Friday, 25 April 2025
เจริญชัย

“ เจริญชัย ” คว้ารางวัล Thailand Energy Award 2023ปลาบปลื้ม “หม้อแปลง BCG & Low Carbon” ย้ำชัด เป็นหม้อแปลงและระบบการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบ  Real Time

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน จัดพิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards 2023 ชื่นชมทุกภาคส่วนร่วมใจขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานไทย ได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง สร้างผลงานเป็นที่โดดเด่นเห็นผลเป็นรูปธรรมพาประเทศไทยสร้างชื่อเสียงบนเวทีอาเซียน พร้อมรุกคืบเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำสู่อนาคตที่ยั่งยืน

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards 2023 ณ ห้องคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมรามา การ์เด้น กรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 68 รางวัล จากการประกวด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านพลังงานสร้างสรรค์ ด้านบุคลากร และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ที่ได้ร่วมกันสร้างผลประหยัดพลังงานโดยรวมให้ประเทศกว่า 562 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 140,000 ตัน

คุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ กล่าว ขอขอบพระคุณกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ที่ได้รับโอกาสรับรางวัลถึง 2 รางวัลด้วยกันคือ ASEAN Energy Award 2023 และ Thailand Energy Award 2023 เป็นความภาคภูมิใจและความปลาบปลื้มอย่างยิ่ง โดยหม้อแปลงดังกล่าวตอบโจทย์การประหยัดพลังงาน ของภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการอาคารสถานที่ที่สามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 11.5% และลดคาร์บอนมากกว่า 100 ล้านตันคาร์บอน คืนทุนภายใน 2-5 ปี เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงและความยืดหยุ่นด้านพลังงาน เพื่อผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดความยั่งยืนนี้จะส่งเสริมการเติบโตสีเขียวในภูมิภาค ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลต้องประกาศ นโยบายการลดคาร์บอน โดยประกาศเป้าหมายความเป็นกลางของแผนลดก๊าซคาร์บอนในปี 2575 จะเห็นภาพการใช้พลังงานทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญต่อการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ดังนั้น หม้อแปลงที่กล่าวข้างต้นจึงตอบโจทย์ทุกหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้านการประหยัดพลังงานและลดคาร์บอน (คืนทุน 2-5 ปี)
หม้อแปลง Low Carbon เป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงานที่บริหารจัดการการสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม, อาคาร สถานประกอบการ ลดค่าไฟฟ้า 5-20% (Energy Saving) ลดคาร์บอน 5-20% (Low Carbon) มากกว่า 100 ล้านตัน ลดมลพิษ (Low Emission) ทำให้อุปกรณ์อายุการใช้งานยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อเป็นการตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เจ้าของอาคาร ตามนโยบายของรัฐบาลในการลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน”

“เจริญชัย” นำผลิตภัณฑ์รางวัลนวัตกรรมไทยแห่งชาติ ร่วม MOU กับ อาชีวศึกษาทั่วประเทศ (อ.กรอ.อศ), (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ 

พร้อมให้ผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ด้านการจัดการพลังงานแบบเรียลไทม์ (IoT)
ก้าวสู่ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และบริหาร Green Energy Low Carbon ส่งเสริมหลักสูตรบำรุงรักษาและมาตรฐานความปลอดภัย อัคคีภัย 
ของหม้อแปลงไฟฟ้า สื่อการสอนทันสมัยที่สุดในอาเซียน

เมื่อวันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ โดยนายชริน รัตฉวี รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ได้ร่วม “การลงนามความร่วมมือภายใต้การขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กระทรวงศึกษาธิการ กับนายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด พร้อมนำผลิตภัณฑ์รางวัลนวัตกรรมมาให้ความรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษา, เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน, เพื่อร่วมกันผลิตและพัฒนากำลังอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานโดยการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, เพื่อพัฒนาศักยภาพของครู บุคลากรอาชีวศึกษา และครูฝึกในสถานประกอบการให้มีความรู้และทักษะด้านพลังงานและพลังงานทดแทน, เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านพลังงานและพลังงานทดแทนของผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะวิชาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน, เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้และพัฒนาธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทนในประเทศและเพื่อสนับสนุนการยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาไทยสู่มาตรฐานประเทศและมาตรฐานสากลตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มีนโยบายในการให้สถานศึกษาและสถานประกอบการ ที่จะผลิตช่างฝีมือออกไปสู่ตลาดแรงงานให้มีคุณภาพที่ตรงตามความต้องการ ทั้งนี้สถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ความรู้ทางด้านทฤษฎี ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในระบบทวิภาคี เพื่อเป็นพื้นฐานเบื้องต้นก่อนนักเรียน นักศึกษาออกไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในสถานประกอบการ โดยที่สถานประกอบการจะสอนให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการทำงานจริงในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งสถานศึกษาและสถานประกอบการจะต้องมีความสอดคล้องกัน จึงจะส่งผลดีกับนักเรียน นักศึกษาโดยตรง เป็นการสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านวิชาชีพร่วมกันอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศชาติต่อไป

การสร้างความเข้มแข็ง และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาวการณ์แข่งขันปัจจุบันและอนาคต จำเป็นต้องมีกำลังแรงงานในประเทศที่มีคุณภาพการอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตกำลังคนสู่งานอาชีพ จึงต้องมีการพัฒนาให้ตรงตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ โดยหลักสูตรต้องมีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม การจักการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ต้องเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการการเรียนด้วยการปฏิบัติจริง และการประเมินตามสภาพจริง ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง โดยผู้เรียนให้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ มีแนวทางการศึกษาโดย สถานศึกษาจัดสอนรายวิชาในสถานศึกษาตามแผน การเรียน และสถานประกอบการจัดฝึกอาชีพในสถานประกอบการตามแผนการฝึกอาชีพ โดยระยะเวลาการฝึกอาชีพ จะยาวนานกว่าการฝึกประสบการณ์ของนักเรียนนนักศึกษาภาคปกติ

โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับสถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้รับความรู้จากสถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ และเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติสถานประกอบการอีกด้วย นายประจักษ์  กิตติรัตนวิวัฒน์  รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าว  ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (อ.กรอ.อศ.), (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในการให้ความรู้ด้านการจัดการพลังงานแบบเรียลไทม์ (IoT) ก้าวสู่ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และบริหาร Green Energy Low Carbon ส่งเสริมหลักสูตรบำรุงรักษาและมาตรฐานความปลอดภัย อัคคีภัย ของหม้อแปลงไฟฟ้าพร้อมผลิตภัณฑ์รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) และร่วมพัฒนาบุคลากร ร่วมพัฒนาสถานศึกษาและร่วมประเมินสมรรถนะอาชีพ เพื่อสนับสนุนการสร้างคน สร้างงานให้ทันสมัยด้วยนวัตกรรมไทย เน้นความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงาน ส่งผลให้ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษามีคุณภาพ โดยให้เป็นหนึ่งในนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และความต้องการกำลังคนของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และในฐานะที่ผมเป็นตัวแทนสถานประกอบการ ผมหวังว่าสิ่งที่สถานประกอบการได้มอบให้จะนำพาอาชีวศึกษาไปสู่การประกอบอาชีพได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ

“ อธิบดี พพ. พร้อมคณะ ปลื้ม ERDI-เจริญชัย ” นวัตกรรมคนไทย NiA หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า 5-10%

พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar , Energy Storage, EV พร้อมแก้ปัญหา Net Zero, Near Zero, Demand Response และ Peak Demand อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมคณะเยี่ยมชมโครงการหม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า นวัตกรรมหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ของคนไทย

วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมคณะเยี่ยมชมโครงการ “หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า”พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar , Energy Storage , EV สู่ Net Zero”โดยมี รศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับโดยมี นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด นำเสนอโครงการหม้อแปลงนวัตกรรม Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้าและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี บรรยายเรื่อง การบริหารจัดการพลังงานสะอาดหม้อแปลง Low Carbon + Solar + Energy Storage + EV พร้อมแก้ปัญหา Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Respon จากนั้นนำคณะเยี่ยมชมระบบบริหารจัดการพลังงานสะอาด หม้อแปลง Low carbon ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าวว่า นวัตกรรมหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ของคนไทยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการ หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้พลังงานสะอาด อย่างมั่นคง” (Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response)

รศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการ”หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Sola, Energy Storage, EV สู่ Net Zero” คอนเซ็ปต์การปล่อยคาร์บอนฟุต พริ้นท์( Carbon Footprint) เป็นคาร์บอนนิวตรอน โดยที่ใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาร่วมด้วยซึ่งโครงการหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญของการบริหารจัดการพลังงานของเรา คาดหวังว่าทุกท่านที่เสียสละเวลามาเยี่ยมชมงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และความร่วมมือระหว่างสถาบันฯกับเอกชน จะได้ประโยชน์กลับไปและสามารถช่วยกันพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดประเทศไทย เป็นไปอย่างประสบความสำเร็จตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้าจำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response”

ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ที่กล่าวในข้างต้นตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand และ Demand Response และการประหยัดพลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ประหยัดค่าไฟฟ้า ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ และอนุรักษ์พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 22.16 % มีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา 2-5 ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและ ผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า ขอขอบพระคุณในความร่วมมือของทุกฝ่ายที่ทำนวัตกรรมพลังงานสะอาดของหม้อแปลง Low Carbon จะช่วยประหยัดพลังงาน อนุรักษ์พลังงาน ลดค่าไฟ ลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก สร้างระบบไฟฟ้ามั่นคงปลอดภัย และทัศนียภาพสวยงาม

“ เจริญชัย – ERDI-CMU ” เสริมแกร่งอนุรักษ์พลังงานสะอาด มอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ

พร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า     (ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมนวัตกรรมแห่งชาติ NIA)

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด  ส่งมอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด จัดพิธีส่งมอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ Net Zero,  Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยคุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด คุณมนัสพงษ์ มั่งไคร้ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรมฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และผู้มีเกียรติร่วมงาน ณ ห้องประชุมประเสริฐฤกษ์เกรียงไกร ชั้น 4 อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์

ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัย ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response”  ซึ่งผลที่ได้รับจากงานวิจัยในครั้งนี้ ในด้านการอนุรักษ์พลังงาน จากผลการทดสอบหม้อแปลง Low Carbon โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ จะเห็นได้ว่าสามารถลดค่ากำลังไฟฟ้าได้ประมาณ 5-15% ดังนั้นผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้า จากการติดตั้งหม้อแปลง Low Carbon ขนาด 630 kVA มีผลการประหยัดเท่ากับ 9.01%

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด  กล่าว ขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ที่ส่งเสริมการวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า พร้อมทั้งขอขอบคุณสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ โดยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานในกลุ่มเป้าหมาย ภาคอุตสาหกรรม, โรงพยาบาล, มหาวิทยาลัย, ห้างสรรพสินค้า, โรงเรียน และบ้านเรือน เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคงและเสถียรภาพ อีกทั้งยังลดความสูญเสียพลังงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานและราคาพลังงานในตลาด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top