รู้จัก ‘ริชชี่ สุนัค’ นายกฯอังกฤษคนใหม่ หลังก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม
อนุดี เซียสกุล
นายริชชี่ สุนัคได้รับเลือกจากส.ส.พรรคคอนเซอเวทีฟด้วยคะแนนเสียงเกือบ ๒๐๐เสียงให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ในวันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายนนี้และเขาจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนางเอลิซาเบธ ทรัสส์ที่ลาออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลังจากที่เข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓
ในตอนบ่ายสองโมงของวันจันทร์ตามเวลาในลอนดอนซึ่งเป็นเส้นตายของการเสนอชื่อผู้เข้าชิงชัยตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอเวทีฟ (อนุรักษ์นิยม)คนใหม่ นายริชชี่ได้คะแนนเสียงจากส.ส.ร่วมพรรคของเขา ๑๙๓ คนจากจำนวนส.ส.ทั้งหมด ๓๕๗ คนจำนวนนี้จากการสอบถามของบีบีซีและจากกการประกาศของส.ส.เหล่านั้นด้วยตนเอง ส่วนผู้สมัครอีกคนหนึ่งคือนางเพนนี มอร์ด้อน ได้เพียง ๒๖ เสียงเท่านั้น
ตามกฎของการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ในครั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องได้เสียงจากส.ส. พรรค ๑๐๐ คน ด้วยเหตุนี้จึงจะมีผู้สมัครได้เพียงสามคนเท่านั้น ก่อนหน้าที่นายริชชี่จะประกาศลงชิง ฝ่ายทีมของเขาได้เปิดเผยรายชื่อส.ส.ที่หนุนเขาว่ามีอยู่เกิน ๑๐๐ คนแล้ว และนางเพนนีมีอยู่ราว ๒๐ กว่าคน ส่วนค่ายนายบอริส จอนห์สันก็อ้างว่าตนมีอยู่ ๕๐ กว่าคน แต่ในที่สุดนายบอริสก็ประกาศไม่ลงชิงตำแหน่ง
เมื่อนางเพนนีได้เสียงไม่ถึง ๑๐๐ ตามกำหนดเธอได้ประกาศถอนตัวและหันมาสนับสนุนนายริชชี่ ตามกฎของพรรคเมื่อเหลือผู้สมัครอยู่เพียงคนเดียวเขาก็คือผู้ชนะ คือนายริชชี่ สุนัค
นายริชชี่ไม่ใช่ผู้ชิงชัยหน้าใหม่ ก่อนหน้านั้น ๔๕ วันเขาคือผู้ลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอเวทีฟกับนางลิซ ทรัสส์ แต่นางทรัสส์ชนะจากการเลือกของสมาชิกพรรคคอนเซอเวทีฟที่อยู่ราว ๑๖๐,๐๐๐ คน( อย่างไรก็ดีก่อนที่จะให้สมาชิกพรรคออกเสียงเลือกนั้น นายริชชี่ ชนะได้เสียงจากส.ส.ในพรรคมากกว่านางทรัสส์) การส่งมอบอำนาจให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่อ่าจจะใช้เวลาระยะหนึ่งเมื่อโฆษกทำเนียบนายกฯแถลงว่าอาจจะไม่ใช่ในวันจันทร์นี้เพราะอดีตนายกฯ นางทรัสส์ต้องเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ ก่อน
ริชชี่ สุนัค คือใคร
บิดาของเขาเป็นหมอและมารดาเปิดร้านขายยาทั้งคู่ย้ายมาจากอัฟริกาตะวันออกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษและเป็นคนอินเดีย ริชชี่เกิดที่เซ้าท์แฮมตัน, เรียนจบจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด,สหรัฐอเมริกา สมรสกับนักธุรกิจหญิงชาวอินเดียชื่อ Akshata Murthy และมีบุตรสองคน ครอบครัวภรรยาของเขามีธุรกิจซอฟท์แวร์(Infosys ให้บริการในกว่า ๕๐ ประเทศ)ที่รำรวยอย่างมหาศาลในอินเดียและนี่เป็นจุดอ่อนที่เขามักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าภรรยาของเขาไม่เสียภาษีให้กับประเทศอังกฤษซึ่งที่จริงสามารถทำได้ และเพื่อกลบเสียงวิจารณ์นั้นต่อมาเธอได้ยอมเสียภาษีบางส่วนให้กับอังกฤษ เดอะซันเดย์ไทม์ลงรายชื่อของสามีภรรยาคู่นี้ว่ารำรวยโดยมีทรัพย์สินราว ๗๓๐ ล้านปอนด์
ก่อนที่จะมาเล่นการเมือง ริชชี่ สุนัค เคยทำงานให้กับบริษัท โกลด์แมน แซค และบริษัทกองทุนรวมอื่นอีกสองแห่ง นอกจากจะถือสัญชาติอังกฤษแล้ว เขายังมีกรีนการ์ดของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
เส้นทางการเมืองของริชชี่ สุนัค ก้าวหน้ารวดเร็วที่เดียวเขาได้รับเลือกเป็นส.ส. ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ในเขตริชมอนด์,ยอร์คเชียร์เหนือ แลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลังในสมัยนายบอริส จอนห์สันเป็นนายกฯ และในปลายเดือนตุลาคมปีนี้เขาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่มีเชื้อสายอินเดีย
ในคำแถลงครั้งแรกหลังจากประกาศผลว่าเขาชนะการเลือกหัวหน้าพรรคทอรี่ นายริชชี่บอกว่า
"It is the greatest privilege of my life to be able to serve the party I love and give back to the country I owe so much to." นับว่าเป็นเกียร์ติอย่างยิ่งในชีวิตของข้าพเจ้าที่ได้ทำงานให้กับพรรคที่ข้าพเจ้ารักและได้ตอบแทนประเทศที่มีบุญคุณอย่างเหลือล้น (ส่วนหนึ่งของคำปราศรัย)
"We now need stability and unity and I will make it my utmost priority to bring our party and our country together." ขณะนี้เราต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเสถียรภาพ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอันดับแรกข้าพเจ้าที่จะนำพรรคของเราและประเทศของเราให้ไปด้วยกัน
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่านายริชชี่ สุนัค ขณะนี้อาจจะดูว่าเป็นผู้ที่จะเข้ามาประสานรอยร้าวภายในพรรคคอนเซอเวทีฟและด้วยความหวังที่จะอุดรอยรั่วของเรือเศรษฐกิจของประเทศ จากนโยบายทางด้านภาษีที่เขายืนหยัดในระหว่างที่ต่อสู้กับนางทรัสส์เมื่อสองเดือนที่แล้ว แต่สิ่งที่จะพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่านายริชชี่จะสามารถนำประเทศให้ไปถูกทิศทางได้จริงเพียงใดก็ต้องคอยดูในนโยบายงบประมาณ mini-budget ที่รมต. คลังจะประกาศในวันที่ ๓๑ ตุลาคมนี้ ซึ่งถ้านโยบายนี้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย นายริชชี่ก็คงจะรอดพ้นสามารถทำงานต่อไปได้ แต่ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น มาฟังพรรคฝ่ายค้านเขาให้ความคิดว่าอย่างไรกับการเข้ารับตำแหน่งของเขา
