Tuesday, 30 April 2024
เดลตา

'หมอยง' เผยผลซิโนแวค 2 เข็ม บวกกระตุ้นเข็ม 3 แอสตราฯ ภูมิต้านทานสูง สามารถต้านสายพันธุ์ 'เดลตา' ได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหัวข้อ "โควิด-19 วัคซีน การกระตุ้นเข็มที่ 3" โดยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส covid-19 ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง การกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้นจึงมีความจำเป็น การฉีดวัคซีน มีการให้เบื้องต้น และกระตุ้น เช่น ไวรัสตับอักเสบบี จะให้เบื้องต้น 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 3 อีก 6 เดือนต่อมา ทำนองเดียวกัน วัคซีน covid-19 ถ้ามีการกระตุ้นเข็ม 3 ภูมิต้านทานจะสูงขึ้นมาก

การให้วัคซีนเบื้องต้น 2 เข็ม เช่น เชื้อตาย เปรียบเสมือนให้ร่างกายรู้จักเหมือนการติดเชื้อ เมื่อกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด virus vector หรือ mRNA กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงมาก

‘หมอแล็บฯ’ ชี้วัคซีนล็อตใหม่สู้ ‘เดลตา’ ได้ดี ส่วนสายพันธุ์อื่นรอทยอยสูญพันธุ์

เพจเฟซบุ๊ก "หมอแล็บแพนด้า" โดย ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความระบุว่า... 

จากการตรวจสายพันธุ์โควิดของผู้ป่วย 4.2 ล้านตัวอย่างทั่วโลก

ตอนนี้ข้อมูลค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ตัวไหนที่เรากังวล เช่น สายพันธุ์มิว แลมบ์ดา อีตา ไอโอตา แคปปา เอปซีลอน ไม่มีตัวไหนแพร่เชื้อแซงสายพันธุ์เดลตาได้ และสายพันธุ์พวกนี้ก็น่าจะค่อยๆ สูญพันธุ์ไปในที่สุด

‘หมอสันต์’ เปิดหลักฐานความรุนแรง ‘โอมิครอน’ ชี้ อัตราตายใกล้ศูนย์ - ต่ำกว่าเดลตา 9 เท่า

13 มกราคม 2565 นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ drsant.com โดยระบุถึง “หลักฐานวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกเรื่องความรุนแรงของโอไมครอนในสหรัฐอเมริกา” มีเนื้อหาว่า ความกลัวโอไมครอนทั่วโลกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีการแพร่ข่าวเรื่องความรุนแรงของโรคนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในประเด็นต่างๆ เช่น การที่ยอดผู้ป่วยถูกแอดมิทไว้รักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น การตายเพิ่มขึ้น เด็กป่วยมากกว่าผู้ใหญ่และตายมากกว่าผู้ใหญ่ เป็นต้น ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่ข่าว ไม่ใช่หลักฐานวิทยาศาสตร์ แต่ตอนนี้หลักฐานวิทยาศาสตร์ของจริงออกมาแล้ว เป็นงานวิจัยที่แคลิฟอร์เนียซึ่งสปอนเซอร์โดยศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) มีศูนย์ประสานงานการวิจัยอยู่ที่ยูซี.เบอร์คเลย์ ซึ่งผมขอสรุปผลให้ฟังดังนี้

งานวิจัยนี้ทำกับผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนที่ยืนยันการตรวจด้วยเทคนิค SGTF (S gene target failure) ทำเฉพาะกับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลจำนวนรวม 52,297 คน พบผลดังนี้

ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 52,297 คน หากนับเฉพาะคนที่ติดตามได้อย่างน้อย 5.5 วัน รวมทั้งหมด 288,534 คน พบว่า

ผู้ป่วยถูกรับไว้ในโรงพยาบาล 88 คน (0.48%)

ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 0 คน (0%)

ท้ายที่สุดแล้วมีตาย 1 คน (0.09%)

ศูนย์จีโนมฯ เปิดผลตรวจสายพันธุ์โควิด คาดใกล้ End game กลายเป็นโรคประจำถิ่น

เมื่อวันที่ 17 มกราคม ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลการตรวจสายพันธุ์ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 3-16 มกราคม 2565 พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน 97.1% (69/71) และเดลตา 2.8% (2/71) นอกจากนี้มีการส่งตัวอย่างสุ่มตรวจจากเรือนจำ เป็นสายพันธุ์เดลตาทั้ง 100% (30/30)

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวหมายถึงในกรุงเทพฯ หากไม่นับในเรือนจำ “โอมิครอน” น่าจะเข้ามาแทนที่ “เดลตา” เกือบหมดแล้ว “Twindemic” หรือการติดเชื้อสองสายพันธุ์ ระหว่าง “โอมิครอน” และ “เดลตา” ไปพร้อมกันในระยะเวลาสั้นๆ ได้จบลงแล้ว ไม่นาน “โอมิครอน” คงจะกระจายไปทั่วประเทศ

ไม่ช้าคงเป็นตามที่นายแอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อและภูมิแพ้แห่งชาติของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคนสำคัญในคณะทำงานเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เตือนว่า “ในที่สุดแทบทุกคนจะติดเชื้อไวรัสโอมิครอน” จากนั้นทั้งภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและจากการติดเชื้อตามธรรมชาติจะพุ่งขึ้นสูง ลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และลดอัตราการเสียชีวิตลงอย่างรวดเร็ว เห็นปรากฏการณ์นี้ได้อย่างชัดเจนจากข้อมูลผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตทั่วโลกจาก “โอมิครอน”

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแอฟริกาใต้ ลดลงจนเข้าสู่สภาวะปรกติ ในขณะที่ผู้เสียชีวิตไม่มาก มีประชากรติดเชื้อไวรัสจากธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

‘โอมิครอน’ ยึดพื้นที่ทั่วไทย 80% สธ.คาด สิ้นเดือนนี้เข้าแทนที่ ‘เดลตา’ 

นายแพทย์ศุภกิจ เผย ทุกจังหวัดในไทยล่าสุดติดเชื้อโอมิครอนครบแล้ว คาดปลายเดือนนี้เชื้อดังกล่าวเพิ่มเป็น 98% เข้ามาแทนที่จนเดลตาหายไป 

เมื่อวันที่ 21 มกราคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงรายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ที่ระบาดในประเทศไทย วันนี้ไม่มีจังหวัดไหนที่ไม่พบเจอเชื้อโอมิครอน โดยพบแล้วทุกพื้นที่ ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 17,021 ราย จังหวัดที่สูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต สมุทรปราการ และ เชียงใหม่ เพิ่มขึ้นกว่า 200 ราย และเป็นการติดเชื้อในพื้นที่ร้อยกว่าราย แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้เดินทางมาจากต่างประเทศวันนี้ ร้อยละ 97 เป็นการติดเชื้อโอมิครอน ดังนั้น คนที่ตรวจหาเชื้อพบผลบวก ก็เชื่อได้เลยว่าเป็นโอมิครอนเกือบทั้งหมด

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนกลุ่มในประเทศก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา จะตรวจโดยตรวจกลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศ และเดินทางผ่านชายแดนเข้ามาทุกราย ด้วยวิธี RT-PCR และจำนวนหนึ่งจะส่งมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว โดยสุ่ม 140 ตัวอย่าง ต่อศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมี 15 แห่งทั่วประเทศ และครึ่งหนึ่งจะถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ส่วนกลุ่มอื่นๆ เช่น การสุ่มในภาพรวมจากผลบวกในแต่ละวัน คลัสเตอร์การระบาด กลุ่มที่ได้วัคซีนแล้ว และกลุ่มที่มีอาการเสียชีวิต บุคลากรการแพทย์ คนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

“ข้อมูลในช่วงวันที่ 11-17 มกราคม 2565 ภาพรวมประมาณ ร้อยละ 87 แต่เฉพาะคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ร้อยละ 97 จาก 1,437 ตัวอย่าง ขณะที่ในประเทศตรวจ 2,274 ตัวอย่าง พบเป็นเชื้อโอมิครอน ร้อยละ 80 เชื้อเดลตา ร้อยละ 20 เป็นสัดส่วนที่น่าจะใกล้ความเป็นจริงในภาพรวมของประเทศ” นพ.ศุภกิจ กล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า สำหรับการตรวจสายพันธุ์ย่อยในประเทศไทย ในกลุ่มคนทั่วไป วันนี้สัดส่วนที่เจอเชื้อโอมิครอน ร้อยละ 85 เชื้อเดลตา ร้อยละ 15 แต่มีเชื้อเดลตาสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มติดเชื้ออาการรุนแรง หรือเสียชีวิต พบประมาณ ร้อยละ 33 หรือ 2 เท่า ของกลุ่มแรก อันนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าสายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าเชื้อเดลตาแน่นอน

“ส่วนกลุ่มที่วัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฉีด 2 เข็ม พบเชื้อเดลตาพอสมควร บุคลากรการแพทย์ร้อยละ 25 เป็นเชื้อเดลตา และสุดท้ายที่น่าสนใจ 8 ราย ที่มีการติดเชื้อซ้ำเป็นเชื้อโอมิครอน ร้อยละ 100 จากเดิมคนที่ติดเชื้อเดิม เช่น เชื้อเดลตา จะมีภูมิสูง แต่ยังสามารถติดเชื้อซ้ำเป็นเชื้อโอมิครอนได้ สะท้อนว่า ภูมิเดิมที่มีต่อเชื้อเดิมป้องกันเชื้อโอมิครอนไม่ได้” นพ.ศุภกิจ กล่าวและว่า ในเชิงพื้นที่ตามเขตสุขภาพต่างๆ หลายเขตขึ้นไป ร้อยละ 70-80 ที่เพิ่มมาก คือ เขตฯ 4,6,7 ขึ้นไปเกือบ ร้อยละ 90 และเขตฯ 13 กรุงเทพฯ ร้อยละ 86 ส่วนใหญ่เป็นเชื้อโอมิครอน ที่เหลือลดลง แต่ที่น่าสังเกตคือเขตฯ 12 หรือชายแดนใต้ ครึ่งหนึ่งเป็นเชื้อเดลตา ดังนั้น พื้นที่นี้มีลักษณะชุมชนแตกต่างจากที่อื่นๆ เช่น ไม่มีสถานบันเทิง และไม่มีการรั่วไหลมาจากมาเลเซีย คนมาจากต่างประเทศก็ไม่ได้ไปในพื้นที่มากมาย ทำให้ครึ่งหนึ่งยังเป็นเชื้อเดลตา แต่ในที่สุดจะถูกแทนที่ด้วยเชื้อโอมิครอนอยู่ดี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top