Sunday, 12 May 2024
วันมะเร็งโลก

“วันมะเร็งโลก” 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี มีเป้าหมายเพื่อรวมพลังช่วยชีวิต และปกป้องผู้คนหลายล้านคนจาก ‘โรคมะเร็ง’!!

โรคมะเร็งถือเป็นวายร้ายคุกคามสุขภาพอันดับต้นๆ ในศตวรรษที่ 21 โดยใกล้จะแซงหน้าโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจเต็มที ทุกวันนี้เราแทบทุกคนมีคนใกล้ตัวที่เคยเผชิญหรือเฉียดใกล้กับโรคมะเร็ง การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจในหมู่ประชาชนทั่วไปจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อปี ค.ศ. 2000 ในงานประชุม World Summit Against Cancer ที่ปารีส ตัวแทนจากประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันมะเร็งโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อรวมพลังกันช่วยชีวิตและปกป้องผู้คนหลายล้านคนจากโรคมะเร็ง ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมะเร็งในทุกๆ ด้าน และร่วมกันผลักดันให้เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของรัฐบาลหรือหน่วยงานในภาครัฐของแต่ละชาติ

จากสถิติพบว่าในช่วงปี 1990 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 8.1 ล้านคนในแต่ละปี จนเป็น 18.1 ล้านคนต่อปี ในปี 2018 และยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยมะเร็ง 3 อันดับแรก คือ มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และมะเร็งลำไส้ และคาดการณ์ว่าหากทั่วโลกยังไม่ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ภายในปี 2030 จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งจะมากกว่า 13.1 คนต่อปี
 

โรงพยาบาลสุรินทร์ ผู้จัดการประชุมวิชาการ World Cancer Day วันมะเร็งโลก 2024 และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการร่างมาตรฐาน เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษามะเร็งเต้านม

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. ที่ ห้องประชุมกุญชรศุภศรี โรงพยาบาลสุรินทร์ นายวสันต์ ชิงชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในเปิดการประชุมวิชาการ World Cancer Day วันมะเร็งโลก 2024 และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการร่างมาตรฐาน เพื่อการยกระดับมาตรฐานการรักษามะเร็งเต้านมแบบองค์รวมของประเทศไทย ระหว่างสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยกับโรงพยาบาลสุรินทร์ มี รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง เยาวนุช คงด่าน นายกสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยและประธานชมรมศัลยแพทย์เต้านมแห่งประเทศไทย 

นายแพทย์ชวมัย สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวรายงานและร่วมลงนาม MOU การประชุมวิชาการ World Cancer Day วันมะเร็งโลก 2024 และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการร่างมาตรฐาน เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษามะเร็งเต้านมแบบองค์รวมของประเทศไทย ระหว่าง สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย กับ โรงพยาบาลสุรินทร์ สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย ชมรมศัลยแพทย์เต้านมแห่งประเทศไทย และ โรงพยาบาลสุรินทร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เนื่องจากปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประชากรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกปี 

ส่งผลให้การรักษาจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากทีมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและได้มาตรฐานในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นจึงมีความมุ่งมั่นจะพัฒนาการรักษามะเร็ง เต้านมร่วมกัน การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษามะเร็งเต้านมแบบองค์รวมของประเทศไทย ให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานสากลและทัดเทียมกันในทุกภูมิภาค เพิ่มอัตราการรอดชีวิต ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้เข้าประชุมในวันนี้ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล และทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น จำนวน  250 คน ผู้สนับสนุนการจัดการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลสุรินทร์ บริษัทยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์

4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘WHO’ กำหนดให้เป็น ‘วันมะเร็งโลก’ สร้างความตระหนักรู้ ให้กำลังใจผู้ป่วยโรคมะเร็ง

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การสหภาพต่อต้านมะเร็งระหว่างประเทศ (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมะเร็งโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วโลก มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้แก่ ‘มะเร็งสามารถป้องกันได้’  

โดยโรคมะเร็งนั้น ถือเป็นวายร้ายคุกคามสุขภาพอันดับต้นๆ ในศตวรรษที่ 21 โดยใกล้จะแซงหน้าโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจเต็มที ทุกวันนี้เราแทบทุกคนมีคนใกล้ตัวที่เคยเผชิญหรือเฉียดใกล้กับโรคมะเร็ง การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจในหมู่ประชาชนทั่วไปจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เมื่อปี ค.ศ. 2000 ในงานประชุม World Summit Against Cancer ที่ปารีส ตัวแทนจากประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันมะเร็งโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อรวมพลังกันช่วยชีวิตและปกป้องผู้คนหลายล้านคนจากโรคมะเร็ง ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมะเร็งในทุกๆ ด้าน และร่วมกันผลักดันให้เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของรัฐบาลหรือหน่วยงานในภาครัฐของแต่ละชาติ

จากสถิติพบว่าในช่วงปี 1990 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 8.1 ล้านคนในแต่ละปี จนเป็น 18.1 ล้านคนต่อปี ในปี 2018 และยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยมะเร็ง 3 อันดับแรก คือ มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และมะเร็งลำไส้ และคาดการณ์ว่าหากทั่วโลกยังไม่ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ภายในปี 2030 จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งจะมากกว่า 13.1 คนต่อปี

อย่างไรก็ตาม กว่าร้อยละ 40 ของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยอยู่ในปัจจุบันนั้น มีทางป้องกันและรักษาได้ ทำให้จำนวนผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ผลลัพธ์อันน่าทึ่งจากการทุ่มเทศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ เรื่องโรคมะเร็งในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น วิธีวินิจฉัยโรค ตัวยาที่ใช้ ขั้นตอนการรักษา และการฟื้นฟูร่างกายหลังจากการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถอุ่นใจได้ว่า ต่อให้พบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็ยังรักษาให้หายได้ถ้าเราตั้งใจจริง

มะเร็งนั้นเป็นภัยร้ายที่คุกคามทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในทวีปใด จะร่ำรวยหรือยากจน จะเป็นข้าราชการระดับสูงหรือผู้อพยพก็ตามที วันมะเร็งโลกจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์เพื่อย้ำเตือนว่า หนทางไปสู่ประกายแสง ณ เส้นขอบฟ้าแห่งการมีสุขภาพที่ดีได้ ก็คือ การร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน ตรวจสอบ และรักษาโรคมะเร็งอย่างรวดเร็ว ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ดังคำขวัญประจำวันมะเร็งโลกที่ว่า ‘I Am and I Will’ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเดินร่วมกันไปสู่วันที่โลกไร้มะเร็งได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top