Wednesday, 9 April 2025
สินค้าเกษตรไทย

“อลงกรณ์” เผย! ขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ ถึงมหานครฉงชิ่งแล้วใน 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 65 รอเพียงจีนเปิดด่านตรวจพืชสถานีรถไฟโมฮ่าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนานได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วันตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้เมื่อเวลา1 5.00 น. ของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาโดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีนคือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วันเมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย 

เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลาการขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาลและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆโดยเฉพาะผลไม้เช่นทุเรียน มังคุด เงาะเป็นต้นโดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้วรอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้จะรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ในวันที่17 ก.พ.นี้

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรกและเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวตามนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”

นายอลงกรณ์กล่าวว่า สื่อมวลชนในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟจากไทยไปจีนเที่ยวแรกอย่างมากโดยเสนอข่าวกันครึกโครมและวิเคราะห์ว่าเร็วกว่าการขนส่งทางเรือถึง 4 เท่า ดังตัวอย่างข่าวที่แปลเป็นภาษาไทยที่ยกเป็นตัวอย่างมา ณ ที่นี้

“สินค้าทางการเกษตรของไทยที่ถูกขนส่งโดยรถไฟมาถึงจีนเป็นครั้งแรก เส้นทางรถไฟจีน-ลาวทั้งสองทางเปิดให้บริการแล้ว รถไฟบรรทุกข้าวเหนียวไทยปริมาณ 500 ตัน ขบวนแรกของรถไฟสายจีน-ลาว ได้ออกจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ในลาวและเดินทางมาถึงด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 จากนั้นใช้เวลา 3 วันขนส่งถึงเมืองฉงชิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน

เป็นที่รู้กันว่าการขนส่งทางรถไฟนั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าทางทะเลถึง 4 เท่า โดยการมาถึงของสินค้าทางการเกษตรของไทยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปิดให้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นทางการทั้งสองทาง

‘อลงกรณ์’ เผยขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ สุดเจ๋ง ขนสินค้าเกษตร 20 ตู้ ถึง ‘นครฉงชิ่ง’ ใช้เวลาแค่ 6 วัน

‘อลงกรณ์’ เผยขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ถึงมหานครฉงชิ่งแล้ว ใช้เวลา 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิต ปี 2565

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 65 ที่ผ่านมา โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนาน ได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วัน ตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ โดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีน คือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วัน เมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลา การขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้

สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาล และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้ว รอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรก และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” นายอลงกรณ์ กล่าว

‘GML - อ.ต.ก.- PAS’ เดินขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์  ขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยสู่ ‘จีน - รัสเซีย - สหภาพยุโรป’

เมื่อไม่นานมานี้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ศ.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย, นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นางวรรณภรณ์ เกตุทัต ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และ Mr. Phillip Zhu ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพน-เอเชีย ซิลด์ โรด จำกัด ร่วมพิธีเดินขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ นำร่องส่งสินค้าเกษตรไทย ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ทุเรียนแช่แข็ง และยางพารา ไปยังนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย และสหภาพยุโรป 

ภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) บริษัท Global Multimodal Logistics (GML) ดำเนินธุรกิจด้านโลจิสติกส์ครบวงจรกลุ่ม ปตท. และบริษัท แพน-เอเชีย ซิลด์ โรด จำกัด (PAS) เพื่อขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านระบบการขนส่งทางราง โดยมีเป้าหมายในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศสอดรับโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน โดยจุดเริ่มต้นในครั้งนี้จะเพิ่มมูลค่าผลผลิตภาคการเกษตรไทย ลดต้นทุนและระยะเวลาขนส่ง

‘ศ.นฤมล’ หารือ ‘ผู้ประกอบการ-นักธุรกิจ’ เพื่อขยายตลาดให้เกษตรกร เผย!! จีนสนใจ ‘มะพร้าวน้ำหอม’ไทย นำไปแปรรูป เป็นเครื่องดื่มผสมชา

(28 เม.ย. 67) ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยภายหลังพบหารือกับ ดร.นรีรัตน์ รัตนพรวิเศษกุล ประธานไทยพาวิลเลี่ยน Mr.Guo Han Xiong ประธานกรรมการบริษัท Hanlong Investment Group รวมทั้งผู้ประกอบการและนักธุรกิจจีน เพื่อร่วมผลักดันและส่งเสริมตลาดการค้าการลงทุนไทย – จีน ในประเด็นสินค้าเกษตรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คลังสินค้าด้านการเกษตร การขนส่งสินค้า ระบบโลจิสติกส์ การลงทุนในไทย และการแปรรูปสินค้าเกษตรไทย 

ในส่วนของสินค้าเกษตร นักธุรกิจจีนมีความสนใจนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทย ได้แก่ กระเทียม ขิง มันสำปะหลัง และมะพร้าวน้ำหอมของไทย ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในตลาดผู้บริโภคของจีน โดยได้นำมะพร้าวน้ำหอมของไทย ไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม “ชาจีน + มะพร้าวไทย” 

ปัจจุบันตลาดผู้ประกอบการจีนใช้มะพร้าวน้ำหอมจากประเทศไทยเดือนละประมาณ 700,000 ลูกต่อเดือน และมีความต้องการนำเข้ามะพร้าวน้ำหอมจากไทยเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 3,000,000 ลูกต่อเดือน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจีนยังมีความต้องการนำเข้าสินค้าและอาหารทะเลจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย

'พิชัย' ถกทูตเกาหลีใต้ เดินหน้าเจรจาจัดทำ FTA ไทย - เกาหลีใต้ ตั้งเป้าปิดดีลในปี 2568 ชวนเปิดตลาดสินค้าเกษตรไทย ดึงดูดนักลงทุนเพิ่มขึ้น

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการพบหารือกับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย (นายปาร์ค ยงมิน) ณ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ไทย – เกาหลีใต้ ให้ได้ข้อสรุปภายในปี 2568 และรื้อฟื้นการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าที่ห่างหายไปกว่า 20 ปี และกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

นายพิชัย กล่าวว่า ไทยและเกาหลีใต้อยู่ระหว่างเจรจาจัดทำ FTA โดยใช้ชื่อว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ หรือ EPA ไทย – เกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุนเพิ่มเติมจากความตกลงที่ไทยกับเกาหลีใต้เป็นภาคีร่วมกันอยู่แล้ว ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - เกาหลีใต้ (AKFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) รวมทั้งขยายความร่วมมือในเรื่องใหม่ ๆ เช่น การค้าดิจิทัล และห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น โดยตนได้ขอให้เกาหลีใต้พิจารณาเปิดตลาดสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงของไทย อาทิ สินค้ากลุ่มผลไม้เมืองร้อน เช่น มะม่วง มังคุด และสับปะรด กุ้งสดและแปรรูป เนื้อไก่สดและแปรรูป และยังได้แสดงความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเจรจาความตกลง EPA ไทย–เกาหลีใต้ รอบที่ 3 ระหว่างวันที่ 17 – 19 ธันวาคม 2567 นี้ โดยไทยและเกาหลีใต้เห็นพ้องให้มีการรื้อฟื้นกลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า หรือ JTC ระดับรัฐมนตรีที่ห่างหายไปกว่า 20 ปี เพื่อใช้เป็นเวทีหารือแนวทางการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้า การลงทุน และอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน โดยตนได้แสดงความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JTC ในช่วงต้นปี 2568

นายพิชัย เพิ่มเติมว่า ในด้านการลงทุน ถึงแม้ว่าเกาหลีใต้จะลงทุนในไทยเป็นอันดับ 6 ของอาเซียน แต่ล่าสุด บริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้อยู่ระหว่างเตรียมเข้ามาลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอร์รี่ในประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเครื่องสำอางของเกาหลีใต้เตรียมเข้ามาตั้งโรงงานในไทยอีกด้วย และยังได้ถือโอกาสเชิญชวนนักธุรกิจเกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ แผงวงจรพิมพ์ (PCB) การแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพ ดิจิทัล AI ดาต้าเซนเตอร์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และคอนเทนต์ ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่เกาหลีใต้มีศักยภาพสูง โดยเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้กล่าวสนับสนุนเนื่องจากปัจจุบันเกาหลีใต้ต้องการกระจายการลงทุนในหลายประเทศมากขึ้น

เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย ได้ให้คำมั่นสัญญาว่า สถานการณ์ประชาธิปไตยในเกาหลียังมีความมั่นคง สามารถยืนหยัดรักษาต่อไปได้ ขณะที่ รมว. พาณิชย์ก็แสดงความเชื่อมั่นเช่นเดียวกันว่า สถานการณ์ประชาธิปไตยในไทยก็จะมีความมั่นคงเช่นเดียวกับเกาหลี 

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ในปี 2566 เกาหลีใต้เป็นคู่ค้าอันดับ 12 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 14,744 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ 6,073 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทราย แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และไทยนำเข้าจากเกาหลีใต้ 8,671ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค. –ต.ค.) การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 12,960 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 5,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการนำเข้า 7,920 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top