Monday, 13 May 2024
วินาศกรรม

11 กันยายน พ.ศ. 2544 ครบรอบ 21 ปี เหตุการณ์ ‘9/11’ เหตุวินาศกรรมที่โลกไม่ลืม

วันนี้ เมื่อ 21 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์ช็อกโลก ‘วินาศกรรม 11 กันยายน’ หรือ ‘9/11’ เมื่อผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินพุ่งชนตึกต่างๆ ในสหรัฐ อเมริกา คร่าชีวิตผู้คนกว่า 3 พันคน

เหตุการณ์วินาศกรรม ‘วินาศกรรม 11 กันยายน’ หรือ ‘9/11’ นับเป็นเหตุการณ์ช็อกโลกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จากฝีมือของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ที่ได้จี้เครื่องบินโดยสาร 4 ลำ เพื่อก่อเหตุ

- ลำแรกเป็นเครื่องบินพานิชย์ โบอิง 767-200 เที่ยวบินที่ 11 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์พุ่งเข้าชนตึก เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ 1 ในเวลา 8.45 น. ตามเวลาในท้องถิ่น จากนั้นอีกประมาณ 18 นาทีต่อมา

- ลำที่ 2 คือเครื่องบินโบอิง 767-200 เที่ยวบินที่ 175 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ก็พุ่งเข้าชนตึก เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ 2 ตึกแฝดที่เป็นสัญลักษณ์ของทุนนิยมและนิวยอร์ก จากนั้นเวลาประมาณ 9.40 น.

‘กลุ่มหัวรุนแรง’ วางเพลิงเสาไฟฟ้าข้างโรงงาน Tesla ในเยอรมัน อ้าง!! ต้องการโค่น ‘อีลอน มัสก์’ พร้อมตราหน้า ‘นักเทคโนโลยีฟาสซิสต์’ 

‘อีลอน มัสก์’ ฉุนขาด เมื่อโรงงานผลิตรถยนต์ Tesla ในแคว้นบรันเดินบวร์ค ของเยอรมัน กลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีของกลุ่มคนหัวรุนแรงฝ่ายซ้ายจัด ที่ชื่อว่า ‘Vulkangruppe’ หรือ กลุ่มภูเขาไฟ ได้ลอบวางเพลิงเสาไฟฟ้าข้างโรงงาน ส่งผลให้ไฟฟ้าดับทั้งเมือง โรงงานรถยนต์ต้องหยุดชะงัก และ หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงไม่มีไฟฟ้าใช้ 

เมื่อวันอังคาร (5 มี.ค. 67) ที่ผ่านมา เกิดเพลิงไหม้เสาไฟที่จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าโรงงาน Tesla กระทบต่อระบบไฟฟ้าในโรงงานทั้งหมด จนต้องหยุดการผลิตชั่วคราว คาดว่าอาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะกลับมาเดินสายการผลิตรถยนต์ได้อีกครั้ง 

ต่อมาไม่นาน เว็บไซต์ ‘kontrapolis.info’ ของเยอรมัน ได้โพสต์จดหมายของกลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายซ้ายในเยอรมัน ที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มภูเขาไฟ (Vulkangruppe) ออกมาแสดงตนว่าเป็นผู้ก่อเหตุลอบวางเพลิงดังกล่าว ด้วยการตัดกระแสไฟเข้าโรงงาน Tesla เพื่อสร้างความปั่นป่วนจนต้องปิดโรงงาน

โดยทางกลุ่มได้ประกาศเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า ต้องการทำลายโรงงานยักษ์ใหญ่ระดับ Gigafactory ของ Tesla และโค่นล้ม อีลอน มัสก์ ที่ทางกลุ่มกล่าวหาว่าเขาเป็น ‘นักเทคโนโลยีฟาสซิสต์’ ที่เสวยสุขบนทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานผู้คน ซึ่งการทำลายอีลอน มัสก์ จะถือเป็นก้าวสำคัญของการปลดปล่อยระบอบปิตาธิปไตย (ระบอบที่ชายเป็นใหญ่) พร้อมลงชื่อท้ายจดหมายว่า ‘Agua De Pau’ ภูเขาไฟในประเทศโปรตุเกส

กลุ่มภูเขาไฟ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มหัวรุนแรงซ้ายจัดกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ที่เคยก่อเหตุลอบวางเพลิงในกรุงเบอร์ลินมาตั้งแต่ปี 2554 ภายใต้ชื่อ ‘Vulkangruppen’ โดยมักเล็งเป้าหมายไปที่ท่อสายเคเบิลบนทางรถไฟ, เสาสัญญาณวิทยุ, สายสัญญาณข้อมูลสื่อสาร หรือ รถยนต์ขององค์กรต่าง ๆ หลังก่อเหตุมักส่งจดหมายออกมาแสดงตนเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์พร้อมลงท้ายจดหมายด้วยชื่อภูเขาไฟที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟของไอซ์แลนด์ เช่น ‘Grimsvotn’, ‘Katla’ และ ‘Ok’ เป็นต้น 

กลุ่มภูเขาไฟ ไม่มีแกนนำชัดเจน มีอุดมการณ์ทางการเมืองใกล้เคียงกับระบอบอนาธิปไตย (ระบอบที่ปฏิเสธการมีอยู่ของรัฐบาล และ ลำดับชั้นทางสังคม) ซึ่งถือเป็นแนวคิดสุดขั้วที่สุดในอุดมการณ์ทางการเมืองฝ่ายซ้าย 

ต่อมาทางกลุ่มพยายามเข้ามามีอิทธิพลในการเคลื่อนไหวเรื่องปัญหาสภาพอากาศโลก และถูกนำมาเป็นข้ออ้างหนึ่งในการโจมตีโรงงาน Tesla ในวันนี้ที่ Tesla ถูกโยงว่าเป็นสัญลักษณ์ของ ‘ทุนนิยมสีเขียว’ 

ด้านอีลอน มัสก์ ได้โพสต์ข้อความลงใน X ถึงกลุ่มภูเขาไฟว่า เป็นผู้ก่อการร้ายเชิงนิเวศที่โง่ที่สุดในโลก รักษ์โลกแบบใด ถึงมาโจมตีโรงงานที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า แทนที่จะไปโจมตีโรงงานที่ผลิตรถยนต์พลังงานฟอสซิล แล้วจะบอกว่าเป็นนักขับเคลื่อนเพื่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร 

อีลอน มัสก์ เปิดโรงงาน Tesla ในเยอรมันเมื่อปี 2565 ซึ่งเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และยังเป็นการท้าทายผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันที่เป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกอีกด้วย

แต่ Tesla ก็กำลังมีประเด็นกับกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในเยอรมัน เมื่อ อีลอน มัสก์ วางโครงการที่จะขยายโรงงานในเยอรมันเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ Tesla ให้ได้ถึง 1 ล้านคันต่อปี เพื่อรองรับตลาดที่กำลังขยายตัวอย่างมากในยุโรป ซึ่งจำเป็นต้องถางพื้นที่ป่าเพิ่มอีกอย่างน้อย 420 เอเคอร์ จึงเกิดกระแสต่อต้านของกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และชาวบ้านในพื้นที่ ที่มาปักหลักตั้งแคมป์เพื่อขัดขวางการถางป่าเพื่อขยายโรงงาน Tesla มาแล้ว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top