Monday, 29 April 2024
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ ประชุมเตรียมความพร้อมการรักษาความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อย การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

วันนี้ (11 ม.ค. 2565) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ร่วมกับ พล.ต.ท.สราวุฒิ การพานิช ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ รอง จตช. ประชุมเตรียมความพร้อมการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งแรกในวันที่ 16 ม.ค.65 เขตเลือกตั้งที่ 1 จว.ชุมพร, เขตเลือกตั้งที่ 6 จว.สงขลา รวมมีหน่วยเลือกตั้งจำนวน 495 หน่วย ส่วนในครั้งที่ 2 ในวันที่ 30 ม.ค.65 เขตเลือกตั้งที่ 9 (บางเขน) จว.กทม. มีหน่วยเลือกตั้งจำนวน 280 หน่วย

พล.ต.ท.สราวุฒิฯ กล่าวว่า ได้กำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ดังนี้

1. เป็นประชุมเตรียมความพร้อมและติดตามสถานการณ์ด้านการข่าว และกำชับการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่หน่วยเลือกตั้งโดยแบ่งภารกิจเป็นก่อนเลือกตั้ง ขณะเลือกตั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิด พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562

2. ก่อนการเลือกตั้งให้มีการระดมกวาดล้างอาชญากรรมและความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในพื้นที่ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.65 เป็นต้นไป ที่ผ่านมาพบ 3 เหตุ ที่ จว.ชุมพร

​2.1 การทำลายป้ายหาเสียง 2 เหตุ ของผู้สมัคร พ.ต.อ.ทศพล โชติคุตร์ ผู้สมัครฯ หมายเลข 5 พรรคกล้า อยู่ในระหว่างการสืบสวนถึงสาเหตุที่แท้จริง

​2.2 เหตุยิงปืนลงพื้นถนนขณะที่รถหาเสียงของ พ.ต.อ.ทศพล โชติคุตร์ ผู้สมัครฯ หมายเลข 5 พรรคกล้า จอดอยู่ใกล้เคียง จับกุมผู้กระทำผิดได้แล้ว จากการสอบสวนเหตุการณ์เกิดจากผู้กระทำผิด   เสพยาเสพติดเกินขนาดจึงเกิดอาการประสาทหลอนและก่อเหตุดังกล่าว

'ปิยบุตร' ผุดแคมเปญให้ ส.ส. เป็นได้ 1-2 วาระ เพื่อหยุดการส่งต่ออำนาจ ทลายสมบัติประจำตระกูล 

(13 ส.ค. 65) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กกล่าวถึงการทำหน้าที่ของส.ส. และระบบการเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

หน้าที่ ส.ส. / การทำพื้นที่ / การเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ ผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หลายประการ

ประการแรก เสนอ พิจารณา และลงมติให้ความเห็นชอบ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และอนุมัติพระราชกำหนด

ประการที่สอง ลงมติเลือกบุคคลไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ประการที่สาม ตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านกลไกต่างๆ ของรัฐสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญ

ประการที่สี่ เป็นผู้แทนของประชาชน นำปัญหาของประชาชนมาอภิปรายในสภา ผลักดันเป็นกฎหมาย หรือเสนอแนะฝ่ายบริหาร

ประการที่ห้า อำนาจหน้าที่อื่นๆ ที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นกำหนดให้กระทำในนามของสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา เช่น รับทราบรายงานประจำปีขององค์กรต่างๆ ให้ความเห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่ง ประกาศสงคราม รับทราบการขึ้นครองราชย์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ในระบบรัฐสภาแล้วบทบาทของ ส.ส. คือ งานเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหาร

เมื่อพิจารณาบทบาทและภารกิจของ ส.ส.เช่นนี้แล้ว การตัดสินใจเลือก ส.ส. ก็น่าจะพิจารณาเลือกคนไปเป็น 'ผู้แทน' ในการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหาร เป็นสำคัญ

เช่นเดียวกัน ผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองต้นสังกัด ก็ควรรณรงค์และนำเสนอแนวนโยบายของตนและพรรคเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการตรวจสอบฝ่ายบริหาร แต่เหตุใดการเมืองไทย ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนจึงเลือก 'ผู้แทนราษฎร' โดยพิจารณาจากการดูแลประชาชนในพื้นที่เขตเลือกตั้ง? เหตุใดประชาชนจึงเรียกร้องหรือขอการช่วยเหลือสนับสนุนจาก ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตนหรือผู้สมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตน?

ทั้งๆ ที่การดูแลประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข คือ อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ของรัฐมนตรี ข้าราชการ และนายกฯ ท้องถิ่น พวกเขาเหล่านี้มีทั้งอำนาจตามกฎหมาย มีทั้งบุคลากร มีทั้งงบประมาณ ในขณะที่ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย สั่งการข้าราชการก็ไม่ได้ งบประมาณก็ไม่มี

ยิ่งไปกว่านั้น หาก ส.ส.คนใดเข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ ก็อาจต้องรับโทษตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อีกด้วย เช่นเดียวกัน เหตุใด ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส.ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ต่างก็แข่งขันกันสร้างผลงานช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเอาการเอางาน ทั้งๆ ที่ตนเองไม่มีงบประมาณ ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย? แล้วในการแข่งขันเช่นว่านี้ มีบ้างหรือไม่ที่ช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว โดนไม่คาดหวังว่าประชาชนจะเลือกตนเป็น ส.ส.? มีใครที่พร้อมเป็น 'นักบุญ' ช่วยเหลือประชาชน โดยไม่ได้ต้องการการตอบแทนเป็น 'คะแนนเสียง' ?

ปัญหาดังกล่าว สืบเนื่องมาจากเหตุต้นตอ 2 ประการ

ประการแรก รัฐบาลไม่สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนได้ถ้วนทั่ว การเรียกร้องเอากับรัฐบาล รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ข้าราชการประจำ เป็นเรื่องยากลำบาก มีอุปสรรค และพวกนี้อยู่ไกลประชาชน ทำให้ประชาชนเรียกหาคนที่ใกล้เขาที่สุด นั่นคือ ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตนเอง

ประการที่สอง การไม่กระจายอำนาจ/งบ ให้กับท้องถิ่นมากเพียงพอต่อการจัดการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับประชาชน ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของประชาชนได้ดีเพียงพอ ประชาชนจำต้องพึ่งพิงและเรียกร้องเอากับ ส.ส. ที่เป็น 'ผู้แทน' ของเขาในเขตพื้นที่

เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้แล้ว ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส.ปฏิเสธไม่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้งตนได้หรือไม่?

แน่นอนว่า ไม่มีกฎหมายที่ไหนมาบังคับให้ ส.ส.ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง (เพราะอำนาจหน้าที่ งบประมาณ และบุคลากรเป็นของรัฐบาล) แต่คงไม่มี ส.ส.หรือผู้สมัคร ส.ส.คนใดกล้าปฏิเสธไม่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง เพราะ หากไม่ช่วยเหลือ ก็เสี่ยงที่จะ 'สอบตก' ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ในขณะที่ประชาชนก็รู้สึกว่านี่คือ 'ผู้แทน' ที่พวกเขาเลือกมา นี่คือ 'ผู้แทน' ในพื้นที่บ้านของพวกเขา และใกล้ชิดกับพวกเขามากที่สุด ก็ต้องเรียกหาเรียกใช้ได้ นี่จึงเป็นที่มาที่ ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส. ต้องทำในสิ่งที่แวดวงการเมืองการเลือกตั้งเรียกกันว่า 'การทำพื้นที่'

ปัญหาที่ต้องขบคิดกันต่อไป ก็คือ 'การทำพื้นที่' ต้องใช้เงิน ใช้ทรัพยากร เพื่อเป็น 'เครื่องมือ' ในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ในการหาโอกาสเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดประชาชน เริ่มตั้งแต่ ทำบุญใส่ซองในงานบวช งานแต่ง งานศพ จัดหาน้ำดื่ม อาหาร โต๊ะ เก้าอี้ หลังคาผ้าใบ เต๊นท์ ในงานประเพณีต่างๆ

ฉีดยาฆ่ายุงลาย ทำหมันหมา ตัดผมฟรี ตัดแว่นฟรี ตรวจโควิดฟรี หาช่องทางให้ได้วัคซีน หารถพยาบาลนำส่ง ถุงยังชีพ ในยามประสบภัยพิบัติ ฝากลูกเข้าโรงเรียน / ฝากเพื่อนสนิทมิตรสหายในเครือข่ายการเมืองในพื้นที่เลือกตั้งได้เลื่อนขั้น วิ่งเต้น (เรียกให้ดูดี คือ ประสานงาน) กับรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เอางบประมาณ เอาโครงการ มาในพื้นที่เลือกตั้งของตน ไม่มีสนามบิน ก็เอาสนามบินมาลง ไม่มีถนน ก็เอาถนนมาลง เป็นต้น ฯลฯ

แล้ว ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.จะหางบประมาณมาช่วยจากไหน? เอาเงินจากไหนมาซื้อของแจกหรือจัดทำบริการฟรีให้ประชาชน? เอาเงินจากไหนมาจ่ายค่าน้ำมันรถ? เอาเงินจากไหนมาจ่ายให้ทีมงานที่รับหน้าที่ดูแลประชาชน?

ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส.จะ 'วิ่งเต้น' กับรัฐมนตรีอย่างไร เพื่อให้รัฐมนตรีนำงบประมาณและโครงการมาลงในพื้นที่? หาก ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส. สังกัดพรรคฝ่ายค้านล่ะ จะทำอย่างไรถึงจะ 'วิ่งเตัน' กับรัฐมนตรีได้?

ทั้งหมดนี้ นำมาซึ่งการก่อสร้างการเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์

ที่เรียกกันว่า 'บ้านใหญ่ประจำจังหวัด' หรือ 'ตระกูลการเมือง' ก็มีต้นกำเนิดมาจากเรื่องเหล่านี้

เมื่อ ส.ส. หรือ ผู้สมัคร ส.ส. ต้องการเงินและทรัพยากรใน 'การทำพื้นที่' แต่ละเดือนๆ เงินเดือน ส.ส.ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้แน่นอน แล้วจะทำอย่างไร? ถ้าผู้สมัคร ส.ส.หรือ ส.ส.คนนั้น มีสถานะทางเศรษฐกิจดี มีธุรกิจ มีมรดกตกทอด มาจากครอบครัวเศรษฐี ก็สามารควักเงินตนเองได้ แต่ถ้าไม่มีล่ะ?

ผู้มีทุนผู้มั่งมีก็จะเข้ามา เสนอซื้อ เสนอให้ ลงทุนให้ จ่ายรายเดือนให้แก่ ส.ส.หรือผู้สมัคร ส.ส. ไม่ก็ ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส.ก็วิ่งเร่ขาย หา 'มุ้ง' สังกัด โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี การลงทุนฟรีๆ ไม่มี ก็ต้องแลกเปลี่ยนกับการที่ ส.ส.ผู้สมัคร ส.ส.นั้นๆ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของเขา หรือที่เรียกกันว่า 'มุ้ง'

ผู้มีทุนผู้มั่งมีสร้าง 'มุ้ง' กักตุนจำนวน ส.ส.ในสังกัด เมื่อครบจำนวน ก็นำไปแลกเป็นรัฐมนตรี มุ้งตนเองได้ ส.ส.มากเท่าไร ก็มีพวกของตนไปเป็นรัฐมนตรีมากเท่านั้น มุ่งตนเองได้ ส.ส.มากเท่าไร ก็แลกเอากระทรวงเกรดเอที่มีงบประมาณมหาศาลได้มากเท่านั้น

เมื่อ 'ผู้ลงทุน' 'หัวหน้ามุ้ง' 'ลูกพี่' ได้ไปเป็นรัฐมนตรี ก็ตามมาด้วยการหาเงินคืนทุนที่จ่ายไป ทุจริตคอร์รัปชัน หัวคิว/เงินทอนจากโครงการต่างๆ จึงเกิดขึ้น ให้สัมปทานโครงการต่างๆ แก่บริษัทพรรคพวกของตนเอง ถ้าสัญญาใกล้หมด ก็ต่อสัญญาให้ชนิดที่รัฐเสียเปรียบ นอกจากนั้น ก็ยังออกนโยบายเอาโครงการประเภท 'สร้าง/ซ่อม/ขุด/กลบ' ไปไว้ยังพื้นที่ของตน

แต่ละจังหวัดมี ส.ส.ได้กี่คน?

หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดกำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย


 

15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ประเทศไทย จัดให้มีการเลือกตั้ง สส. เป็นครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียว

วันนี้ เมื่อ 90 ปีก่อน ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย โดยเป็นการเลือกผู้แทนตำบลก่อน แล้วให้ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่ง

ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรก ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม ประชาชนเลือกตัวแทนของตนในระดับตำบล เพื่อไปทำหน้าที่เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง โดยแต่ละจังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คนต่อราษฎร 200,000 คน มีผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 78 คน รวมกับสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการเป็น 156 คน

การเลือกตั้งครั้งนั้น เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี 2475 ประเทศไทย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 70 จังหวัด และตามรัฐธรรมนูญ 2475 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท โดยมีจำนวนเท่า ๆ กัน คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง

ในขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดให้แต่ละจังหวัดจะมี สส. ได้ 1 คนต่อราษฎร 200,000 คน ทำให้มี ส.ส. ประเภทที่ 1 จำนวน 78 คน และ สส. ประเภทที่ 2 ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอีก 78 คน รวมเป็น 156 คน ซึ่งจากการคำนวณดังกล่าว ทำให้ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถเลือก สส. ได้จังหวัดละ 1 คน และมีบางจังหวัดที่มี สส. มากกว่า 1 คน คือ เชียงใหม่, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม และนครราชสีมา มี สส. จำนวน 2 คน ในขณะที่จังหวัดพระนครและอุบลราชธานี มี สส. มากที่สุด คือ 3 คน

สำหรับการเลือกตั้งครั้งแรกของไทย ถูกจัดขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 และเป็นการเลือกตั้ง สส. ประเภทที่ 1 โดยใช้วิธีการเลือกตั้งแบบทางอ้อม คือ ประชาชนจะไปใช้สิทธิ์เลือกผู้แทนตำบลก่อน จากนั้นผู้แทนตำบลที่ได้รับเลือกนั้น จะไปทำการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนประชาชนอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

โดยในครั้งนั้น มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด 4,278,231 คน และมีผู้ออกไปใช้สิทธิ์ทั้งหมด 1,773,532 คน คิดเป็น 41.45% โดยจังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ จังหวัดเพชรบุรี คิดเป็น 78.82% และจังหวัดที่มีผู้ออกไปใช้สิทธิ์น้อยที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็น 17.71%


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top