Friday, 25 April 2025
สัตว์ทะเล

‘อนุรักษ์ให้คงอยู่ เพื่อวิถีชีวิตที่ยั่งยืน’ ในกิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์ปะการังและสัตว์ทะเลหายากในพระดำริฯ โดย ทรภ.1

กองทัพเรือ โดยทัพเรือภาคที่ 1 (ทรภ.1) จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์ปะการังและสัตว์ทะเลหายากในพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในพื้นที่จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 22 - 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา

โดยมี คณะนักเรียนและครู จากโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จ.ระยอง จำนวน 80 คน เข้าร่วมกิจกรรม มีเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายากและความสำคัญของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)

อีกทั้งยังได้จัดกิจกรรมปลูกเสริมป่าชายเลน ปล่อยพันธุ์ปลาทะเล และเต่าทะเล ที่รักษาหายแล้วจาก ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ และศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดระยอง จำนวน 11 ตัว เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกรักและส่งเสริมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง

เจรจานับ 10 ปี!! ‘นานาชาติ’ บรรลุข้อตกลง ‘สนธิสัญญาทะเลหลวง’  ขีดเส้นพื้นที่ทำประมง-เส้นทางเดินเรือ คุ้มครองสัตว์ทะเล

(5 มี.ค. 66) สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า นานาชาติบรรลุสนธิสัญญาทะเลหลวง ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะคุ้มครองมหาสมุทรโลก เมื่อวันเสาร์ที่ 4 มี.ค.ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากเจรจานาน 10 ปี โดยการเจราครั้งล่าสุดนี้ ใช้เวลาในการเจรจากว่า 38 ชั่วโมง ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ หรือ ‘ยูเอ็น’ ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

สาระสำคัญ ได้แก่ กำหนดให้ร้อยละ 30 ของทะเลหลวง เป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับความคุ้มครอง เพื่อมุ่งที่จะป้องกันภัยและฟื้นคืนธรรมชาติทางทะเล สาเหตุที่ต้องใช้ระยะเวลาการเจรจานานนับ 10 ปี เนื่องมาจากไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นเงินทุนและสิทธิในการทำประมง

สนธิสัญญาใหม่นี้ จะจำกัดปริมาณการทำประมง เส้นทางการเดินเรือและกิจกรรมการสำรวจ อาทิ การทำเหมืองแร่ทะเลลึก หลังจากกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมกังวลว่า กระบวนการทำเหมืองแร่ อาจรบกวนพื้นที่การผสมพันธุ์ของสัตว์ สร้างมลพิษทางเสียงและเป็นพิษต่อสัตว์ทะเล

ในอดีต สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่คุ้มครองเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การประมงเกินขีดจำกัดและการเดินเรือ ซึ่งจากการประเมินชนิดพันธุ์ทางทะเลทั่วโลกพบว่า เกือบร้อยละ 10 เสี่ยงสูญพันธุ์

‘ดร.ธรณ์’ เปิดภาพพฤติกรรม ‘ปลา’ ขณะเกิดแผ่นดินไหว นอนราบนิ่งกับพื้น เพราะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ก่อนคน

(29 มี.ค. 68) ดร.ธรณ์ ธำรงนาาสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ว่า

ปลารู้ไหมว่าแผ่นดินไหว ถ้ารู้แล้วทำไง? 

เพื่อนธรณ์ไปดำน้ำที่สิมิลันช่วงนั้นพอดี จึงเจอปรากฏการณ์สุดแปลกที่แทบไม่มีรายงานมาก่อน ในช่วงแผ่นดินไหว ปลาในแนวปะการังต่างพากันลงไปนอนนิ่งกับพื้น!!

ลองดูภาพนะครับ ถ้าเป็นปลาตัวเดียวทำอาจไม่แปลกอะไร แต่ที่เจอคือปลาหลายตัวล้วนทำเช่นนั้น ลงไปนอนแนบกับพื้นทันที ที่เห็นชัดคือฝูงปลา ปรกติตอนกลางวันจะว่ายอยู่ในมวลน้ำ จะไม่ลงไปนอนติดพื้นพร้อมกันทั้งฝูง ต่อให้เป็นกลางคืนปลานอน ปลาก็แยกกันนอน ไม่รวมฝูงนอนแบบนี้

ปลารู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น เพราะปลารับแรงสั่นสะเทือนใต้น้ำได้ดีมาก จากนั้นคงเป็นสัญชาตญาณ ทำให้ปลาลงไปนอนแนบพื้น เพราะอาจเกิดกระแสน้ำปั่นป่วนหรือแม้กระทั่งสึนามิตามมา

การนอนแนบพื้นของปลาก็เหมือนเวลาเราหลบภัยต้องหมอบราบกับพื้น หากลอยอยู่กลางน้ำมีความเสี่ยงที่จะโดนกระแสน้ำหรือคลื่นพัดพาไป

เพื่อนธรณ์ที่เป็นอาสาสมัครบินโดรนเฝ้าพะยูนก็รายงานว่า ช่วงแผ่นดินไหว พะยูนก็ตื่นตกใจเผ่นพรวดหนีไปจากที่ตื้น เพื่อว่ายหนีไปที่ลึกตามหลักการหลบสึนามิ

พะยูนไวมากครับ ตอนที่เกิดสึนามิ จึงไม่มีข่าวพะยูนโดนคลื่นพัดมาเกยฝั่ง (เท่าที่ทราบ) ทั้งที่บางแห่งเป็นบริเวณที่พะยูนอาศัย เช่น กระบี่

จะมีก็แค่โลมาที่เขาหลัก ลอยตามคลื่นมาติดค้างในอ่างเก็บน้ำแถวนั้น แต่คลื่นที่เขาหลักแรงมาก จนโลมาอาจไม่คาดคิด

แม้แผ่นดินไหวเมื่อวานไม่ได้เกิดในทะเล ไม่เกิดสึนามิ แต่แรงสั่นสะเทือนก็เกิดในทะเลเช่นกัน เพราะพื้นท้องทะเลก็ไหวเหมือนแผ่นดินครับ

ปลาหรือพะยูนคงบอกไม่ได้ว่า แผ่นดินไหวในทะเลหรือบนบก เมื่อรับรู้ว่ามีแผ่นดินไหว ปลาหลบไว้ก่อน

แล้วปลารู้ล่วงหน้าได้ไหม? พยากรณ์แผ่นดินไหวได้ไหม?

เมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้น จะเกิดคลื่นแรงสั่นสะเทือนหลายแบบ บางคลื่นเบาแต่เร็วกว่า ปลาอาจรับรู้คลื่นพวกนี้ขณะที่มนุษย์ไม่รู้สึก จากนั้นคลื่นแรงสั่นสะเทือนแบบแรง ๆ จะตามมา คราวนี้เรารู้สึกแล้วครับ

ทว่า ต่อให้รู้คลื่นล่วงหน้า ปลาก็ไม่มีทางบอกก่อนได้เป็นชั่วโมง ๆ เพราะปลารู้ก่อนแป๊บเดียวเท่านั้น

ที่บอกกันว่าสัตว์เตือนภัยได้ ก็คือสัตว์รู้ก่อนคน แต่ไม่ใช่นาน ๆ

ขอบคุณเพื่อนธรณ์ที่ส่งภาพมาให้ ถือเป็นหนแรกของไทยที่มีหลักฐานให้ดูกันชัด ๆ ว่าปลาทำยังไงเมื่อแผ่นดินไหว อันที่จริง ในต่างประเทศก็แทบไม่มีภาพชัดเจนแบบนี้ครับ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top