Monday, 7 April 2025
ศาสนาคริสต์

‘รศ.ดร.วินัย’ ชี้!! ‘การฉลองปีใหม่’ แท้จริงถือกำเนิดขึ้นก่อนจะมีศาสนาคริสต์ จึงไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ‘ชาวมุสลิม’ สามารถร่วมฉลองได้

(27 ธ.ค. 66) รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘ความเป็นมาของการเฉลิมฉลอง ‘วันปีใหม่’ ในวันที่ 1 มกราคม’ ระบุว่า…

มีคำถามจากพวกเราถึงผมเป็นครั้งคราว เร็วๆ นี้ มีคำถามมาว่า การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากล เป็นประเพณีหรือพิธีกรรมในศาสนาคริสต์ใช่หรือไม่ หากใช่ การที่คนในศาสนาอื่นเข้าไปร่วมเฉลิมฉลอง จะผิดหลักการในศาสนาของตนเองหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘มุสลิม’ ก่อนจะตอบ เราควรเข้าใจก่อนว่าการนับวันเวลาเป็นสิ่งสมมุติ เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ โดยเป็นเช่นนั้นมาแต่โบราณแล้ว

การกำหนดวันปีใหม่สากลให้เป็นไปตามปฏิทินสุริยคติคือ ‘วันที่ 1 มกราคมของทุกปี’ เรื่องนี้เริ่มโดยชาวโรมันมานานนับพันปีแล้ว โดยก่อนหน้านั้น ชนโบราณ ทั้งบาบิโลน จีน อินเดีย กำหนดวันปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติมาก่อนชาวโรมันเสียด้วยซ้ำ โดยกำหนดไว้ว่า ‘วันขึ้นปีใหม่’ คือ วันเริ่มต้นการเพาะปลูก ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงพฤษภาคม ชาวจีนกำหนดวันตรุษจีนไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวอินเดียกำหนดวันสงกรานต์ในเดือนเมษายน ส่วนชาวบาบิโลนเฉลิมฉลองวันเริ่มเพาะปลูกในเดือนมีนาคม

กระทั่งถึงปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล ‘จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์’ แห่งจักรวรรดิโรมัน เห็นว่าช่วงฤดูหนาวคือ เดือนธันวาคมถึงมกราคม อากาศหนาวเหน็บ บรรยากาศหดหู่ ผู้คนซึมเศร้า ว้าเหว่ จึงย้ายวันปีใหม่จากช่วงฤดูเก็บเกี่ยวที่สดใสไปเป็นฤดูหนาว เพื่อให้ผู้คนในจักรวรรดิได้รื่นเริงกันบ้าง การกำหนดวันปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 มกราคมจึงเริ่มต้นในปีนั้น วันปีใหม่จึงเกิดขึ้นก่อนการมาของคริสต์ศาสนา การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในบางชุมชนอาจมีพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาปนบ้าง แต่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์อย่างแน่นอน

ชนคริสต์ในจักรวรรดิโรมันกว่าจะยอมรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ก็ล่วงเลยมาถึง ค.ศ. 313 แล้ว เหตุที่ก่อนหน้านั้นไม่ยอมรับก็เนื่องจากเห็นว่า การฉลองปีใหม่เป็นกิจกรรมของคนนอกศาสนา ต่อเมื่อเข้าใจได้ว่า วันเวลาคือความเป็นสากลไม่เกี่ยวข้องกับศาสนานั่นแหละจึงยอมรับ นอกจากนี้ ชาวคริสต์ในแต่ละนิกายยังเริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ไม่ตรงกัน ที่น่าสังเกตคือ ไม่มีชนกลุ่มใดยึดถือว่าวันปีใหม่เป็นวันสำคัญทางศาสนา การเฉลิมฉลองจะเป็นไปในลักษณะใด เอาศาสนามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ให้ขึ้นกับแต่ละสังคมเป็นสำคัญ

ในประเทศมุสลิมปัจจุบัน การนับถอยหลัง หรือ ‘เคาท์ดาวน์’ ตอนเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม มีให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ที่อาคารทวินทาวเวอร์ในกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย หรืออาคารเบิร์จคาลิฟาของดูไบ ยูเออี และในอีกหลายประเทศมุสลิม นั่นเป็นเพราะวันปีใหม่ไม่ใช่การเฉลิมฉลองทางศาสนา

ส่วนประเด็นที่มีมุสลิมบางคนเข้าใจว่าวันที่ 1 มกราคม เกี่ยวข้องกับการสูญเสีย ‘กรานาดา’ หรือ ‘ฆัรนาเฎาะฮฺ’ ของจักรวรรดิมุสลิมให้แก่จักรวรรดิคริสต์ในสเปน เหตุการณ์นั้นเกิดในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1492 ไม่เกี่ยวข้องกับวันปีใหม่ ที่อธิบายมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่า จะแนะนำให้มุสลิมฉลองวันปีใหม่ สังคมมุสลิมมีวันเฉลิมฉลองอยู่แล้ว คือ ‘วันอิดิลอัฎฮาและอิดิลฟิตริ’ การเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยงเลียนแบบคนอื่นในวันอื่นคงไม่เหมาะ ส่วนใครจะฉลองคงไม่มีใครตำหนิ

'เหล่าคนดัง-บิชอป' ประณาม!! การแสดงช่วงหนึ่งในพิธีเปิดโอลิมปิก หลังล้อเลียนภาพอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ด้วยธีม LGBTQ

(28 ก.ค. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'Jaroensook Limbanchongkit Pone' ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับหลายภาคส่วนที่มีความกังวลใจและไม่พอใจกับเนื้อหาบางส่วนในพิธีเปิดโอลิมปิก 2024 ที่ฝรั่งเศส ระบุว่า...
.
บรรดาบิชอป (Bishop) ใน #ฝรั่งเศส ออกแถลงการณ์ประณามพิธีเปิด #โอลิมปิก2024 ที่ตั้งใจ 'ล้อเลียนศาสนาคริสต์' (French bishops condemn Olympic ‘mockery of Christianity)
.
โดยเหล่าบิชอป ประณามผู้จัดงานโอลิมปิกเกมส์จากการล้อเลียนภาพอาหารมื้อสุดท้ายในธีม LGBTQ ในระหว่างพิธีเปิดการแข่งขัน ที่ผู้จัดงานอ้างว่า การแสดงดังกล่าวสะท้อน 'คุณค่าและหลักการ' ของพวกเขา
.
ทั้งนี้ พิธีดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นที่ใจกลางกรุงปารีสเมื่อคืนวันศุกร์ (26) ได้ปิดท้ายด้วยคณะแดร็กควีน คนรักร่วมเพศ และบุคคลข้ามเพศที่วางตัวที่โต๊ะ เหมือนกับฉากหนึ่งที่พระเยซูคริสต์และอัครสาวกของพระองค์ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง 'The Last Supper' ของเลโอนาร์โด ดาวินชี 
.
โดยหลังจากนั้นจานเสิร์ฟขนาดยักษ์ ที่ปรากฏร่างของชายเปลือย ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับไดโอนีซัส (Dionysus) เทพเจ้าแห่งไวน์และการเฉลิมฉลองของกรีก ได้ถูกเลื่อนออกไปที่หน้าโต๊ะ และตลอดการแสดง สามารถมองเห็นลูกอัณฑะของนักเต้นชายที่โผล่ออกมาด้านหลังโต๊ะ
.
“พิธีนี้น่าเสียดายที่มีฉากที่ศาสนาคริสต์ถูกล้อเลียนและเยาะเย้ย ซึ่งเราเสียใจอย่างสุดซึ้ง” การประชุมเหล่าบิชอป ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ (27)
.
“เราขอขอบคุณสมาชิกของนิกายทางศาสนาอื่นๆ ที่ได้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเรา” ถ้อยคำหนึ่งจากคำแถลงดังกล่าวเผยและว่า “เช้านี้เรานึกถึงชาวคริสต์ทุกคนในทุกทวีปที่ได้รับบาดเจ็บจากฉากบางฉากที่เกินจริงและยั่วยุ”
.
ด้าน บิชอป โรเบิร์ต บาร์รอน แห่งมินนิโซตา เผยด้วยว่า "พิธีเปิดดังกล่าวถูกประณามโดยชาวคริสเตียนและกลุ่มอนุรักษ์นิยมทั่วโลก เพราะการแสดงนี้ ถือว่าเป็น 'การเยาะเย้ยอาหารมื้อสุดท้าย' อย่างเลวร้าย" ในขณะที่รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี มัตเตโอ ซัลวินีประกาศว่า "การเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยการดูหมิ่นคริสเตียนหลายพันล้านคนทั่วโลกถือเป็นการเริ่มต้นที่แย่มากสำหรับฝรั่งเศส"
.
ฟาก Elon Musk ซีอีโอของ SpaceX และ Tesla ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์นี้ว่า "เป็นการไม่เคารพคริสเตียนอย่างยิ่ง" ในขณะที่ Dr. Eli David ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี เผยว่า "แม้จะเป็นชาวยิว แต่เขาก็คงรู้สึกโกรธเคืองกับการดูถูกเหยียดหยามพระเยซูและศาสนาคริสต์อย่างอุกอาจ"
.
ขณะที่ บริษัทโทรคมนาคม C Spire ผู้ให้บริการไร้สายรายใหญ่อันดับหกในสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศถอนโฆษณาทั้งหมดออกจากการแข่งขันกีฬา #โอลิมปิก2024 เหตุสุดทนที่ผู้จัดงานได้จัดแสดงเยาะเย้ยศาสนาคริสต์ในช่วงพิธีเปิดการแข่งขัน
.
“เราตกใจมากกับการเยาะเย้ยพระกระยาหารมื้อสุดท้ายระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส C Spire จะถอนโฆษณาของเราออกจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก” C Spire ประกาศบนแพลตฟอร์ม X
 

บัญชีอย่างเป็นทางการ ‘โอลิมปิก’ ได้ลบคลิปพิธีเปิด ‘ปารีสเกมส์’ หลังทั่วโลก เดือด!! ไม่พอใจ ‘ล้อเลียน-ดูหมิ่น’ ศาสนาคริสต์

(29 ก.ค. 67) บัญชีอย่างเป็นทางการของโอลิมปิกได้ลบคลิปพิธีเปิดปารีสเกมส์ 2024 ออกจากช่องยูทูบของพวกเขา ตามหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างกวาง โดนไฟย้อนศรจากทั่วโลก จากรณีที่ปล่อยให้มีการแสดงล้อเลียนภาพวาดชื่อดัง The Last Suppe (พระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูในศาสนาคริสต์) โดยกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกชาวคริสเตียนมองว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนา

พวกผู้ชมที่พยายามเข้าถึงวิดีโอนี้ต้องเจอกับข้อความที่เน้นว่า ‘ไม่มีวิดีโอนี้’ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นทั้งคณะกรรมการโอลิมปิก หรือฝ่ายจัดปารีสเกมส์ 2024 ต่างยังไม่ออกมาชี้แจงใดๆ ต่อการลบคลิปดังกล่าว

ในพิธีเปิด ซึ่งนำเสนอในรูปแบบแปลกแหวกแนว มีตัวแสดงที่หลากหลายเข้าร่วม ในนั้นรวมถึงนางแบบ นายแบบ แดนเซอร์ บุคคลที่มีชื่อเสียงด้านแฟชั่น รวมถึงแดร็กควีน แต่หนึ่งในส่วนอันเป็นที่ถกเถียงมากที่สุดคือฉากล้อเลียนพระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูในศาสนาคริสต์ ตามภาพวาด ‘The Last Supper’ ของเลโอนาร์โด ดาวินชี ซึ่งโหมกระพือไฟย้อนศรอย่างหนัก

‘พิธีนี้น่าเสียดายที่มีฉากที่ศาสนาคริสต์ถูกล้อเลียนและเยาะเย้ย ซึ่งเราเสียใจอย่างสุดซึ้ง’ การประชุมเหล่าบิชอป ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ (27 ก.ค.) ‘เราขอขอบคุณสมาชิกของนิกายทางศาสนาอื่นๆ ที่ได้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเรา’ ถ้อยคำหนึ่งจากคำแถลงดังกล่าวและว่า ‘เช้านี้เรานึกถึงชาวคริสต์ทุกคนในทุกทวีปที่เจ็บปวดจากฉากบางฉากที่เกินจริงและยั่วยุ’

บิชอป เอ็มมานูเอล โกบิลลาร์ด โฆษกตัวแทนกลุ่ม Holy See for the 2024 Paris Olympics ให้สัมภาษณ์กับเอ็นบีซีนิวส์ ว่าฉากการดัดแปลงภาพ The Last Supper สร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก

ข้อเท็จจริงคือศาสนาของเราอาจถูกล้อเลียนเป็นปกติและเราเคยชินกับการถูกดูหมิ่นในฝรั่งเศส แต่ในบริบทนี้ไม่เหมือนกัน พระองค์กล่าว มันคือมหกรรมที่นำพาผู้คนทั่วโลกหรือบางส่วนของประชากรโลกมาเป็นหนึ่งเดียวกัน ข้าพเจ้าพบว่าการแสดงนี้เจ็บปวดอย่างที่สุดและอยู่ผิดทิศผิดทาง

ต่อมา หลังจากถูกวิพากษิวิจารณ์อย่างหนัก แอนน์ เดส์ช็องป์ส โฆษกปารีสเกมส์ 2024 เผยแพร่ถ้อยแถลงขอโทษ อธิบายว่าพวกเขาไม่เคยมีเจตนาแสดงความไม่เคารพต่อกลุ่มศาสนาไหนๆ และแสดงความเสียใจที่การแสดงดังกล่าวก่อความขุ่นเคืองใดๆ

ด้วยคลิปที่มีภาพฉากอันเป็นที่ถกเถียงถูกลบไปแล้วและบางคลิปของพิธีเปิดถูกปิดไม่ให้แสดงความคิดเห็น ผู้คนบนสื่อสังคมออนไลน์จึงไหลบ่ากันไปยังวิดีโอพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อนๆ ในนั้นรวมถึงลอนดอน 2012 และโซชิเกมส์ปี 2014 ซึ่งทั้ง 2 ครั้ง ย้อนให้เห็นถึงแนวทางที่ทำให้พิธิเปิดประสบความสำเร็จ และแสดงความผิดหวังต่อพิธีเปิดของปารีสเกมส์

อีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลาและแพลตฟอร์มเอ็กซ์ เป็นหนึ่งในคนดังที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ โดยบอกว่า หากไม่มีความกล้าหาญที่จะยืนหยัดเพื่อสิ่งที่ยุติธรรมและถูกต้องมากขึ้น ศาสนาคริสต์ก็จะพินาศไป

พอมีชาวเน็ตเขียนก่อกวนและล้อเลียนพระเยซูว่า หากคุณกำลังจะกลับไปเกิดใหม่อีกครั้งเราพร้อมเสมอที่จะช่วยคุณ ทาง อีลอน มัสก์ เขียนตอบโต้กลับไปว่า ผมเชื่อในหลักการของศาสนาคริสต์ เช่น รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง หมายถึง มีความเห็นอกเห็นใจกับทุกคน และหันแก้มอีกข้างให้ หมายถึง ยุติวัฏจักรแห่งการจองเวรซึ่งกันและกัน

แม้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แต่ฝ่ายสร้างสรรค์การแสดงชุดดังกล่าวออกมาปกป้องตนเอง โดยบอกว่า มันจะไปสนุกอะไรถ้าไม่มีประเด็นถกเถียง มันคงจะน่าเบื่อน่าดู หากทุกๆ คนบนโลกครั้งเห็นพ้องตรงกันหมด

นอกจากบุคคลทั่วไปและในแวดวงศาสนาแล้ว การแสดงในพิธีเปิดปารีสเกมส์ ยังถูกตำหนิจากบรรดาสื่อมวลชนกระแสหลัก ในนั้นรวมถึงนิวยอร์กไทม์สและนิวยอร์กโพสต์ ซึ่งสำนักข่าวหลังให้คำจำกัดความว่าเป็นพิธีเปิดที่ น่าเบื่อ คิดไม่ดีและไม่ปะติดปะต่อ ส่วน Le Figaro หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส บอกว่าการแสดงมีความทะเยอทะยาน แต่ยอมรับว่าบางองค์ประกอบนั้นเลยเถิดจนเกินไป

.
 

‘โนวัค โยโควิช’ นักเทนนิสระดับโลก โชว์ ไม้กางเขนคริสเตียน อย่างภาคภูมิใจ เพื่อส่งสารอันทรงพลัง ท่ามกลางความขัดแย้ง กรณี ‘พิธีเปิดโอลิมปิก’ ที่ปารีส

(29 ก.ค. 67) โนวัค โยโควิช นักเทนนิสระดับโลกชาวเซอร์เบีย ส่งข้อความอันทรงพลังด้วย #ไม้กางเขนคริสเตียน (CHRISTIAN CROSS) ใน #โอลิมปิก ที่ #ปารีส

โนวัค โยโควิช แชมป์เทนนิสโชว์ไม้กางเขนคริสเตียนอย่างภาคภูมิใจระหว่างโอลิมปิกที่ปารีส ส่งสารอันทรงพลังท่ามกลางความขัดแย้ง
โอลิมปิกที่ปารีสเผชิญกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากข้อกล่าวหาล้อเลียนศาสนาคริสต์ระหว่างพิธีเปิด

นอกจากนี้ งานนี้ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้ DMCA (Digital Millennium Copyright Act หรือรัฐบัญญัติลิขสิทธิ์แห่งสหัสวรรษดิจิทัล) เป็นอาวุธเพื่อลบโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top