Monday, 17 June 2024
อนุรักษ์พลังงาน

เชียงใหม่-สัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงานภาคเหนือเตรียมพร้อมเผยแพร่ผลสำเร็จโครงการ Energy Points 3

สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรมฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จับมือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ จัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงานภาคเหนือ เตรียมพร้อมเผยแพร่ผลสำเร็จโครงการ Energy Points 3 ภายใต้โครงการสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและลดต้นทุนในอุตสาหกรรมขนาด SME ภายในเดือนมีนาคมนี้ ณ กรุงเทพมหานคร
 
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องบุษราคัม ชั้น 1 โรงแรมฟูราม่า จ.เชียงใหม่ สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ระหว่างคณะทำงานโครงการฯ และที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเตรียมพร้อมเผยแพร่ผลสำเร็จโครงการสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและลดต้นทุนในอุตสาหกรรมขนาด SME โดยมี นายรุ่งเรือง สายพวรรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ,ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีประทุม และนายกิตติ์ จิรกิตยางกูร  รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการเสวนาร่วมกับที่ปรึกษาฯ จากกลุ่มจังหวัดในภาคเหนือ ประกอบไปด้วยภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่), ภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย), ภาคเหนือตอนล่าง 1 (พิษณุโลก), ภาคเหนือตอนล่าง 2 (นครสวรรค์) โดยช่วงบ่ายเป็นการเข้าเยี่ยมชมโรงงานตัวอย่างด้านอนุรักษ์พลังงาน ณ โรงงานน้ำแข็งธารทอง

'ผอ. ภูวดล มิ่งขวัญ' เทคนิคบุรีรัมย์ ศึกษาพลังงานนำล้ำอาเซียน สอนทำจริง บริหารพร้อมวิจัย การจัดการพลังงานสะอาดและอนุรักษ์พลังงาน ก้าวสู่ Smart College Energy Real Time Net Zero Energy Real Time (IoT) College

นายภูวดล มิ่งขวัญ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ กล่าว ขอขอบคุณ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด มอบ platform สื่อการสอน ระบบไฟฟ้าและค่าพลังงานไฟฟ้าด้วยกราฟ แบบ Online และ Real Time เป็นสื่อการเรียนการสอนทันสมัยที่สุดในอาเซียน จาก นาย ประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ ตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ณ ห้องประชุมบุรีรายา วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ 

จากที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการแถลงนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ทางวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ได้ตะหนักถึงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการการปรับปรุงโครงสร้าง ปรับปรุงองค์กร พร้อมทำตึกอนุรักษ์พลังงาน และนำหม้อแปลง Low Carbon ลงดิน โดยมีโซล่าเซลล์ Solar Cell, Energy Storage สอนพร้อม ปฏิบัติจริง และอนาคตสนามฟุตบอล, สนามบาสเกตบอล และสนามกีฬาจะเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเล่นกีฬาทุกชนิด ตั้งแต่เวลา 18.00 – 20.00 น. โดยจะใช้ไฟจากพลังงานสะอาด 100% จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อทางวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ และเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยแบบ Real Time นำโปรแกรม Energy Management System Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand และ Demand Response พร้อมคาดการว่าจะประหยัดพลังงานถึง 10% และโครงการดังกล่าว 3 สถานบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาให้ความร่วมมือในอนาคต 

โดยโมเดลที่กล่าวมาข้างต้นจะเหมือนกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้วิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการตรวจเช็ค วิเคราะห์พลังงาน บำรุงรักษา ด้านความปลอดภัย อัคคีภัย แบบ IoT ในการให้ความรู้ด้านการจัดการพลังงานแบบเรียลไทม์ (IoT)  และบริหาร Green Energy Low Carbon ส่งเสริมหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนทันสมัยสุดในอาเซียนเรื่องบำรุงรักษาและมาตรฐานความปลอดภัย อัคคีภัย ของหม้อแปลงไฟฟ้า สามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์และตรงต่อความต้องการของ ภาคประกอบการ เป็นกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของประเทศต่อไป

หม้อแปลงดังกล่าวได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ และสถาบันมากมาย เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพของนวัตกรรม ด้วยรางวัล และประกาศเกียรติคุณ อาทิ Thailand energy awards 2023, ASEAN ENERGY AWARDS 2023, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กรมบัญชีกลาง, สำนักงบประมาณ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรางวัลประหยัดพลังงาน ลดคาร์บอน อีกทั้งยังตีพิมพ์วรสารระดับโลก IEEE journal  ด้านการประหยัดพลังงานอีกด้วย

'Transformer Low Carbon เจริญชัย' รางวัลนวัตกรรม NiA ตอกย้ำ ลดค่าไฟ-ลดคาร์บอน อนุรักษ์พลังงาน

บจ.ฟาร์โซนิคส์ (ลำพูน) เมษาลดค่าไฟฟ้า 100,000 บาท/เดือน พร้อมการสนับสนุนอนุรักษ์พลังงานโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / มหาวิยาลัยราชภัฏลำปาง / สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง อย่างต่อเนื่อง ก้าวสู่ LESS, CFP, CFO, BOI, Carbon Credit, Net Zero, Carbon Neutrality 

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ กล่าว บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ขอขอบคุณและแสดงความยินดีกับ บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ลดค่าไฟฟ้า 100,000 บาท/เดือน และไว้ใจเลือกติดตั้งหม้อแปลง Low Carbon เป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงานที่บริหารจัดการพลังงานสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน ตอบโจทย์โรงงานอุตสาหกรรม, อาคาร สถานประกอบการตามนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลเร่งการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 

หม้อแปลงดังกล่าว ลดค่าไฟฟ้า 5-20% (Energy Saving) ลดคาร์บอน 5-20% (Low Carbon) มากกว่า 100 ล้านตัน ลดมลพิษ (Low Emission) ทำให้อุปกรณ์อายุการใช้งานยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อเป็นการตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เจ้าของอาคาร ตามนโยบายของรัฐบาลในการลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน

นายสรสิทธิ์ ชลิศราพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด, ประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน มีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการและบริการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีและให้โอกาสติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon Platform การบริหารจัดการพลังงาน พร้อมก้าวสู่  Net Zero, LESS, CFP, CFO, Carbon Credit และ BOI นำล้ำทันสมัยที่สุดในอาเซียน อีกทั้งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบที่พร้อมจะดำเนินการตามนโยบายภาครัฐในการลดก๊าซเรือนกระจก และการประหยัดพลังงานอนุรักษ์พลังงาน ตอบโจทย์ นโยบายภาครัฐด้านการประหยัดพลังงาน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน ต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด

ดร.ณัฐวุฒิ จารุวสุพันธุ์ หัวหน้ากลุ่มงาน smart energy & innovation และ นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ที่กล่าวในข้างต้นตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานถึง 9% โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดตันทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา 2-5 ปี ซึ่ง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคมประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า

สภาอุตสาหกรรม 3 จังหวัด (เชียงใหม่, ลำพูน และลำปาง) กล่าว ขอแสดงความยินกับ บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อนุรักษ์พลังงานและลดค่าไฟฟ้า 100,000 บาท/เดือน อีกทั้งสภาฯ และ มช. พร้อมสนับสนุน บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้นำต้นแบบด้านการประหยัดพลังงาน ตอบโจทย์ภาครัฐด้านการประหยัดพลังงาน พร้อมก้าวสู่ LESS, CFP, CFO, BOI, Carbon Credit, Net Zero, Carbon Neutrality

พพ. ปลื้ม 2 นวัตกรรมไทย ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน

Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon Plate Form บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar & Energy Storage  มุ่งสู่ Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response ปลอดภัย อัคคีภัย ทัศนียภาพ และอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI) - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะผู้บริหารกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน นำโดย นางมัณลิกา สมพรานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน, นายนันทนิษฎ์ วงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการกองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน และนายอาวุธ  เครือเขื่อนเพชร พร้อมทีมงาน เยี่ยมชม Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon และสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมบรรยายหัวข้อ “ เรื่อง Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon Plate Form บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar & Energy Storage มุ่งสู่ Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response

นางมัณลิกา สมพรานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน กล่าวถึง Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon ถือเป็นนวัตกรรมของ คนไทยตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพราะปัจจุบันเรื่องพลังงานถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกภาคส่วน รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายให้คนไทยมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ลดการนำเข้าพลังงาน หม้อแปลงดังกล่าวจึงเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการที่จะพลิกโฉมประเทศ สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า เน้นการเติบโตที่สมดุล ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น สร้างพลวัตใหม่ให้แก่เศรษฐกิจ ยังช่วยลดการใช้พลังงาน ลดค่าไฟฟ้า ลดคาร์บอน ลดเรือนกระจก และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด 

ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและผู้แทนพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว ได้รับเกียรติบรรยายเรื่อง Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon Plate Form บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar & Energy Storage มุ่งสู่ Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Sustainable Green Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Demand Response และ Saving Energy” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการที่กล่าวในข้างต้น ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา  2 – 5  ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ กล่าว ขอขอบพระคุณ ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)  โดยหม้อแปลงดังกล่าว ตอบโจทย์การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ของภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการอาคารสถานที่ ที่สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 9% และลดคาร์บอนมากกว่า 100 ล้านตันคาร์บอน คืนทุนภายใน 2-5 ปี เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างความมั่นคงและความยืดหยุ่นด้านพลังงาน เพื่อผลัดดันการเปลี่ยนผ่านไป สู่พลังงานสะอาด ความยั่งยืนนี้จะส่งเสริมการเติบโตสีเขียวในภูมิภาค ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายการลดคาร์บอน โดยประกาศเป้าหมายความเป็นกลางของแผนลดก๊าซคาร์บอนในปี 2575 จะเห็นภาพการใช้พลังงานทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ดังนั้น หม้อแปลงที่กล่าวข้างต้นจึงตอบโจทย์ทุกหน่วยงาน ภาครัฐ, เอกชน และภาคอุตสาหกรรม ด้านการประหยัดพลังงานและลดคาร์บอน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top