Monday, 13 May 2024
สมาคมธนาคารไทย

'แบงก์ชาติ' แจง!! ตัดเงินบัตรยับ-เงินหายจากบัญชี ผลจากธุรกรรมต่างประเทศ ยัน!! ไม่มีข้อมูลรั่ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมาก 'ไม่ใช่แอปดูดเงิน' และไม่มีรั่วไหลของข้อมูลจากธนาคาร แต่เกิดจากธุรกรรมชำระค่าสินค้า บริการกับร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แนะให้ติดต่อคอลเซ็นเตอร์ธนาคารเพื่อระงับธุรกรรมทันที 

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ได้ชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมากตามที่ปรากฏข่าวพบลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรเดบิตจำนวนมากประสบปัญหาการทำรายการชำระเงินโดยที่ไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตนเอง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้รับทราบปัญหาและได้ตรวจสอบสถานการณ์ดังกล่าว

แบงก์ชาติเผยผลตรวจสอบ ดูดเงินจากบัญชี พบ 90% เป็นธุรกรรมบัตรเดบิต ใช้ซื้อสินค้าจากร้านค้าในต่างประเทศ มูลค่าความเสียหายกว่า 130 ล้านบาท

จากกรณีที่มีการแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ มีผู้เสียหายถูกดูดเงินจากบัญชี หรือ บัตรเดบิต จำนวนหลายครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว แฮกบัญชีธนาคาร บัตรเดบิต และดูดเงินออกจากบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC หรือเครื่องรูดบัตร แต่ไม่มี SMS แจ้งเตือน แต่ละครั้งจะถอนเงินจำนวนไม่มาก

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคม ธนาคารไทย แถลงข่าวร่วมกัน เพื่อแจงความคืบหน้า การตรวจสอบกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ดังกล่าว

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมธนาคารไทย เตือนภัยออนไลน์

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหลอกลวงประชาชน และมีคดีออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่ การแอบอ้างเป็นศูนย์กระจายสินค้า หลอกให้โอนเงินเพื่อสต๊อกสินค้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร./หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่ออีก จึงได้ร่วมกับ  สมาคมธนาคารไทย โดย นายยศ  กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย(TBA) แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 8 พ.ค.๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 เม.ย.-6 พ.ค.2566) มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิม ๆ 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ  3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ 5) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) 

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. กล่าวว่า ภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์ เรื่องแรก เป็นเรื่องมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารส่ง SMS และโทรศัพท์หลอกลวงผู้เสียหาย มีรายละเอียด ดังนี้

1. คดีนี้รูปแบบแรก มิจฉาชีพส่งข้อความว่า  มีผู้เข้าสู่ระบบธนาคารของผู้เสียหายจากอุปกรณ์อื่น 
หากไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง ให้ผู้เสียหายติดต่อธนาคารทันที โดยเพิ่มเพื่อนใน line กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อธนาคาร และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย         

จุดสังเกต  
1) มิจฉาชีพส่งข้อความพร้อมแนบลิงก์คล้ายข้อความจริงจากธนาคาร และใช้ชื่อไลน์คล้ายกับ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร
2) ธนาคารจะใช้หมายเลขโทรศัพท์ของธนาคาร(ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 02)ส่งข้อความ จะไม่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวหรือเบอร์มือถือ หรืออีเมลส่งข้อความ  และจะไม่มีการแนบลิงก์ให้กดแต่อย่างใด

วิธีป้องกัน 
1) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้
ติดตั้ง 
2) กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับ call center ของธนาคารโดยตรง 
3) กรณีมีการส่ง Link แปลกปลอม ให้ตรวจสอบจากเวบไซต์ www.who.is 
4) หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ 
Apple Store เท่านั้น 

ธนาคารไม่มีนโยบายการส่งข้อความ SMS แบบแนบลิงก์ทุกชนิด หรือมีข้อความให้แอดไลน์ไอดี หากได้รับ SMS ดังกล่าว  อย่าหลงเชื่อ !!

2. รูปแบบที่ 2 มิจฉาชีพโทรศัพท์หาผู้เสียหายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร แล้วแจ้งว่าบัญชีของ
ผู้เสียหายมีความผิดปกติ หรือติดค้างชำระยอดบัตรเครดิต เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อมิจฉาชีพจะอ้างต่อว่า มีการนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียหายไปใช้ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด แล้วให้โอนเงินไปให้มิจฉาชีพตรวจสอบ 

จุดสังเกต มิจฉาชีพจะโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินต่างๆ แล้วเริ่มบทสนทนาพูดคุยโน้มน้าวให้หลงเชื่อ แล้วส่งต่อให้คุยกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ เพื่อให้เกิดความกลัว แล้วให้โอนเงินให้คนร้ายตรวจสอบ

วิธีป้องกัน 
1) ให้ติดต่อ call center ของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง  เพราะธนาคารไม่มีนโยบายในการ
โทรศัพท์แจ้งให้ประชาชนโหลดแอพพลิเคชั่น หรือโอนเงินไปตรวจสอบ
2) กรณีอ้างหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ให้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลจาก
หน่วยงานนั้นๆ โดยตรง
3) ถ้ามีการสนทนาทาง Video call ให้มีสติและสังเกตปากกับเสียงตรงกันหรือไม่ หรือ ภาพและท่าทางมีความผิดปกติหรือไม่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top