Tuesday, 13 May 2025
วิทยานิพนธ์

'อ.ไชยันต์' ตามชำแหละวิทยานิพนธ์ 'ณัฐพล'  อ้างอิงนสพ.ฉบับ 10 พ.ย. 2490 ที่ก่อตั้งปี 2500

'อ.ไชยันต์' ตามชำแหละวิทยานิพนธ์ 'ณัฐพล ใจจริง' ประเด็น 'ในหลวง ร.9 ทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน' อ้างอิงนสพ.เอกราชวันที่ 10 พ.ย. 2490 แต่นสพ.เอกราชก่อตั้ง 24 มิ.ย. 2500

10 พ.ย. 64 - ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้ 

“ทุ่นดำ-ทุ่นแดง”

กรณีการกล่าวว่า "ในหลวงทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน" ของ ณัฐพล ใจจริง

ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ “ในหลวง ร.9 ทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน” ซึ่ง ณัฐพล กล่าวว่า “โดยหนังสือพิมพ์ไทยร่วมสมัยได้พาดหัวข่าวขณะนั้นว่า 'ในหลวงรู้ปฏิวัติ 2 เดือนแล้ว' ทั้งนี้ พล.ท.กาจ กาจสงคราม ให้คำสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ต่อมาว่า เขาได้เคยส่งโทรเลขลับรายงานแผนรัฐประหารให้พระองค์ทรงทราบล่วงหน้า 2 เดือนก่อนลงมือรัฐประหาร”

โดย ณัฐพล อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์เอกราชวันที่ 10 พฤศจิกายน 1947

อย่างไรก็ดี สิ่งที่พวกเราต้องการบอกทุกท่านเป็นอย่างแรกคือ จะเป็นไปได้อย่างไรที่หนังสือพิมพ์เอกราชจะลงข่าวในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ?

เนื่องจากว่า “หนังสือพิมพ์เอกราชถือกำเนิดขึ้นโดยโรงพิมพ์เอกราชได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2500” !

กล่าวคือ หนังสือพิมพ์ที่ก่อตั้งปี พ.ศ. 2500 จะนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปลงข่าว 10 ปีที่แล้วก่อนการก่อตั้งได้อย่างไร!?

(ดูประวัติการก่อตั้งจาก พัชราภรณ์ ครุฑเมือง, การดำรงอยู่ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอกราช ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ ภาควิชาสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552)

มิหนำซ้ำ เรายังรู้สึกแปลกใจที่ ณัฐพล ใช้ปี ค.ศ. 1947 ในการระบุปี ขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เขากลับใช้ พ.ศ. ทั้งหมด

ดังนั้น การอ้างถึง “หนังสือพิมพ์เอกราชวันที่ 10 พฤศจิกายน 1947” ของ ณัฐพลจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีที่มาจากไหนกันแน่?

เพราะข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่เคยปรากฏหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ขึ้นในบรรณพิภพในเวลานั้น

ประกอบทั้งการใช้ปี ค.ศ. ที่ไม่ปรากฏความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (consistency) กับการเขียนวิทยานิพนธ์ในส่วนอื่น ๆ ของณัฐพล

เราจึงสงสัยว่าณัฐพลเอาข้อมูลในส่วนนี้มาจากไหนกันแน่ ?

หรือถ้ามีจริงทำไมเขาไม่อ้างจากหลักฐานชั้นต้นเช่นในจุดอื่น ๆ ?

นอกจากนี้ ก่อนการรัฐประหาร 2490 บรรยากาศขณะนั้นก็เป็นที่รับรู้ทั่วไป ดังปรากฏข่าวลือว่าจะต้องมีการรัฐประหารเกิดขึ้นแน่ ๆ ไม่ว่าวันใดวันหนึ่ง

'คอลัมนิสต์ดัง' ถาม 'จุฬาฯ' ผลสอบวิทยานิพนธ์บิดเบือน 'ณัฐพล ใจจริง' ชัด แต่ทำไมทางสถาบันยังไม่จัดการถอดปริญญาจากผู้มีมลทินเสียที

(7 มี.ค. 67) จากกรณีศาลอาญายกฟ้อง อ.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คดีหมิ่นประมาท นายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้เขียนหนังสือ ‘ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ’ และ ‘ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี’ ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ซึ่งอ้างอิงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ‘การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)’ ของนายณัฐพล ใจจริง ซึ่งกำลังถูกทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสอบสวนวิทยานิพนธ์

ล่าสุด นายสุรวิชช์ วีรวรรณ คอลัมนิสต์ประจำเครือผู้จัดการ แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก Surawich Verawan ระบุว่า แว่วว่าผลสอบวิทยานิพนธ์ผิดจริง แต่ไม่ถอนปริญญาเพราะไม่มีระเบียบ

การสอบสวนวิทยานิพนธ์ที่บิดเบือนเสร็จสิ้นไปนานแล้ว แต่ถึงวันนี้จุฬาก็ยังเก็บงำอยู่

นิสิตเก่าจุฬาฯ ร่อนหนังสือถึงอธิการบดีฯ จุฬาฯ ถาม 6 ข้อคืบหน้าถอดถอนวิทยานิพนธ์ 'ณัฐพล ใจจริง'

(8 มี.ค. 67) นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 ทำหนังสือถึง นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเนื้อหาดังนี้…

เรียน อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์  

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567 ศาลอาญายกฟ้อง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีนายณัฐพล ใจจริง ยื่นฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องที่ ศ.ดร.ไชยันต์ ได้วิพากษ์วิจารณ์นายณัฐพล ว่าใช้ข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริงมาอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ และพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างกระแสความรู้สึกให้ผู้อ่านเกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์

ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวว่าคณะกรรมการสอบสวนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญและเป็นกลาง ขึ้นมาตรวจสอบวิทยานิพนธ์ดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ส่งผลการสอบสวนให้ท่านประธานคณะกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว เรื่องดังกล่าวได้ถูกนำเข้าสู่สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาฯ ได้มีมติรับรองผลการสอบสวนวิทยานิพนธ์แล้ว

บัดนี้เวลาได้ผ่านไป 3 ปี จนศาลอาญายกฟ้อง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร แล้ว แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังไม่มีการประกาศผลการสอบสวนออกมาเพื่อเปิดเผยให้สังคมที่กำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมากได้รับทราบ ข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของประเทศ การเก็บเรื่องที่สำคัญมากเช่นนี้อย่างเงียบโดยไม่ชี้แจงแสดงผล และการที่มีข่าวลือว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่มีอำนาจถอดถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง เนื่องจากไม่มีระเบียบให้ถอดถอนปริญญาในกรณีตกแต่งข้อมูลเท็จ ทำให้มีผู้กล่าวถึงผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในทางที่เสียหาย ข้าพเจ้าในนามนิสิตเก่า คณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 รู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเรื่องนี้ไม่เพียงทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสื่อมเสียชื่อเสียง และผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถูกติฉินนินทา แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนของชาติเข้าใจสถาบันพระมหากษัตริย์ผิด ซึ่งจะมีผลลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และความมั่นคงของชาติ จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรสำเหนียกให้มาก

เพื่อรักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและความน่าเชื่อถือในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อสืบสานพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงประดิษฐานให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ซึ่งระบุถึงภารกิจหลักของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า เพื่อให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมี "คุณธรรมกำกับความรู้ เพียบพร้อมด้วยสติปัญญาและจริยธรรม ใฝ่รู้ กอปรด้วยวิจารณญาณ จิตใจเสียสละ และความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงต้องดำเนินการโดยยึดหลัก ความมีคุณธรรมควบคู่ไปกับความเป็นเลิศทางวิชาการ มาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ การนําความรู้ที่ถูกต้องสู่สังคม ความรับผิดชอบต่อรัฐและสังคม ตลอดจนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารที่โปร่งใส เปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ตามนโยบายการบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด ‘Open to Transparency’

ข้าพเจ้าจึงขอกราบเรียนท่านอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้ :

1. ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยมติของคณะกรรมการสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ของนายณัฐพล ใจจริง เรื่อง ‘การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491 - 2500)’ ให้ข้าพเจ้าและสาธารณชนทราบ

2. ขอทราบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการอย่างไรแล้วบ้าง หลังสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรองมติดังกล่าว

3. ถ้ายังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ขอทราบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะดำเนินการเมื่อใด และอย่างไร

4. ถ้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่มีอำนาจถอดถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง เนื่องจากไม่มีระเบียบให้ถอดถอนปริญญาในกรณีตกแต่งข้อมูลเท็จ ข้าพเจ้าขอทราบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะ ‘ถอดถอนวิทยานิพนธ์’ ของนายณัฐพล ใจจริง แทนได้หรือไม่ เนื่องจากการถอดถอนวิทยานิพนธ์ก็น่าจะมีผลต่อวิทยฐานะของของนายณัฐพล ใจจริง โดยไม่ต้องถอดถอนปริญญา ข้าพเจ้าจึงขอร้องเรียนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ‘ถอดถอนวิทยานิพนธ์’ นั้นโดยเร็วที่สุด แล้วแจ้งให้ข้าพเจ้าและสาธารณชนรับทราบด้วย 

5. ถ้าข่าวลือว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่สามารถถอดถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง เนื่องจากไม่มีระเบียบในเรื่องนี้ เป็นความจริง ข้าพเจ้าขอร้องเรียนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปรับปรุงระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้รัดกุมและครอบคลุมบทลงโทษเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

6. ขอทราบนามอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง

จึงกราบเรียนมาเพื่อขอคำตอบทุกข้อภายใน 15 วัน ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540

ขอแสดงความนับถือ
นางวิรังรอง ทัพพะรังสี            
นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30
หมายเหตุ : หนังสือนี้ทำ 2 ฉบับ
ส่งถึงอธิการบดี 1 ฉบับ
และสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 ฉบับ
มีเนื้อหาข้อความตรงกัน

‘ปลอดประสพ’ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ มาตรฐาน ‘ปริญญาเอก’ แจง!! ทุกขั้นตอน ต้องทำวิทยานิพนธ์ที่ไม่ซ้ำกับใครในโลก

(13 ก.ค.67) ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า ใบปริญญาโทและเอกของจริงครับ

เช้าดูรายการคุณสรยุทธ ตกเย็นฟังคำอธิบายจากอาจารย์ฝ่ายรับรอง ฟังแล้วเหมือนดูละครตลก ด้วยเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอว. มาก่อนและเมื่อวานนี้ผู้ช่วยปลัดฯก็ได้แถลงแล้วว่า ยังไม่เคยรับรองการเทียบวุฒิของ California University ประกอบกับผมจบปริญญาเอกจริงๆ จึงขอเล่ามาตรฐานปริญญาเอกของแคนาดาที่ผมเรียนและจบมาให้ฟัง

ขั้นต้นมหาวิทยาลัยจะต้องรับเป็นนักศึกษาปริญญาเอกเสียก่อน จากนั้นก็จะเรียน Coursework ใช้เวลาประมาณ 2-3ปี เมื่อจบ Coursework แล้วก็จะต้องสอบ Comprehensive ซึ่งจะมีทั้งข้อเขียนและสัมภาษณ์ เมื่อผ่านแล้วจึงมีสถานะPh.D Candidate มีสิทธิ์ทำวิทยานิพนธ์ เรื่องที่ทำต้องไม่ซ้ำกับใครในโลก โดยทั่วไปในสายวิทยาศาสตร์มักจะใช้เวลาอีก 2-3 ปี

เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว คณะกรรมการที่ปรึกษาจะตรวจสอบแก้ไข และส่งร่างฯนี้ไปยังอาจารย์มหาวิทยาลัยอื่น (External Examinor ) ตรวจเพื่อให้คุณภาพอยู่ในมาตรฐานระดับสูง (Higher Education) จากนั้นสอบปากเปล่าเพื่อ Defense

สิ่งที่ท่านได้มาดูมันง่ายและรวดเร็วเหลือเกิน ส่วนจะจริงเท็จอย่างไรคงต้องมีการสอบสวนกันอย่างจริงจัง ขณะนี้ท่านเป็นบุคคลสาธารณะ ท่านต้องอดทน ต้องยอมรับการตรวจสอบ เพราะหน้าที่สว.จะต้องไปตรวจสอบคนอื่น ไม่ใช่มาขู่ฟ้องร้องคนอื่นเขา ถ้ารับการตรวจสอบไม่ได้ ก็ไม่ควรอยู่เป็นสว.หรอกครับ

ย้อนดูรายชื่อ 'นักวิชาการ' อุ้ม 'วิทยานิพนธ์' ของ 'ณัฐพล ใจจริง' จริยธรรมอยู่ไหน? ทำไมค้านสภามหาลัยของจุฬาฯ ยุติการสอบสวน

(10 ส.ค.67) ศ.ดร.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และอดีตอาจารย์ประจำภาควิชา การพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก 'Sayan Praicharnjit' ระบุว่า...

กรณีนี้เราจะถือว่า นักวิชาการกลุ่มนี้เป็นผู้บกพร่องด้านจริยธรรม+จรรยาบรรณทางวิชาการด้วยหรือไม่ ?????????????? พอดีมีคนส่งงานของใครบางคนมาให้อ่าน+พิจารณา+ประเมิน แล้วในแบบประเมินมีข้อหนึ่งที่ต้องระบุเรื่องจริยธรรม+จรรยาบรรณทางวิชาการว่าเป็นอย่างไร ?

รายชื่อนักวิชาการ (บางส่วน) ที่ลงชื่อขอให้สภามหาวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยุติการสอบสวนกรณีวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริง

1. ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ศ. (พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
4. ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ Graduate school Cornell University
5. ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์
8. ศ.บาหยัน อิ่มสำราญ นักวิชาการอิสระ
9. ศ.สรวิศ ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. ศ. (เกียรติคุณ) ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. รศ.ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. รศ. ดร.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15. รศ.ฉลอง สุนทราวณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการ
17. รศ.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18. รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักประวัติศาสตร์
19. รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21. รศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
22. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
23. รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
24. รศ.ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
25. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. รศ.ดร.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28. รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29. รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
30. รศ.มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

31. รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32. รศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา ภาควิชาภาษาอังกฤษคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
33. รศ.ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34. รศ.ดร.วิศรุต พึ่งสุนทร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. รศ.ดร.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36. รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. รศ.ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39. รศ.ดร. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
40. รศ.ดร. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

41. รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. รศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43. รศ.อภิญญา เวชยชัย อดีตอาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
44. รศ.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
45. รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ
46. ผศ.ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
47. ผศ.กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ผศ.กุสุมา กูใหญ่ วิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
49. ผศ. ดร. กนิษฐ์ ศิริจันทร์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. ผศ.ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

51. ผศ.คงกฤช ไตรยวงค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
53. ผศ.ดร.คารินา โชติรวี นักวิชาการ
54. ผศ.ดร.คำแหง วิสุทธางกูร อดีตอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
55. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
56. ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
57. ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
58. ผศ.ดร.ซัมซู สาอุ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
59. ผศ.ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์ สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
60. ผศ.ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top