Saturday, 1 June 2024
เกษตรทฤษฎีใหม่

เด็กนร.ชายแดนยิ้มออก!! หลังพี่ทหาร นพค. 45 มอบอาคารน้ำดื่มเป็นของขวัญปีใหม่ให้นักเรียนสตูล ตามนโยบาย ‘1 นพค. 1 ชุมชน 1 โรงเรียน’ หลังที่ผ่านมาพบพื้นที่น้ำแดงเป็นสนิมกินไม่ได้

วันที่ 27 ธ.ค.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มอบหมายให้ พลเอกจีรัชญ์ บุญชญา ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดยมี พลตรี กฤษณ์ จันทรนิยม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พร้อมด้วย นาวาอากาศเอก อาทิตย์ภากร สังขรัตน์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ส่งมอบอาคารบริการน้ำดื่มระบบ RO กำลังผลิตขนาด 250 ลิตรต่อชั่วโมง ให้กับโรงเรียนและชุมชนบ้านควนโต๊ะเหลง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2565 โดยมี นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นผู้แทนชาวสตูลในการรับมอบ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 ได้เข้าดำเนินโครงการ 1 นพค. 1 ฟาร์ม 1 โรงเรียน 1 ชุมชน

ซึ่งหน่วยฯ จะเข้าให้การสนับสนุนการทำฟาร์มตัวอย่างตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ ตลอดจนให้การสนับสนุนโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ตั้งหน่วยทุก ๆ ด้าน เพื่อลดช่องว่าง สร้างความรัก ความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดี ต่อเยาวชนซึ่งเป็นนักเรียน และประชาชนในชุมชนใกล้เคียง พร้อมกันนี้ยังได้เยี่ยมชมกลุ่มแม่บ้านทำขนมพื้นเมือง ที่ทางหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 ให้การสนับสนุนในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมาอีกด้วย หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 จัดสร้างอาคารบริการน้ำดื่ม ภายใต้นโยบาย 1 นพค. 1 ชุมชน 1 โรงเรียน ให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ที่โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 

โดย พลตรี กฤษณ์ จันทร์นิยม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นประธานส่งมอบอาคารบริการน้ำดื่มระบบ RO เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน  โดย นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย เป็นประธานในการรับมอบ พร้อมด้วย น.อ.อาทิตย์ภากร สังขรัตน์ ผบ.นพค.45 พร้อมส่วนราชการ ให้การต้อนรับ

ในโอกาสนี้ ทางโรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง จัดการแสดงขอบคุณน้ำใจของผู้ใหญ่ใจดีโดยเด็กนักเรียน ก่อนร่วมกันทำพิธีเปิด อาคารบริการน้ำดื่ม  พร้อมดื่มน้ำโชว์สร้างความมั่นใจว่าน้ำสะอาด ดื่มได้จริง ๆ สำหรับโรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลงนั้น  ในช่วงขาดแคลนน้ำ ทางโรงเรียนจะให้นักเรียนนำน้ำดื่มมาเอง แต้เมื่อมีอาคารบริการน้ำดื่มแล้ว นักเรียนเพียงน้ำขวดเปล่ามาจากบ้าน แล้วมาเติมน้ำจากอาคารบริการน้ำดื่มได้อย่างสะดวกสบาย และได้ดื่มน้ำสะอาดที่ผ่านระบบการกรองแล้ว

ด้าน พลตรี กฤษณ์ จันทร์นิยม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา  กล่าวว่า  อาคารบริการน้ำดื่มดังกล่าวมีระบบปฏิบัติการแบบ RO หรือระบบการคัดแยกกรองน้ำ ได้อย่างละเอียดสูตรผ่านแผ่นกรองและเยื่อเมมเบรน  ส่วนน้ำเสียที่ไม่สามารถผ่านการกรอง ก็จะถูกแยก และนำไปอยู่ในระบบน้ำทิ้งโดยมีกำลังการผลิตขนาด 250 ลิตรต่อชั่วโมง  และผ่านเครื่องทำความเย็น  ซึ่งอาคารบริการน้ำดื่มนี้ จัดอยู่ในโครงการจัดหาน้ำกินน้ำใช้ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจนแล้วเสร็จ และในโอกาสใกล้จะถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 จึงขอมอบอาคารบริการน้ำดื่มแก่โรงเรียน  และชุมชนบ้านควนโต๊ะเหลง เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับทุก ๆ คนโดยใช้ประโยชน์ร่วมกันตามนโยบาย 1 นพค. 1 ชุมชน 1 โรงเรียน ซึ่งเป็นนโยบาย ที่จะสร้างความรักใคร่สามัคคีและลดช่องว่างระหว่างหน่วย นพค. โรงเรียน ตลอดจนชุมชนรอบข้าง

นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า จากข้อมูลทราบว่าทางหน่วยบัญชาการทหารพัฒนามีนโยบายให้หน่วยขึ้นตรงดำเนินการโครงการ 1 นพค. 1 ชุมชน 1 โรงเรียนคือให้แต่ละนพค. ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เข้าให้การสนับสนุนโรงเรียนและชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งเป็นนโยบาย ที่จะเพิ่มความแน่นแฟ้นให้กับหน่วยงานราชการ ประชาชน ตลอดจนบุตรหลานซึ่งเป็นนักเรียน ในโอกาสนี้ผมก็ขอให้ทุกฝ่ายช่วยดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อาคารบริการน้ำดื่มนี้ให้มากที่สุด ดังเจตนารมณ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจังหวัดสตูล จะได้รับการสนับสนุนโครงการดี ๆ ของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 ดังเช่นที่ผ่านมา และในโอกาสใกล้ถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ ผมขออวยพรให้ทุกท่านที่อยู่ ณ ที่นี้จงประสบแต่ความสุขความเจริญมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง คิดสิ่งใดให้สมดังปรารถนาตลอดปี 2565

ด้าน นางฮาสาน๊ะ ยีปันจอ ผอ.รร.บ้านควนโต๊ะเหลง กล่าวขอบคุณทางหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 ที่ได้มอบอาคารน้ำดื่มให้กับนักเรียน นับเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำดื่ม โดยเฉพาะช่วงภัยแล้ง นักเรียนจะได้นำขวดเปล่ามาเติมน้ำได้ที่อาคารบริการน้ำดื่มได้ โดยไม่ต้องนำน้ำมาจากบ้าน นอกจากนี้ชุมชนก็ยังได้ใช้ร่วมกันด้วย เพราะช่วงเย็นประชาชนจะมาออกกำลังกาย ก็สามารถใช้น้ำสะอาด

นายกฯ ยินดี ‘ไทย-กานา’ ขยายความร่วมมือด้านเกษตร เดินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-เกษตรทฤษฎีใหม่

ไทย-กานา ขยายความร่วมมือด้านเกษตรกรรม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-เกษตรทฤษฎีใหม่  

(16 มี.ค.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ประเทศกานามีความสนใจในแนวทางพระราชดำริว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยกเป็นต้นแบบพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนใจการทำการเกษตรแบบ BCG Model นายกรัฐมนตรียืนยันไทยพร้อมสนับสนุนเทคโนโลยี องค์ความรู้ ให้คำแนะนำ และผลักดันความร่วมมือสู่ความสำเร็จระหว่างประเทศ

ประเทศกานา มีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งประเทศกานาสนใจในแนวทางพระราชดำริว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบ BCG Model โดยกานาชื่นชมโครงการ “ข้าวรักษ์โลก” ของไทยที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และเป็นแนวทางใหม่ของการทำเกษตรกรรมโลก ซึ่งโครงการข้าวรักษ์โลก เป็นต้นแบบการปฏิวัติการทำนาแบบยั่งยืนตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางไว้ จากแนวคิดการผลิตข้าวแบบใหม่ โดยการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้เพื่อการผลิตและลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต ข้าวที่ได้มีคุณภาพสูง และสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากโครงการข้าวรักษ์โลกตอบโจทย์กระแสผู้บริโภคในโลกยุคปัจจุบัน ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

‘เกลือ กิตติ’ โพสต์ข้อความพร้อมภาพ ‘ข้าวที่ปลูกไว้เอง’ ชี้!! นี่คือ ‘เกษตรทฤษฎีใหม่-ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ 

(12 พ.ค.67) กลายเป็นกระแสชื่นชม และมีการพูดถึงเป็นอย่างมากในโลกออนไลน์ เมื่อ’ เกลือ กิตติ เชี่ยววงศ์กุล’ นักแสดง พิธีกร นักเขียนบท และผู้กำกับ ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘กิตติ เชี่ยววงศ์กุล’ โดยระบุว่า … 

“ฉันผู้ซึ่งปลูกข้าวไว้กินเอง มีกิน มีใช้ เหลือพอแบ่งปัน #เกษตรทฤษฎีใหม่ #farmilyฟาร์มอีหลี #ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

‘หนุ่มโคราช’ ทิ้งงานประจำ หันมาทำ ‘เกษตรทฤษฎีใหม่’ เนรมิตที่ดิน 30 ไร่ จนสร้างรายได้ 3-5 แสนบาทต่อปี

(27 พ.ค. 67) ที่บ้านหนองสระธาร หมู่ที่ 10 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา นายปุณยวัจน์ ชาบุญเรือง หรือพี่เตี้ย อายุ 50 ปี ชาวบ้านหนองสระธาร หมู่ที่ 10 ตำบลด่านเกวียน อดีตพนักงานห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่งใน กทม. ยอมสละเงินเดือนกว่า 25,000 บาท จากงานประจำที่ทำมานานกว่า 30 ปี กลับมาบ้านเกิดที่อำเภอโชคชัย เป็นเกษตรกรเต็มตัวเพื่อทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ จนประสบความสำเร็จ

นายปุณยวัจน์ ชาบุญเรือง เปิดเผยว่า เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานขายในห้างสรรพสินค้าที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่อายุ 20 ปี เมื่อแต่งงานมีครอบครัวจึงได้ย้ายกลับมาอยู่กับครอบครัวที่จังหวัดนครราชสีมาโดยยึดอาชีพเกษตรกร ตั้งแต่ ปี 2558 ได้เริ่มทำการเกษตรอย่างจริงจัง โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 30 ไร่ เน้นปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว ได้แก่ ยูคาลิปตัส และ มันสำปะหลัง ทำนา 10 ไร่ประสบกับปัญหารายได้ไม่เพียงพอใช้จ่ายในช่วงที่ผลผลิตยังไม่เก็บเกี่ยว เนื่องจาก 1 ปี ขายผลผลิต 1 ครั้ง 

อีกทั้งประสบปัญหาเรื่องโรค-แมลง และภัยธรรมชาติ จึงเกิดการปรับความคิด ปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโนนรัง อำเภอชุมพวง จ.นครราชสีมา จึงได้กลับมาปรับเปลี่ยนพื้นที่ของตนเองในการทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยขุดบ่อ 3 บ่อพื้นที่ 3 ไร่ ทำนา พื้นที่ 12 ไร่ ที่อยู่อาศัย, โรงสีข้าวพื้นที่ 2 ไร่ ปลูกไผ่กิมซุง พื้นที่ 1.5 ไร่ ปลูกพืชไร่ พื้นที่ 8 ไร่ ปลูกมะม่วง, มะนาว, มะขามเปรี้ยว, มะพร้าวน้ำหอม พื้นที่ 3 ไร่ ซึ่งการจัดสรรพื้นที่และการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำให้มีผลผลิตออกจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี และสามารถสร้างรายได้เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ไม่ว่าจะเป็น ถั่วลิสง พริก มะนาว มะขามเทศ หน่อไม้ ข้าวโพดหวาน มะม่วง มะพร้าว การแปรรูปปลา การแปรรูปหน่อไม้ ข้าวสาร พืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน 

ทั้งนี้ การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ของตนจะเน้นการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้มีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลแพะ,มูลไก่) ปุ๋ยหมัก น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ และการไถกลบตอซังเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน การจำหน่ายผลผลิต ก็จำหน่ายด้วยตนเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะเดินทางมาจำหน่ายที่ตลาดสีเขียวหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ทุกวันศุกร์ ปัจจุบันตนเองจะรายได้เฉลี่ย 6,000 - 8,000 บาท ต่อสัปดาห์ หรือ 300,000 - 500,000 บาทต่อปี

นายปุณยวัจน์ ชาบุญเรือง เปิดเผยอีกว่า การทำการเกษตรจะประสบความสำเร็จจะต้องจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการน้ำ ตนมีการขุดสระน้ำเพื่อเก็บน้ำในฤดูฝน ที่สามารถนำน้ำมาใช้ยามขาดแคลนได้ มีการขุดเจาะน้ำบาดาลและขุดลอกบ่อเก็บน้ำให้ลึกเพื่อให้สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี การจัดการดิน จะปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด การใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ และการไถกลบฟางข้าวในพื้นที่นา เป็นต้น 

จากการดำเนินการปรับปรุงดินที่ผ่านมาทำให้สภาพดินค่อย ๆ ดีขึ้น จากการสังเกตพบว่าดินมีความอ่อนตัวลงกว่าเดิม พืชต่าง ๆ สามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเรื่อยๆรวมทั้งการหาความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องมีการศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการทำงานหรือผู้ประสบความสำเร็จในด้านการประกอบอาชีพด้านการเกษตร และผ่านการอบรมในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่โดยการน้อมนำหลักการทำเกษตรแบบใหม่ตามศาสตร์พระราชา การทำเกษตรแบบพอเพียง เพื่อความยั่งยืนนำไปสู่ชีวิตที่มีความสุขอยู่ดีกินดีและมีครอบครัวที่เป็นสุข อบอุ่น และยั่งยืน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top