Sunday, 20 April 2025
สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยจัดแถลงข่าวโครงการ 'พัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการจ้างงานคนพิการทางจิตอย่างยั่งยืน'

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยจัดแถลงข่าวโครงการ 'พัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการจ้างงานคนพิการทางจิตอย่างยั่งยืน และประชุมสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๐' ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี ๒๕๖๕ 

​โดยมี คุณนุชจารี คล้ายสุวรรณ (นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย) , คุณณฐอร อินทร์ดีศรี (ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ผู้แทนกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ , แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา) , นายแพทย์ไพฑูรย์ สมุทรสินธุ์ (ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย และ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายบริการ โรงพยาบาลศรีธัญญา , คุณรัตน์ จิรธรรม (ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ) และผู้แทนสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และ คุณชัญญ์ญาณ์ ธำรงวินิจฉัย (ผู้จัดการใหญ่ กิจกรรมการตลาดศูนย์การค้าบริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ปจำกัด)  ร่วมแถลงข่าว ในวันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมแสงสิงแก้ว ชั้น 4 โรงพยาบาลศรีธัญญา จังหวัดนนทบุรี

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย จัดงาน “โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการจ้างงานคนพิการทางจิตอย่างยั่งยืน และประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี ๒๕๖๕ สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๐” โดยงานในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้บกพร่องทางจิตได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข ทัดเทียมกับประชาชนทั่วไป และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีออกสู่สังคม นาง นุชจารี คล้ายสุวรรณ นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “สำหรับงานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้ว่า ปัจจุบันผู้บกพร่องทางจิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป และมีความสุข อยากจะให้ทุกๆคนในสังคมหันกลับมาให้ความสำคัญและให้ความเท่าเทียมกันเกิดขึ้นในสังคมไทย”
​สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระ ที่ก่อตั้งขึ้นโดย ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมด้วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของผู้ทุพลภาพทางร่างกาย ในปี 2556 

ปัจจุบันมีเครือข่ายองค์กรกว่า 200 องค์กร ทั้งในองค์กรส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานองค์กรชมรม  สมาคม ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ให้ผู้บกพร่องทางจิตได้รับการยอมรับจากสังคม ได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข เท่าเทียม และให้ผู้บกพร่องทางจิตเกิดความเชื่อมั่นต่อตนเองภายในสังคมอย่างบูรณาการ สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ 47 ตึกหญิง 10 โรงพยาบาลศรีธัญญา, กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย จัดโครงการ "พัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการจ้างงานคนพิการทางจิตอย่างยั่งยืน" สุดยิ่งใหญ่แห่งปี

วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 ณ ชั้น 4  เดอะมอลล์งามวงศ์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี ในงานนี้ "น.ส.สราญภัทร อนุมัติราชกิจ" อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานโครงการ "พัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการจ้างงานคนพิการทางจิตอย่างยั่งยืน" และจัดการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2565 ของสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20  AMIT 20 Th Anniversary โดย "นางสาวฐิติพร พริ้งเพลิด คณะกรรมการชมรมตะวันทอแสงกล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ให้ทราบพอสังเขป  ดังนี้

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจ้างงานคนพิการ การพัฒนาศักยภาพคนพิการ และการขับเคลื่อนงาน Job coach เพื่อให้คนพิการทางจิตมีความยั่งยืนในการทำงาน
2. เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนงานของสมาคมรวมทั้งเครือข่ายภาคและชมรมตะวันทอแสงประจำปี 2567
3. จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 และรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสมาคมฯ ​​​​สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่  27 มีนาคม  2546 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา  20 ปี

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การปรึกษาและช่วยเหลือผู้บกพร่องทางจิตและครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตอิสระในสังคมได้เท่าเทียมกับทุกคน และเพื่อพิทักษ์สิทธิในด้านต่างๆของผู้บกพร่องทางจิต รวมทั้งรณรงค์ให้ครอบครัว ชุมชน สังคม มีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์และยอมรับผู้บกพร่องทางจิต ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ของผู้บกพร่องทางจิต ปัจจุบันสมาคมฯ มีเครือข่ายเพื่อผู้บกพร่องทางจิตทั่วประเทศ จำนวน  154 ชมรม มีทั้งชมรมเก่าและชมรมใหม่ และมีการรวมกลุ่มเครือข่ายระดับภาคและเขตอีก จำนวน 5 ภาค 1 เขตและอีก 1 ชมรม คือชมรมตะวันทอแสงซึ่งเป็นชมรมของคนพิการทางจิต โดยคนพิการ และเพื่อคนพิการ
 
ซึ่ง​การจัดโครงการฯในวันนี้ จะดำเนินการระหว่างวันที่  26 – 29 พฤษภาคม 2566  โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มาจากแกนนำเครือข่ายเพื่อผู้บกพร่องทางจิตระดับภาค/เขต คนพิการทางจิตและผู้ดูแล ผู้แทนจากศูนย์บริการคนพิการจังหวัดนนทบุรี ผู้แทนจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดปทุมธานี ผู้แทนจากบ้านกึ่งวิถีหญิงธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต ผู้แทนจากหน่วยงานสาธารณสุข ผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้แทนจากจัดหางานจังหวัดนนทบุรี ผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร ผู้แทนจาก สปสช. สสส. กอช. สวส. อาสาสมัครจากมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน บุคคลและองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ช่วยเหลือคนพิการ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 966 คน  

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 "คุณนุชจารี คล้ายสุวรรณ" นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย คุณณฐอร อินทร์ดีศรี (ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ผู้แทนกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ , แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา) , นายแพทย์ไพฑูรย์ สมุทรสินธุ์ (ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย และ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายบริการ โรงพยาบาลศรีธัญญา , คุณรัตน์ จิรธรรม (ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ) และผู้แทนสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และ คุณชัญญ์ญาณ์ ธำรงวินิจฉัย (ผู้จัดการใหญ่ กิจกรรมการตลาดศูนย์การค้า
 
“สำหรับงานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้ว่า ปัจจุบันผู้บกพร่องทางจิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป และมีความสุข อยากจะให้ทุกๆคนในสังคมหันกลับมาให้ความสำคัญและให้ความเท่าเทียมกันเกิดขึ้นในสังคมไทย”

​สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระ ที่ก่อตั้งขึ้นโดย ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมด้วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของผู้ทุพลภาพทางร่างกาย ในปี 2556 ปัจจุบันมีเครือข่ายองค์กรกว่า 200 องค์กร ทั้งในองค์กรส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานองค์กรชมรม สมาคม ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ให้ผู้บกพร่องทางจิตได้รับการยอมรับจากสังคม ได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข เท่าเทียม และให้ผู้บกพร่องทางจิตเกิดความเชื่อมั่นต่อตนเองภายในสังคมอย่างบูรณาการ สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ 47 ตึกหญิง 10 โรงพยาบาลศรีธัญญา, กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

​โครงการ “โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการจ้างงานคนพิการทางจิตอย่างยั่งยืน" ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น การออกบูธจำหน่ายสินค้าจากผู้บกพร่องทางจิตทั่วทุกภูมิภาค และการออกบูธขององค์กรภาครัฐด้านสุขภาพจิต เพื่อให้คำแนะนำ ปรึกษาทางออกด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่มาร่วมงานโดยมีทีมจิตเวช ที่จะคอยดูแลตลอดระยะเวลาให้คำปรึกษา ภายในงานมีการแสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นจากนักวิชาการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บกพร่องทางจิตที่เข้ารับการรักษาฟื้นฟูจนหายกลับมาสู่การใช้ชีวิตปกติ ,การแสดงมากมายจากผู้บกพร่องทางจิตทั่วทุกภูมิภาค ,พบกับศิลปินและอินฟูเลนเซอร์ที่มีชื่อเสียง และกิจกรรมอีกมากมายภายในการจัดงานครั้งนี้

นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงงานในครั้งนี้ว่า “เป็นโอกาสดีที่สังคมจะได้หันมาให้ความสนใจกับความสำคัญของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เปิดโอกาสให้ผู้บกพร่องทางจิตได้กลับมาสู่สังคมบนเส้นทางที่พร้อมจะสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้และสร้างตัวตน ยืนยัดในสังคมด้วยความเท่าเทียม และเป็นมิตรกันทุกๆคน”

จากนั้น คุณชัญญ์ญาณ์ ธำรงวินิจฉัย (ผู้จัดการใหญ่ กิจกรรมการตลาดศูนย์การค้าบริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ปจำกัด) ได้กล่าวถึงงานในครั้งนี้ว่า “ในฐานองค์กรเอกชน ขอเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดโอกาส สร้างพื้นที่ให้กับผู้บกพร่องทางจิตทั่วประเทศ และพร้อมจะสนับสนุนในทุกๆ ด้านทั้งการส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สังคมนี้ได้เปิดรับและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม “

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 สุดยิ่งใหญ่แห่งปี

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 จัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการลดพฤติกรรมความรุนแรงในสังคม เสริมพลังครอบครัวคนพิการ ด้านการส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งเสริมพลังองค์กรเครือข่ายให้เข้มแข็ง และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 22 – 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมสิรินภา โรงแรมหรรษา เจบี ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โดยงานครั้งนี้ 'นางวิไลวรรณ สุวรรณรักษา' พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสงขลา​ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายกับการลดพฤติกรรมความรุนแรงในสังคม เสริมพลังครอบครัวคนพิการ ด้านการส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งเสริมพลังองค์กรเครือข่ายให้เข้มแข็ง และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 พร้อมมอบโล่รางวัล โดยมี 'นางสาวฐิติพร พริ้งเพลิด'  อุปนายกคนที่ 2 สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ให้ทราบพอสังเขปดังนี้

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมรวมทั้งครอบครัวคนพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแล การฟื้นฟู และการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตที่มีพฤติกรรมรุนแรงอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมอาชีพ แก่คนพิการและครอบครัว และแกนนำชมรมเครือข่าย ด้วยการเปิดบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์
2. เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนงานของสมาคมฯรวมทั้งเครือข่ายภาค เขต และชมรมตะวันทอแสงปี 2568
3. จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 และรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสมาคมฯ
​​​​​สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย  ก่อตั้งเมื่อวันที่  27  มีนาคม  2546 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา  21 ปี

​​การจัดโครงการฯในวันนี้ จะดำเนินการระหว่างวันที่  22 – 25 พฤษภาคม 2567 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มาจากแกนนำเครือข่ายเพื่อผู้บกพร่องทางจิตระดับภาค/เขต คนพิการทางจิตและผู้ดูแลจากพื้นที่ต่างๆ ผู้แทนจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพิษณุโลก ผู้แทนจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครราชสีมา ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต ผู้แทนจากหน่วยงานสาธารณสุข ผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา ผู้แทนจากตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ผู้แทนจาก สปสช.เขต 12 ผู้แทนจากศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 จังหวัดสงขลา กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอปต.) และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 871 คน  

“สำหรับงานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้ว่า ปัจจุบันผู้บกพร่องทางจิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป และมีความสุข อยากจะให้ทุกๆคนในสังคมหันกลับมาให้ความสำคัญและช่วยทำให้ความเท่าเทียมกันเกิดขึ้นในสังคมไทย”

ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น การออกบูธจำหน่ายสินค้าจากผู้บกพร่องทางจิตทั่วทุกภูมิภาค และการออกบูธขององค์กรภาครัฐด้านสุขภาพจิต เพื่อให้คำแนะนำ ปรึกษาทางออกด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่มาร่วมงานโดยมีทีมจิตเวช ที่จะคอยดูแลตลอดระยะเวลาให้คำปรึกษา (กอช.) การออมแห่งชาติแนะนำการเก็บออมเงินให้กับคนพิการ บูธนิทรรศการจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สนง.พมจ.สงขลา บูธของ รพ.จิตเวชสงขลา บูธปฐมพยาบาลจาก รพ.หาดใหญ่ บูธจาก ม.สงขลานครินทร์ บูธจาก สปสช.เขต 12 และอื่น ๆ ภายในงานมีการเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นจากนักวิชาการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บกพร่องทางจิตที่เข้ารับการรักษาฟื้นฟูจนหายกลับมาสู่การใช้ชีวิตปกติ การแสดงมากมายจากผู้บกพร่องทางจิตทั่วทุกภูมิภาค และกิจกรรมอีกมากมายภายในการจัดงานครั้งนี้

นางนุชจารี คล้ายสุวรรณ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงงานในครั้งนี้ว่า “เป็นโอกาสดีที่สังคมจะได้รู้และเข้าใจคนพิการทางจิตมากขึ้น และหันมาให้ความสนใจกับความสำคัญของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บกพร่องทางจิตได้กลับคืนสู่สังคม บนเส้นทางที่พร้อมจะสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้และสร้างตัวตน ยืนหยัดในสังคมด้วยความเท่าเทียม และเป็นมิตรกับทุก ๆ คน”

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนรุ่นที่ 4 ภาคใต้

นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิต และการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รุ่นที่ 4 ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมทานตะวัน ชั้น 1 โรงแรม หาดใหญ่ พาราไดซ์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โดยมี นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย / กรรมการและที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย คณะกรรมการภาคใต้ ผู้แทนตำรวจภูธรภาค 8 และภาค 9 ผู้แทนหน่วยงานสาธารณสุข ในเขตพื้นที่ภาคใต้ ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต ผู้แทนสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช (บ้านสิชล) ผู้มีเกียรติ ร่วมงาน

นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย การให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน
ได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ในเรื่องสิทธิด้านต่างๆ สำหรับคนพิการ โดยเฉพาะการดูแล ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง และการฆ่าตัวตาย  รวมทั้ง เน้นให้เห็นความสำคัญของครอบครัว เพื่อลดความรุนแรง รวมทั้งเพื่อให้ได้แนวทางและขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตอย่างถูกวิธี ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
 
นางวัลยา ลามะ ประธานเครือข่ายสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้ กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิต และการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน มีวัตถุประสงค์ของเพื่อให้เกิดแกนนำเครือข่ายภาคปฏิบัติ ที่มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตเมื่ออยู่ในภาวะต่างๆได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันเหตุการณ์ เพื่อให้ได้แนวทาง และขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตอย่างถูกวิธี ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต และ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จากการทำแผนงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในพื้นที่และส่วนกลาง

สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2546 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 21 ปี การจัดโครงการฯในวันนี้ จะดำเนินการระหว่างวันที่  15 – 17 สิงหาคม 2567 โดยจะมีการจัดกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 5 รุ่น แบ่งเป็น รุ่นที่ 1 ภาคเหนือ จำนวน 140 คน รุ่นที่ 2 ภาคกลาง จำนวน 139 คน รุ่นที่ 3 ภาคอีสาน จำนวน 154 คน รุ่นที่ 4 ภาคใต้ จำนวน 117 คน และรุ่นที่ 5 ภาคตะวันออก จำนวน 76 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งโครงการจำนวน 626 คน 

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 4 ภาคใต้ ประกอบด้วยคณะกรรมการภาคใต้หรือผู้แทน คณะกรรมการและกรรมการที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ผู้แทนตำตรวจภูธรภาค 8 และภาค 9 ผู้แทนหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่ภาคใต้ ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต ผู้แทนสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช (บ้านสิชล) ผู้สังเกตการณ์ วิทยากรและคณะทำงาน รวมจำนวน 117 คน  


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top