Monday, 20 May 2024
ศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรมประกาศ!! ห้ามใช้ ‘กัญชง-กัญชา’ ในศาล

(12 ก.ค. 65) นายจีระพัฒน์ พันธุ์ทวี เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกประกาศ เรื่อง มาตรการควบคุมการใช้สมุนไพรกัญชา สารสกัดจากกัญชา กัญชง และพืชในตระกูล Cannabis ความว่า... 

เรียน หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 16 มิ.ย. 65 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้ การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 65 เพื่อประกาศให้กัญชาและกัญชงเป็นสมุนไพรควบคุมและควบคุมการใช้ พืชสมุนไพรดังกล่าวในทางไม่เหมาะสม

‘ดร.อานนท์’ ยกคำแถลง ‘ศาลฯ VS บุ้ง ทะลุวัง’ ตั้งคำถามเชื่อใคร? ปมเตะ จนท.ศาล โดนสวนจนได้เลือด ต่างฝ่ายอ้าง ‘ถูกทำร้ายก่อน’

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 66 เพจเฟซบุ๊ก ‘Arnond Sakworawich’ ของ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้โพสต์แถลงการณ์ของศาลฯ และ ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เปรียบเทียบ พร้อมระบุว่า…

“เชื่อคำแถลงศาลฯ หรือคำแถลงของบุ้ง ทะลุวังครับ?”

ขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊ก ‘ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน’ ได้โพสต์ภาพ พร้อมข้อความระบุว่า…

“อ่านลำดับเหตุการณ์ แถลงการณ์ข้อเท็จจริงจากกลุ่มทะลุวัง และแถลงการณ์จากศาลยุติธรรม กรณี ‘บุ้ง เนติพร’ นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจศาลฟาดด้วยดิ้วเหล็กจนบาดเจ็บเลือดออก

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 เวลาประมาณ 11.30 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รับแจ้งว่า ‘บุ้ง เนติพร’ (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง ถูกตำรวจศาลทำร้ายร่างกาย โดยใช้ดิ้วเหล็กตีเข้าที่บริเวณข้อศอกจนเกิดอาการบาดเจ็บ จากกรณีที่ ‘หยก’ พยายามเข้าไปพูดคุยกับ ‘โฟล์ค-สหรัฐ สุขคำหล้า’ อดีตสามเณร ที่ถูกควบคุมตัวระหว่างรอฟังคำสั่งประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ หลังศาลพิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในคดีมาตรา 112 จากการปราศรัยพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการชุมนุม ‘บ๊ายบายไดโนเสาร์’ ของกลุ่มนักเรียนเลว ที่สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563

ก่อนหน้านี้ เวลา 09.00 น. บุ้ง และสมาชิกกลุ่มทะลุวัง พร้อมกับหยก นักกิจกรรมเยาวชนวัย 15 ปี ได้เดินทางไปร่วมฟังคำพิพากษาด้วย ซึ่งภายหลังศาลมีคำพิพากษา โฟล์คได้ถูกนำตัวไปควบคุมอยู่ที่ห้องขังใต้ถุนศาล

ในเวลาประมาณ 10.30 น. บุ้งและหยกได้พยายามปีนรั้วที่บริเวณข้างห้องขังใต้ถุนศาล เพื่อพูดคุยสอบถามว่าโฟล์คต้องการรับประทานอาหารอะไรในระหว่างรอฟังคำสั่งประกันตัวหรือไม่ และสอบถามเรื่องรายชื่อที่เขาต้องการให้เข้าเยี่ยมในเรือนจำ ในกรณีที่เขาอาจไม่ได้รับการประกันตัว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 11.18 น. ศูนย์ทนายฯ ได้รับรายงานจากบุ้งว่ามีตำรวจศาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) รวม 2 นาย ได้เดินเข้ามากันไม่ให้หยก ซึ่งปีนรั้วเข้าไปในบริเวณหน้าต่างห้องขังได้พูดคุยกับโฟล์ค โดยกล่าวว่าหากพวกเธอไม่หยุดการกระทำ เขาจะดำเนินการแจ้งละเมิดอำนาจศาล ในขณะที่บุ้งอยู่บริเวณรั้วได้พยายามเจรจาว่า พวกเธอแค่จะพูดคุยรายละเอียดเรื่องการเยี่ยมญาติ หากโฟล์คไม่ได้ประกันตัวเท่านั้น และเมื่อได้ข้อมูลก็จะกลับกันแล้ว

ทั้งนี้ ตำรวจศาลยังคงไม่ยอมให้พวกเธอได้พูดคุยกับจำเลย และบอกให้พวกเธอออกมาจากบริเวณรั้วห้องขังใต้ถุนศาล ก่อนที่จะเข้าแตะตัวหยก ทำให้บุ้งต้องดึงตัวตำรวจศาลไว้ เพื่อให้หยกสลัดตัวออกจากเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวได้ บุ้งบอกว่า ในระหว่างนั้นเธอโดนสกัดจาก รปภ. โดยเขาทุบที่แขนและหลังเธอตลอดระยะเวลาที่เธอพยายามกันไม่ให้ตำรวจศาลเข้าจับตัวหยก

ต่อมา เมื่อนักกิจกรรมทั้ง 2 ราย สลัดตัวออกจากเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 นายได้แล้ว พวกเธอได้พยายามเดินไปพูดคุยกับตำรวจศาลที่เข้ามาแตะตัวหยก เพื่อต้องการสอบถามว่าเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวมีชื่อว่าอะไร เพราะต้องการจะรู้ว่า มีอำนาจในการแจ้งละเมิดอำนาจศาลจริงอย่างที่ข่มขู่กันหรือไม่

เมื่อถามถึงเหตุการณ์ในคลิปวิดีโอในช่วงที่บุ้งเตะเข้าที่ต้นขาของตำรวจศาล เธอเปิดเผยว่า อันที่จริงมีเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่เจ้าหน้าที่เริ่มกระทำกับเธอก่อน โดยเขาได้ชกเข้าที่บริเวณหัวไหล่ของเธอ ทำให้เธอรู้สึกเจ็บและโมโห และเริ่มทะเลาะวิวาทกันบริเวณป้อมยามทางออกของศาลอาญากรุงเทพใต้

ซึ่งในระหว่างที่มีปากเสียงกัน และบุ้งยกเท้าเตะใส่ตำรวจศาลนั้น ตำรวจศาลก็ใช้ดิ้วเหล็กที่ถืออยู่ในมือตีเข้าที่บริเวณศอก จนทำให้เกิดแผลและมีเลือดไหลตลอดเวลา”

ทั้งนี้ ทางด้านสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ออกมาชี้แจง ว่า เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล ตามหลักสากล เพื่อให้การดำเนินงานของศาล สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนทุกคนได้สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปจะเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดกล้องวงจรปิดในบริเวณศาลสามารถบันทึกไว้ได้

ซึ่งได้มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมากมาย อาทิ หลักฐานชัดเจนขนาดนั้นว่าทำร้ายเจ้าหน้าที่ก่อน ที่ผ่านมานางคนนี้โกหกประจำ เชื่อคำแถลงศาลค่ะ, เชื่อศาลค่ะอาจารย์, ศาลท่านดูตามจริง หรือบางคนบอกว่าดูจากคลิป ขออนุญาตเชื่อคำชี้แจงจากศาลครับ หรือ เชื่อคำชี้แจงของศาลครับผมและกล้องวงจรปิด และที่ว่า ใครว่า จนท. ทำไม่ถูก ผมเถียงขาดใจ เสียงออกจะแน่นขนาดนั้น ถึงกับชะงัก

‘การละเมิดอำนาจศาล’ พฤติกรรมน่าละอายที่ไม่ควรกระทำ ‘วิวาท-โวยวาย-ดูหมิ่น-ฝ่าฝืนกฎ’ เสี่ยงนอนคุกนาน 6 เดือน

ประชาชนทั่วไป ถ้าไม่มีความจำเป็นจริง ๆ คงไม่มีใครอยากไปศาล ถึงขนาดมีคำกล่าวที่ว่า ‘ให้กินของไม่ดียังดีกว่าเป็นความหรือมีคดี’ อาจจะเพราะความเชื่อที่ว่า ไปศาลจะได้พบกับบรรยากาศที่น่ากลัว เข้มขลัง มีกฎระเบียบมากมาย หากไปเผลอทำผิดกฎต่าง ๆ ก็อาจจะมีความผิด

คำว่า ‘ศาล’ ในที่นี้มีความหมาย 2 อย่าง หมายถึงตัวผู้พิพากษา และยังหมายถึงสถานที่อันเป็นที่ตั้งของที่ทำการศาลยุติธรรม

การละเมิดอำนาจศาลนั้น หมายถึงการกระทำใด ๆ ที่ไปทำให้ เกิดความวุ่นวาย หรือความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเกิดภายในบริเวณศาล หรือเกิดขึ้นภายนอกบริเวณศาล แต่ส่งผลให้เกิดความวุ่นวาย หรือความไม่เรียบร้อยต่อกระบวนการพิจารณาคดีของศาล

กฎหมายเรื่องการละเมิดอำนาจศาล มีขึ้นเพื่อให้การใช้อำนาจตุลาการ มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และรวดเร็ว

โดยมีการกำหนดไว้ว่าศาลอาจออกข้อกำหนดสำหรับคู่ความหรือบุคคลที่มาอยู่ต่อหน้าศาล หรือการละเมิดอำนาจศาลของหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ เช่น การสั่งห้ามโฆษณา ซึ่งข้อความที่เกี่ยวข้องกับคดี ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรม หากผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ฝ่าฝืนก็จะมีความผิด

บทลงโทษสำหรับข้อหาละเมิดอำนาจศาล มีทั้งการไล่ออกจากบริเวณศาล หรือลงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรืออาจจะลงโทษทั้งสองวิธีการ 

อย่างไรก็ตามศาลอื่น ๆ เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลทหาร ต่างมีข้อกำหนดหรือกฎหมายในเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นการเฉพาะของแต่ละศาล แต่ก็มีหลักการคล้าย ๆ กันกับศาลยุติธรรม

ตัวอย่างของการกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล เช่น อ้างว่าจะเอาเงินไปให้ผู้พิพากษา, นำยาบ้าไปส่งมอบให้ผู้ต้องหาในศาล, ฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาล, พกพาอาวุธเข้าไปในบริเวณศาล, ทะเลาะวิวาทชกต่อยกันในห้องพิจารณาคดี, ลงข้อความในสิ่งพิมพ์เปรียบเปรยว่าผู้พิพากษาให้เลื่อนคดีโดยไม่เป็นธรรม, ปลอมลายมือชื่อมาขอประกันตัว ฯลฯ

เนื่องจากในบริเวณพื้นที่ศาลเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปผู้มีอรรถคดีเดินทางมาเพื่อแสวงหาความยุติธรรมให้กับตนเอง ซึ่งถือเป็นสถานที่สำคัญ แม้เป็นสถานที่สาธารณะ แต่ก็ต้องมีกฎระเบียบ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หากมีการประพฤติตน ในบริเวณศาล ซึ่งมีลักษณะไม่เรียบร้อย ตะโกนด่าทอด้วยเสียงดัง อันมีลักษณะเป็นการสร้างความวุ่นวาย และมีผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป ก็อาจถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ตามที่กฎหมายกำหนด

มติเอกฉันท์!! 14 ต่อ 1 'ก.ต.' สั่งพักราชการตุลาการ  หลังพัวพันคดีแกนนำ กปปส.ร้องอ้างถูกเรียกเงิน 175 ล.

เมื่อวานนี้ (15 ม.ค. 67) สำนักงานศาลยุติธรรม ได้เผยแพร่ผลการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ครั้งที่ 2/2567 ที่มีมติเห็นชอบพักราชการข้าราชการตุลาการจำนวน 1 ราย

แหล่งข่าวจาก ก.ต. เปิดเผยว่า ที่ประชุม ก.ต. ครั้งนี้ มีมติ 14 ต่อ 1 เสียง ให้พักราชการข้าราชการตุลาการรายนี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการถูกสอบสวนวินัยร้ายแรง จากกรณีแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) รายหนึ่ง ได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมในคดีที่ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ลงโทษจำคุกแกนนำ กปปส.โดยไม่รอลงอาญา 15 ราย โดยเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์

โดยแกนนำ กปปส.รายนี้อ้างว่า มีผู้พิพากษาระดับสูงในศาลอุทธรณ์ 2 รายร่วมมือกันในการเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในการช่วยเหลือการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์หลายครั้ง ระบุว่า สามารถจ่ายสำนวนให้กับองค์คณะในศาลอุทธรณ์ที่ ‘คุ้นเคยกับท่าน’ เพื่อให้พิจารณายกฟ้องในทุกกรรมเพื่อเรื่องจะได้ไม่ต้องไปถึงศาลฎีกา และยังอ้างว่ามีการพบกับผู้พิพากษาที่เป็น ‘ตัวแทนท่าน’ หลายครั้ง ครั้งแรกเรียกร้องเงินสูงถึง 175 ล้านบาท แต่ได้รับการปฏิเสธ ต่อมาเรียกร้องลดลงเหลือ 49 ล้านบาท และ 35 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภายหลังสำนักข่าวอิศรา นำเสนอข่าวเรื่องนี้ นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม ได้ชี้แจงต่อสาธารณะว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทราบว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ได้มีการยื่นหนังสือลักษณะร้องขอความเป็นธรรมทางคดีต่อประธานศาลอุทธรณ์ เนื่องจากเป็นคดีระหว่างชั้นพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โดยประธานศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ได้รายงานกรณีดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาทราบตามขั้นตอนแล้ว ซึ่งการดำเนินการจะเป็นไปตามกรอบระยะเวลาการสอบสวนข้อเท็จจริงของระเบียบปฏิบัติศาลยุติธรรม โดยเมื่อผลสรุปออกมาแล้วศาลอุทธรณ์จะรายงานประธานศาลฎีกาทราบต่อไป

ปัจจุบันกรณีนี้ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงเป็นทางการไปแล้ว 

สำหรับขั้นตอนต่อไปภายหลังจากที่ คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงสรุปผลการสอบสวนเป็นทางการแล้ว จะมีการนำเรื่องเข้าที่ประชุม ก.ต.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งผลการพิจารณาข้าราชการตุลาการรายนี้ อาจจะมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ได้ แต่ถ้ามีความผิดบทลงโทษจะมี 2 ส่วน คือ ปลดออก กับไล่ออกราชการ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top