Friday, 17 May 2024
อัศวิน_ขวัญเมือง

'อัศวิน' ปรับภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมคืบหน้า 58% พร้อมเปิดตลาดนัดผดุงศิลป์พื้นที่เพื่อคนรุ่นใหม่

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เพื่อพลิกฟื้นวิถีชีวิตประชาชนริมคลองควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์คูคลองให้มีความสะอาด สวยงาม และปลอดภัย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแหล่งน้ำให้สวยงามสะอาดอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ เป็นเส้นทางสัญจร สถานที่พักผ่อน สถานที่ออกกำลังกาย เป็นต้น 

สำหรับโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม ระยะทางรวม 4,480 ม. แบ่งเป็น 6 โซน ได้แก่ 
โซนที่ 1 ตลาดน้อย ระยะทาง 680 ม. 
โซนที่ 2 หัวลำโพง ระยะทาง 1,250 ม. 
โซนที่ 3 โบเบ๊ ระยะทาง 450 ม. 
โซนที่ 4 นางเลิ้ง ระยะทาง 700 ม. 
โซนที่ 5 สถานที่ราชการ ระยะทาง 700 ม. 
และโซนที่ 6 เทเวศร์ ระยะทาง 700 ม. 

โดยในระยะแรกเป็นการนำร่องโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม โซนที่ 2 หัวลำโพง (ช่วงจากสะพานเจริญสวัสดิ์ถึงสะพานกษัตริย์ศึก) เริ่มสัญญาวันที่ 1 ต.ค. 64 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 29 มี.ค. 65 ระยะเวลาก่อสร้าง 180 วัน ปัจจุบันผลงานที่ทำได้ 58% ประกอบด้วย 

1.) รื้อราวกันตกเดิม 
2.) รื้อคันหินทางเท้าเดิม 
3.) สร้างคันหินทางเท้าใหม่ 
4.) ทุบรื้อพื้นทางเท้าเดิม 
5.) สร้างพื้นฐานทางเท้าใหม่ หนา 10 ซม. 
6.) ติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่าง 
และ 7.) งานสร้างท่าน้ำ 1 แห่ง

'เท่าพิภพ' สุดทน!! จี้ 'อัศวิน' ลาออกผู้ว่า กทม. ปูดถลุงงบกลาง-สร้างความนิยม ไม่สมชื่ออัศวินนักรบ

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 22 บางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน พรรคก้าวไกล กล่าวแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจส่วนตัว ถึงกรณีที่ตนได้รับร้องเรียนจากประชาชนและเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ที่ให้เบาะแสถึงพฤติกรรมการใช้งบประมาณของพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่างน่าสงสัยเพื่อเอื้อแก่การสร้างฐานนิยมให้ตนเองหรือไม่นั้น 

เท่าพิภพ กล่าวว่า พฤติกรรมการใช้งบประมาณของผู้ว่าอัศวิน ส่อไปในทางที่สงสัยได้ว่าเป็นไปเพื่อการสร้างความนิยมส่วนตัว โดยมีการให้งบประมาณไปกับโครงการในลักษณะที่ตัวเนื้อหาโครงการที่ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า ไม่มีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายในการใช้งบประมาณเฉพาะเจาะจงไปยังหัวคะแนนเพื่อสร้างฐานเสียงทางการเมืองของตัวเอง

"หลายโครงการที่มีชื่อหรูหราและดูดีแต่ข้างในเน่าเฟะ อย่างโครงการ งบช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิดหัวละ 5,000 บาท ซึ่งตั้งงบประมาณไว้คือเขตละ 200 คน รวมทั้งสิ้น 50 เขต รวม 50 ล้านบาท โครงการอ้างว่าจะช่วยให้เป็นเงินให้เปล่าเพื่อช่วยเหลือให้ไปประกอบธุรกิจ โดยให้ประชาชนทั่วไปเขียนโครงการมาคัดเลือก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้น การประชาสัมพันธ์โครงการทำด้วยวิธีการเลือกประธานชุมชนไปประชุมที่เขตเพื่อรับทราบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจำกัดวงของผู้เข้าร่วมมากๆ ประธานชุมชนคนไหนดีก็จะมาแจ้งลูกบ้าน ประธานชุมชนที่ไหนเน้นผลประโยชน์ส่วนตนก็จะเก็บข่าวไว้กับพวกตัวเอง โครงการเหล่านี้พอยื่นไปแล้วยังพบว่ามีความไม่ยุติธรรมในการคัดเลือกจัดสรร ผู้ที่ได้รับเงินเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็น 'เครือข่ายของที่ปรึกษา' ผู้ว่าอัศวิน ซึ่งคนกรุงเทพฯ ทั่วไปก็จะรู้ว่าคนเหล่านี้คือว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. ทีม #รักษ์กรุงเทพ ของผู้ว่าอัศวิน"

นับถอยหลัง เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ 22 พ.ค.65

หมายเลข 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล กับแนวคิด “เมืองที่คนเท่ากัน” พร้อมชนกับต้นตอของปัญหา และจะทำให้ปัญหาของทุนคนได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม นโยบายหาเสียง ได้แก่

1. เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ 60 เป็น 1,000 บาทต่อเดือน เพิ่มสวัสดิการเลี้ยงดูเด็กเป็น 1,200 บาทต่อเดือน เพิ่มเบี้ยคนพิการเป็น 1,200 บาทต่อเดือน 

2. ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ให้บริการวัคซีนฟรี เช่น วัคซีนโรคปอดอักเสบ วัคซีนไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก 

3. เพิ่มงบชุมชนปีละ 500,000-1,000,000 บาท ตามขนาดของชุมชน ตั้งงบประมาณ 200 ล้านบาทในการพัฒนากรุงเทพฯ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะนำไปพัฒนาด้านใดบ้าง

4. สร้างที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง 10,000 ยูนิต ภายใน 4 ปี ให้คนกรุงเทพฯ เช่าได้ระยะยาว 30 ปี 

5. จัดให้มีรถเมล์คุณภาพ ทำตั๋วคนเมืองที่จ่ายในราคา 70 บาท แต่สามารถใช้เป็นค่าโดยสารได้ 100 บาท ผลักดัน “ตั๋วร่วม” ขึ้นรถไฟฟ้าในราคา 15-45 บาทได้ตลอดสายแบบไร้รอยต่อ 

6. ขึ้นค่าเก็บขยะห้างใหญ่ไม่ต่ำกว่า 10 เท่าของที่จ่ายอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำไปปรับปรุงการเก็บขยะครัวเรือน ปรับปรุงจุดทิ้งขยะทั่วกรุงเทพฯ และแก้ไขกลิ่นเหม็นจากโรงงานขยะ

7. ลงทุนศูนย์ดูแลเด็กเล็กศูนย์ละ 5 ล้านบาท ยกระดับให้มีคุณภาพเทียบเท่าเอกชนจัดให้มีครูสำหรับเด็กพิเศษที่พัฒนาการช้า เพิ่มศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่ยังขาดแคลนรวมถึงดูแลสวัสดิการครูและพี่เลี้ยงเด็กต้องมีสัญญาจ้างงานประจำ 

8. ด้านการศึกษา เสนอตัดวิชาที่ไม่จำเป็นออก เพิ่มการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทำให้เป็นโรงเรียนปราศจากการรังแก (Bullying-Free School)

9. ลอกท่อทั่วเมือง ลอกคลองทั่วกรุง เปลี่ยนงบประมาณอุโมงค์ยักษ์ปีละ 2,000 ล้านบาท เป็นงบปรับปรุงระบบระบายน้ำเพื่อให้ระบายได้เร็วขึ้น 

10. เปลี่ยนที่รกร้างเป็นสวนสาธารณะ ออกข้อบัญญัติให้หน้าอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ทุกแห่งต้องมีพื้นที่สีเขียวที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้ และเปิดพื้นที่สาธารณะให้เป็นที่ปลอดภัยสำหรับการชุมนุม

11. ทางเท้าดี เท่ากันทั้งกรุงเทพฯ ให้ประชาชนเป็นพยานตรวจรับงาน หากมีการขุดทางต้องคืนกลับมาในสภาพดีเหมือนเดิม ทางเท้าที่แคบกว่า 3.2 เมตร ห้ามตั้งแผงลอย แต่หาพื้นที่ใกล้เคียงให้ค้าขาย และทางม้าลายต้องปลอดภัย

12. เจอส่วยแจ้งผู้ว่าฯ สร้างกรุงเทพฯโปร่งใส ไร้คอร์รัปชั่น การขอใบอนุญาตให้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้บุคคลที่สาม (Third Party) ประเมินการขอใบอนุญาตและตรวจรับงาน

หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ สโลแกน “กทม.More ทำกรุงเทพฯ ให้ดีกว่านี้ได้” กับนโยบายหลัก 6 ด้าน ได้แก่...

1.ยกระดับศูนย์สาธารณสุข 69 ศูนย์ และสำนักอนามัยให้ครอบคลุมการบริการอย่างทั่วถึง เพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลในสังกัด กทม.ให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง

2.โรงเรียนคุณภาพใกล้บ้าน เพิ่มหลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษาจีนในโรงเรียนปรับให้เป็นโรงเรียน 2 ภาษา จัดตั้งโรงเรียนผสมและเฉพาะทาง มีหลักสูตรเรียนตามความถนัดหรือความชอบ เช่น โปรแกรมเมอร์ ดนตรี ภาพยนตร์ โภชนาการอาหารฟรี มีหลักสูตรหลังเลิกเรียนเพื่อเพิ่มทักษะการใช้ชีวิตและหารายได้เสริม โดย กทม.สนับสนุนประสานภาคเอกชน

3.เชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ ล้อ ราง เรือ Free Feeder ทั่วเมือง ระบบตั๋วเชื่อมที่ใช้ได้ทุกเส้นทาง เพิ่มความปลอดภัยด้วยการกำจัดจุดเสี่ยงจราจร นำเทคโนโลยี Ai มาควบคุมระบบการจราจรให้การปล่อยรถเป็นระบบมากขึ้น

4.บริการ Free WiFi ทุกชุมชนและที่สาธารณะ ขอยื่นพิจารณาการอนุญาตต่างๆ จบในที่เดียวภายในเวลาไม่เกิน 30 วันด้วยระบบ AI

5.ลด แยกขยะ จัดแนวทางการเก็บขยะเพื่อเตรียมเป็น กทม. Net Zero จัดระเบียบ Zoning อุตสาหกรรม พาณิชย์ ที่อยู่อาศัย จัดทำสวนทุกเขตพร้อมนักรุกขกรมืออาชีพเพื่อดูแลต้นไม้ใหญ่ทั่วเมือง สนับสนุนปลูกต้นไม้หักภาษีทั่วเมือง ทำบึงหนองบอนให้เป็นกีฬาทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดของ กทม. เสนอสร้าง 50 สวน 50 เขต เพิ่มจำนวนกล้องซีซีทีวีให้ครอบคลุม ลดจุดบอด จุดอับ จัดทำโครงการ Smart pole เสาไฟที่ให้มากกว่าความสว่าง มีเครื่องวัดคุณภาพอากาศ กล้องวงจรปิด เพิ่มสถานีดับเพลิง ปรับปรุงสาธารณูปโภคเอื้อต่อผู้พิการ ผู้ใช้รถเข็น ผลักดันโครงการก่อสร้างท่อระบายน้ำด้วยวิธีดันท่อลอด pipe jacking เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพการระบายน้ำในกรุงเทพฯ รวมถึงอุโมงค์ระบายน้ำต่างๆ

6.การหารายได้เข้ากรุงเทพฯ สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ที่ไม่พัฒนา แปลงสินทรัพย์เป็นทุน เช่น เปิดให้เอกชนเช่าพื้นที่ของ กทม. เพื่อให้ กทม.มีรายได้เข้ามาบริหารเมือง นอกจากรองบกลางจากรัฐบาล เปลี่ยนขยะให้เป็นทอง จัดระบบงบดุลใหม่ ตั้งกองทุน Social Impact Fund โดยซักชวนนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนเพื่อผลตอบแทนทางสังคม จับมือเอกชนเพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่แปลงให้เป็น BOT (Build Operate Transfer) ทุกโครงการโปร่งใส ใช้ระบบ Blockchain และจัดกิจกรรมท่องเที่ยว ถนนคนเดิน 50 เขต ทุกเขตตามอัตตลักษณ์ชุมชน พิจารณาส่งเสริม Street food ไม่กระทบต่อการเดินเท้า ส่งเสริมสนับสนุนเพิ่มโอกาสจ้างงานผู้พิการ และส่งเสริมอาชีพคนพิการ

 

หมายเลข 4 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ กับสโลแกน “เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้” เปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองสวัสดิการที่ดูแลประชาชนเป็นเมืองที่มีความทันสมัย และเป็นเมืองต้นแบบแห่งอาเซียน โดยได้เสนอนโยบาย ได้แก่...

1. ตั้งกองทุนเพื่อการจ้างงานชุมชนในทุกชุมชน

2. ติดตั้งอินเทอร์เน็ตไวไฟ (Wi-Fi) 150,000 จุดทั่วกรุงเทพฯ

3. จัด 12 เทศกาลใหญ่ และ 50 เทศกาลเขต เพื่อให้กรุงเทพฯ มีรายได้จากการท่องเที่ยว

4. ส่งเสริมศูนย์บริการสาธารณสุขให้มีอุปกรณ์การแพทย์ทันสมัย และมีแพทย์เฉพาะทางประจำการ-โรงเรียนดี อยู่ใกล้บ้าน มีโรงเรียนประจำเขต 50 เขต 50 โรงเรียนสาธิต หลักสูตรการเรียนรู้ขั้นต่ำ 2 ภาษา รู้โคดดิ้ง รู้ AI และมีครูที่ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

5. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เอไอควบคุมสัญญาณไฟจราจร เอาเกาะกลางถนนออกเพิ่มช่องจราจร

6. สร้างทางเท้าที่มีมาตรฐานสากล สร้างทางจักรยานลอยฟ้า เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถขี่รถจักรยานไปทำงานได้

7. สร้างแก้มลิงใต้ดิน ใช้เครื่องสูบน้ำแบบอัตโนมัติ แก้ปัญหาการระบายน้ำ

8. ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดมลพิษทางอากาศบริเวณที่มีการก่อสร้าง บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดสำหรับการก่อสร้างที่สร้างมลพิษเกินมาตรฐาน ประกาศสงครามกับฝุ่นพิษ PM 2.5 ระงับการให้บริการรถโดยสารที่สร้างมลพิษเกินค่ามาตรฐาน

9. ส่งเสริมการแยกขยะในครัวเรือน จัดจุดบริการขยะแลกเงินไม่ให้มีขยะตกค้าง

10. เปลี่ยนพื้นที่รกร้างของเอกชนเป็นสวนสาธารณะฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Park ให้ประชาชนสามารถใช้งานได้ ลดภาษีที่ดินให้กับเอกชนที่ให้ กทม.ได้เข้าใช้พื้นที่

‘อัศวิน’ สอนมวย ‘ชัชชาติ’ ชี้ทาง เอาสายสื่อสารลงดิน ‘ไม่ต้องใช้เงิน’

‘อัศวิน’ สอนมวย ‘ชัชชาติ’ เอาสายสื่อสายลงใต้ดิน ไม่ต้องใช้เงินทุนซักบาท ใช้แค่กึ๋นเท่านั้น

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์รายการ TOP PEOPLE บันทึกคนสำคัญ ทางสถานีข่าว TOP NEWS โดยตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ ได้พูดถึงแนวคิดการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน โดยระบุว่า การนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เป็นความตั้งใจอย่างมาก โดยแบ่งโปรเจกต์เป็น 4 ก้อน โดยมีระยะทางความยาวประมาณ 2,400 กิโลเมตร ที่อยู่บนถนนสายหลักและสายรอง โดยไม่รวมถึงในตรอก ซอก ซอย โดยในระยะแรกที่ดำเนินการนั้น สามารถทำไปได้ประมาณ 100 กิโลเมตร 

แต่พอเปลี่ยนมาเป็นผู้บริหารชุดใหม่ โปรเจกต์เอาสายสื่อสารลงใต้ดินก็หยุดไป ด้วยเหตุผลว่า ต้องใช้เงินเยอะ แต่ตนยืนยันได้ว่า ไม่จำเป็นจะต้องใช้ทุนเลย เพราะโปรเจกต์แรกที่ทำไปนั้นก็ไม่ได้ใช้ทุนของ กทม. แต่ใช้วิธีให้เอกชนมาประมูล แล้วลงทุนวางท่อใต้ดิน จากนั้นไปเก็บเงินกับเจ้าของสายสื่อสารที่ต้องการใช้ท่อสำหรับวางสายสื่อสาร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top