Saturday, 19 April 2025
สตรี

เพิ่มพลังสตรีไทย ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พปชร. ร่วมหารือเนื่องในวันสตรีสากล มุ่งสร้างพื้นที่-ขยายโอกาสสตรี-มอบสิทธิพื้นฐานเท่าเทียม

(8 มี.ค.66) นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ  (พปชร.) กล่าวว่า พรรคพปชร. ได้ระดมความคิดเห็นของกลุ่มสตรีพรรคพลังประชารัฐ ‘พลังประชารัฐ เพิ่มพลังสตรีไทย’ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มี.ค. ระดมความเห็นและรับฟังเสียงสะท้อนให้แก้ไขปัญหา และข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรสตรี เพื่อลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้กับกลุ่มสตรี และเยาวชน ได้รับสิทธิเท่าเทียมในทุกมิติ โดยมีนางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ ที่ปรึกษาด้านสิทธิสตรี และว่าที่ผู้สมัครพปชร. อาทิ น.ส.ชญาภา ปรีภาพาก นางนฤมล รัตนาภิบาล น.ส.ณิรินทร์ เงินยวง น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ และ น.ส.สุชาดา เวสารัชตระกูล รวมถึงนายศันสนะ สุริยะโยธิน นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ นายระพีพัฒน์ สุเมธโชติเมธา ร่วมระดมความคิดเห็นของที่ผู้สมัครจากการลงพื้นที่ เช่น แก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ จัดตั้งศูนย์สุขภาพจิตในชุมชนเพื่อคนทุกช่วงวัย เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสิทธิการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม การจัดสวัสดิการเพื่อการดูแลคุณภาพชีวิตแม่เลี้ยงเดี่ยว และยกระดับศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในชุมชนเป็นต้น ให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

ละรุนแรงต่อ 'สตรีเพศ' ให้สมเกียรติเยี่ยง 'สุภาพบุรุษ'  ทิ้งกมลสันดานชั่วในร่าง 'บุรุษ' เตือนตนว่าอย่าหาทำ

เมื่อส่วนแรกพระคัมภีร์ หรือส่วนปฐมกาลเขียนไว้ว่า...

"...พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้คล้ายพระองค์ ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง" ทำให้นักวิชาการผู้ศึกษาไบเบิลหลายคนตั้งคำถาม "หรือพระเจ้าเองมีทั้งความเป็นชายและหญิงอยู่ในตัว?"

หากพระเจ้าได้สร้างมนุษย์ผู้ชายคนแรกขึ้นจากดิน ซึ่งนั้นก็คือ 'อดัม' และต่อมาก็ได้ใช้กระดูกซี่โครงของอดัมสร้าง 'อีฟ' นั่นจึงหมายความว่าทั้ง 'บุรุษ' และ 'สตรี' เคยเป็นหนึ่งเนื้อนาบุญเดียวกันมาก่อนใช่หรือไม่?

เรื่องดังกล่าวสอดคล้องต้องกันกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่สังฆอริยเจ้า 'พระพรหมคุณาภรณ์' (ป.อ. ปยุตฺโต) เคยเทศนาไว้ "...ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า แต่ละคนเกิดเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้าง หมุนเวียนไป แล้วแต่กรรมของตน ในแง่นี้ทุกคนเป็นมนุษย์ จึงไม่มีอะไรต่างกัน เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายจึงมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ส่วนการที่เรามามองแยกเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชายนี้ เป็นการมองในช่วงเวลาสั้นๆ ระยะหนึ่งๆ หรือเฉพาะหน้า แต่ความจริงแต่ละคนก็มีทั้งความเป็นหญิงและความเป็นชาย ที่จะเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ"

เมื่อเป็นเช่นนั้นจริง ปัจจุบันใยบุรุษจึงตั้งตนเป็นใหญ่ในโลก!!

หลังผ่านพ้นยุคหิน โลกโบราณถูกปกครองโดยนักรบ (กษัตริย์) ตามกลไกธรรมชาติซึ่งผู้แข็งแรงกว่าย่อมมีอำนาจดูแล ปกป้อง ผู้ด้อยกว่า ซึ่งในที่นี้ก็คือ สตรี (และเด็ก) นั่นเอง จึงไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าบุรุษยุคโน้นข่มเหงสตรี เพียงแต่เพศมีความสำคัญต่างกัน ชายออกรบ ล่า แสวงหาอาหาร (ความมั่นคง) ส่วนหญิงก็ดำรงบทบาทระดับสังคมย่อยลงมา อาทิ ดูแลบ้านช่องและกิจการภายในยามผู้นำออกศึกทุกกรณี

คาดว่าค่านิยมดูแคลนสตรีเพศเริ่มต้นมาจากการบิดเบือนคำสอนตามพระคัมภีร์ต่างๆ หลายกรรมหลากวาระ หวังสร้างความวุ่นวายเพื่อแย่งชิงอำนาจ แม้ในพระไตรปิฎกก็มีเป็นต้น "...ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้ไม่น่ายินดี เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีเขตแดน มีแต่ความกำหนัด คึกคะนอง ไม่มีเลือก เหมือนกับไฟที่ไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง" ตรงข้ามกับความจริงจากพระพุทธโอษฐ์

‘UN’ เผย ‘เด็ก-สตรี’ ถูกฆ่าตายเกือบ 8.9 หมื่นคนในปี 2022 ร้อยละ 55 เป็นฝีมือคนในครอบครัว สะท้อน ‘บ้าน’ ไม่ใช่ที่ปลอดภัย

เมื่อวานนี้ (22 พ.ย. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ผลการวิจัยใหม่จากสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยว่ามีผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลกถูกฆ่าในปี 2022 เกือบ 89,000 ราย ซึ่งถือเป็นตัวเลขรายปีที่สูงที่สุดในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา

รายงานจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ชี้ว่าเหตุจูงใจฆาตกรรมผู้หญิง (femicide) เพิ่มขึ้น แม้เหตุฆาตกรรมโดยรวมลดลง

ร้อยละ 55 ของเหตุจูงใจฆาตกรรมผู้หญิงในปี 2022 มาจากฝีมือสมาชิกครอบครัวหรือคู่ชีวิต ขณะร้อยละ 12 ของเหตุฆาตกรรมผู้ชายเกิดขึ้นที่บ้าน ซึ่งจุดต่างนี้ตอกย้ำว่า ‘บ้าน’ ห่างไกลจากการเป็นพื้นที่ปลอดภัยของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง

กาดา วาลี ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานฯ กล่าวว่าเหตุจูงใจฆาตกรรมผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจเป็นเครื่องเตือนใจว่ามนุษยชาติยังคงต้องต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมที่หยั่งรากลึกและความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง

วาลีเสริมว่ารัฐบาลต่าง ๆ ต้องลงทุนในกลุ่มสถาบันที่มีความครอบคลุมและความพร้อมมากขึ้นเพื่อยุติการยกเว้นโทษ เสริมสร้างเกราะป้องกัน และช่วยเหลือเหยื่อ เริ่มตั้งแต่ผู้รับมือแนวหน้าจนถึงฝ่ายตุลาการ เพื่อยุติความรุนแรงก่อนสายเกินไป

มอบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ให้กับสตรี ที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจร เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) มอบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ให้กับสตรี ที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจร เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมดไป ดังจะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ ให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น "วันสตรีสากล" จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะ มุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา ทุกวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักและเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล และยังได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล ทั้งนี้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ อีกด้วย

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์  หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบ งานด้านความมั่นคง และงานจราจร และในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้เล็งเห็นความสำคัญ ถึงบทบาท หน้าที่ของสตรี ในยุคปัจจุบัน ที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี จึงมีแนวคิดที่จะมอบประกาศเกียรติคุณให้กับข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น ,ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น และสตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรีดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับสตรี เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) โดยได้ให้หน่วยงาน เสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ และมีผลการปฏิบัติงานเป็นที่ประจักษ์  ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก  โดยมีผู้ที่ได้รับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ  เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ดังนี้

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น ได้แก่
พ.ต.อ.หญิง กษิรานิษฐ์ เตชิตวรเศรษฐ์  รอง ผบก.สก.สกพ.(ฝอ.ศพดส.ตร.)
พ.ต.อ.หญิง จรีย์วรรณ พุทธานุรักษ์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.ภ.5
พ.ต.ท.หญิง จารุวรรณ มากยงค์ รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองระนอง ภ.จว.ระนอง
พ.ต.ท.หญิง ชมภูนุช อนันตญากุล รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.ป่าตอง ภ.จว.ภูเก็ต
พ.ต.ท.หญิง ฐิติพร เรืองรอด รอง ผกก.วป.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง เมธาวรินทร์ เอี่ยมชู  รอง ผกก.ปพ.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง ชนัญชิดา ตุ่ยสิมา สว.(สอบสวน) กก.6 บก.ปคม.
พ.ต.ท.หญิง พรรัมภา พัฒนาวาท สว.กก.ดส.
ว่าที่ พ.ต.ต.หญิง ภูษณิศา จันทรรัชภ์ สว.(สอบสวน) สภ.เมืองเพชรบุรี ภ.จว.เพชรบุรี
ร.ต.อ.หญิง ขวัญดาว หิรัญ รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
ร.ต.อ.หญิง พิสมัย วิชัยศร รอง สว.กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.4 (ชป.TICAC ภ.4)
ร.ต.อ.หญิง พรรณวดี เกสร  รอง สว.(สอบสวน) กตค.บก.กค.ภ.4
ร.ต.ท.หญิง ณัฐวดี ศรีคำสุข รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
จ.ส.ต.หญิง ทิพยรัตน์  สมสวัสดิ์ ผบ.หมู่ 1 กก.สืบสวน 2 บก.สส.ภ.4 (ชป.TICAC ภ.4)    

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น ได้แก่
พ.ต.ท.หญิง ปวีณา  ชุมฤทธิ์ สว.จร.สภ.เมืองภูเก็ต
ร.ต.อ.หญิง เนตรนฤมนต์  ปล้องใหม่ รอง สว.ป.สภ.กงหรา ภ.จว.พัทลุง
ร.ต.อ.หญิง สุชิรา  ยะโกะ รอง สว.(สอบสวน) สภ.เบตง ภ.จว.ยะลา
ร.ต.อ.หญิง ธวัลรัตน์  เอี่ยววิบูลธนกิจ รอง สว.จร.สภ.บางละมุง ภ.จว.ชลบุรี
ร.ต.ท.หญิง กุลภัสสร์สรณ์  นิลวรรณ รอง สว.(ป.) สน.บางรัก
จ.ส.ต.หญิง มัลลิกา  รามบุตรดี ผบ.หมู่ (ป.) สภ.โนนศิลา ภ.จว.ขอนแก่น
จ.ส.ต.หญิง บุษบา  กำเลิศภู  ผบ.หมู่ (ป.) สภ.เมืองอุดรธานี ภ.จว.อุดรธานี
จ.ส.ต.หญิง สิริยุพา  ศิริวัจนพร ผบ.หมู่ (ป.) สภ.หนองสองห้อง ภ.จว.ขอนแก่น
สตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรีดีเด่น ได้แก่
นางอภิญญา  ทาจิตต์  Stella Maris
น.ส.ณัฐกานต์  โนรี  โครงการสปริง มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม
น.ส.นันทิรา  ศิริราช  มูลนิธิเพื่ออิสรภาพ ( The Exsodus Road)
นางวีรวรรณ  มอสบี้  โครงการฮัก ภายใต้มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว
น.ส.พรนิภา  คำสม  มูลนิธิเพื่อความเข้าใจเด็ก (FOCUS)
น.ส.พรรณรัชฏ์ ยุทธวารีชัย  องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.พชรลิตา  หรรษคุณาฒัย องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.นันท์นารี  หลวงมอย  มูลนิธิศูนย์เพื่อน้องหญิง

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า สตรีที่ได้รับรับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติจากศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ในครั้งนี้ เป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถ มีความเสียสละในการปฏิบัติงาน ทั้งด้านงานจราจร และด้านงานปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรี  ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เล็งเห็นความสำคัญ และสิทธิความเท่าเทียมของสตรี มาโดยตลอด ซึ่งในปัจจุบันสตรีเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานในสายอาชีพต่าง ๆ เช่น หมอ ตำรวจ ทหาร เป็นต้น จากอาชีพที่ยกตัวอย่างมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่ส่วนใหญ่เพศชายมักจะทำกันทั้งสิ้น แต่สตรีก็สามารถทำงานสายนี้ได้เช่นกัน และอีกส่วนที่สำคัญ คือ สตรีที่ทำหน้าที่องค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ที่มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็ก และสตรี ด้วยกันเอง มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเหลือ คุ้มครอง และเพิ่มบทบาทให้กับสตรีในสังคมไทย สุดท้ายนี้ ขอแสดงความยินดี กับสตรีที่ได้รับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) จาก ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) ด้วยอีกครั้งนึง…

รรท.รอง ผบ.ตร. ขับเคลื่อนงานพิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง ยกระดับกระบวนการคัดกรองบุคคลกลุ่มเสี่ยงเหยื่อค้ามนุษย์

วันนี้ ที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.รอง ผบ.ตร.(มค) เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาล ที่ตระหนักและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดเกี่ยวกับเด็ก สตรี ครอบครัว และภาคประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ พร้อมกับการนำประเทศไทยไปสู่ระดับ Tier 1 โดยมุ่งหวังให้ ตร. มีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้นำนโยบายรัฐบาล มาสู่การปฏิบัติ โดยจัดตั้งศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) และมอบหมายให้ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.รอง ผบ.ตร.(มค) เป็น ผอ.ศพดส.ตร. เพื่อขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

พล.ต.ท.ประจวบฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกระบวนการคัดกรองบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ ณ ฝ่ายตรวจคนเข้าเมืองขาเข้าและฝ่ายพิธีการเข้าเมือง ชั้น 2 อาคารผู้โดยสารขาเข้า (โซน 1) และฝ่ายตรวจคนเข้าเมืองขาออก ชั้น 4 อาคารผู้โดยสารขาออก (โซน 2) ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จว.สมุทรปราการ โดยมี ผู้แทน บก.ตม.2 และ ผกก.ในสังกัด ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าร่วม โดยได้กำชับให้ยึดถือขั้นตอนการปฏิบัติตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ หรือ NRM (National Referral Mechanism) ยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง (Victim-Centered Approach) คำนึงถึงบาดแผลทางใจของผู้เสียหาย(Trauma Informed Care) และเน้นย้ำไม่ให้เจ้าหน้าที่ทุกนาย เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ผิดกฎหมายโดยเด็ดขาด           

พล.ต.ท.ประจวบฯ กล่าวว่า พฤติกรรมที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ที่อาจพบได้ในสนามบิน มีหลายประการ เช่น การถูกหลอกลวงไปทำงาน การถูกหลอกลวงไปค้าประเวณี การเดินทางเข้ามาเป็นขอทานในประเทศไทย การถูกหลอกลวงโดยแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ การถูกหลอกลวงเรียกค่าไถ่เสมือนหรือถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อเรียกค่าไถ่โดยตรง โดยมีกระบวนการขึ้น Watch List และควบคุมแรงงานไทยที่เคยเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ คือ กต.ส่งข้อมูลแรงงานไทยที่เคยขอความช่วยเหลือกลับประเทศไทย เนื่องจากตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ให้กับ สตม. ตรวจสอบข้อมูลเปรียบเทียบกับข้อมูลผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์ เมื่อพบว่าเคยเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มาก่อน จะดำเนินการขึ้น Watch List เมื่อฝ่ายตรวจคนเข้าเมืองขาออก หรือด่าน ตม.ทอ.พบบุคคลตาม Watch List จะแจ้ง ฝ่ายสืบสวน ด่าน ตม.ทอ. นั้นๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนหางานทำการคัดกรอง ขั้นตอนของกระบวนการคัดกรองต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนที่เข้มงวด โดยมีจุดประสงค์ในการแก้ไขปัญหา เป็นทางผ่านของกลุ่มบุคคลที่จะเดินทางออกไปยังประเทศที่สาม ที่จะไปประกอบอาชีพผิดกฎหมายหรือเข้าข่ายเรื่องของการค้ามนุษย์ ซึ่งกระบวนการคัดกรองเข้า-ออกราชณาจักรอย่างเข้มงวดถูกปฏิบัติมาแล้วอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว นอกจากนี้ยังพบว่าในพื้นที่ชายแดนประเทศไทย โดยเฉพาะในจุดด่านพรมแดน อ.แม่สอด จว.แม่ฮ่องสอน ก็เป็นพื้นที่ที่พบว่าเป็นจุดทางออกยอดนิยม ของบุคคลที่ต้องการเดินทางออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคาดว่าจะไปก่ออาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ และการค้ายาเสพติด ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งการอย่างเข้มงวดกวดขันในการตรวจสอบ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนกว่า 6,000 กิโลเมตร ที่ติดกับอีก 4 ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวคู่ขนานกับการคัดกรองเข้มงวดในพื้นที่ต้นทาง เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

พล.ต.ท.ประจวบฯ รรท.รอง ผบ.ตร. กล่าวทิ้งท้ายว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความมุ่งหวังว่าการระดมสรรพกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทุกภาคส่วน ในการเร่งรัดปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับเด็ก สตรี ครอบครัว การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมงจะประสบผลสำเร็จ ตอบสนองนโยบายรัฐบาล เสริมสร้างความเสมอภาค เท่าเทียม และรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภายใต้กรอบของกฎหมาย ประชาชนและสังคมมีความสงบเรียบร้อยสืบไป   


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top