Saturday, 20 April 2024
เตือนภัยออนไลน์

ตร.เตือน หลอกขายของออนไลน์ ภัยออนไลน์อันดับ 1 ของคนไทย เพียงเดือนกว่า ความเสียหายรวมเกือบ 120 ล้านบาท

วันที่ 31 ส.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผ่านเว็บไซต์ https://www.thaipoliceonline.com พบว่า ประเภทคดีที่สร้างความเสียหายให้กับพี่น้องประชาชนมากที่สุดคือ หลอกขายของออนไลน์ โดยสถิติตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2565 มีจำนวนการรับแจ้งถึง 9,841 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 118,874,403.38 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อของออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อของผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพราะผู้ไม่หวังดีมักจะสร้างบัญชีสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้ข้อมูลปลอม หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เพื่อใช้หลอกขายสินค้าโดยเฉพาะ ดังนั้นก่อนที่พี่น้องประชาชนจะเลือกซื่อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ขอให้ใช้ความระมัดระวังก่อนที่จะโอนเงินค่าสินค้าให้กับผู้ขาย เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อของการหลอกขายของออนไลน์ ดังนี้
1. เลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางหรือเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ
2.  ระมัดระวังในการเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกเกินจริง หรือสินค้าหายากในท้องตลาด (Limited Edition)
3.  อ่านรีวิวจากผู้อื่นที่ซื้อสินค้าเดียวกัน ว่าเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่
4.  ค้นหาข้อมูลของผู้ขายและบัญชีธนาคารรับโอนเงิน ในเว็บไซต์ Search Engine เช่น google หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบข้อมูล ว่าผู้ขายหรือบัญชีที่รับโอนเงินเคยมีประวัติฉ้อโกง หรือไม่ส่งสินค้าหรือไม่
 

‘ตำรวจ’ เตือน!! ‘SMS อนุมัติให้กู้เงิน’ กลับมาระบาดหนัก แนะทริกสังเกต เพื่อไม่ตกหลุมพรางแก๊งหลอกลวง

วันนี้ (23 พ.ย. 65) ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) เปิดเผยกรณี รองโฆษกรัฐบาล ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่ง SMS อนุมัติกู้เงิน ก่อนหน้านี้นั้น  

​พล.ต.ต.อาชยน กล่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนมายังสายด่วนไซเบอร์ 1441 ว่าพบ พฤติการณ์คนร้ายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่จะให้เงินกู้ แล้วโฆษณาผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ส่งอีเมล หรือ ส่ง SMS หาเหยื่อโดยตรงว่ามีสิทธิได้รับสินเชื่อจากธนาคารพร้อมกับลิงก์เพื่อดาวน์โหลดแอป หรือให้แอดไลน์คุยกัน นอกจากไม่ได้เงินแล้ว ยังเสียเงินโดนหลอกเอาเงินประกัน หรือ เงินค่าดำเนินการจากเหยื่อ ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์เตือนภัยเป็นระยะ แต่พบว่า กลับมาระบาดหนักอีกในระยะนี้ มักอ้างกับกลุ่มบริษัทสินเชื่อภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกระทรวงการคลัง

พล.ต.ต.อาชยนฯ กล่าวต่อว่า วิธีป้องกันตนเองต่อภัยโจรออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ ในกรณีนี้ สามารถสังเกตและป้องกันได้ ดังนี้

1.) ขอข้อมูลเชิงลึกมากผิดปกติ เช่น เลขบัตรประชาชน, เลขบัตรเครดิต, เลขบัญชีธนาคาร, วันเดือนปีเกิด, รหัส ATM, Password รวมถึงรหัส OTP ในการทําธุรกรรม ซึ่งการทำธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ขอข้อมูลเชิงลึกมากขนาดนี้ 

2.) SMS ข้อความแจ้งเตือน เพื่อให้อัปเดต หรือ ให้เปลี่ยนรหัสทันที พร้อม ลิงก์ เมื่อคลิก ลิงก์ จะปรากฏหน้าเว็บไซต์ที่ให้กรอก Username/Password ในหน้าแรก ซึ่งผิดปกติ 

3.) ถ้าคลิกเข้าเว็บไซต์ ลิงก์ที่พาไปมักมีชื่อแปลก ๆ พยายามเลียนแบบชื่อเว็บไซต์จริงของธนาคารหรือบริษัทสินเชื่อ ใช้ภาพโลโก้ มาสร้างโปรไฟล์ ให้เหมือนจริง แม้กระทั่งข้อความส่งไปจะเป็นภาษาทางการเงินของทางธนาคารต่างๆ เพื่อให้ผู้เหยื่อสับสน และหลงเชื่อว่าเป็นข้อความจากธนาคารจริง ควรตรวจสอบตัวสะกดลิงก์เว็บไซต์ต่าง ๆ ในช่องเว็บเบราเซอร์ ว่าถูกต้องตรงตามจริง

4.) ข้อความชวนเชื่อว่า กู้ง่าย ได้เร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีหลักประกัน ติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้

5.) ไม่รู้ว่าผู้ส่งคือใคร เมื่อได้รับ SMS แปลก ๆ ที่ส่งมาชวนกู้เงิน อย่ารีบกดลิงก์หรือกรอกข้อมูล ควรเช็กให้ชัวร์ก่อน จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวง

6.) การติดต่อจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่จะให้เงินกู้ทุกครั้ง ควรตรวจสอบจากเบอร์กลางของหน่วยงานนั้นๆ เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตส่วนใหญ่จะไม่ทักประชาชนมาในลักษณะนี้ ยังไม่แน่ใจว่าจะใช่ผู้ให้กู้ในระบบหรือเปล่า ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนใช้บริการ ดังนี้

ตำรวจไซเบอร์ เตือนระวังเพจปลอมเลียนแบบเพจจริงหลอกขายสินค้าออนไลน์

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีการหลอกลวงขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวังเจอเพจในเฟซบุ๊กปลอม ลอกเลียนแบบของเพจในเฟซบุ๊กจริง ดังนี้


ที่ผ่านมาได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่ามีประชาชนตกเป็นเหยื่อจากการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้าเฉลี่ยกว่า 1,900 รายต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่สินค้าที่มักถูกหลอกลวง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ ผลไม้ บัตรคอนเสิร์ต รถจักรยานยนต์มือสอง และปลาแซลมอน เป็นต้น โดยภัยจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือได้ไม่ตรงปก หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ไปจนถึงการใช้หลักฐานการโอนเงินปลอมเพื่อหลอกลวงผู้ขาย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักจะสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า การการันตีสินค้า การรีวิวสินค้าปลอม รวมไปถึงการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง นอกจากนี้ยังมีการสร้างเพจในเฟซบุ๊กปลอมตั้งชื่อลอกเลียนแบบให้เหมือน หรือคล้ายคลึงกับเพจในเฟซบุ๊กที่มีการซื้อขายสินค้าจริง โดยการคัดลอกรูปภาพสินค้า และเนื้อหาจากเพจจริงมาใช้ เมื่อหลอกลวงผู้เสียหายได้หลายรายก็จะเปลี่ยนชื่อเพจ หรือสินค้าไปเรื่อยๆ หรือสร้างเพจปลอมขึ้นมาใหม่ ยกตัวอย่างเช่น มีผู้เสียหายถูกหลอกลวงซื้อโทรศัพท์มือถือโทรศัพท์ซิมเน็ตรายปี ผ่านเพจปลอม Moblie2you ซึ่งเพจจริงคือ Mobile2youmbk หรือกรณีปลอมเพจหลายเพจขายทุเรียนของดาราท่านหนึ่ง เป็นต้น


ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ


โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา บช.สอท. ได้เร่งปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มีปฏิบัติการสำคัญเมื่อต้นเดือน มี.ค.66 ระดมตรวจค้นกว่า 40 จุด ทั่วประเทศภายใต้ยุทธการ “ ปิด Job - Shop ทิพย์ ” หลอกขายสินค้าและบริการผ่านโลกออนไลน์ มีประชาชนหลายรายได้ความเสียหายหลายล้านบาท สามารถทำการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับกว่า 30 ราย ตรวจยึดของกลางได้เป็นจำนวนมาก


อย่างไรก็ตามการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ถึงแม้จะมีข้อดีหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะสะดวกสบาย มีให้เลือกหลากหลาย สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าแต่ละแหล่งได้ ติดตามโปรโมชันต่างๆ ได้ ที่สำคัญสามารถสั่งซื้อได้ตลอดเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ หลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชนโดยมิชอบ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ กรมสรรพากร เตือนภัยออนไลน์

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวการแอบอ้างเป็นกรมสรรพากรหลอกลวงประชาชน และมีคดีออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่ การซื้อสินค้าแล้วไม่ได้สินค้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร./หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่ออีก จึงได้ร่วมกับกรมสรรพากร โดย นาย วินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ ๑ พ.ค.๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีรายละเอียดดังนี้

 
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-29 เม.ย.2566)  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ  5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2. คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ 3. คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4. คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ 5. คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์

    
ภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์ มีจำนวน 2 เรื่อง ดังนี้ 
1. “สรรหาวิธีแอบอ้างสรรพากร  หลอกเอาเงิน”  
1.1  คดีนี้รูปแบบแรก   แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหาผู้เสียหายแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร  
และกล่าวหาผู้เสียหายว่ามีการกระทำผิด เช่น ติดค้างค่าภาษีจากการก่อตั้งบริษัท หรือถูกแอบอ้างเอาข้อมูลไปใช้เปิดบริษัท หรือมีคดีฟอกเงิน หรือเลี่ยงภาษี  แล้วให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อน LINE สถานีตำรวจที่ไกลจากบ้านผู้เสียหาย(LINE ปลอมของคนร้าย) แล้วส่งเอกสารปลอมข่มขู่ให้เชื่อ และหลอกให้โอนเงินอ้างว่าเป็นการตรวจสอบข้อมูล  จากนั้นให้เพิ่มเพื่อน LINE กับ ปปง. (LINE ปลอมของคนร้าย) แล้วหลอกให้โอนเงินเพิ่มอีก 
1.2 รูปแบบที่ 2 แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหาผู้เสียหาย  แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร  
สามารถช่วยยกเลิกหรือสมัครโครงการต่างๆ ของ รัฐบาล เช่น ธงฟ้า คนละครึ่ง ถุงเงิน บัตรประชารัฐ หรือลดหย่อนภาษี หรือช่วยดำเนินการไม่ให้เสียภาษีย้อนหลัง แล้วให้ผู้เสียหายเข้าเว็บปลอมเพื่อกรอกและเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว จากนั้นให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อเข้าควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินของผู้เสียหายออกไป

จุดสังเกต  
1)  ชื่อเว็บไซต์กรมสรรพากรปลอม  เช่น  https://www.rd-go-th.xyz, https://www.rd-go- 
th.co
, https://www.rd-go-th.top และ https://www.rd-go-th.org เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งมีจุดสังเกตหลายจุด  

2) หนังสือราชการที่ใช้ข่มขู่  ไม่เป็นไปตามแบบฟอร์มและภาษาของทางราชการ  

3) บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ  แบบอักษรที่ใช้ ชื่อ ยศ ตำแหน่ง  ไม่ถูกต้อง  

4) กรมสรรพากร สถานีตำรวจ และ ปปง. ไม่มีช่องทางติดต่อบัญชี LINE ส่วนตัวที่สามารถส่ง 
สติ๊กเกอร์ โทร วีดีโอคอล หรือดู LINE VOOM ได้ 
     

วิธีป้องกัน  
1) ศึกษาช่องทางการติดต่อกรมสรรพากร ซึ่งมี 2 ช่องทาง คือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาและ 
ทางออนไลน์ ผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร   
2) ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ที่ถูกต้องของกรมสรรพากร คือ https://www.rd.go.th ก่อนกระทำการใดๆ  
3) สอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. ๑๑๖๑ 
4) สำหรับการดาวน์โหลดเว็บไซต์ของทางราชการหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ  ควรดาวน์โหลดจาก Appstore และ Play Store กรณีมีความจำเป็นต้องกดลิงก์ดาวน์โหลด  ควรไปค้นหาใน Appstore และ Play Store เพื่อเป็นการกรองอีกชั้นหนึ่ง   
 
2. “ซื้อสินค้ามือสอง แต่ได้สินค้ามือเปล่า”คดีนี้มิจฉาชีพทำการสร้างเพจ หรือ โพสตามเพจต่างๆ เพื่อซื้อขายสินค้ามือสอง (โทรศัพท์,ไอแพด,ไอพอด ฯลฯ) หรือสินค้าทั่วไป   โดยใช้รูปโปรไฟล์เป็นผู้หญิงหน้าตาดีหรือสร้างเพจขึ้นมาโดยใช้ชื่ออื่น จนมีผู้ติดตามจำนวนมาก รวมถึงมีหน้าม้ากดเพิ่มเครดิต จนมีความน่าเชื่อถือ หลอกขายสินค้ามือสองหรือสินค้าทั่วไป โดยให้ผู้เสียหายจ่ายเงินมัดจำ หรือ จ่ายเงินก่อน เมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้แล้ว จะไม่ส่งสินค้าให้ แล้วบล็อกผู้เสียหายไม่ให้ติดต่อได้  

ซึ่งสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  โทรศัพท์/Ipad โดยโทรศัพท์ส่วนใหญ่เป็น Iphone    โดยหลอกผ่านเพจ Facebook 2) ผลไม้หรือของกิน เช่น อาหารคลีน นมกล่อง    โดยหลอกผ่านเพจ Facebook 3) เสื้อผ้า ของแบรนด์เนม  โดยหลอกผ่านเพจ Facebook/IG 4) เกมส์ (จ้างอัพเลเวล หรือซื้อเกมส์)   โดยหลอกผ่านเพจ Facebook/IG และ 5) บัตรงาน บัตรคอนเสิร์ต  โดยหลอกผ่าน Twitter/IG  
     

ความเสียหายจากการหลอกขายสินค้าและบริการ ตั้งแต่ 1 มี.ค.65 ถึง 29 เม.ย.66 จำนวน 89,577 เคส   ความเสียหาย 1,308,527,198 บาท สำหรับเพจปลอมที่หลอกขายสินค้า ได้แก่ Smart Shop, พิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์,แซลมอน สายพันธุ์นอร์เวย์เจียน, Wholesale sashimi ส่งทั่วประเทศไทย และทุเรียนเขยจันทร์จากสวนคุณชาคริต ปลีก – ส่ง เป็นต้น  

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมธนาคารไทย เตือนภัยออนไลน์

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหลอกลวงประชาชน และมีคดีออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่ การแอบอ้างเป็นศูนย์กระจายสินค้า หลอกให้โอนเงินเพื่อสต๊อกสินค้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร./หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่ออีก จึงได้ร่วมกับ  สมาคมธนาคารไทย โดย นายยศ  กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย(TBA) แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 8 พ.ค.๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 เม.ย.-6 พ.ค.2566) มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิม ๆ 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ  3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ 5) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) 

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. กล่าวว่า ภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์ เรื่องแรก เป็นเรื่องมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารส่ง SMS และโทรศัพท์หลอกลวงผู้เสียหาย มีรายละเอียด ดังนี้

1. คดีนี้รูปแบบแรก มิจฉาชีพส่งข้อความว่า  มีผู้เข้าสู่ระบบธนาคารของผู้เสียหายจากอุปกรณ์อื่น 
หากไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง ให้ผู้เสียหายติดต่อธนาคารทันที โดยเพิ่มเพื่อนใน line กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อธนาคาร และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย         

จุดสังเกต  
1) มิจฉาชีพส่งข้อความพร้อมแนบลิงก์คล้ายข้อความจริงจากธนาคาร และใช้ชื่อไลน์คล้ายกับ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร
2) ธนาคารจะใช้หมายเลขโทรศัพท์ของธนาคาร(ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 02)ส่งข้อความ จะไม่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวหรือเบอร์มือถือ หรืออีเมลส่งข้อความ  และจะไม่มีการแนบลิงก์ให้กดแต่อย่างใด

วิธีป้องกัน 
1) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้
ติดตั้ง 
2) กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับ call center ของธนาคารโดยตรง 
3) กรณีมีการส่ง Link แปลกปลอม ให้ตรวจสอบจากเวบไซต์ www.who.is 
4) หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ 
Apple Store เท่านั้น 

ธนาคารไม่มีนโยบายการส่งข้อความ SMS แบบแนบลิงก์ทุกชนิด หรือมีข้อความให้แอดไลน์ไอดี หากได้รับ SMS ดังกล่าว  อย่าหลงเชื่อ !!

2. รูปแบบที่ 2 มิจฉาชีพโทรศัพท์หาผู้เสียหายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร แล้วแจ้งว่าบัญชีของ
ผู้เสียหายมีความผิดปกติ หรือติดค้างชำระยอดบัตรเครดิต เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อมิจฉาชีพจะอ้างต่อว่า มีการนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียหายไปใช้ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด แล้วให้โอนเงินไปให้มิจฉาชีพตรวจสอบ 

จุดสังเกต มิจฉาชีพจะโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินต่างๆ แล้วเริ่มบทสนทนาพูดคุยโน้มน้าวให้หลงเชื่อ แล้วส่งต่อให้คุยกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ เพื่อให้เกิดความกลัว แล้วให้โอนเงินให้คนร้ายตรวจสอบ

วิธีป้องกัน 
1) ให้ติดต่อ call center ของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง  เพราะธนาคารไม่มีนโยบายในการ
โทรศัพท์แจ้งให้ประชาชนโหลดแอพพลิเคชั่น หรือโอนเงินไปตรวจสอบ
2) กรณีอ้างหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ให้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลจาก
หน่วยงานนั้นๆ โดยตรง
3) ถ้ามีการสนทนาทาง Video call ให้มีสติและสังเกตปากกับเสียงตรงกันหรือไม่ หรือ ภาพและท่าทางมีความผิดปกติหรือไม่

เตือนภัยออนไลน์ หลอกทำใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบ และลงทุนทิพย์

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวการหลอกลวงทำใบขับขี่โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง  และมีคดีออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่ การหลอกให้ลงทุนในแอปพลิเคชันปลอม Wish Shop สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพดังกล่าว จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 16 พ.ค.๒๕๖๖ เวลา ๑0.๐๐ น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  
พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7 -13 พ.ค.2566)  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ  5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ  2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ  3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงในช่วงนี้ คือ หลอกลวงให้โอนเงินทำใบขับขี่โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง  และหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม Wish Shop ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ  
พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี      บช.สอท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์  
1. เรื่องที่ ๑ มิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถทำใบขับขี่ได้โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง    คดีนี้ 
มิจฉาชีพโพสรับทำใบขับขี่ใน Facebook โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง มีหน้าม้าโพสรีวิวว่าสามารถทำได้ และได้รับใบขับขี่จริง ผู้เสียหายทักสอบถามรายละเอียด มิจฉาชีพให้ผู้เสียหายเพิ่มเป็นเพื่อนในไลน์ แล้วให้ส่งข้อมูลส่วนตัว ชื่อ ที่อยู่ รูปถ่าย และรูปบัตรประชาชน หน้า-หลัง พร้อมทั้งขอเก็บเงินล่วงหน้า ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้ก่อน ต่อมาผู้เสียหายติดต่อขอรับใบขับขี่  มิจฉาชีพอ้างว่ามีค่าเอกสาร ค่าดำเนินการ ค่าขนส่ง ต้องโอนเงินเพิ่ม  สุดท้ายไม่ได้รับใบขับขี่ และสูญเสียเงินโดยมีผู้เสียหายแจ้งความเข้ามาเป็นจำนวนมาก 
1.1 จุดสังเกต   
      1.1.1 ตรวจสอบในเพจ  มีการกดถูกใจน้อยมาก        
      1.1.2 มีการกดอีโมชันด้านลบ (โกรธ)     
      1.1.3 เป็นการทำใบขับขี่ในประเทศไทย แต่คนจัดการเพจส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ 
๑.๑.๔ กรมการขนส่งไม่มีการทำใบอนุญาตขับขี่รถทุกประเภท โดยไม่ต้องมีการสอบ 
         และไม่มีการทำใบอนุญาตขับขี่แบบออนไลน์ 
1.2 วิธีป้องกัน  
  1.2.1 ตรวจสอบกฎเหล็ก Facebook ดังนี้ 
1.2.1.1 เป็นบัญชีทางการ (Official) ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ (มีเครื่องหมาย ✔ หรือไม่) 
1.2.1.2 มีการกดอิโมชันด้านลบ (โกรธ) หรือไม่ 
1.2.1.3 เพจมีความโปร่งใสหรือไม่ 

1) ประวัติการสร้างเพจ : สร้างมานานหรือไม่ 
2) ประวัติการเปลี่ยนชื่อ : เปลี่ยนชื่อบ่อยหรือไม่  
3) คนจัดการเพจอยู่ที่ใด สอดคล้องกับเพจหรือไม่ 
4) ในข้อมูลเกี่ยวกับ : มีการสร้างยอดผู้ติดตามให้เห็นว่ามีจำนวนมากหรือไม่   

1.2.2 กรณีมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามสำนักงานขนส่งทุกสาขาหรือโทร  Call Center 1584 
นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่าปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถทำธุรกรรมกับกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ผ่านทางเพจ Facebook โดยเฉพาะรับทำหรือต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ โดยจะนำรูปตราสัญลักษณ์ ขบ. มาใส่ในรูปโฟรไฟล์  หรือนำรูปภาพของผู้ที่ได้รับใบขับขี่มาแอบอ้าง  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือโดยจะโฆษณาหลอกลวงว่าสามารถออกใบขับขี่หรือต่ออายุใบขับขี่โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานขนส่ง หรือใช้คำว่า “รับทำใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบ ไม่ต้องอบรม รอรับได้เลย” และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอยู่ที่ประมาณ  1,000 – 6,000 บาท เมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปแล้วจะเรียกร้องให้โอนเงินเพิ่มอีกและเงียบหายไป ขบ. จึงขอย้ำเตือนว่าหย่าหลงเชื่อหรือทำธุรกรรมกับเพจเหล่านี้โดยเด็ดขาด นอกจากจะทำให้สูญเสียทรัพย์สินและเอกสารส่วนบุคคลแล้ว  ยังเสี่ยงที่จะได้รับใบขับขี่ปลอมและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการหรือใช้เอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากพบเพจ Facebook ปลอมให้กดรายงานบัญชีหรือเพจ Facebook (report) หรือสามารถแจ้งเบาะแสมาได้โดยตรง หรือ โทร.1584 ตลอด 24 ชั่วโมง 

2. เรื่องที่ 2 มิจฉาชีพชักชวนให้ลงทุนในแอปพลิเคชันปลอม Wish Shop โดยโฆษณาทาง Facebook ชักชวนให้ลงทุนโดยใช้รูปและโปรไฟล์ที่น่าเชื่อถือ   ผู้เสียหายหลงเชื่อทักสอบถาม มิจฉาชีพคนที่ 1 จึงให้แอดไลน์ มิจฉาชีพคนที่ 2 เพื่อแจ้งรายละเอียดการทำงาน โดยให้ผู้เสียหายโหลดแอปพลิเคชัน Wish ปลอม(นอก Play Store) สมัครสมาชิก และตั้งชื่อร้าน  โดยให้ทำตามขั้นตอน เริ่มจากลงทะเบียน เลือกสินค้ามาขาย โดยมีเงื่อนไขและจำนวนที่จะทำให้ผ่านภารกิจ และต้องเติมเงินก่อนขายทุกครั้ง ช่วงแรกให้สั่งซื้อสินค้าครั้งละ 3 ชิ้น และสามารถถอนเงินทุนและกำไรคืนได้  แต่ช่วงหลังจะมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นมา คือ สินค้าต้องถึงมือลูกค้า และต้องเคลียร์สินค้าทุกชิ้นก่อน จึงจะได้ถอนเงินได้  ผู้เสียหายเริ่มติดปัญหา เช่น ออร์เดอร์ของลูกค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องเติมเงินเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้า หรือ มีจำนวนออร์เดอร์ใหม่เข้ามาจำนวนมาก หรือ สินค้าไปไม่ถึงมือลูกค้า ผู้เสียหายจึงขอปิดร้าน แต่มิจฉาชีพอ้างว่ายังมีออร์เดอร์ค้างอยู่ และถ้าจะปิดหรือถอนเงินจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 1) ค่าปิดร้าน 2) กรณีถอนเงิน ต้องจ่ายภาษี 7% 3) ค่าธรรมเนียมโอน 5% 4) ค่าบริการโอนเงิน 15% และ 5) อ้างว่าเงินสะสมในร้านมีจำนวนมากเกิน 2 ล้าน ถูกจำกัดโดยระบบ ต้องโอนยอด 30% เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นบัญชีของผู้เสียหาย โดยจะหลอกให้โอนเงินทีละขั้นตอน หากไม่ทันเวลาจะถูกหัก 10% ของยอดเงิน เมื่อโอนเงินแล้ว จึงจะหลอกขั้นตอนต่อไป และทุกครั้งจะหลอกว่าจะโอนเงินคืนทั้งหมด 
 
2.1 จุดสังเกต

2.1.1 การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง  
1) ใช้โลโก้แบบเก่า  1) เปลี่ยนรูปแบบโลโก้และไอคอนเป็นแบบใหม่ 
2) คะแนน Rating เขียน “Rating”  2) คะแนน Rating เขียน “Ratings” 
3) นำโลโก้ Shoppee ผสมใน App Wish และเพิ่มองค์ประกอบต่างๆ  3) ใช้โลโก้ wish เท่านั้น  
4) ใช้โทนสีส้มเป็นหลักคล้ายกับแอป Shopee และใช้ไอคอนเมนูจากแหล่งอื่น 4) ใช้โทนสีฟ้า-เขียว-เหลือง 

2.1.2 ปัจจุบันแอปพลิเคชั่น Wish ยังไม่รองรับการซื้อขายสินค้าในประเทศไทย  
2.1.3 Wish เป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่นิยมใช้ไลน์ ในการสนทนาแบบ ข้อความด่วน ฉะนั้นในไลน์ จึงไม่มีบัญชี Wish ที่เป็นทางการ 
2.1.4 เนื้อหาภาษาไทยในแอป และฝ่ายบริการลูกค้า การสนทนาทางไลน์ ใช้การแปลคำจากภาษาต่างประเทศ 

2.2 วิธีป้องกัน
2.2.1 ศึกษากลโกงของมิจฉาชีพจากแหล่งความรู้ต่างๆ  เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

2.2.2 ตรวจสอบกับทางบริษัทหรือร้านค้าทุกครั้งก่อนทำภารกิจใดๆ                     
2.2.3 การทำงานหรือทำภารกิจใดๆ  ที่ต้องมีการโอนเงินให้ก่อน  ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นกลโกง 
ของมิจฉาชีพ 
2.2.4 หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ  
Apple Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้

 3. เรื่องที่ 3 มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงหลอกโอนเงิน โดยส่ง SMS แจ้งว่าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจดเลขมิเตอร์เกิน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ โดยเพิ่มเพื่อนใน line กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อสำนักงานการไฟฟ้า และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย          
3.1 จุดสังเกต   - การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง  
ของปลอม ของจริง 
1) เวบไซต์ชื่อ www.xk-line.cc นามสกุลของโดเมนไม่ถูกต้อง 1) เวบไซต์ชื่อ www.mea.or.th นามสกุลของโดเมนคือ .or.th 
2) ไลน์เป็นบัญชีส่วนบุคคล สามารถโทรหากันได้ 2) ไลน์เป็นบัญชีทางการ ไม่สามารถโทรหากันได้ 
3) ใช้โลโก้ กฟน. เหมือนของจริง แต่ใช้ชื่อบัญชี “สำนักงานการไฟฟ้า” 3) ใช้ชื่อบัญชี “การไฟฟ้านครหลวง”  

3.2 วิธีป้องกัน  
3.2.1 ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอก 
ให้ติดตั้ง  
3.2.2 กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ  ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับการไฟฟ้านครหลวง MEA  
call center โทร. 1130 โดยตรง  
3.2.3 กรณีมีการส่ง Link แปลกปลอม  ให้ตรวจสอบจากเวบไซต์ www.who.is  
3.2.3  หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store  
หรือ Apple Store  เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้ 
 พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวเพิ่มเติมว่า การระงับการทำธุรกรรมและอายัดบัญชีตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  พ.ศ.2566 ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66 – 5 พ.ค.66 มีรายละเอียด ดังนี้ 
Case ID ในความรับผิดชอบ 
(Case ID) พงส.แจ้งธนาคารทราบถึงการรับคำร้องทุกข์ 
(Case ID) พงส.แจ้งให้อายัดการทำธุรกรรม/อายัดบัญชี 
(Case ID) จำนวนบัญชีที่ขอระงับ/อายัด 
(บัญชี) บัญชี จำนวนเงินที่ขออายัด 
(บาท) อายัดทัน 
(บาท) 
30,439 988 762 16,597 685,310,290 92,132,049 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ถูกหลอกสูญเงินไป 3.2 ล้าน

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลอกลวง นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  ให้โอนเงิน  สูญเงินไป  3.2 ล้านบาทเศษ   พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพดังกล่าว จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 23 พ.ค.2566   เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14-20 พ.ค.2566)  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ  5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ   2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ  3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์  สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวง   นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม  หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  สูญเงินไป 3.2 ล้านบาทเศษ  ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ จึงได้เชิญนายวัฒนา ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  มาร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ด้วย

พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา  กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี      บช.สอท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ข่มขู่นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและฟอกเงิน  โดยมิจฉาชีพคนที่ 1 แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย โทรศัพท์หานายวัฒนาฯ แจ้งว่าค้างชำระบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย หากไม่ได้ใช้บัตรเครดิต แสดงว่ามีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตไปใช้ และแนะนำให้ไปแจ้งความที่ สภ.เมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุ และต่อสายโทรศัพท์ให้คุยกับมิจฉาชีพคนที่ 2 ซึ่งอ้างตนเป็น พ.ต.อ.เสฎฐวุฒิ รอดจันทร์  เนื่องจากเห็นว่าไม่สะดวกเดินทางไปแจ้งความ ระหว่างนั้น  มิจฉาชีพคนที่ 3 ใช้บัญชีไลน์     ชื่อ “สภ.เมืองนครสวรรค์” ส่งบัตรประจำตัว พ.ต.อ.เสฎฐวุฒิ รอดจันทร์  มาให้ดูและแจ้งด้วยว่า นายวัฒนาฯ เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดและฟอกเงินพร้อมส่งบัญชีธนาคารของนายวัฒนาฯ มาให้ตรวจสอบและแจ้งว่าได้ขายสมุดบัญชีธนาคารที่ไม่ได้ใช้แล้วให้บุคคลอื่นในราคา 50,000 บาท  และมีเงินจำนวน 850,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการขายยาเสพติดโอนเข้ามาในสมุดบัญชี หากต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ต้องโอนเงินมาตรวจสอบเส้นทางการเงิน หากตรวจสอบแล้วไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดใดๆ  จะโอนเงินคืน   นายวัฒนาฯ   หลงเชื่อจึงโอนเงินจากบัญชีธนาคาร  5  บัญชี  จำนวน  10  ครั้ง   เข้าบัญชี   น.ส.สุดารัตน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ น.ส.ชนกานต์ (ขอสงวนนามสกุล)  รวมเป็นเงิน 3,202,380.7 บาท ให้มิจฉาชีพไป

จุดสังเกต  
1.โทรศัพท์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินต่างๆ     แล้วเริ่มบทสนทนาพูดคุยโน้มน้าวให้
หลงเชื่อ 
2.อ้างสถานที่เกิดเหตุไกลจากบ้านหรือที่อยู่ผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายไม่อยากเดินทางไปสถานี
ตำรวจ และต้องการความสะดวกในการติดต่อทางโทรศัพท์ไลน์ หรือทางอื่น
3.แอบอ้างเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ส่งบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ หรือหนังสือ
ของทางราชการ ข่มขู่เพื่อให้เกิดความกลัว  แล้วให้โอนเงินให้คนร้ายตรวจสอบ
4.มิจฉาชีพใช้บัญชีไลน์ส่วนบุคคล  แต่ส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐใช้บัญชีทางการ (Line 
Official)
5.บัญชีรับโอนเงินของมิจฉาชีพเป็นบัญชีส่วนบุคคล  แต่บัญชีส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
เอกชน เป็นบัญชีหน่วยงานหรือองค์กร
    
วิธีป้องกัน   
1)ให้ติดต่อ call center ของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง  เพราะธนาคารไม่มีนโยบายในการ
โทรศัพท์แจ้งให้ประชาชนโอนเงินไปตรวจสอบ หรือโหลดแอพพลิเคชั่น
2)กรณีอ้างหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย  ให้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลจาก
หน่วยงานนั้นๆ  โดยตรง
3)ให้นัดหมายไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งความ  สอบสวนปากคำ  ชี้แจง  หรือยื่นพยานเอกสาร
พยานวัตถุ ณ สถานที่เกิดเหตุหรือสถานที่ราชการด้วยตนเอง 
4)ถ้ามีการสนทนาทาง Video call ให้มีสติและสังเกตปากกับเสียงตรงกันหรือไม่ หรือ ภาพและ
ท่าทางมีความผิดปกติหรือไม่(คนร้ายสามารถใช้โปรแกรมปลอมใบหน้าขณะสนทนาได้)

พล.ต.ต.สุระพรรณ นาทวรทัต ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 4  เปิดเผยว่าได้รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม และข้อมูลทางการสืบสวนเส้นทางการเงินของผู้ต้องหา จากกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ จนสามารถออกหมายจับผู้ต้องหา บัญชีม้าแถวแรกได้แล้ว และออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพิ่มเติม  พร้อมทั้งอายัดเงินในบัญชีม้าแถวที่  2 - 4   รวมทั้งหมดจำนวน 11 ราย โดยนัดหมายให้มารายงานตัว ในวันจันทร์ที่  29 พ.ค.66  เวลา  10.00  น.   และสอบปากคำ พ.ต.อ.เสฏฐวุฒิ รอดจันทร์ ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ จว.นครสวรรค์ ซึ่งถูกแก็งค์คอลเซนเตอร์นำไปกล่าวอ้างในการหลอกลวงต๋อง ศิษย์ฉ่อย โดยยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ติดต่อโทรศัพท์พูดคุยกับผู้เสียหายแต่อย่างใด

พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา  กิตติถิระพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังใช้วิธีส่ง sms หลอกให้กดเพิ่มเพื่อนไลน์แล้วให้โหลดแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โดยมิจฉาชีพแอบอ้างการไฟฟ้า  การประปา ธนาคาร หน่วยงานรัฐ  หรือเอกชน ส่ง sms ให้ผู้เสียหายกดลิงค์เพิ่มเพื่อนไลน์ แล้วหลอกให้หลงเชื่อและกดลิงก์ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแอบอ้างการไฟฟ้านครหลวง ดังนี้
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงหลอกโอนเงิน โดยส่ง sms แจ้งว่าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจดเลขมิเตอร์เกิน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ โดยเพิ่มเพื่อนในไลน์ กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อสำนักงานการไฟฟ้า และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย         

จุดสังเกต  การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง 
ของปลอม 
1) เวบไซต์ชื่อ www.xk-line.cc นามสกุลของโดเมนไม่ถูกต้อง 
2) ไลน์เป็นบัญชีส่วนบุคคล สามารถโทรหากันได้ 
3) ใช้โลโก้ กฟน. เหมือนของจริง แต่ใช้ชื่อบัญชี “สำนักงานการไฟฟ้า” 

ของจริง
1) เวบไซต์ชื่อ www.mea.or.th นามสกุลของโดเมนคือ .or.th
2) ไลน์เป็นบัญชีทางการ ไม่สามารถโทรหากันได้
3) ใช้ชื่อบัญชี “การไฟฟ้านครหลวง” 

วิธีป้องกัน 
1) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง 
2)กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ  ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับการไฟฟ้านครหลวง MEA call center 
โทร. 1130 โดยตรง 
3)หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple 
Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้

พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  แถลงว่าการระงับการทำธุรกรรมและอายัดบัญชีตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  พ.ศ.2566     ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66 – 5 พ.ค.66 มีรายละเอียด ดังนี้
Case ID ในความรับผิดชอบ  30,439 (Case ID)
พงส.แจ้งธนาคารทราบถึงการรับคำร้องทุกข์  988 (Case ID)
พงส.แจ้งให้อายัดการทำธุรกรรม/อายัดบัญชี  762 (Case ID)
จำนวนบัญชีที่ขอระงับ/อายัด 16,597 (บัญชี)
จำนวนเงินที่ขออายัด 685,310,290 (บาท)
จำนวนเงินที่อายัดได้  92,132,049 (บาท) (14%)
    
การดำเนินการตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี   พ.ศ.2566 (บัญชีม้า) ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66 - 17 เม.ย.66  มี ดังนี้
ออกหมายจับ จำนวน 264 คดี/268 หมาย
จับกุม จำนวน 170 คดี/137 คน
เจ้าของไปขอปิดบัญชี  จำนวน  118 บัญชี

การดำเนินการตรวจค้น จับกุม การจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือแบบลงทะเบียนพร้อมใช้  แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้   (ซิมเถื่อน)  ได้ทำการตรวจค้นสถานที่ที่ต้องสงสัยรวมการตรวจค้นทั่วประเทศทั้งหมด จำนวน 40 จุด   พบการกระทำผิด จำนวน 4 จุด จับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งสิ้น  จำนวน 6 ราย   พร้อมตรวจยึดของกลางซิมโทรศัพท์ทั้งหมด  จำนวน 108,789 ซิม นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีในฐานความผิด “เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อหรือขายเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้”

กรณีเปิดหรือยอมให้คนอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตร หรือ e-wallet เป็นบัญชีม้า  ให้รีบนำบัตรประชาชนไปปิดบัญชีกับธนาคารโดยเร็ว  เนื่องจากเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ซึ่งมีอัตราโทษสูง  คือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ “แก็งคอลเซ็นเตอร์ สวมรอยส่งข้อความ SMS ยังไม่สิ้นซาก” 

เนื่องจากในรอบสัปดาห์  มีการจับกุมมิจฉาชีพรับจ้างแก็งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center)นำเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ส่งข้อความสั้น(SMS)  สวมรอยช่องทางปกติของสถาบันการเงิน และหน่วยงานอื่น หลอกลวงผู้เสียหายกดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์และหลอกให้โหลดแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์แล้วโอนเงินออกจาก Mobile Banking ของผู้เสียหาย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพรายอื่นสวมรอยส่งข้อความสั้น(SMS) ในลักษณะเดียวกัน   จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.   หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  และ พล.ต.ท.ธัชชัย  ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2566  เวลา 13.30 น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากยังมีการส่งลิงก์ในลักษณะดังกล่าวอยู่ และมีการส่งในรูปแบบอื่นๆ อีกจำนวนมาก  

พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (21-27 พ.ค.2566)  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ   3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน  4) คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ และ 5) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงในช่วงนี้ คือ คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ โดยใช้วิธีส่งข้อความสั้น (SMS) สวมรอยช่องทางปกติของสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานอื่น โดยขยับมาจากอันดับ 6 เป็นอันดับ 4 ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องย้ำเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ  

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด   ผบก.ตอท.บช.สอท.    กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ที่มิจฉาชีพรับจ้างแก็งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) นำเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ส่งข้อความสั้น(SMS)หลอกลวงผู้เสียหาย  ดังนี้ 

ก่อนหน้านี้มิจฉาชีพแก็งคอลเซ็นเตอร์ส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงผู้เสียหายโดยใช้ SIM BOX โทรศัพท์จากต่างประเทศผ่านระบบ VOIP หรือส่งผ่านอีเมลผ่านบริษัทรับส่งข้อความสั้น (SMS) แต่ในรอบเดือนที่ผ่านมา มิจฉาชีพนำเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถขับไปเส้นทางต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล แล้วส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยใช้ชื่อผู้ส่งเป็นสถาบันการเงิน ส่งข้อความสั้น (SMS) ว่า “มีผู้เข้าสู่ระบบธนาคารของผู้เสียหายจากอุปกรณ์อื่น หากไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง ให้ผู้เสียหายติดต่อธนาคารผ่านลิงก์ไลน์(Line)ทันที”     และมีผู้เสียหายหลงเชื่อกดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์   แล้วคนร้ายจะโทรผ่านไลน์หลอกให้กดลิงก์โหลดแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ และโอนเงินออกจาก Mobile Banking  ของผู้เสียหาย โดยในห้วงเดือน เม.ย. -พ.ค. 2566 มีการแจ้งความออนไลน์ จำนวน 1,398 เคส รวมมูลค่าความเสียหาย 235,135,988.50 บาท 

ต่อมาวันที่ 24 พ.ค.66 เวลาประมาณ 08.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์โดยการนำของพล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท.,   พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ  รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ รอง ผบช.สอท.  พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท. ได้ประสานความร่วมมือกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ,สำนักงานคณะกรรมการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ,สำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ,ผู้ให้บริการเครือข่าย AIS TRUE และ DTAC, ธนาคารกสิกรไทย และ ศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT) ทำการสืบสวน ตรวจค้น จับกุมกลุ่มขบวนการดังกล่าว โดยจับกุม นายสุขสันต์ อายุ 40 ปี กับพวก รวม 6 คน ในข้อหา “ร่วมกัน ทํา มี ใช้ นําเข้า นําออก หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม

โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498, ร่วมกันตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตามมาตรา 11 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498, ร่วมกันใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยไม่ได้รับอนุญาตอันมีลักษณะที่เป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ตามมาตรา 67(3) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม, เป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา” ตรวจยึดรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) จำนวน 4 คัน พร้อมอุปกรณ์ 4 ชุด ตรวจยึดเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station)   ที่ยังไม่ได้แกะออกมาใช้อีก 1 ชุด ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การรับว่าได้รับการติดต่อว่าจ้างจากคนรู้จักที่ทำงานอยู่ประเทศเพื่อนบ้านขับรถนำเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชนในรัศมี 2 กม. หรือครอบคลุมพื้นที่ 4 ตร.กม. โดยจะได้ค่าจ้างสำหรับการวิ่งส่งสัญญาณเดือนละ 80,000 บาท ซึ่งเครื่องดังกล่าวนั้นสามารถส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้วันละ 20,000 หมายเลขต่อเครื่อง  

ขอเน้นย้ำให้ได้รับทราบว่า  ในช่วงแรกมิจฉาชีพต้องการให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนไลน์เพื่อหลอกลวงด้วยการพูดคุยตลอดเวลาให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและทำตามขั้นตอน  จากนั้นจะพยายามส่งลิงก์ผ่านไลน์เพื่อให้ผู้เสียหายกดโหลดแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โดยมิจฉาชีพจะคอยแนะนำขั้นตอนต่างๆ  ทีละขั้นตอน  เนื่องจากการกดยอมรับแอปพลิเคชันให้ควบคุมเครื่องโทรศัพท์นั้น  มีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้เสียหายไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ต้องทำตามคำแนะนำของคนร้าย และเมื่อผู้เสียหายกดยินยอมขั้นตอนสุดท้ายแล้ว  หน้าจอจะมีข้อความเป็นเปอร์เซ็นต์หรือข้อความกำลังอัพเดด กรุณารอสักครู่  ช่วงนี้มิจฉาชีพจะทดลองเข้าแอปพลิเคชันธนาคารจากรหัสที่เราตั้งในแอพ หรือจากเบอร์โทรศัพท์ของเรา โอนเงินออกจากบัญชี Mobile Banking  ของผู้เสียหาย  หากเข้าไม่ได้ก็จะหลอกให้โอนเงินไปลงทะเบียน หรือโอนระหว่างบัญชี ซึ่งคนร้ายจะเห็นว่าเรากดรหัสอะไร 

จุดสังเกต   
1) มิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) พร้อมแนบลิงก์สวมรอยช่องทางปกติในการส่งข้อความจาก 
ธนาคาร และใช้ชื่อไลน์คล้ายกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงาน 
2) มิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) ขณะขับรถไปตามเส้นทางต่างๆ แสดงว่าทุกคน ทุกอาชีพมี 
โอกาสได้รับข้อความสั้น (SMS) และตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 
3) พนักงานธนาคาร  ไม่ใช้ไลน์ส่วนตัวในการติดต่อลูกค้า 
4) เว็บไซต์ปลอมที่มิจฉาชีพให้กดโหลดแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์นั้น  สามารถกดได้ 
เฉพาะเมนูดาวน์โหลด เมนูอื่นๆ เมื่อกดแล้วจะไม่ขึ้นข้อมูลใดๆ  
4) ธนาคารไม่มีนโยบายการส่งข้อความ SMS แบบแนบลิงก์ทุกชนิด หรือมีข้อความให้แอดไลน์ 
ไอดี  หรือเพิ่มเพื่อนในไลน์ 

วิธีป้องกัน  
1) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ 
ติดตั้ง  
2) กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ  ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับ สายด่วนของธนาคารหรือ 
หน่วยงานนั้นๆ โดยตรง  
3) หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ  
Apple Store  เท่านั้น  อย่าเชื่อคำแนะนำของคนร้ายให้กดเข้าบราวเซอร์อื่น 
4) มิจฉาชีพอาจใช้วิธีการหลอกลวงในรูปแบบให้สแกน QR Code หรือเพิ่มเพื่อนไลน์ทาง ID  
Line จึงไม่ควรสแกนหรือเพิ่มเพื่อนไลน์ทาง ID Line จากคนที่ไม่น่าเชื่อถือ 
 จากข้อมูลสถิติรับแจ้งความออนไลน์พบว่า  หลังจากแก็งคอลเซ็นเตอร์ (call center) ดังกล่าวข้างต้นถูกจับกุมแล้ว  ปรากฏว่ายังมีสถิติการรับแจ้งความมิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) แอบอ้างสถานบันการเงิน  การไฟฟ้า ประปา และหน่วยงานอื่นหลอกลวงประชาชนอยู่  เนื่องจากยังมีแก็งคอลเซ็นเตอร์(call center) จำนวนหนึ่งยังไม่ถูกจับกุมตัวดำเนินคดี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพแก็งคอลเซ็นเตอร์(call center) ดังกล่าว จึงขอแจ้งเตือนให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารถึงวิธีการของมิจฉาชีพ   และให้ตระหนักไว้ว่าหากมี SMS แปลกปลอม ต้องไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ  ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับ สายด่วนของธนาคารหรือหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง หรือไปติดต่อหน่วยงานนั้นๆ  ด้วยตนเอง  และที่สำคัญหากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store  เท่านั้น และเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่  สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้จาก เว็บไซต์ และเพจ เตือนภัยออนไลน์ หรือโทรสายด่วน 1441

🚨ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย🚨

🚨ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย🚨

🏡มุกใหม่มิจฉาชีพ หลอกยกเลิกสัญญาซื้อขายบ้าน-ที่ดิน ยอมโดนยึดมัดจำ ลวงผู้เสียหายผิดนัด

⚠️ กลลวงมิจฉาชีพ เริ่มต้นจะขอซื้อบ้านหรือที่ดิน โดยจวางเงินมัดจำเป็นจำนวนที่สูง มีการระบุวันโอนขายที่ดินไว้
⚠️ ก่อนถึงวันโอนบ้านหรือที่ดิน มิจฉาชีพจะโทรศัพท์มาแจ้งผู้ขาย ขอยกเลิกการซื้อขาย และยอมให้ยึดเงินมัดจำ จนผู้เสียหายหลงเชื่อและไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อโอนตามสัญญา
⚠️ วันโอนตามสัญญา มิจฉาชีพจะไปสำนักงานที่ดินและนั่งรอผู้ขายตั้งแต่เช้า เพื่อให้กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ และมีพยานบุคคล ซึ่งส่งผลให้ผู้ขายเข้าข่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย และมิจฉาชีพสามารถเรียกค่าปรับได้ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าเงินมัดจำ

ข้อควรระวัง
✅ ผู้ขายควรตรวจสอบประวัติของผู้ที่มาติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากกลุ่มมิจฉาชีพ

 ❌ไม่เชื่อ  ❌ไม่รีบ  ❌ไม่โอน

 "ตำรวจไซเบอร์ ให้ความรู้ รู้ทันความคิดมิจฉาชีพ"

#ตำรวจไซเบอร์ #เตือนภัยออนไลน์ #ซื้อขายบ้านหรือที่ดิน #กรมที่ดิน

💌 ด้วยความห่วงใย จากตำรวจไซเบอร์
☎️ ปรึกษาสอบถามโทร 1441 หรือ 081-866-3000
🌐 แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
📱 Line:@police1441 แชทบอทกับหมวดขวัญดาว ตลอด 24 ชั่วโมง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ “ระวัง: แอพดูดเงินปลอมอาละวาด ปลอม Google Play และใช้นามสกุลเว็บ .CC”

เนื่องจากในรอบสัปดาห์  มีการรับแจ้งความออนไลน์คดีหลอกให้กดลิงก์แอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกไป สร้างความเสียหายให้กับพี่น้องประชาชนเพิ่มมากขึ้น พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ จึงมอบหมายให้  พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566 เวลา 11.00 น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-15 ก.ค.2566) มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ 3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ และ 5) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) ซึ่งเมื่อช่วงเดือน มีนาคม 2566 - มิถุนายน 2566 สถิติคดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ อยู่ในลำดับที่ 7 แต่ช่วง 2 สัปดาห์นี้สถิติการรับแจ้งความเพิ่มมากขึ้นจนขยับมาอยู่ลำดับที่ 4  มีสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบ 2 สัปดาห์ห้วงวันที่ 2-15 ก.ค.2566 จำนวน 595 เคส ความเสียหาย 90.5 ล้านบาทเศษ เห็นได้ว่าคนร้ายได้พัฒนารูปแบบและวิธีการหลอกลวง ถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท.บช.สอท. กล่าวว่า “ตำรวจเตือนให้กดโหลดแอปพลิเคชันจาก Google Play Store คนร้ายก็เขียน Google Play ในเว็บไซต์ปลอมตบตา” โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงส่ง SMS แจ้งว่า “เนื่องด้วยเจ้าหน้าที่คำนวณค่า FT ไฟฟ้าผิด ทำให้เก็บค่า FT ไฟฟ้ามาเกินให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ http://mea.bwz-th.cc” เหยื่อหลงเชื่อกดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์ ขอชื่อและเบอร์โทรศัพท์ แล้วคนร้ายจะโทรมาพร้อมหลอกให้โหลดแอปพลิเคชันการไฟฟ้านครหลวงปลอมที่ส่งลิ้งมาให้ทางไลน์  ซึ่งเมื่อกดเข้าไปจะมีข้อความและสัญลักษณ์ด้านบนเป็น Google Play เพื่อให้เหมือนว่าเป็นการโหลดจาก Google Play แต่ความจริงเป็น Google Play ปลอม จากนั้นจะหลอกให้กดโหลดแอปพลิเคชั่นควบคุมเครื่องโทรศัพท์  แล้วให้เหยื่อกรอกชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ตั้งรหัสผ่าน 6 ตัว 2 ชุด ที่ไม่ซ้ำกัน กดยืนยันข้อมูล 3 จุดให้เป็นสีน้ำเงิน เพื่อยืนยันตัว จากนั้นหน้าจอจะเกิดข้อความค้าง ขึ้นข้อความว่า “อยู่ระหว่างโหลดข้อมูล” โดยคนร้ายจะหลอกว่าให้โหลดข้อมูลไม่ต่ำกว่า 15% แล้วเงินจะเข้าบัญชี แต่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นคนร้ายได้สุ่มนำรหัสที่เราใส่ไป หรือจากวันเดือนปีเกิดเรา หรือจากหมายเลขโทรศัพท์ไปทดลองเข้าแอปธนาคารในโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีเหยื่อไป

จุดสังเกตุ  
การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง 
ของปลอม ของจริง
1) ไลน์เป็นชื่อบัญชีส่วนบุคคล สามารถโทรหากันได้ 1) ไลน์เป็นชื่อบัญชี MEA Connect ซึ่งเป็นบัญชีทางการ (Official) ไม่สามารถโทรหากันได้
2) เว็บไซต์ปลอม นามสกุลของโดเมนของ มักลงท้ายด้วย .cc    2) เว็บไซต์ชื่อ www.mea.or.th นามสกุล ของโดเมนคือ .or.th
3) บนหน้าจอระบุหน้าเว็บไซต์ Google Play 
แต่ลิงก์ที่แสดงเป็น http://mea.tw-th.cc 3) เมื่อต้องการ Download App บน Google Play 
ลิงก์ที่แสดงจะระบุ https://play.google.com
4) แอปพลิเคชันของปลอม MEA Smart Life ไม่มีข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปฯ ในเครือ 4) แอปพลิเคชันของจริง MEA Smart Life มีข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และมีแอปฯ ในเครือ

วิธีป้องกัน 

1) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง 
2) กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับการไฟฟ้านครหลวง MEA call center 
โทร. 1130 โดยตรง 
3) หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple 
Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอแจ้งเตือนให้พี่น้องประชาชนได้รู้เท่าทัน รูปแบบกลโกงของคนร้ายที่ได้พัฒนาวิธีการหลอกลวง โดยการส่ง sms พร้อมแนบลิงก์ควบคุมเครื่องโทรศัพท์มาด้วย  และมีวิธีการป้องกันง่ายๆ คือ ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน sms แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store เท่านั้น และเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่  สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้จาก เว็บไซต์ และเพจ เตือนภัยออนไลน์ หมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 หรือโทรสายด่วน 1441 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top