Friday, 25 April 2025
หม้อแปลง

ปลาบปลื้ม “หม้อแปลง BCG & Low Carbon” เจริญชัย คว้ารางวัลอันทรงเกียรติสูงสุด 

“นวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ปี 2566” ย้ำชัด เป็นหม้อแปลง “ลดพลังงาน ลดคาร์บอน ลดต้นทุนของไฟฟ้า ลดอุณหภูมิโลก” เสริมแกร่งเศรษฐกิจไทย

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA มอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติปี 2566 ให้กับหม้อแปลง BCG & Low Carbon  เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด โดย คุณประจักษ์     กิตติรัตนวิวัฒน์  รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด นำหม้อแปลง BCG & Low Carbon คว้ารางวัลชนะเลิศ ด้านเศรษฐกิจ  จาก รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ ในงานวันนวัตกรรมแห่งชาติ ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน กรุงเทพฯ

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ กล่าว การได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2566 เป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุด ในฐานะตัวแทนบริษัทฯ รู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติในครั้งนี้ รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุด และเป็นรางวัลที่สร้างขัวญกำลังใจแก่ทุกคนในองค์กร เพื่อที่องค์กรของเราจะพัฒนา นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา อีกที่รางวัลนี้ เป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้กับผลิตภัณฑ์คนไทย เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรม ที่มีความโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ ในหลากหลายด้านซึ่งจะสร้างให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรม ขึ้นในทุกภาคส่วนของไทย ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ในศักยภาพนวัตกรรมจากฝีมือคนไทย และสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ สู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม และโดยในส่วนหม้อแปลง BCG & Low Carbon ที่บริษัทฯ ได้รับรางวัลหม้อแปลงดังกล่าวเป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงาน ที่บริหารจัดการสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพ และมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน สามารถลดค่าไฟฟ้า 5-12% (Energy Singing) และลดคาร์บอน 5-12% (Low Carbon) ลดมลพิษ (Low Emission) พร้อมเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างคุ้มค่ายั่งยืน พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ทั้งด้านการบริโภคภายในและการส่งออก รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่นำพาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ด้านพลังงาน เพื่อเศรษฐกิจมั่นคง 

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวว่า “การจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติในปีนี้แบ่งการประกวดออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นผลงานนวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าเชิงพาณิชย์ และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศแบ่งประเภทตามขนาดขององค์กร ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลาง และวิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจรายย่อย 2) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผลงานนวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม แบ่งประเภทตามลักษณะขององค์กร ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรเพื่อสังคมและชุมชน 3) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นผลงานนวัตกรรมที่นำการออกแบบมาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ แบ่งประเภทตามลักษณะผลงาน ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบบริการ 4) ด้านสื่อและการสื่อสาร เป็นผลงานนวัตกรรมและบุคคลที่มีความสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์เนื้อหาและการสื่อสารรูปแบบใหม่ แบ่งประเภทตามลักษณะผลงาน ได้แก่ ผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร และผู้สื่อสารนวัตกรรม และ 5) ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการนวัตกรรมในองค์กรอย่างโดดเด่น ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ ระดับกระบวนการ ไปจนถึงระดับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร แบ่งประเภทตามลักษณะองค์กร ได้แก่ หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ  

สุดท้ายนี้บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ต้องขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี และขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรที่ให้การสนับสนุนและให้องค์ความรู้แก่บริษัทฯ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ มหาวิทยาลัยพะเยา

“ อธิบดี พพ. พร้อมคณะ ปลื้ม ERDI-เจริญชัย ” นวัตกรรมคนไทย NiA หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า 5-10%

พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar , Energy Storage, EV พร้อมแก้ปัญหา Net Zero, Near Zero, Demand Response และ Peak Demand อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมคณะเยี่ยมชมโครงการหม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า นวัตกรรมหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ของคนไทย

วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมคณะเยี่ยมชมโครงการ “หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า”พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar , Energy Storage , EV สู่ Net Zero”โดยมี รศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับโดยมี นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด นำเสนอโครงการหม้อแปลงนวัตกรรม Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้าและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี บรรยายเรื่อง การบริหารจัดการพลังงานสะอาดหม้อแปลง Low Carbon + Solar + Energy Storage + EV พร้อมแก้ปัญหา Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Respon จากนั้นนำคณะเยี่ยมชมระบบบริหารจัดการพลังงานสะอาด หม้อแปลง Low carbon ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าวว่า นวัตกรรมหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ของคนไทยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการ หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้พลังงานสะอาด อย่างมั่นคง” (Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response)

รศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการ”หม้อแปลง Low Carbon ประหยัดค่าไฟฟ้า พร้อม Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด Sola, Energy Storage, EV สู่ Net Zero” คอนเซ็ปต์การปล่อยคาร์บอนฟุต พริ้นท์( Carbon Footprint) เป็นคาร์บอนนิวตรอน โดยที่ใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาร่วมด้วยซึ่งโครงการหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญของการบริหารจัดการพลังงานของเรา คาดหวังว่าทุกท่านที่เสียสละเวลามาเยี่ยมชมงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และความร่วมมือระหว่างสถาบันฯกับเอกชน จะได้ประโยชน์กลับไปและสามารถช่วยกันพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดประเทศไทย เป็นไปอย่างประสบความสำเร็จตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้าจำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response”

ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ที่กล่าวในข้างต้นตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand และ Demand Response และการประหยัดพลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ประหยัดค่าไฟฟ้า ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ และอนุรักษ์พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 22.16 % มีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา 2-5 ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและ ผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า ขอขอบพระคุณในความร่วมมือของทุกฝ่ายที่ทำนวัตกรรมพลังงานสะอาดของหม้อแปลง Low Carbon จะช่วยประหยัดพลังงาน อนุรักษ์พลังงาน ลดค่าไฟ ลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก สร้างระบบไฟฟ้ามั่นคงปลอดภัย และทัศนียภาพสวยงาม

'อธิบดี' ปลื้ม Smart Factory & Green Product หม้อแปลง หม้อแปลง, หม้อแปลงใต้ดิน Submersible Transformer และ Unit Substation ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน (NIA & BOI)

(12 ก.ย. 67) นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ขอขอบคุณ นายวัฒนพงษ์  คุโรวาท  อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานพร้อมคณะ ที่ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาด หม้อแปลง Low Carbon แก้ปัญหา Net Zero, Demand Response และ Saving Energy ประหยัดพลังงาน 11.5% ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและความมั่นคงระบบพลังงานไฟฟ้าสะอาด ของภาคอุตสาหกรรม, ผู้ประกอบการ, อาคารสถานที่, โรงพยาบาล โรงแรม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้านพลังงานและด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า อีกทั้งได้นำเสนอเกี่ยวกับหม้อแปลงใต้ดิน  Submersible Transformer และ Unit Substation ที่มีความปลอดภัยต่อระบบไฟฟ้าสายใต้ดิน ด้านอัคคีภัย ตามมาตรฐานสากล IEC 62271-202 ณ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด (สาขาสมุทรปราการและสาขาประชาอุทิศ) หม้อแปลงใต้ดิน Submersible Transformer และ หม้อแปลง Low Carbon นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในประเทศไทยที่บริษัท เจริญชัยฯ ได้ทำการวิจัยและทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานของภาครัฐและสถาบันการศึกษามาประมาณ 8 ปี พร้อมติดตั้งและใช้งานจริง Submersible Transformer ที่ได้พัฒนาขึ้นนั้น ช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอน รวมถึงการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน รวมทั้งหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นการสร้างความมั่นคงทางระบบไฟฟ้า ป้องกันการเกิดอัคคีภัย สร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพราะระบบไฟฟ้าใต้ดินจะมีเสถียรภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ ช่วยเสริมสร้างทัศนียภาพอันสวยงาม ไม่มีการบังหน้าร้านค้า ไม่บังหน้าบ้าน ทำให้ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าขาย หม้อแปลง Low Carbon เป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงานที่บริหารจัดการการสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม, อาคาร สถานประกอบการ ลดค่าไฟฟ้า 5-20% (Energy Saving) ลดคาร์บอน 5-20% (Low Carbon) มากกว่า 100 ล้านตัน ลดมลพิษ (Low Emission) ทำให้อุปกรณ์อายุการใช้งานยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เป็นการตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เจ้าของอาคาร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด

'BOI' ส่งเสริม หม้อแปลง Low Carbon ลดสัดส่วนการลงทุน 50% ตอบโจทย์อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ด้านการประหยัดพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

(17 ก.ย. 67) นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าว โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน (BOI) ส่งเสริมหม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon ทดแทนระบบเดิมเพื่อการประหยัดพลังงาน ลดค่าพลังงานไฟฟ้า ลดคาร์บอนเครดิต ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรทำให้ใช้งานได้นานขึ้น

นวัตกรรมหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงาน ด้วยโปรแกรม Energy Management System ของคนไทยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA ภายใต้โครงการ 'Low Carbon Transformer ระบบจัดการ หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้พลังงานสะอาด อย่างมั่นคง' (Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response) และการประหยัดพลังงาน โดยสามารถประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าไฟฟ้า ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ และอนุรักษ์พลังงาน ได้สูงสุดถึง 22.16% มีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา 2-5 ปี

ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและ ผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า ขอขอบพระคุณในความร่วมมือของทุกฝ่ายที่ทำนวัตกรรมพลังงานสะอาดของหม้อแปลง Low Carbon จะช่วยประหยัดพลังงาน อนุรักษ์พลังงาน ลดค่าไฟ ลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก สร้างระบบไฟฟ้ามั่นคงปลอดภัย Low Carbon


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top