Wednesday, 15 May 2024
วิกฤตอาหารโลก

UK ร้อง!! 'รัสเซีย' หยุดขวางยูเครนส่งออกธัญพืช วอน 'ทำในสิ่งที่ถูกต้อง' ก่อนทั่วโลกอดอยาก

เบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมสหราชอาณาจักร ในวันพุธ (25 พ.ค.) เรียกร้องมอสโก "ทำในสิ่งที่ถูกต้อง" และยอมปล่อยธัชพืชที่ติดค้างอยู่ตามท่าเรือต่างๆ ของยูเครน สืบเนื่องจากปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย เพื่อแสดงจิตวิญญาณแห่งมนุษยธรรม ท่ามกลางความกังวลว่าโลกอาจต้องเผชิญกับวิกฤตทางอาหาร แต่ขณะเดียวกัน เคียฟวิงวอนตะวันตกยกระดับเล่นงานรัสเซีย โดยเฉพาะภาคการส่งออก ชดใช้ต่อกรณีมอสโกรุกรานยูเครน

มอสโกเคยบอกว่าพวกเขาจะอนุญาตให้จัดตั้งแนวกันชนด้านอาหารในยูเครน เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตอาหารโลก หากว่านานาชาติยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ที่กำหนดเล่นงานรัสเซียต่อกรณีรุกรานยูเครน

"อย่าพูดถึงมาตรการคว่ำบาตรเลย จงพูดถึงการทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก" วอลเลซบอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงมาดริด เมื่อถูกถามถึงจุดยืนของรัสเซีย "ผมเรียกร้องรัสเซียทำในสิ่งที่ถูกต้องด้วยจิตวิญญาณแห่งมนุษยธรรม และปล่อยธัญพืชยูเครนออกมา" เขากล่าวพร้อมระบุว่า "เป็นไปได้ว่ารัสเซียกำลังทำให้หลายประเทศทั่วโลกอดอยาก"

ก่อนหน้าถูกรัสเซียรุกรานในเดือนกุมภาพันธ์ ยูเครนถูกมองในฐานะตะกร้าขนมปังของโลก ส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรราวๆ 4.5 ล้านตันต่อเดือนผ่านท่าเรือต่างๆ ของพวกเขา ในนั้นรวมถึงข้าวสาลี คิดเป็น 12% ของโลก ข้าวโพดคิดเป็นสัดส่วน 15% และน้ำมันดอกทานตะวัน คิดเป็นสัดส่วนถึง 50%

ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ยันรัสเซียไม่ใช่ตัวการทำราคาอาหารทั่วโลกถีบตัวสูงขึ้น ชี้การส่งออกธัญพืชจากยูเครนยังสามารถทำได้โดยใช้เบลารุสเป็นทางผ่าน

ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ระบุว่า ชาติตะวันตกพยายามปกปิดความผิดพลาดจากนโยบายของตัวเองด้วยการกล่าวโทษรัสเซียว่าเป็นตัวการที่ทำให้ตลาดอาหารโลกเกิดปัญหา

ส่วนรายงานข่าวที่อ้างว่า รัสเซียขัดขวางยูเครนไม่ให้ส่งออกธัญพืชเป็นเรื่องไม่จริง โดย ปูติน แนะนำว่าวิธีแก้ไขปัญหานี้ที่ง่ายที่สุดคือการส่งออกผ่านประเทศเบลารุส ซึ่งจะไม่ถูกฝ่ายใดขัดขวางแน่นอน แต่ประเทศตะวันตกจะต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่ใช้กับเบลารุสก่อน

นอกจากนี้ ปูติน ยังเตือนว่า ปัญหาขาดแคลนสินค้าในตลาดอาหารโลกมีแนวโน้มจะเลวร้ายลงไปอีก เพราะสหรัฐและอังกฤษใช้มาตรการคว่ำบาตรสินค้าประเภทปุ๋ยที่ผลิตในรัสเซีย

โดยตอนนี้รัสเซียได้ควบคุมพื่นที่ชายฝั่งทางภาคใต้ของยูครนเอาไว้ได้ รวมทั้งเส้นทางที่เชื่อมต่อกับท่าเรือต่าง ๆ ในทะเลดำ ซึ่งเรือรบของรัสเซียประจำการอยู่ ขณะที่รัฐบาลรัสเซียย้ำมาตลอดว่าการที่ยูเครนไม่สามารถส่งออกธัญพืชเป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลยูเครนและสหรัฐฯเอง

ขณะที่วานนี้ (6 มิถุนายน 2565) ประธานาธิบดี อเล็กซานเดอนร์ ลูคาเชนโก ผู้นำเบลารุส ระบุว่า พร้อมจะเปิดทางให้ยูเครนส่งธัญพืชไปยังเยอรมนี โปแลนด์ และ ท่าเรือในทะเลบอลติก แต่มีเงื่อนไขว่าสินค้าจากเบลารุสต้องได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าออกจากท่าเรือเหล่านี้เช่นกัน

ส่วน ประธานาธิบดี แมกกี้ ซอล ผู้นำเซเนกัล ในฐานะประธานสหภาพแอฟริกา ที่เดินทางเยือนรัสเซีย ระบุด้วยว่าประธานาธิบดี ปูติน รับปากจะอำนวยความความสะดวกในการส่งออกธัญพืชผ่านท่าเรือในยูเครน หรือผ่านแม่น้ำดานูบของโรมาเนีย

ขณะเดียวกัน อันนาเลนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี ระบุว่า สงครามระหว่างยูเครน และ รัสเซีย ทำให้ราคาอาหารและพลังงานในโลกถีบตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก การสู้รบที่เกิดขึ้น ได้กลายเป็นวิกฤติของโลก และประชากรโลก 50 ล้านคน โดยเฉพาะในแอฟริกาและตะวันออกกลาง จะต้องเผชิญกับความหิวโหยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากไม่สามารถหาหนทางขนส่งธัญพืชออกจากยูเครนได้ ซึ่งปฏิบัติการทางทหารต่อยูเครนที่ยืดเยื้ออาจเรียกได้ว่าเป็น “สงครามธัญพืช”

'ดร.กอบศักดิ์' ชี้!! ภัยแล้งสุดรุนแรงในยุโรป-จีน ก่อวิกฤตอาหารโลก ให้ลุกลามยิ่งขึ้นไปอีกขั้น

'ดร.กอบศักดิ์' เตือน ภัยแล้งที่รุนแรงสุดในรอบ 500 ปีในยุโรป รวมถึงภัยแล้งในจีนและพื้นที่อื่น ๆ กำลังจะทำให้วิกฤตอาหารโลกลุกลามยิ่งขึ้น ซ้ำเติมสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยุคข้าวยาก หมากแพง คนอดอยาก กำลังมาเยือน 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้ ..
วิกฤตอาหารโลก .... “ข้าวจะยาก หมากจะแพง” ยิ่งขึ้น

ภัยแล้งที่รุนแรงสุดในรอบ 500 ปีในยุโรป รวมถึงภัยแล้งในจีนและพื้นที่อื่น ๆ กำลังจะทำให้วิกฤตอาหารโลกลุกลามยิ่งขึ้นไปอีกระดับ

ภาพของแม่น้ำที่แห้งขอดจนถึงพื้น
ซากเมือง
ซากเรือจม
Spanish Stonehenge
Hunger Stones หรือหินของความหิวโหยที่คนเมื่อช่วงศตวรรษที่ 15
สลักฝากข้อความไว้ที่หินใต้แม่น้ำว่า “If you see me, cry” หรือ “ถ้าคุณเห็นข้อความนี้ จงร้องไห้เถอะ” รวมไปถึงพระพุทธรูปเก่าแก่ในจีนอายุ 600 ปี ที่โผล่จากน้ำขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

กลายเป็นภาพจำที่กำลังออกมาให้ทุกคนได้เห็น ได้ตื่นเต้น กับสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นเหล่านี้
แต่ข้างหลังภาพดังกล่าว คือ สัญญาณอันตรายที่ชี้ว่า วิกฤตอาหารโลกจะแย่ขึ้นจากเดิม
สองในสามของยุโรปกำลังเผชิญภาวะภัยแล้ง ดังเห็นในแผนที่ด้านล่าง ปัญหาได้กระจายไปยังทุกพื้นที่

โปรตุเกส สเปน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน อิตาลี และประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันออก ต่างถูกกระทบการผลิตของข้าวโพด ข้าวสาลี น้ำมันโอลีฟ ถั่วเหลือง เมล็ดดอกทานตะวัน

นอกจากนี้ แม่น้ำที่แห้ง ยังกระทบต่อไปยังการขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นช่องทางขนส่งสำคัญของยุโรป ที่จะไม่สามารถขนส่งสินค้าเกษตรได้ในช่วงนี้ ทำให้ผลผลิตเกษตรที่ออกมาสู่โลกลดลง ในพื้นที่อื่น ๆ ของโลก ก็ประสบปัญหาภัยแล้ง เช่นกัน

สหรัฐตะวันตก ก็กำลังเผชิญปัญหานี้อย่างรุนแรง ทำให้ผลผลิตฝ้ายปีนี้ลดลง 40%
จีนตะวันตกเฉียงใต้ ที่แม่น้ำแยงซีที่แห้งผากในบางส่วน กระทบต่อการผลิตข้าว ข้าวโพด

นอกจากภาคการเกษตรแล้ว ยังกระทบการขนส่งทางน้ำ และการผลิตกระแสไฟฟ้า บางมณฑลเช่น เสฉวนที่พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อน ต้องประหยัดการใช้ไฟฟ้า หยุดจ่ายในบางส่วน กระทบไปถึงการผลิตของโรงงานสำคัญหลายแห่ง เช่น Toyota Foxconn Tesla

ในส่วนของแอฟริกา ความแห้งแล้งในพื้นที่ Greater Horn of Africa ได้ส่งผลกระทบต่อ เอธิโอเปีย เคนย่า โซมาเลีย ทำให้คนหลายสิบล้านคนกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร

หมายความว่า ระดับของความรุนแรงของวิกฤตอาหารโลกที่จะเพิ่มขึ้น ซ้ำเติมปัญหาเดิมที่เกิดมาจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบสินค้าเกษตรบางอย่างเช่น ข้าวสาลี

ปัญหาปุ๋ยแพง จากการ Sanctions รัสเซียและเบลารุส ที่ทำให้เกษตรกรทั่วโลกต้องประหยัดการใช้ปุ๋ย ทำให้ผลผลิตออกมาน้อยในฤดูกาลนี้ แล้วยังมาถูก “ผีซ้ำ ด้ำพลอย” จากภัยแล้ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top