Sunday, 19 May 2024
ร้านสะดวกซื้อ

เจ้าถิ่นเจ๋ง!!! ร้านสะดวกซื้อเจ้าถิ่นใน ‘อินโดนีเซีย’ แข็งแกร่ง!! แม้แต่ ‘7-11’ ยังต้องยอมแพ้ - ล้มเลิกกิจการ

สวัสดีนักอ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวน่าสนใจจากประเทศเพื่อนบ้านมาเล่าสู่กันฟังครับ หากพูดถึงร้านสะดวกซื้อในไทยที่เราเห็นได้บ่อย เข้าใช้บริการบ่อย ก็ต้องนึกถึง 7-Eleven ถูกต้องไหมครับ และเป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า 7-Eleven ประสบความสำเร็จในประเทศไทยอย่างยิ่ง

แต่ถึงแม้ว่า 7-Eleven จะประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายในหลาย ๆ ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ แต่ใน ‘อินโดนีเซีย’ แล้วนั่น กลับเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก และไม่มีทีท่าว่าจะสามารถเจาะตลาดร้านสะดวกซื้อของประเทศนี้ได้

เหตุผลหลัก ๆ ที่เป็นเช่นนั้น คือ ‘อินโดนีเซีย’ มีเครือข่ายร้านค้าสะดวกซื้ออยู่แล้ว เช่น ‘Indomaret’ และ ‘Alfamart’ ที่สามารถพบเจอได้เกือบทุก ๆ ๑ กม. หรือน้อยกว่านั้น และร้านค้า ๒ เจ้านี้จะกระจายตัวอยู่ตามเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ 7-Eleven ทำแล้วได้ผลดีในประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ร้านสะดวกซื้ออย่าง Lawson's และ Family Mart ก็ใช้วิธีการนี้ด้วยเช่นกัน

นอกจาก 7-Eleven จะนิยมเปิดร้านสะดวกซื้อภายในอาคาร สำนักงาน หรือในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน โดยกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่ที่ Indomaret และ Alfamart ตั้งอยู่ หวังให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้ว 7-Eleven ยังอัปเกรดร้านให้เป็นร้าน ‘ระดับพรีเมียม’ โดยมีบริการสถานที่นั่งรับประทานอาการ ดื่มเครื่องดื่ม และมี Wi-Fi ให้ใช้ฟรีอีกด้วย

ดูเหมือนว่ากลยุทธ์นี้จะดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้ แต่ก็เพียงแค่ในระยะแรกที่เป็นกระแสเท่านั้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมักจะเข้ามาซื้อเพียงเครื่องดื่มที่มีราคาถูก เพียงหวังจะได้นั่งในร้านเพื่อใช้ Wi-Fi ฟรีเป็นเวลาหลายชั่วโมง ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ 7-Eleven มีรายได้น้อย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสูง (ค่าไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต และค่าเช่าพื้นที่ในพื้นที่ระดับพรีเมียม) 

7-Eleven เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น นักเรียนนักศึกษา อายุระหว่าง 18 - 25 ปี โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะใช้ 7-Eleven เป็นสถานที่แฮงก์เอาต์ และสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกลางวันและกลางคืน (24 ชม.) โดยมีการนำเสนอรายการอาหารและเครื่องดื่มของ 7-Eleven แบบดั้งเดิมเช่น Slurpee และของว่างพร้อมกับอาหารท้องถิ่นและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงฮิตในกล่มวัยรุ่น

ในปี ค.ศ. 2020 7-Eleven มีสาขามากถึง 70,750 แห่งทั่วโลก แต่ร้าน 7-Eleven แต่กลับไม่มีสักสาขาเดียวในอินโดนีเซีย เนื่องจากในปี ค.ศ. 2017 7-Eleven ได้ประกาศปิดสาขาทั้งหมด หลังเข้ามารุกธุรกิจในประเทศนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 

การดำเนินงานของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะดำเนินงานผ่านผู้ให้บริการท้องถิ่นคือ PT Modern Internasional ซึ่งจัดการบริการที่ตรงกันข้ามกับร้านสะดวกซื้อในอเมริกาที่เน้นการซื้อกลับบ้านและของกินเล่นยามดึก หลังเริ่มธุรกิจได้ไม่นาน บริษัท PT Modern Internasional ก็เริ่มขยายตัวภายในกรุงจาการ์ตา โดย 7-Eleven เปิดสาขาแห่งที่ 21 ภายในปี ค.ศ. 2010 และมีสาขาครบ 100 แห่งในปี ค.ศ. 2012 

ในปี ค.ศ. 2013 บริษัทมียอดขายสูงสุดประมาณ 78 แห่งจากร้านค้าทั้งหมด 190 แห่ง ดูเหมือนว่าอนาคตของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะสดใส แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ เนื่องจากประสบปัญหาที่แก้ไม่ตกเพราะลูกค้าไม่ยอมใช้เงินในร้าน แม้ว่าจะมีลูกค้าจำนวนมากใน 7-Eleven แต่ก็จ่ายเงินซื้อเครื่องดื่มเพียงแก้วเดียว แล้วนั่งนาน ๆ หลายชั่วโมง 

บริษัท PT Modern Internasional ได้ออกมาบอกด้วยว่า “ยอดขายที่ขาดหายไปเป็นเพราะการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งรายเดิมและรายใหม่ เช่น Family Mart และ Alfamart”

‘ร้านสะดวกซื้อ’ ในญี่ปุ่น เผชิญปัญหา ‘ขาดแคลนแรงงาน’ ทำกระทบเวลาให้บริการ ไม่สามารถเปิด 24 ชม.ได้แล้ว

เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.67) เกียวโด นิวส์ รายงานว่า ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเกือบ 12% ที่ดำเนินงานโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ จะไม่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงอีกต่อไป ด้วยเหตุผลเรื่องการขาดแคลนแรงงาน และ ความต้องการซื้อที่ลดลงในช่วงดึก จากการสำรวจของเกียวโด นิวส์

โดยการสำรวจนี้ จัดขึ้นในเดือนเมษายน และตอบกลับโดยผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ 7 ราย ยกเว้นบริษัท Yamazaki Baking Co. โดยพบว่า ร้านสะดวกซื้อประมาณ 6,400 แห่ง จาก 55,00 แห่ง ในประเทศ เปิดทำงานในเวลาที่สั้นลง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน

ทั้งนี้ ร้านค้าบางแห่ง ได้เร่งเปิดตัวเครื่องบันทึกเงินสดแบบไร้พนักงาน เพื่อรับมือการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงมากขึ้น

ด้าน เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน คอร์ป ผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ ได้ลดเวลาทำการของร้านค้าเพิ่มเติม 200 แห่ง นับแต่ปี 2020 ตามคำขอของเจ้าของแฟรนไชส์ ขณะที่บริษัท ลอว์สัน ได้ใช้มาตรการที่คล้ายกันกับร้านค้าอีกประมาณ 100 แห่ง

ในบรรดาร้านสะดวกซื้อชั้นนำ 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ เซเว่น-อิเลฟเว่น , ลอว์สัน และ แฟมิลี่ มาร์ท มีสัดส่วนของร้านค้าที่ทำการสั้นลงค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ประมาณ 8-10% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายเล็กอื่น ๆ

Seicomart ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในฮอกไกโด ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น มีอัตราการลดเวลาทำงานของร้านค้าสูงสุดที่ร้อยละ 87 ตามมาด้วย Poplar Co. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองฮิโรชิมา ทางตะวันตกของญี่ปุ่น ที่ร้อยละ 79

“เรากำลังใช้มาตรการ โดยคำนึงถึงยอดขายและความยั่งยืน” Ministop Co. เปิดเผย ซึ่งได้เปิดให้ร้านค้า 22% เปิดทำการสั้นลง

นับตั้งแต่ เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน เปิดร้านสะดวกซื้อแห่งแรกของประเทศใน โกโต ของโตเกียว ในเดือนพฤษภาคม 2517 ร้านค้าดังกล่าวเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และแพร่หลายไปมากขึ้น โดยลูกค้าไม่เพียงแวะมาซื้อของ แต่ยังมาใช้บริการทางการเงิน จัดส่งพัสดุ และ อื่น ๆ อีกมาก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาไม่กี่ปีนี้ ตลาดในประเทศเริ่มอิ่มตัว และความกังวลเกี่ยวกับการทำงานที่มากเกินไป ได้ปรากฏขึ้นท่ามกลางวิกฤตแรงงาน ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยข้อพิพาทปี 2019 ระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ ในโอซาก้า และ เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน เกี่ยวกับการดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ได้รับความสนใจจากสาธารณชน โดยเน้นย้ำเรื่องความกังวลนี้ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top