Saturday, 26 April 2025
สงครามโลกครั้งที่สอง

วันนี้เมื่อ 78 ปีก่อน โลกได้จารึกปฏิบัติการยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตร เปิดฉากบุกยึดคืนฝรั่งเศส จากนาซี จนนำไปสู่การชนะศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด

6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 วันดี เดย์ (D Day) เป็นวันที่ทหารกองกำลังสัมพันธมิตร 156,000 นาย ส่วนใหญ่เป็นทหารอเมริกัน อังกฤษ และแคนาดา ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีเพื่อเริ่มปฏิบัติการปลดปล่อยประเทศที่ถูกนาซียึดครอง จึงเรียกว่าวันดีเดย์ (D-Day) ย่อมาจาก Deliverance Day ถือเป็นปฏิบัติการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เฉพาะวันแรกวันเดียวมีทหารล้มตายถึง 4,400 นาย

ยุทธการนี้ใช้เรือถึง 7,000 ลำ ลำเลียงกำลังพล 156,000 นาย และยานพาหนะ 10,000 คัน ไปยังหาดทั้ง 5 แห่งตามแนวชายฝั่งนอร์มังดี รวมถึงมีการสนับสนุนกองกำลังทางอากาศและทางเรือซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชัยชนะมาได้

แม้เวลาจะผ่านไปนานกว่า 7 ทศวรรษแล้ว แต่ “การรบที่นอร์มังดี” (The Battle of Normandy) ยังเป็นมรดกของประวัติศาสตร์สงครามที่นักการทหารยังต้องเรียนรู้เสมอ อีกทั้งยังปรากฏในรูปของภาพยนตร์ให้คนรุ่นหลังได้ชมกัน และอย่างน้อยก็ทำให้คนไทยคุ้นเคยกับคำว่า “ดี เดย์” นั่นเอง

6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมือง ฮิโรชิมะ ส่งผลญี่ปุ่นยอมแพ้ นำไปสู่การยุติสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงเช้าของวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เครื่องบิน B-29 ของสหรัฐ อเมริกา ได้ปล่อยระเบิดปรมาณู อาวุธที่คิดค้นขึ้นใหม่ใส่พื้นที่ของเมืองฮิโรชิมะ ของญี่ปุ่น ทำลายเมืองจนราบเป็นหน้ากลอง คร่าชีวิตผู้คนนับแสนคนในพริบตา ก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศยอมยุติสงครามในเวลาต่อมา

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐ อเมริกา ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้งระเบิดปรมาณู หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งมีชื่อเล่นเรียกว่า ลิตเติลบอย ใส่เมืองฮิโรชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย ‘แฟตแมน’ ระเบิดปรมาณูลูกที่สองใส่เมืองนางาซากิ นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม

6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ‘วันดี-เดย์’ (D-Day) ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี เพื่อปลดปล่อยประเทศที่ถูกนาซียึดครอง ใน WW2

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 เป็นวันที่กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรจากสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ แคนาดา และฝรั่งเศส ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี ชายฝั่งตอนเหนือของฝรั่งเศส เพื่อปลดปล่อยประเทศในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตกให้หลุดพ้นจากการยึดครองของกองทัพนาซี ในสงครามโลกครั้งที่สอง

โดยวันดังกล่าวถูกเรียกว่าวัน ‘ดี-เดย์’ (D-Day) ซึ่งย่อมาจาก ‘Deliverance Day’ มีความหมายว่าวันแห่งการปลดปล่อย ยุทธการในวันดีเดย์ถือเป็นการร่วมของทหารเรือ ทหารบก และทหารอากาศ ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด และมีรหัสที่ใช้เรียกยุทธการนี้ว่า ‘Overload’

ยุทธการในวันดีเดย์ใช้กำลังพลถึง 156,000 นาย พร้อมกับยานพาหนะ 10,000 คัน และเรืออีก 7,000 ลำขึ้นไปยังหาดทั้ง 5 แห่งตามแนวชายฝั่งนอร์มังดี ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลยหากขาดการสนับสนุนจากกองกำลังทางอากาศและทางเรือที่มีความแข็งแกร่งกว่าฝ่ายเยอรมันอยู่มาก สุดท้ายฝ่ายสัมพันธมิตรก็สามารถยกทัพจากแคว้นนอร์มังดีเข้าไปปลดปล่อยกรุงปารีสได้สำเร็จในช่วงปลายเดือนสิงหาคมในปีเดียวกัน

ซึ่งยุทธการในครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องสูญเสียกำลังพลไปถึง 4,400 นาย และบาดเจ็บหรือสูญหายกว่า 9,000 นาย ในขณะที่ฝ่ายเยอรมันมีตัวเลขการสูญเสียอย่างไม่แน่ชัดอยู่ที่ประมาณ 4,000-9,000 นาย นอกจากนี้ยังมีพลเรือนชาวฝรั่งเศสที่โดนลูกหลงจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรอีกหลายพันคนเช่นกัน

การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามโลกครั้งที่สอง และยังเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์สงครามที่โด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้เหตุการณ์วันดีเดย์ยังถูกนำมาถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง เช่น Saving Private Ryan, The Longest Day และ D-Day เป็นต้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top