Tuesday, 22 April 2025
สมุนไพร

ปทุมธานี - สสส.ร่วมชุมชนสวนอาหารบ้านพักผ่อน จัดโครงการบริโภคอย่างปลอดภัยเรียนรู้อาหารสมุนไพร สู้โควิด-19

เมื่อวันที่ 18 คุลาคม 2564 ที่ลานจัดกิจกรรมสวนอาหารบ้านพักผ่อน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี ดร.ณัจยา แก้วนุ้ย ผจก.โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัยฯ / ดร.วิฑูร อินทร์จันทร์ นายวิชัย ขุนศรี ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลหลักหก / กำนันเพ็ญใจ จันทร์หอมกุล เลขาฯนายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่ / ผู้ใหญ่ธนพร อิษฎานนท์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่1 ตำบลหลักหก / นายนพนรรจ์ จันทร์หอมกุล เจ้าของสวนอาหารบ้านพักผ่อน / นางสาวอรวีร์ หินแดง ผู้จัดการสวนอาหารบ้านพักผ่อน  พร้อมด้วยประชาชนในชุมชน 40 คน ร่วมกับ สำนักกองทุนส่งเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดโครงการบริโภคอย่างปลอดภัยเรียนรู้อาหารสมุนไพรสู้โควิด-19 จังหวัดปทุมธานี โดยมีเครือข่ายประชาคมอาหารเพื่อสุขภาพ จังหวัดปทุมธานี ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในชุมชน ได้หันมาดูแลสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย มีประโยชน์ และปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีโทษต่อร่างกาย ตามแนววิถีใหม่ แบบ New normal

โดยการรณรงค์ของภาครัฐเพื่อให้ความรู้ กับประชาชนในชุมชน ตลอดจนผู้บริโภคให้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ สร้างภูมคุ้มกันให้ร่างกายซึ้งจะได้รับความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆที่มีการพัฒนา โดยเฉพาะโรคในปัจจุบัน ไวรัสโควิด-19 การรักษาที่ดีที่สุดคือการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการบริโภคอาหารให้เป็นยา ด้วยการใช้สมุนไพรพื้นบ้านซึ้งมีอยู่มากมายในการปรุงอาหาร ร่วมทั้งการใช้ชีวิตประจำวันแบบเว้นระยะห่างล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย ก็จะเป็นอีกส่วยหนึ่งในการระมัดระวังอย่างถูกวิธีไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

กำนันเพ็ญใจ จันทร์หอมกุล เลขาฯนายกเทศมนตรี ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี กล่าว่า ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงโควิด-19 สูง โดยเฉพาะที่ชุมชนหลักหกของเราโควิดระบาดข่อนข้างมากเพราะมีส่วนเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานคร ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ทางชุมชนได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายโควิด-19 อย่างเข้มข้น รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง สสส.เล็งเห็นความสำคัญให้การสนับสนุนมอบความรู้ให้ประชาชนในชุมชนด้วยการส่งเสริมสนับสนุนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ สร้างภูมคุ้มกันให้ร่างกายซึ้งจะได้รับความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ ที่มีการพัฒนา โดยเฉพาะโรค ไวรัสโควิด-19 ซึ้งนอกจากให้องค์ความรู้แล้วยังได้มีการสาธิตการปรุงอาหารด้วยสมุนไพร

อันได้แก่ เมนูผัดฉ่าปลาทับทิมอันอุดมไปด้วยเครื่องเทศนา ๆ ชนิด โดยมีการสาธิตปรุงสด ๆ ให้กับผู้ร่วมกิจกรรมได้ชิม ส่วนที่เผ็ดร้อนไม่แพ้กันก็เห็นจะเป็นไก่บ้านต้มขมิ้นรสชาดจัดจ้านดับคาวได้เป็นอย่างดี จบคาวตามด้วยหวานก็ยังคงเป็นสมุนไพรอย่างต้มถั่วเขียวใส่ น้ำตาลทรายแดง น้ำขิงและแป๊ะก้วย ช่วยดับเผ็ดรสชาติกลาง ๆ หวานไม่มาก สดชื่น ตบท้ายด้วยน้ำสมุนไพรยอดนิยมซึ้งเป็นสูตรเฉพาะของร้านอาหารบ้านพักผ่อน เป็นน้ำกระชายขาวปั่นสดผสมน้ำผึ้งน้ำมะนาวแช่เย็น ซึ้งทางร้านได้แจกจ่ายสูตรให้ความรู้ประชาชนทั่วไปสามารถไปทำทานที่บ้านได้โดยไม่ยาก จะเห็นได้ว่าสมุนไพรในอาหารของคนไทยคุ้นเคยอยู่แล้วนำกลับมาใหม่ด้วยการรณรงค์อย่างจริงจังก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตนแบบ New normal เพราะประชาชนในชุมชนต้องช่วยเหลือตัวเองและต้องอยู่กับเชื้อโรคที่แพร่หลายในขณะนี้ด้วยการทานอาหารเป็นยาเสริมภูมคุ้มกัน

มองโกเลีย - นักศึกษาปริญญาโทชาวมองโกเลีย ปลูดเห็ดสมุนไพร “หญ้าหนอน” สร้างชื่อเสียงระดับโลกได้สำเร็จ!!

อูลานบาตอร์ /มองโกเลีย “Monkhjargal” นักศึกษาปริญญาโทชาวมองโกเลีย สามารถปลูกเห็ดที่มีชื่อเสียงระดับโลกและมีราคาแพงได้สำเร็จ ซึ่งเห็ดนี้เรียกกันว่า “หญ้าหนอน” บนมูลสัตว์ ก้านทะเล buckthorn และเศษเมล็ด ซึ่งอุดมไปด้วยสารยาหลายชนิดและรับประทานได้เช่นกัน

โดย “Monkhjargal” ได้กล่าวว่า “เราต้องปลูกเห็ดที่กินได้และกินเอง อาหารที่เรากินในวันนี้มีสารอาหารต่ำมากดังนั้นสารอาหารที่เราได้รับจากอาหารของเราจึงไม่เพียงพอต่อร่างกายของเรา นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องการปรับปรุงโภชนาการของเรา เพราะเราก็ต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน ดังนั้นเห็ดที่กินได้จึงกลายเป็นประเด็นเชิงกลยุทธ์สำหรับเรา ก่อนที่เราจะสามารถทำกำไรได้”

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการใช้เห็ดเพื่อสกัดสารสมุนไพรและในอาหารเสริมทางชีวภาพ ยารักษาโรค เครื่องสำอางและแม้แต่ยารักษาสัตว์หลายชนิด

ซึ่ง “Monkhjargal” ตั้งเป้าที่จะรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเห็ดภายใต้ “ห่วงโซ่คุณค่าเห็ดเพาะเลี้ยง” เพื่อปลุกจิตสำนึกในความสำคัญของเห็ดที่ปลูก เพิ่มผลผลิต และกระชับการทดลองและการวิจัยเกี่ยวกับยารักษาโรคและเห็ดสายพันธุ์ใหม่อื่น ๆ

 

‘อภัยภูเบศร’ แนะใช้ ‘สมุนไพร’ ปรับสมดุลร่างกาย ช่วยลดไฟธาตุ ต้านลมแดด - ฮีทสโตรก

(31 มี.ค. 66) ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิตอนกลางวันบางวันสูงถึง 40 องศา และอาจมีความร้อนเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว และในหลากหลายระบบของร่างกาย รวมถึงโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานเกิน 10-15 นาที  และไม่สามารถระบายความร้อนออก หรือขับเหงื่อออกได้ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอากาศที่ร้อนสูงขึ้น การใช้แรงมาก ๆ ในสภาพอากาศที่ร้อน ซึ่งมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้

ภญ.อาสาฬา กล่าวว่า อาการของโรคลมแดด ที่สามารถสังเกตได้ เช่น ตัวร้อนจัด ผิวสีแดงกว่าปกติ บางรายพบมีผื่นแดง ไม่มีเหงื่อออก ปัสสาวะออกน้อย เวียนศีรษะ มึนงง หายใจเร็ว ใจสั่น อ่อนแรง หน้ามืด เป็นลม แขนขาตะคริว หรือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ เช่น สับสน เพ้อ พูดไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย ชัก ช็อก กล้ามเนื้อลายสลาย อวัยวะต่างๆ เกิดการล้มเหลว เช่น ไตล้มเหลว เซลล์ตับตาย กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย หากพบว่าเริ่มมีอาการควรรีบบรรเทาอาการ โดยการอยู่ที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก นอนราบ ยกขาสูงเล็กน้อย พยายามทำให้เสื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ใช้ผ้าเย็น ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว เน้นตามข้อพับ คอ หลัง หากมีสติให้รีบดื่มน้ำสะอาด หากหมดสติควรรีบเรียกรถพยาบาล

‘แนท ไทยพัน’ รังสรรค์เมนู ‘เมี่ยงคำ’ ทำกรรมการทึ่ง ชม!! รสชาติลงตัวมาก  ชี้!! นี่คือเมนูสุดว้าว ทำอาหารไทยด้วยสมุนไพร ให้อร่อยมีชีวิตชีวา

(26 พ.ค.67) ทำถึงอีกครั้ง สำหรับสาวไทย แนท ไทยพัน ผู้เข้าแข่งขันรายการทำอาหารชื่อดังอย่างมาสเตอร์เชฟ ออสเตรเลีย โดยก่อนหน้านี้เธอได้รังสรรค์เมนูสุดว้าว นั่นก็คือ ลาบจิงโจ้ ที่ได้เสียงชมจากกรรมการอย่างล้นหลาม และแรงเชียร์จากผู้ชมทางบ้านด้วย

ล่าสุดทางเฟซบุ๊กของรายการได้เผยแพร่เมนูของแนทอีกครั้ง ซึ่งเป็นเมี่ยงคำ อาหารว่างสมุนไพรของประเทศไทย เธออธิบายจานนี้ให้กรรมการว่า ‘เมนูนี้คือ เมี่ยงคำ เป็นใบพลูไทยห่อด้วยสมุนไพรหลายชนิด’

โดยเมี่ยงคำมี 5 ชิ้น ประกอบด้วยพริกสดพันรอบฐานเมี่ยงคำ และสมุนไพรหลายชนิดที่ถูกห่อเข้าไป รวมถึงตกแต่งจานด้วยหินขนาดเล็กสีดำเพื่อให้อาหารดูมีชีวิตชีวา

หนึ่งในกรรมการกล่าวว่า ในตอนแรกที่ทานเหมือนขาดรสชาติบางอย่างไป แต่ตอนนี้รสชาติมันกลับมาแล้ว

กรรมการอีกคนกล่าวว่า สำหรับฉันมันเหมือนประทัดขนาดเล็ก รู้จักไหม เหมือนขนมปังกรอบขนาดเล็กที่มีไฟ แบบนั้นแหละ (หัวเราะ) มีพลังทำลายล้างสูงมาก และมันน่าทึ่งมาก

'สมศักดิ์' มอบ 7 นโยบายขับเคลื่อน Medical & Wellness Hub พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วม 4 คณะแพทย์วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ATMPs

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบ 7 นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพ สู่ Medical & Wellness Hub จ่อตั้งสำนักงานดูแลโดยเฉพาะ ยกระดับหมอนวดไทยให้เชี่ยวชาญพิศษ 7 กลุ่มอาการ รวมทั้ง 'สมุนไพร-ยา-อาหาร' ของไทย รุกส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยกระดับมาตรฐานเสริมความงาม อุ้มบุญ ผ่าตัดแปลงเพศกลุ่มต่างชาติ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง หรือ ATMPs พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วม 4 คณะแพทย์ส่งเสริมวิจัยและพัฒนาเพิ่มการเข้าถึงยา ATMPs ของประชาชน

(19 ก.พ.68) ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจสุขภาพ สู่ Medical & Wellness Hub โดยได้มอบนโยบายต่อผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และการประกาศเจตนารมณ์เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medical Products, ATMPs) ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)

นายสมศักดิ์กล่าวว่า การเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจและสุขภาพ สู่ Medical & Wellness Hub เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุขปี 2568 เพื่อยกระดับให้เป็นกระทรวงด้านสังคมควบคู่เศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจสุขภาพของประเทศ เพิ่มโอกาสสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและประเทศ ผ่านการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านการแพทย์ ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรไทย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ นวดสปา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ไปจนถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมสุขภาพและชีวการแพทย์ ซึ่งทั้งหมดต้องมีมาตรฐานและความปลอดภัย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และบริการสุขภาพระดับโลก โดยจะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าวผ่าน 7 นโยบายสำคัญ คือ 1.การจัดตั้ง 'สำนักงานนโยบายและเศรษฐกิจสาธารณสุข (สนศส.)' เป็นหน่วยงานระดับกรม ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพและการคลังสุขภาพ เพื่อจัดสรรทรัพยากรให้คุ้มค่า สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย และสร้างระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและยั่งยืน

2.ยกระดับภูมิปัญญาไทย คือ นวดไทย โดยพัฒนาหมอนวดไทยให้เชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Office syndrome), โรคหัวไหล่ติด, โรคนิ้วล็อก, ภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (ปวดสลักเพชร), หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, อัมพฤกษ์อัมพาต และกลุ่มระบบสืบพันธุ์ 3.ยกระดับสมุนไพรไทย/ยาไทย อาหารไทย ภายใต้แนวคิด "เจ็บป่วยคราใด คิดถึงยาไทย ก่อนไปหาหมอ" โดยผลักดันการใช้ยาสมุนไพรในระบบหลักประกันสุขภาพ เพิ่มรายการยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติรวม 106 รายการ ปรับระบบบริการผู้ป่วยนอกเพื่อส่งเสริมให้แพทย์สั่งจ่ายยาสมุนไพร 32 รายการใน 10 กลุ่มอาการโรคที่พบบ่อยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 10 ส่งเสริมสมุนไพรไทยและอาหารไทยต่างๆ เช่น กระชายดำ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ไพล ปลาส้ม/แหนมที่มีโพรไบโอติกส์-พรีไบโอติกส์ 4.ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งปี 2566 ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพราว 1.42 ล้านล้านบาท โดยเน้นประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เช่น สปา บ่อน้ำพุร้อน แหล่งน้ำแร่ จับคู่โรงแรมกับโรงพยาบาลในการให้บริการแพคเกจสุขภาพ พัฒนาระบบเอเยนซีขายแพคเกจสุขภาพ เพิ่มคลินิก Wellness การแพทย์และแพทย์ไทยในโรงแรม ซึ่งมีการนำร่องแล้วคือโมเดล Wellcation ของเขตสุขภาพที่ 5 และ Phuket Wellness Sandbox

5.ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ โดยปี 2566 ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดราว 2 แสนล้านบาท เป็นการนำเข้า 9 หมื่นล้านบาทและส่งออก 1.18 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม่ซับซ้อน ได้แก่ วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยางทางการแพทย์ หลอดสวน หลอดฉีดยา และกลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น เตียงผู้ป่วย เตียงตรวจ รถเข็นผู้ป่วย เบื้องต้นจะส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องมือแพทย์ฝีมือคนไทย เร่งรัดกระบวนการอนุมัติอนุญาตและทดสอบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียนให้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อน และใช้วิธีจับคู่ระหว่างผู้วิจัยและผู้ที่จะผลิตต่อ 6.ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง (ATMPs) ซึ่งทั่วโลกมีมูลค่าถึง 4.19 แสนล้านบาท คาดว่าปี 2573 จะเติบโตถึง 1.25 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลกำลังผลักดันศูนย์กลาง ATMPs ตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำด้านการแพทย์สมัยใหม่ในระดับโลก ภายในปี 2570 เนื่องจากเอกชนมีความสนใจและต้องการผลักดันอุตสาหกรรม และจะหาทางออกเพื่อลดข้อกังวลของสภาวิชาชีพในการใช้ผลิตภัณฑ์ ATMPs และ 7.การดูแลบุคคลและความงาม (Personal Care and Beauty) โดยจะขับเคลื่อน 4 เรื่อง คือ เวชศาสตร์ความงาม เน้นตรวจสอบแพทย์ต่างชาติที่เข้ามาประกอบเวชกรรมในไทย รวมถึงแพทย์เถื่อน คลินิกเถื่อน ยกระดับคลินิกความงามให้มีมาตรฐานระดับสากล เปิดหลักสูตรอบรมแพทย์เวชปฏิบัติความงามเป็นหลักสูตรกลางของประเทศ ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับหัตถการเสริมความงาม และพัฒนาระบบเอเยนซีให้สามารถโฆษณาเชิญชวนชาวต่างชาติมารับบริการได้, จิตเวชและพฤติกรรมบำบัดสำหรับชาวต่างชาติ, การอุ้มบุญและการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว การทำ ICSI และการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

"วันนี้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ยังได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ทั้ง 4 สถาบัน ประกาศเจตนารมณ์เพื่อร่วมมือกันทางวิชาการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ATMPs ซึ่งส่วนใหญ่เป็น "ยา" ที่ออกฤทธิ์เป็นยีน เซลล์ หรือเนื้อเยื่อ ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาจำนวนมาก เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงของผู้ป่วย โดยปี 2568 มีเป้าหมายให้คนไทยและชาวต่างชาติสามารถเข้าถึงยา ATMPs ในไทยที่ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสมผ่านกลไกการอนุญาตวิจัยในพื้นที่ทดลอง 5 แห่งในสังกัดกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ควบคู่ไปกับการจัดตั้งศูนย์บริการผลิตภัณฑ์ยา ATMPs แบบเบ็ดเสร็จ รวมถึงเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” นายสมศักดิ์กล่าว 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top