Monday, 5 May 2025
อินทนิล

บางจากฯ กวาด 4 รางวัลใหญ่ อันทรงเกียรติจาก 3 เวที ตอกย้ำ!! ความแข็งแกร่งด้าน ‘ผลิตภัณฑ์-บริการ-แบรนด์’

(10 ธ.ค. 67) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ย้ำความแข็งแกร่งด้านผลิตภัณฑ์ บริการและแบรนด์ จากรางวัลทรงเกียรติในปี 2567 รวม 4 รางวัล จาก 3 งานประกาศผลรางวัล ประกอบด้วย

1) รางวัลถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 
สยามบรมราชกุมารี สาขาความเป็นเลิศด้านสินค้า/การบริการ (Product/Service Excellence) ในงานประกาศผลรางวัลพระราชทาน Thailand Corporate Excellence Awards 2024 จัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) รางวัล Superbrands Thailand 2024 จากแบรนด์บางจาก โดยแบรนด์ ‘บางจาก’ ได้รับรางวัล Superbrands Thailand ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 จากผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงของ ‘บางจาก ไฮ พรีเมียม 97’ น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูง สูตรที่ดีที่สุดของบางจากฯ 

3) รางวัล Superbrands Thailand 2024 จากแบรนด์กาแฟอินทนิล โดยแบรนด์ ‘อินทนิล’ ได้รับรางวัล Superbrands Thailand ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ในฐานะแบรนด์กาแฟรักษ์โลกอันดับหนึ่งของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นในด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘อินทนิล เพื่อคุณ เพื่อโลก’

4) รางวัล ‘แบรนด์สร้างแรงบันดาลใจ’ ระดับภูมิภาคเอเชีย โดยแบรนด์ “บางจาก” ได้รับรางวัล 
Asia Pacific Enterprise Awards (APEA) 2024 สาขา Inspirational Brand Award หรือ รางวัล ‘แบรนด์สร้างแรงบันดาลใจ’ ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil and Gas ที่ได้รับการยกย่องในด้านภาพลักษณ์และปรัชญาที่เป็นต้นแบบและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น เป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มาตลอดระยะเวลา 40 ปี ก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 ด้วยแบรนด์ไอเดีย Greenovate to Regenerate: สมดุลธรรมชาติ สรรค์พลังไม่สิ้นสุด

นายเสรี อนุพันธนันท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจการตลาด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “รางวัลต่าง ๆ ที่บางจากฯ ได้รับในปี 2567 นี้ถือเป็นความภาคภูมิใจและนับเป็นบทพิสูจน์ถึงความสำเร็จที่มาจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาและยกระดับสินค้าและบริการของบางจากฯ เพื่อส่งมอบความสุขพร้อมประสบการณ์ที่แตกต่าง จนได้รับการยกย่องการันตีด้วยรางวัลอันทรงเกียรติ และเป็นรางวัลที่ได้รับอย่างต่อเนื่องในทุกปี ขอขอบคุณท่านผู้ประกอบการ คู่ค้า สมาชิกบางจากกรีนไมลส์ และลูกค้าทุกท่าน สำหรับทุกการสนับสนุน ความเชื่อมั่น และรางวัลจากทุกเวทีที่มอบให้กับบางจากฯ เราจะยังคงสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย พร้อมพัฒนาธุรกิจอื่น ๆ เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพการให้บริการควบคู่กันไป” 

‘อินทนิล’ นักรบนิรนามในเงาสงคราม 333 วีรกรรมที่ไม่มีใครเขียนถึง ในบทไพร่พล

(20 เม.ย. 68) ท่ามกลางเสียงปืนที่ไม่เคยปรากฏในหน้าหนังสือเรียน และวีรกรรมที่ไม่มีใครเขียนถึงในบทไพร่พล - มีชื่อหนึ่งที่แฝงตัวอยู่ในความเงียบ คือ “อินทนิล”
อินทนิล ไม่ใช่ชื่อบุคคลธรรมดา แต่คือชื่อจัดตั้งของ ร้อยโทชูเกียรติ สินค้าเจริญ นายทหารยุทธการแห่งกองพันรหัส BC.609 ซึ่งประจำการอยู่บนยอด ภูเทิง - หนึ่งในแนวสันเขายุทธศาสตร์กลางทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว ที่ใช้ควบคุมเส้นทางเคลื่อนพลในสงครามลับยุคสงครามเย็น

ปฏิบัติการของอินทนิล อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2514–2518 ภายใต้รหัสลับ “333” เป็นภารกิจสนับสนุนการสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ร่วมกับฝ่ายราชการในลาว โดยมีไทย-สหรัฐฯ เป็นผู้หนุนหลัง ผ่านการรบแบบไร้สัญชาติ ไร้เหรียญตรา และบางครั้ง…ไร้ทางรอด

ณ ใจกลางสมรภูมิแห่งนี้ นักรบไทยได้ตั้งฐานรบระดับกองพันไว้ 3 แห่งรอบทุ่งไหหิน ได้แก่ ภูเทิง, ภูห่วง และ ภูเก็ง — ทั้งหมดตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่ถูกจัดชั้นว่า Key Terrain หรือพื้นที่ยุทธศาสตร์สูงสุด หากควบคุมได้ ย่อมควบคุมทั้งแนวรบ

แนวสนับสนุนจากแนวหลังคือฐานยิงปืนใหญ่ของไทยในรหัสลับ มัสแตง, ไลอ้อน, คิงคอง, สติงเรย์ และ แพนเธอร์ ที่คอยยิงสนับสนุนทุกครั้งที่ฐานแนวหน้าส่งสัญญาณขอ “ไฟ” จากฟ้า

ปี พ.ศ. 2515 ฐาน BC.609 ถูกกองกำลังฝ่ายตรงข้ามโอบล้อมจากทุกทิศ เส้นทางส่งกำลังบำรุงถูกตัดขาด อากาศเลวร้ายจนเครื่องบินไม่อาจฝ่าเข้าไปได้ สถานการณ์เต็มไปด้วยสัญญาณแห่งความตาย

ในที่สุด ภูเทิงตกอยู่ในวงล้อมอย่างสมบูรณ์ ทหารเวียดนามเหนือระดมยิงปืนใหญ่ใส่ฐานไทยตั้งแต่เช้าจรดเย็น บังเกอร์ถูกถล่มกระจุยทุกแนวเพลาะ ลูกปืนของศัตรูดูไม่มีวันหมด ...

ร้อยโทชูเกียรติ — หรือ “อินทนิล” — จึงตัดสินใจประกาศคำสั่งสุดท้ายผ่านวิทยุ:

> “ขอให้ปืนใหญ่ไทย ยิงแตกอากาศใส่ฐานของเราเอง”

คำว่า “แตกอากาศ” คือคำสั่งให้ยิงลูกกระสุนระเบิดกลางอากาศเหนือฐาน เพื่อให้สะเก็ดกระจายลงมา ทำลายอาวุธ แผนที่ เอกสารลับ และ…ชีวิตของผู้ที่อยู่ในวงล้อม ไม่ให้ตกไปในมือศัตรูแม้แต่นัดเดียว

เสียงระเบิดในวันนั้น คือเสียงของคนที่เลือกตายอย่างมีศักดิ์ศรี มากกว่าจะยอมเป็นเชลยโดยไร้เกียรติ
และหลังการตรวจสอบภายหลังสงครามจบลง — เราจึงได้ทราบว่า
กำลังพลไทยที่ยังปักหลักอยู่ในฐานภูเทิง ณ วินาทีสุดท้าย มีเพียง 8 นาย
ในจำนวนนั้นคือ ร้อยโทชูเกียรติ สินค้าเจริญ, ร้อยโทโรม ชัยมงคล และทหารกล้าทั้งหมดอีก 6 นาย ส่วนที่เหลือถอยออกจากสนามรบทำให้เป็นผู้รอดชีวิต...
หลายปีผ่านไป ไม่มีพิธีรำลึก ไม่มีบันทึกในตำราทหาร ไม่มีแม้แต่ชื่อของอินทนิลอยู่ในรายนามของผู้กล้า… จนกระทั่งมีการสร้าง “อนุสาวรีย์วีรกรรมทหาร 333” ขึ้น ณ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี แท่นหินที่ตั้งสงบแต่หนักแน่นอยู่ริมถนนแห่งนี้ คือคำยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ลืมวีรบุรุษที่เลือกสละแม้กระทั่งชื่อเสียง เพื่อรักษาแผ่นดิน

> อินทนิล คือเสียงของผู้ไม่พูด
คือแสงสว่างจากเงามืด
คือผู้ที่ยอมแตกเป็นผุยผง ดีกว่าให้แผ่นดินแตกเป็นเสี่ยง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top