเรื่อง 2475 ถ้าเราไม่เล่าในมุมของสถาบัน เรื่องนี้ไม่มีทางเล่าจบ ดังนั้นผมเลยคิดว่าผมแค่ฉายปฐมทัศน์แล้วผมฉายออนไลน์ให้ดูฟรี มันไม่จำเป็นต้องผ่านกองเซ็นเซอร์ เราสามารถทำได้…

“เหมือนเราทำสารคดี (Documentary) สักอันหนึ่ง แต่เป็นการเล่าในรูปแบบแอนิเมชัน และเปิดฉายให้ดูฟรีเพื่อให้ความรู้ ผมเลยมองแค่มุมนั้น ผมไม่ได้คิดว่าจะต้องเปิดฉาย ‘หาเงิน’ อะไร เราเชิญพวกพี่ ๆ ไปดู (รอบปฐมทัศน์ในโรงภาพยนตร์) คนที่เป็น Royalist คนที่รักสถาบันเข้าไปดู ผมอยากทดสอบด้วยว่าเราเล่าในมุมนี้รับไหวไหม? รับได้ไหมที่นำในหลวงรัชกาลที่ 7 มาเป็นคาแร็กเตอร์”

วิวัธน์ จิโรจน์กุล ได้ยืนยันทิ้งท้ายไว้ว่า “ความตั้งใจของการสร้างแอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution ไม่ใช่เพื่อทำร้ายหรือทำลายใคร แต่เพื่อทำประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนและเป็นประวัติศาสตร์ที่เป็นธรรมต่อทุกคน”

สำหรับงานเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พร้อมรับชม '2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution' ในเวลา 13.30 - 16.40 ณ สถานที่เดียวกัน

📌 สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งเข้าร่วมกิจกรรมฟังเสวนาและชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/1utXQT68NCUZks5YYcILGBQ91B76zILkSoQ7srQ2ymoc/viewform?ts=66a737cb&edit_requested=true

รู้จัก 'ปัณฑา สิริกุล' หัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการวางเส้นเรื่อง 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น’

ถือเป็นอีกหนึ่งงานเสวนาที่ห้ามพลาด!! กับ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ ที่ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดยงานนี้ ได้รับเชิญผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ...

คุณหมู 'ปัณฑา สิริกุล' นักเขียนบท (2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution), นักเขียนบทสารคดี, ผู้ผลิตสารคดี และเป็นผู้ศึกษาแนวคิดการทำงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มากว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของฝนหลวง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่แท้จริงนั้นคืออะไร

นอกจากนี้ คุณปัณฑา ยังถือเป็นผู้ชำนาญการด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย นั่นจึงทำให้เธอกลายมาเป็นอีกหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการวางเส้นโครงเรื่อง และเกลาเส้นเรื่อง 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution ให้มีความน่าสนใจและย่อยง่ายแก่ผู้ชมที่ไม่เคยรับทราบประวัติศาสตร์มาก่อน

ทั้งนี้ ในบทสัมภาษณ์หนึ่งที่มีการกล่าวถึงทีมเขียนบท คุณปัณฑา ได้ยอมรับว่า กว่าภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวจะออกสู่สายตาประชาชนได้ จำเป็นต้องได้ข้อมูลที่มีที่มาที่ไปชัดเจน ไม่ใช่การมโนหรือปั้นแต่งขึ้นเอง เหตุการณ์ที่อยู่ในเรื่องทั้งหมด ล้วนเป็นเรื่องราวที่มีการถูกบันทึกทางประวัติศาสตร์ โดยเธอต้องใช้หนังสืออ้างอิงประมาณ 4-5 ลัง เพื่อเรียบเรียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเขียนบทดังกล่าวขึ้นมา

"สำหรับภาพยนตร์เรื่อง 2475 Dawn of Revolution เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะราษฎร นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนายึดพระราชอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475 ก่อนจะนำไปสู่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มคณะราษฎรตามมา" คุณปัณฑา กล่าวและเสริมว่า...

"โดยภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นการเผยแพร่ และสร้างการรับรู้ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ในเหตุการณ์ ห้วงปี พ.ศ. 2475 ที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการเสริมสร้าง และปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้กับกำลังพล ครอบครัว และเยาวชนต่อไป"

สำหรับงานเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พร้อมรับชม '2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution' ในเวลา 13.30 - 16.40 ณ สถานที่เดียวกัน

📌 สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งเข้าร่วมกิจกรรมฟังเสวนาและชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/1utXQT68NCUZks5YYcILGBQ91B76zILkSoQ7srQ2ymoc/viewform?ts=66a737cb&edit_requested=true

'ดร.หิมาลัย' เปิดงาน 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' สะท้อนอีกแง่มุมประวัติศาสตร์ 2475 ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้

(6 ส.ค. 67) ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้อำนวยการพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นประธานการเปิดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมีตัวแทนจากพรรครวมไทยสร้างชาติ อาทิ ว่าที่ ร.ต.อ.หญิง อัยรดา บำรุงรักษ์ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ / นายภัทรพล แก้วสกุณี อดีตผู้สมัคร สส.เขต 6 จ.ปทุมธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ / น.ส.พัชรนันท์ โกศลสมบัตินนท์ อดีตผู้สมัคร สส.กทม.พรรครวมไทยสร้างชาติ / นาย อิทธิพัทธ์ เศรษฐยุกานนท์ อดีตผู้สมัคร สส.กทม.พรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมด้วย ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และนักศึกษาประชาชนร่วมงานจำนวนมาก

โดย ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ได้กล่าวเปิดงานว่า วันนี้เราจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ ทั้งจากมุมมองของนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้

"เรามาร่วมไขความจริงกันอีกครั้งว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 นั้น เป็นความหวังในการสร้างระบอบประชาธิปไตย หรือที่มีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อย ที่มองว่าเป็นเพียงภาพลวงตาหรือความฝันที่ไม่สามารถตอบโจทย์การเมืองการปกครองของสังคมไทยได้อย่างแท้จริง...

"หวังว่าการเสวนาครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ดี ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองและเส้นทางแห่งประชาธิปไตยของไทย ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อประโยชน์ของสังคมและการเมืองของเราต่อไป"

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้นได้มีวิทยากรร่วมในการบรรยายจำนวน 5 ท่าน ซึ่งล้วนแต่แสดงความคิดเห็นในหลากหลายแง่มุม ได้แก่...

นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์ แอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน 

ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้กล่าวถึง ความสำคัญในการจัดการกับประวัติศาสตร์ที่จะทำให้ชี้นำอนาคตของสังคมได้ จึงมีการพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์ผ่านการให้ความจริงเพียงครึ่งเดียวในฐานะประชาชนจะต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างรอบด้าน และในอีกด้านหนึ่งบรรดาผู้ก่อการต่างยอมรับความผิดพลาดของตนเองที่ก่อในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นสามารถนำมาเป็นบทเรียนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความแตกแยก แม้จะมีอุดมการณ์และความเห็นต่างทางการเมืองของแต่ละกลุ่มบุคคลก็ตาม

ด้านนายจิตรากร ตันโห นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อสังเกตถึงการพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองของรัชกาลที่ 7 ที่พยายามประนีประนอมกับทุกกลุ่มอำนาจในสังคม และไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรแต่อย่างใด รวมการตั้งข้อสังเกตว่า เพราะเหตุใด ในหลวงรัชกาลที่ 7 จึงได้ทรงร่างรัฐธรรมนูญไว้ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติในปี 2475 อีกด้วย

ขณะที่ นางสาวปัณฑา สิริกุล ผู้เขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้เล่าถึงเส้นเรื่องของประวัติศาสตร์และตั้งข้อสังเกตถึงบางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์ที่ไม่ปรากฏในตำราและหนังสือใด ๆ โดยเฉพาะการฉ้อโกง และดำเนินคดีกับผู้เห็นต่างทางการเมืองของคณะราษฎร ประกอบกับการนำข้อมูลของศาลพิเศษของหลวงพิบูลสงครามมาเป็นข้อมูลประกอบในหนังสือซึ่งขาดความน่าเชื่อถือ เพราะจากการสืบค้นและตรวจสอบข้อมูลพบว่า การให้การภายในศาลพิเศษนั้น ล้วนเต็มไปด้วยคำให้การเท็จเป็นจำนวนมาก 

ด้าน นายฤกษ์อารี นานา อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครวมไทยสร้างชาติ และอดีตนักเรียนไทยในฝรั่งเศส ได้ให้ข้อสังเกตถึงการปฏิวัติของประเทศฝรั่งเศสหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้เริ่มต้นจากที่ประชาชนต้องการล้มล้างระบอบกษัตริย์ แต่มาจากการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาความอดอยาก เรียกร้องให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่หลายปัจจัยนำไปสู่การล้มล้างระบอบกษัตริย์ที่สุด และต้องใช้ระยะเวลานานนับร้อยปีหลังการปฏิวัติประเทศถึงเป็นรูปเป็นร่างอย่างทุกวันนี้

‘ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ เผยเหตุผลที่ไม่มีหนังเกี่ยวกับ 2475 เพราะหากเล่าตรงไปตรงมา จะมีคนเจ็บและเดือดร้อน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน

โดยบางช่วงบางตอน นายวิวัธน์ได้กล่าวว่า “ที่ผ่านมา ไม่เคยมีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 2475 เลย เพราะถ้าเล่าเรื่องราวแบบตรงไปตรงมาเกินไป จะทำให้มีคนเจ็บ และเดือดร้อน”

‘ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ชี้!! เหตุการณ์ 2475 ถูกหยิบมาเป็นเครื่องมือยุยงปลุกปั่นให้คนผิดใจกัน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน

โดยบางช่วงบางตอน นายวิวัธน์ได้กล่าวว่า “ทุกวันนี้เหตุการณ์ 2475 ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ทำให้คนแตกแยกกัน ต่างคนต่างเล่าในมุมที่แตกต่าง และนำมาปลุกปั่นทำให้คนตีกัน จากเหตุเพราะความเห็นต่าง”

‘ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ เผยสิ่งที่อยาก ในการทำภาพยนตร์คือการรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ชัดเจนครบทุกด้าน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน

โดยบางช่วงบางตอน นายวิวัธน์ได้กล่าวว่า “หัวใจสำคัญของการทำหนังอิงประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องงบประมาณ แต่อยู่ที่การเก็บรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ชัดเจนครบทุกด้าน เพราะต้องยอมรับว่า…เหตุการณ์ 2475 มีการตัดต่อ ดัดแปลง และบิดเบือนข้อมูลหลายอย่างมาก”

‘ผู้เขียนบท 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ เผยคำพูด ‘พระองค์เจ้าบวรเดช’ ทูลต่อในหลวง ร.7 หากไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญ จะเกิดการปฏิวัติ

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นางสาวปัณฑา สิริกุล ผู้เขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้เล่าถึงเส้นเรื่องของประวัติศาสตร์และตั้งข้อสังเกตถึงบางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์ที่ไม่ปรากฏในตำราและหนังสือใด ๆ โดยเฉพาะการฉ้อโกง และดำเนินคดีกับผู้เห็นต่างทางการเมืองของคณะราษฎร ประกอบกับการนำข้อมูลของศาลพิเศษของหลวงพิบูลสงครามมาเป็นข้อมูลประกอบในหนังสือซึ่งขาดความน่าเชื่อถือ เพราะจากการสืบค้นและตรวจสอบข้อมูลพบว่า การให้การภายในศาลพิเศษนั้น ล้วนเต็มไปด้วยคำให้การเท็จเป็นจำนวนมาก

โดยนางสาวปัณฑาได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งพระองค์เจ้าบวรเดช เข้ากราบทูลต่อในหลวง รัชกาลที่ 7 เกี่ยวกับการพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า “พระองค์เจ้าบวรเดช เคยทูลรัชกาลที่ 7 ว่า…ถ้าท่านไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top