Wednesday, 26 June 2024
สะพานสารสิน

7 กรกฎาคม พ.ศ.2510 ‘สะพานสารสิน’ เปิดใช้งานครั้งแรก ครบ 55 ปี แลนด์มาร์คเชื่อมพังงา-ภูเก็ต

วันนี้เมื่อ 55 ปีก่อน เป็นวันเปิดใช้งาน สะพานสารสิน เป็นครั้งแรก เป็นสะพานแรกที่สร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปจังหวัดภูเก็ต

สะพานสารสิน เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 หรือเมื่อ 55 ปีที่แล้ว เป็นสะพานแรกที่สร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปจังหวัดภูเก็ต โดยเชื่อมต่อระหว่างบ้านท่านุ่นของจังหวัดพังงาและบ้านท่าฉัตรไชยของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งสะพานสารสินมีความยาวทั้งหมด 660 เมตร รับผิดชอบดูแลโดย กรมทางหลวง

สะพานแห่งนี้ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติซึ่งดำรงตำแหน่งในขณะนั้น เริ่มสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยเปิดให้บริษัทรับเหมาทำการก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างในระยะแรกมีปัญหาเพราะขาดความชำนาญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงเริ่มทำการก่อสร้างสะพานอีกครั้งจนสำเร็จ และเปิดทำการได้ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 28,770,000 บาท

ปัจจุบัน สะพานสารสิน ไม่ให้รถยนต์สัญจรไปมาแล้ว โดยให้รถยนต์ใช้สะพานสารสิน 2 และ สะพานท้าวเทพกระษัตรีแทน

สะพานสารสินเดิม หรือ สะพานสารสิน 1 นั้นจึงถูกปรับปรุงให้เป็นสะพานคนเดินและสร้างหอชมวิวทิวทัศน์ สะพานแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด

ทั้งนี้ สะพานสารสิน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นสถานที่ที่เป็นตำนานความรักของหนุ่มสาวสองคนที่ไม่สมหวัง คือ โกดำ (ดำ แซ่ตัน) กับ กิ๊ว (กาญจนา แซ่หงอ) ที่มีความแตกต่างกันทางฐานะ ด้วยโกดำเป็นเพียงคนขับรถสองแถวรับจ้างและรับจ้างกรีดยาง

7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510  ‘สะพานสารสิน’ เปิดใช้งานครั้งแรก  เชื่อมแผ่นดินพังงา - ภูเก็ต 

วันนี้เมื่อ 56 ปีก่อน เป็นวันเปิดใช้งาน สะพานสารสิน เป็นครั้งแรก เป็นสะพานแรกที่สร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปจังหวัดภูเก็ต

สะพานสารสิน เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 หรือเมื่อ 55 ปีที่แล้ว เป็นสะพานแรกที่สร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปจังหวัดภูเก็ต โดยเชื่อมต่อระหว่างบ้านท่านุ่นของจังหวัดพังงาและบ้านท่าฉัตรไชยของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งสะพานสารสินมีความยาวทั้งหมด 660 เมตร รับผิดชอบดูแลโดย กรมทางหลวง

สะพานแห่งนี้ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติซึ่งดำรงตำแหน่งในขณะนั้น เริ่มสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยเปิดให้บริษัทรับเหมาทำการก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างในระยะแรกมีปัญหาเพราะขาดความชำนาญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงเริ่มทำการก่อสร้างสะพานอีกครั้งจนสำเร็จ และเปิดทำการได้ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 28,770,000 บาท

ปัจจุบัน สะพานสารสิน ไม่ให้รถยนต์สัญจรไปมาแล้ว โดยให้รถยนต์ใช้สะพานสารสิน 2 และ สะพานท้าวเทพกระษัตรีแทน

สะพานสารสินเดิม หรือ สะพานสารสิน 1 นั้นจึงถูกปรับปรุงให้เป็นสะพานคนเดินและสร้างหอชมวิวทิวทัศน์ สะพานแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด

ทั้งนี้ สะพานสารสิน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นสถานที่ที่เป็นตำนานความรักของหนุ่มสาวสองคนที่ไม่สมหวัง คือ โกดำ (ดำ แซ่ตัน) กับ กิ๊ว (กาญจนา แซ่หงอ) ที่มีความแตกต่างกันทางฐานะ ด้วยโกดำเป็นเพียงคนขับรถสองแถวรับจ้างและรับจ้างกรีดยาง

ขณะที่กิ๊วมีฐานะที่ดีกว่า และเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู โดยที่ผู้ใหญ่ทางบ้านของกิ๊วได้กีดกั้นทั้งสองคบหากัน ในที่สุดทั้งคู่จึงตัดสินใจกระโดดน้ำตายที่กลางสะพานสารสิน ด้วยการใช้ผ้าขาวม้ามัดตัวทั้งสองไว้ด้วยกัน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ซึ่งเรื่องราวของทั้งคู่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่ว และมีการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ คือ สะพานรักสารสิน ในปี พ.ศ. 2530 นำแสดงโดย รอน บรรจงสร้าง และจินตรา สุขพัฒน์ และ สะพานรักสารสิน ในปี พ.ศ. 2541 นำแสดงโดย นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล และคทรีน่า กลอส ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์

นอกจากนี้แล้ว ยังมีเรื่องเล่ากันว่า ในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง จะมีกระต่ายสีขาวตาสีแดงคู่หนึ่ง ออกมาอยู่คู่กันที่สะพานแห่งนี้ เชื่อว่าเป็นวิญญาณของทั้งคู่อีกด้วย

สยบข่าวลือทุบทิ้ง 'สะพานสารสิน' หลังสะพัดเป็นดรามาในภูเก็ต เมื่อรัฐเล็งสร้างสะพานขึงเป็นแลนด์มาร์ก-รองรับฮับเรือท่องเที่ยว

ทุบทิ้งสะพานสารสินกลายเป็นกระแสที่มีการพูดถึงกันมากในภูเก็ตขณะนี้ ตามสื่อโซเชียลต่างๆ หลังจากที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางมาภูเก็ตเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างโครงข่ายคมนาคมเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในภูเก็ต และได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างสะพานสารสินแห่งใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้

(15 พ.ค.67) โดยก่อนหน้านี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้สัมภาษณ์ว่า ได้มีการสั่งการให้กรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ศึกษาออกแบบการก่อสร้างสะพานขึงที่ภูเก็ต ที่มีความสูงให้เรือขนาดใหญ่สามารถลอดได้ทดแทนสะพานสารสิน เพื่อใช้ในการคมนาคม มีความสวยงาม และจะเป็นแลนด์มาร์กของจังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับการเป็นฮับเรือท่องเที่ยว

สังคมโซเชียลส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ทุบสะพานสารสิน เพราะมองว่าเป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ต เป็นตำนานรักสะพานสารสินที่โด่งดัง หากต้องการจะให้มีสะพานเชื่อมกับฝั่งพังงาเพิ่มควรที่จะสร้างสะพานใหม่ขึ้นมา รวมไปถึงให้รัฐบาลโฟกัสไปที่การแก้ปัญหาการจราจรในภูเก็ต ที่กำลังกลายเป็นปัญหาหนัก มากกว่าที่จะหยิบยกเรื่องการทุบทิ้งสะพานสารสินมาพูดกันในขณะนี้

สะพานสารสิน เป็นสะพานแห่งแรกที่เชื่อมระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดภูเก็ต ระหว่างบ้านท่าฉัตรไชย และบ้านท่านุ่นของจังหวัดพังงา โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร มี 2 ช่องจราจร เปิดใช้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2510 โดยชื่อของสะพานตั้งตามนามสกุลของนายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในขณะนั้น

ในเวลาต่อมา ได้มีการสร้างสะพานอีก 2 แห่งในบริเวณเดียวกันขนานกันไปกับสะพานสารสิน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร และใช้ในการสัญจรของรถยนต์แทนสะพานสารสิน เนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรมลง โดยได้มีการปรับปรุงสะพานสารสินให้เป็นสะพานคนเดินข้าม และมีหอชมวิวอาคาร 8 เหลี่ยม ให้ได้พักผ่อนชมทิวทัศน์ ออกแบบให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรโคโรเนียล สผสมผสานกับอาคารหลังคาทรงปั้นหยาแบบภาคใต้ ที่มีความสวยงาม ดั่งที่เห็นในปัจจุบัน

อีกทั้งสะพานแห่งนี้ยังเกิดเหตุเรื่องราวโศกนาฏกรรมที่รู้จักกันทั่วประเทศ เมื่อหนุ่มสาว 2 คน ตัดสินปัญหาความรักที่ไม่สมหวัง ด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองและกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 จนมีการนำเรื่องราวของคนทั้งสองไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เรื่อง ‘สะพานรักสารสิน’

เพื่อเป็นการสยบข่าวลือการทุบทิ้งสะพานสารสินที่สะพัดอยู่ในภูเก็ต ขณะนี้ นายยุทธนา พิทักษ์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต ได้ออกมาชี้แจงถึงกระแสการทุบทิ้งสะพานสารสิน ว่า กรมทางหลวงไม่มีแนวคิดที่จะทุบสะพานสารสินในขณะนี้และในอนาคต ตามที่มีข่าวลือสะพัดในโซเชียล การที่จะดำเนินการโครงการที่เป็นโครงข่ายคมนาคมนั้นจะต้องมีการทำศึกษารายละเอียดของโครงการนั้น ๆ รวมไปถึงการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ และศึกษาถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อน

อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวงมีโครงการที่จะก่อสร้างสะพานสารสินแห่งใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างภูเก็ตกับพังงา แต่ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นของแนวคิดและของบประมาณมาศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ ซึ่งจะเป็นจุดใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่

กระแสข่าวทุบทิ้งสะพานสารสินจึงกลายเป็นกระแสที่คนส่วนใหญ่ในภูเก็ตรับไม่ได้ ไม่ต้องการให้รื้อทิ้งสะพานสารสิน ต้องการเก็บไว้เป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ตต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top