Monday, 29 April 2024
วันภาษาไทยแห่งชาติ

นายกรัฐมนตรี-ครม. ร่วมรณรงค์วันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 

นายกรัฐมนตรี-ครม. ร่วมรณรงค์วันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 

วธ.นำเด็ก เยาวชนโชว์พูด-อ่าน-เขียน ภาษาไทยดีเด่น พร้อมยกขบวนผู้ได้รับรางวัลเพชรในเพลงเข้าพบนายกฯ พร้อมจัดงานใหญ่ (26 ก.ค.) นี้ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

วันที่ (18 กรกฎาคม 2565) เวลา 08.30 น. ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ครม. ร่วมชมกิจกรรมประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการใช้ภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2565 ของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมให้การต้อนรับ โดยนายกรัฐมนตรีได้ชมนิทรรศการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย นิทรรศการหนังสือเก่าหายาก เรื่อง นามพรรณพฤกษา สัตวาภิธาน และนิติสารสาธก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จากนั้นได้พบปะพูดคุยกับเด็กและเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นด้านการพูด การอ่าน การเขียน และผู้ได้รับรางวัลการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) ประจำปี 2565 ด้วย

นายอิทธิพล กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ อีกทั้งปีนี้ถือเป็นวาระพิเศษ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาถึงปัจจุบันครบ 60 ปี วธ. ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายต่าง ๆ จึงจัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติขึ้น เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงงาน เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดแนวพระราชดำริด้านภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ตลอดจนสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญ คุณค่าของภาษาไทย การใช้ให้ถูกต้องต่อไป 

วธ.มอบโล่นายกรัฐมนตรีวันภาษาไทยแห่งชาติปี 2565 ยกย่อง 2 ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย

วธ.มอบโล่นายกรัฐมนตรีวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2565 ยกย่อง 2 ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ส่วน เบิร์ดธงชัย -หนุ่มกะลา-ครูสลา คุณวุฒิ -นัน ไมค์ทองคำ รับรางวัลเพชรในเพลงปี 64-65 พร้อมโชว์เพลงดังรางวัลเพชรในเพลง เปิดเวทีให้เด็กไทยแรป “รักนะจ๊ะ ภาษาไทย” หนุนเด็ก เยาวชน ประชาชน เห็นความสำคัญและใช้ภาษาไทยถูกต้อง

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น. นายอิทธินายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ครู อาจารย์ เครือข่าย และผู้รับรางวัลสาขาต่าง ๆ เข้าร่วม ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

นายอิทธิพล กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ อีกทั้งปีนี้ถือเป็นวาระพิเศษ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาถึงปัจจุบันครบ 60 ปี รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ดำเนินการจัดงานเนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงงาน เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดแนวพระราชดำริ ด้านภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนชาวไทย ตลอดจนสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทยและใช้ให้ถูกต้อง ร่วมทั้งอนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติอย่างยั่งยืน

รมว.วธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 ขึ้น วธ.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน บูรณาการองค์ความรู้ และแนวคิดร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คนไทย ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เกิดความรักและหวงแหนความเป็นไทย ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยภายในงานมีความหลากหลายทั้งการเผยแพร่องค์ความรู้ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ ที่สำคัญมีการมอบโล่รางวัลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อาทิ รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และ ศาสตราจารย์กิตติคุณสุกัญญา สุจฉายา ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นบ้าน ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม รวมไปถึงผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวต่างประเทศ ได้แก่ นายหลิน อี้ฟาน (Mr. Lin Yifan) ผู้จัดการ (รับผิดชอบโครงการ Lazada) ของบริษัท Flash Group และเป็นล่าม รวมไปถึงรางวัล พูด-อ่าน-เขียน ภาษาไทยดีเด่น ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน เห็นคุณค่า ความสำคัญและใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

 

29 กรกฎาคม ของทุกปี ‘วันภาษาไทยแห่งชาติ’ ถือเป็นวันที่ระลึกถึงภาษาประจำชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันที่คนไทยควรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมทางภาษาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

วันภาษาไทยแห่งชาติ มีขึ้นเพื่อรำลึกถึงความสำคัญของภาษาไทย ในราวปี พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ "ลายสือไทย" ขึ้นเป็นครั้งแรก ดัดแปลงมาจากอักษรมอญและเขมร มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เพื่อใช้แทนความหมายและเสียงต่างๆ ในภาษาไทย ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น "อักษรไทย" ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับวันภาษาไทยแห่งชาติ ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2542 โดยมีความเป็นมาจากเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินไปอภิปรายหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" ในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระองค์ท่านทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย โดยทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

สุดปลื้ม!! ‘เบิร์ด ธงไชย-ครูสลา’ นำทัพศิลปินคุณภาพ  คว้ารางวัล ‘เพชรในเพลง’ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ

(17 ก.ค. 66) เบิร์ด ธงไชย, ครูสลา คุณวุฒิ พร้อมศิลปินแกรมมี่ มนต์แคน แก่นคูน, ต่าย อรทัย  และ เปาวลี พรพิมล ปลาบปลื้มใจได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ ‘เพชรในเพลง’ ประจำปี 2566  เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบรางวัลแก่บุคคลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ทั้งนักประพันธ์ นักร้องที่มีความสามารถทางภาษา และขับร้องเพลงได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดยมีกำหนดพิธีมอบรางวัลเพชรในเพลงในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ในปีนี้ศิลปินแกรมมี่และนักประพันธ์เพลง ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัลถึง 7 รางวัล ได้แก่ เบิร์ด ธงไชย ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย จากเพลง ‘ใจบันดาลแรง แรงบันดาลใจ’ ครูสลา คุณวุฒิ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง ‘เสาหลักของบ้าน แรงงานของนาย’ มนต์แคน แก่นคูน ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลง ‘นางไอ่ของอ้าย’ เปาวลี พรพิมล ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง จากเพลง ‘พ่อเนื้อทอง’ ต่าย อรทัย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง จากเพลง ‘ผาแดงของน้อง’ นอกจากนี้ กมลศักดิ์ สุนทานนท์ และ ปิติ ลิ้มเจริญ นักประพันธ์เพลง ได้รับรางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล จากเพลง ‘ใจบันดาลแรง  แรงบันดาลใจ’ พร้อมด้วย รัฐวิชญ์ อนันต์พรสิริ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศผู้ประพันธ์ คำร้องเพลงไทยสากล จากเพลง ‘นะหน้าทอง’ 

ทางด้าน เบิร์ด ธงไชย ได้เปิดเผยว่า “การได้รับรางวัลเพชรในเพลง นับเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจ ในฐานะการเป็นศิลปินของเบิร์ดครับ เพราะรางวัลเพชรในเพลงเป็นรางวัลจากการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง แม้ว่าเพลงจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เบิร์ดก็อยากจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องให้กับทุกคน เพราะภาษาไทย ภาษาประจำชาติของเรา มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ ทรงคุณค่า ไม่เหมือนใครครับ”

ทางด้าน ต่าย อรทัย ได้เปิดเผยว่า “ขอขอบคุณ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ที่มอบรางวัลอันทรงเกียรตินี้ให้ต่ายค่ะ นับเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการเป็นนักร้อง ทำให้มีกำลังใจในการร้องเพลงให้ดีและมีคุณภาพต่อไป ฝากถึงน้อง ๆ ศิลปิน แฟนเพลง และคนรุ่นใหม่ ช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทย ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เพื่อคงความงดงามของวัฒนธรรมไทยต่อไปนะคะ”

‘เบิร์ด ธงไชย’ นำทีมศิลปินคุณภาพ รับรางวัล ‘เพชรในเพลง’ สาขาขับร้องเพลงดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ

(24 ก.ค. 66) กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานพิธีมอบรางวัล เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 โดยนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานมอบรางวัล นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมผู้บริหาร เครือข่ายวัฒนธรรมร่วมงาน ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติพุทธศักราช 2566 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง ‘ปัญหาการใช้คำไทย’ ร่วมกับทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาถึงปัจจุบัน รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ วธ.จึงได้ดำเนินการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง ด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้นักเรียน เยาวชน ประชาชนรู้รักภาษาไทย ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการสร้างต้นแบบที่ดีแก่ประชาชนให้มีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสมและภูมิใจในความเป็นไทย รวมถึงสร้างค่านิยมและส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ได้ร่วมกันสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญของชาติให้คงอยู่ สืบไป

ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้มอบรางวัล เนื่องในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 ประกอบด้วย ถวายเข็มและโล่เชิดชูเกียรติองค์กร ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ต่อด้วย การมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 4 รางวัล ได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณศิราพร ณ ถลาง ศาสตราจารย์กิตติคุณอัจฉรา ชีวพันธ์ ศาสตราจารย์ชลธิรา สัตยาวัฒนา รองศาสตราจารย์อิงอร สุพันธุ์วณิช ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จำนวน 11 รางวัล ได้แก่ นางสาวใกล้รุ่ง อามระดิษ  นายชะเอม แก้วคล้าย  นายปรีชา จันเอียด นายภิรเดช แก้วมงคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวุฒิ ภักดีบุรุษ นางวราภรณ์ สมพงษ์ นายวิฑูรย์ ไตรรัตน์วงศ์ รองศาสตราจารย์ศานติ ภักดีคำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวนีย์ พระแก้ว นายอภิชาต อินทรวิศิษฏ์ นายอำนวย สุวรรณชาตรี และ ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น จำนวน 6 รางวัล ได้แก่ นางเกษร แสนศักดิ์ พันตรีฉลอง จิตรตรง นายชายชื้น คำแดงยอดไตย นางเทวี บุตรตั้ว นางพจนีย์ เพ็งเปลี่ยน และ นางเอื้องคำ คำสันทราย

ในส่วนของรางวัลเพชรในเพลง ที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร มีผู้ที่ได้รับรางวัลเพชรในเพลง ประจำปี 2566 รวม 14 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ 2 รางวัล ได้แก่ คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย 4 รางวัล ได้แก่ คำร้องเพลงไทยสากล นายกมลศักดิ์ สุนทานนท์ นายปิติ ลิ้มเจริญ นายรัฐวิชญ์ อนันต์พรสิริ คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง นายประภาส ชลศรานนท์ (โก๋ ลำลูกกา) และ นายสลา คุณวุฒิ รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 8 รางวัล ได้แก่ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย นายธงไชย แมคอินไตย์ นายกิตติธัช แก้วอุทัย (ธัช เพลงเอก) ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง นางสาวอิสริยา คูประเสริฐ นางกุลมาศ สารสาส (ขนมจีน) ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย มนต์แคน แก่นคูน นายปรัชญา ธรรมโชติ (โบ๊ท เพลงเอก) ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง นางสาวพรพิมล เฟื่องฟุ้ง (เปาวลี พรพิมล) และ นางสาวอรทัย ดาบคำ (ต่าย อรทัย) 

29 กรกฎาคม ของทุกปี  ‘วันภาษาไทยแห่งชาติ’ ถือเป็นวันที่ระลึกถึงภาษาของชาติไทย

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันที่คนไทยควรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมทางภาษาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

วันภาษาไทยแห่งชาติ มีขึ้นเพื่อรำลึกถึงความสำคัญของภาษาไทย ในราวปี พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ ‘ลายสือไทย’ ขึ้นเป็นครั้งแรก ดัดแปลงมาจากอักษรมอญและเขมร มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เพื่อใช้แทนความหมายและเสียงต่างๆ ในภาษาไทย ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น ‘อักษรไทย’ ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับวันภาษาไทยแห่งชาติ ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2542 โดยมีความเป็นมาจากเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินไปอภิปรายหัวข้อ ‘ปัญหาการใช้คำไทย’ ในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระองค์ท่านทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย โดยทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียงคือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นวันเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติลงความเห็นให้ วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น ‘วันภาษาไทยแห่งชาติ’ และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top