Wednesday, 3 July 2024
สินค้าGI

พาณิชย์ฯ ดัน 3 สินค้า GI ไทย เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น คาดดึงรายได้กลับชุมชนท้องถิ่นกว่า 1,200 ลบ.

'พาณิชย์ฯ' ดัน กาแฟดอยตุง, กาแฟดอยช้าง, สับปะรดห้วยมุ่น 3 สินค้า GI ไทย เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เชื่อ!! สร้างรายได้ให้เกษตรกรท้องถิ่นได้กว่า 1,200 ล้านบาท

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งเสริมสินค้าชุมชนท้องถิ่นให้ขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับสินค้าท้องถิ่นและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในคุณภาพสินค้า GI ไทย

สำหรับ GI นั้น เป็นสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพ หรือชื่อเสียงของสินค้านั้น ๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็น 'แบรนด์' ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพ และแหล่งที่มาของสินค้า 

พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นสินค้าที่ผลิตได้จากท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากภูมิปัญญาเฉพาะ หรือลักษณะทางภูมิศาสตร์เฉพาะของท้องถิ่นนั้น เช่น ดิน อากาศ แร่ธาตุ ฯลฯ ทำให้ได้สินค้าที่มีอัตลักษณ์ มีลักษณะเฉพาะ หรือรสชาติเฉพาะ ที่สินค้าแบบเดียวกันของท้องถิ่นอื่นไม่มี และเลียนแบบไม่ได้

กรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยโฉม 8 สินค้า GI ในเอเปค 2022

กรมทรัพย์สินทางปัญญา พาชมสุดยอด 8 สินค้า GI สินค้าท้องถิ่นของดีของไทย ที่ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ในเอเปค 2022

1. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ 
จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ และมหาสารคาม 

2. เนื้อโคขุนโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร 

3. ปลากุเลาเค็มตากใบ จังหวัดนราธิวาส 

4. ไวน์เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

‘ข้าวสังข์หยดพัทลุง-ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้’ ขึ้นทะเบียน GI ในมาเลฯ แล้ว ‘กรมทรัพย์สินทางปัญญา’ ลุยผลักดัน สร้างโอกาสต่อยอด-รายได้ในอนาคต

(26 ก.ย.66) สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญามาเลเซีย (MyIPO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน GI ‘ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง’ และ ‘ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้’ ในประเทศมาเลเซียเรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบันมีสินค้า GI ไทยได้รับการขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ รวม 8 รายการ ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศ ได้แก่

1) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ในสหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
2) ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ในสหภาพยุโรป มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
3) กาแฟดอยช้าง ในสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
4) กาแฟดอยตุง ในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และกัมพูชา
5) เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน ในเวียดนาม
6) ผ้าไหมยกดอกลำพูน ในอินเดีย และอินโดนีเซีย
7) มะขามหวานเพชรบูรณ์ ในจีน และเวียดนาม
8) ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ในเวียดนาม

โดยยังมีส้มโอทับทิมสยามปากพนัง อีก 1 สินค้าที่มาเลเซียอยู่ระหว่างพิจารณา

นายนภินทรกล่าวอีกว่า ชาวมาเลเซียบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมรับประทานเมนู นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) ซึ่งเป็นข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย รับประทานคู่กับแกงและเครื่องเคียงต่าง ๆ มาเลเซียจึงนำเข้าข้าวจากต่างประเทศกว่า 30% ตามความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งข้าวไทยได้รับความนิยมในประเทศมาเลเซีย

โดยในปี 2565 ไทยส่งออกข้าวไปประเทศมาเลเซีย มูลค่ากว่า 3,200 ล้านบาท โดย ‘ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้’ ปลูกในฤดูนาปีบนพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ขนาดใหญ่ ดินเป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ความแห้งแล้ง และความเค็มในดิน ส่งผลให้ข้าวเกิดความเครียดและหลั่งสารหอม ข้าวจึงมีความหอมตามธรรมชาติมากกว่าข้าวจากแหล่งอื่น โดยมีเมล็ดข้าวยาว เรียว ข้าวสารมีเมล็ดใสและแกร่ง เมื่อหุงสุกจะหอมและนุ่ม มีผลผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ รวม 5 จังหวัดกว่า 24,500 ตัน/ปี ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55 บาท สร้างรายได้กว่า 266 ล้านบาท/ปี

สำหรับ ‘ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง’ ปลูกในจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นที่ราบกว้าง เหมาะสำหรับปลูกข้าว มีแหล่งน้ำจากทะเลสาบสงขลาหนุน และมีการทับถมของตะกอน ทำให้ข้าวสังข์หยดมีคุณภาพดี เมล็ดข้าวเรียวเล็ก อ่อนนุ่ม ข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้ม ข้าวสารมีสีขาวปนแดงแกมชมพูเป็นเอกลักษณ์ มีผลผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง 8,000 ตัน/ปี สร้างรายได้กว่า 104 ล้านบาท/ปี

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังคงเดินหน้าส่งเสริมสินค้า GI ไทยขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ GI สร้างรายได้ให้กับชุมชนและรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป

‘ส้มสายน้ำผึ้งฝาง’ ขึ้นแท่นสินค้า GI ลำดับที่ 5 จ.เชียงใหม่ สีสวย-กลิ่นหอม-หวานอมเปรี้ยว สร้างรายได้สู่ชุมชน 270 ลบ./ปี

(11 มิ.ย. 67) นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ‘ส้มสายน้ำผึ้งฝาง’ สินค้า GI ลำดับที่ 5 ของจังหวัดเชียงใหม่ ต่อจากผ้าตีนจกแม่แจ่ม, ร่มบ่อสร้าง, ศิลาดลเชียงใหม่ และกาแฟเทพเสด็จ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้ 

‘ส้มสายน้ำผึ้งฝาง’ มีแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ที่จังหวัดยะลา เรียกว่า ‘ส้มพันธุ์โชกุน’ ได้ถูกนำมาเพาะปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำฝาง ลำห้วยแม่ใจ ลำน้ำแม่มาว ลำน้ำแม่เผอะ เขื่อนแม่มาว เขื่อนบ้านห้วยบอน ห้วยแม่งอน เป็นต้น

รวมไปถึงยังมีน้ำพุร้อน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำอุณหภูมิสูงไหลพุ่งจากใต้ดินขึ้นสู่อากาศ ทำให้สภาพดินอุดมไปด้วยแร่ธาตุเหมาะสมต่อการเพาะปลูกส้มสายน้ำผึ้ง ด้วยแหล่งภูมิศาสตร์นี้ ทำให้ส้มสายน้ำผึ้งฝางสามารถเติบโตได้ดี มีผิวสีเขียวอมเหลือง เขียวอมส้ม มันวาว เนื้อกุ้งฉ่ำแน่น ชานและใยนุ่ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม มีอัตลักษณ์ชัดเจนแตกต่างจากส้มสายน้ำผึ้งจากแหล่งปลูกอื่น

หากเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูหนาว ส้มสายน้ำผึ้งฝางจะมีผิวสีเหลืองอมส้ม มีความโดดเด่น จึงได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมากในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน อีกทั้งหน่วยงานในพื้นที่ยังให้การสนับสนุน ยกให้ส้มสายน้ำผึ้งฝางเป็นของดีจังหวัดเชียงใหม่ สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับชุมชนให้พื้นที่กว่า 270 ล้านบาทต่อปี 

ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาขอเชิญทุกท่านร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการ GI และอุดหนุนสินค้า GI ไทย โดยติดตามข้อมูลสินค้า GI รายการต่าง ๆ และข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องได้ที่เพจ Facebook : GI Thailand หรือสอบถามเพิ่มเติมโทรสายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา 1368


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top