Wednesday, 15 May 2024
รัฐบาลลุงตู่

ผลักดันจนสำเร็จ!! เปิดเนื้อหา ฟื้นสัมพันธ์ ไทย-ซาอุฯ สู่ผลงานชิ้นโบว์แดง ‘รัฐบาลลุงตู่’ 

หลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกันให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง หลังความสัมพันธ์ตกต่ำมาตลอด 32 ปีที่ผ่านมา 

การเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศแล้วผ่านพิธีการต้อนรับอย่างสมเกียรติ ในขณะเดียวกันยังมีการเจรจาในแบบทวิภาคีอีกหลายเรื่อง

แน่นอนว่า การเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียของ พล.อ.ประยุทธ์ ในครั้งนี้ ย่อมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นการเปิดประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์หน้าใหม่ระหว่างสองประเทศในรอบกว่า 30 ปี ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับกันว่า นี่คือ ผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ อย่างปฏิเสธไม่ได้ 

การไปเยือนซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ มีรายละเอียดที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สรุปไว้น่าสนใจหลายอย่าง ลองไปดูว่ามีอะไรบ้าง เหตุใดจึงสร้างอิมแพค ทั้งในไทยและทั่วโลก ต่างจับตามอง

1.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มกราคม 2565 ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

2.) มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียทรงให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และทั้งสองฝ่ายได้ประชุมหารืออย่างเป็นทางการ โดยทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความตั้งใจร่วมกันในการสะสางประเด็นที่คั่งค้างทั้งหมดระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียและปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองราชอาณาจักรให้เป็นปกติ ทั้งสองฝ่ายยังได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรของสองราชอาณาจักรและการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยย้ำว่า ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับซาอุดีอาระเบีย และแสดงความเสียใจยิ่งต่อโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่ประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2532-2533 (ค.ศ. 1989-1990)

นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยยืนยันว่า ไทยได้พยายามอย่างที่สุดแล้วในการสะสางกรณีต่างๆ และหากมีหลักฐานใหม่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น ก็พร้อมที่จะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยพิจารณา นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้ยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการให้ความคุ้มครองที่เหมาะสมแก่บุคคลในคณะผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียที่กรุงเทพฯ ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ปี ค.ศ. 1961 ทั้งสองฝ่ายยังได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อดูแลความปลอดภัยของคนชาติของกันและกันในแต่ละประเทศ

3.) ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคและระหว่างประเทศต่างๆ และได้หารือถึงแนวทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีในทุกสาขา ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์และการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของแต่ละฝ่ายเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันของราชอาณาจักรทั้งสอง

4.) โดยคำนึงถึงจิตวิญญาณของความร่วมมือและความตั้งใจร่วมกันเพื่อฟื้นฟูมิตรภาพและความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองราชอาณาจักรและประชาชน ภายใต้การนำและพระราชวิสัยทัศน์อันเข้มแข็งของผู้พิทักษ์ สองมหามัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Majesty King Salman bin Abdulaziz Al Saud) และมกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันให้เป็นปกติอย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์นี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความพยายามในหลายระดับของทั้งสองฝ่ายที่มีมาอย่างยาวนานเพื่อฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจและความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกัน

5.) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกับขั้นตอนสำคัญต่างๆ ที่จะดำเนินการเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคี ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำเมืองหลวงของทั้งสองประเทศในอนาคตอันใกล้ และการจัดตั้งกลไกการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี การติดต่อประสานงานอย่างเต็มที่จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้าเพื่อหารือความร่วมมือทวิภาคีในสาขายุทธศาสตร์ที่สำคัญ

6.) ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางในการส่งเสริมและเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองราชอาณาจักรโดยการแสวงหาโอกาสในด้านการลงทุนและอื่นๆ ในบริบทของวิสัยทัศน์ ค.ศ. 2030 ของซาอุดีอาระเบียและวาระการพัฒนาแห่งชาติของไทย กล่าวคือ นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy) ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะแสวงหาความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ อาทิ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนา และความมั่นคงทางไซเบอร์ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ที่กำลังเติบโตระหว่างทั้งสองราชอาณาจักร รวมทั้งการส่งเสริมการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างศาสนาและพหุวัฒนธรรม

'พล.ท.นันทเดช'​ เตือน!! ปัญหาธรรมดาที่รัฐมักปล่อย สะท้อนผ่าน​ ' ความพ่ายแพ้'​ เลือกตั้งซ่อมหลักสี่แล้ว

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ศรภ. โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ระบุว่า... 

รัฐบาลได้รับการสั่งสอนเป็นครั้งที่​ 3

ประสิทธิภาพของรัฐบาล ในการตอบสนอง
ความสุขให้กับประชาชนนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะขับเคลื่อนประเทศได้ดีขนาดไหนก็ตาม เช่น สร้างรถไฟฟ้า 10 สาย / ต่อสู้ชนะโรคโควิด / การจัดนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ

แต่ความสุข ของคนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่ในมือของคนชั้นกลางนั้น... 

ด้านหนึ่งก็ชื่นชมต่องานที่รัฐบาลทำขึ้นมา 
อีกด้านหนึ่งก็ต้องการความสงบของบ้านเมือง รวมทั้งความทัดเทียมทางกฎหมาย 

ดังนั้นรัฐบาล​ ซึ่งทำงานแทบตาย ก็จะสะดุดขาตัวเองเป็นระยะๆ จากปัญหาธรรมดาๆ​ ที่น่าจะแก้ไขได้ง่ายๆ 

ถ้าเอาใจใส่ซะหน่อย อย่าไปคิดว่าประชาชน
จะลืมอะไรง่ายๆ พวกเขาไม่ลืม เพียงแต่จริงๆ แล้วพวกเค้าก็ยังต้องการรัฐบาลอยู่

จึงอยากขอเตือนรัฐบาลให้ระวังเรื่องแบบนี้หน่อยครับ

เรื่องแบบไหนล่ะ ก็เรื่องที่แก้ได้ง่ายๆ​ นะซิครับ

1.) การดำเนินคดีต่อตำรวจขับรถจักรยานยนต์หรูชนหมอต่ายจนเสียชีวิต​ ซึ่งดูกระบวนการจัดการช้าไม่ทันใจประชาชน

2.) สินค้าราคาแพง ทั้งๆ ที่มีเหตุการณ์เตือนมาแล้วเป็นระยะๆ​ แล้ว​

3.) การบุกรุกพื้นที่ป่า ของครอบครัว คุณธนาธร ซึ่งเรื่องไปค้างอยู่ที่กรมที่ดิน มาปีหนึ่งแล้ว

4.) แท็กซี่ราคาโหดที่ภูเก็ต นักท่องเที่ยวเรียก Grab ราคา​ 180 บาท...Grab พอรู้พื้นที่ไม่กล้ามารับ เลยไปเรียกแท็กซี่...แท็กซี่ เรียกราคา 600 บาท ราคามันต่างกันมากก็เลยทะเลาะกัน...แท็กซี่ท้าให้เรียกตำรวจ ตำรวจมาก็ทำอะไรไม่ได้

5.​) ความขัดแย้งในพรรคหลักของรัฐบาล

6.​) เรื่องการลดโทษนักโทษการเมือง ที่ทำการทุจริต

ฯลฯ

‘รัฐบาลลุงตู่’ ผู้พาประเทศไทยฝ่าสารพัดวิกฤต ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ ‘8 ปี’ ที่ไทยถดถอย

จากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน ว่าที่แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย เคยให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถดถอยในทุกด้าน  

ล่าสุด บัญชี tiktok ‘เรารักลุง’ ได้ทำคลิปตอบโต้คำสัมภาษณ์ดังกล่าวให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักธุรกิจใหญ่ที่มองว่า ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ภายใต้รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถือว่า ‘ถดถอย’ 

แต่รู้หรือไม่ว่า ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตอะไรบ้าง?
ย้อนไปแค่ 3 ปีก่อน ที่ประเทศไทยต้องต่อสู้กับวิกฤตโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ การค้า และระบบสาธารณสุขของประเทศ ไม่เพียงเท่านั้นยังซ้ำด้วยวิกฤตด้านพลังงาน จากผลพวงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเผชิญกับสารพัดวิกฤต แต่ประเทศไทย ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ สามารถนำพาประเทศฝ่าวิกฤตครั้งใหญ่มาได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่ยอมรับขององค์กรระดับโลกอย่าง ธนาคารโลก ที่ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยภายหลังวิกฤตโควิด สามารถฟื้นตัวได้เร็วเกินคาด โดยจะกลับมาสู่ระดับก่อนที่เกิดโควิด – 19 ภายในปี 2566 และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการ องค์การอนามัยโลก (WHO)  ได้ออกมาชื่นชม พลเอกประยุทธ์ และระบบสาธารณสุขของไทย รับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งในแง่ การควบคุมโรค และการรักษาผู้ป่วย

ขณะที่ในมิติด้านเศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากมาย ยกตัวอย่าง เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศและสร้างการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในอนาคต อีกทั้งยังสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติได้อย่างมหาศาล

ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เป็นอีกหนึ่งผลงานเป็นที่ประจักษ์เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ทั้งระบบราง เรือ และถนน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ในกรุงเทพ โครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงการรถไฟทางคู่ 8 เส้นทาง ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงการเดินทาง การขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เฉิดฉายในเวทีโลก!! สรุปสุดยอดภารกิจระดับนานาชาติ ใต้ปีก 'รัฐบาลประยุทธ์' เจริญสัมพันธ์ราบรื่น สานเศรษฐกิจยั่งยืน พาไทยฟื้นสถานะสุดแกร่ง

ต้องยอมรับว่า ช่วงสมัยรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในซีซัน 2 ระหว่างปี 2562 ถึงปัจจุบันนั้น...ประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมและเป็นแขกสำคัญของนานาประเทศ ในการผูกเชื่อมสัมพันธ์ การพูดคุยเจรจาด้านเศรษฐกิจ และการหารือวาระสำคัญระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกงานที่ร่วม ล้วนแล้วแต่ได้รับผลตอบรับ และสานต่อพันธกิจของชาติได้อย่างน่าชื่นชม

โอกาสนี้ THE STATES TIMES เลยขอเปิดไทม์ไลน์ 17 ภารกิจงานประชุมใหญ่ระดับนานาชาติ และการเยือนต่างประเทศของรัฐบาลไทย ภายใต้ 'พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ให้คนไทยทุกคนได้ย้อนรำลึกไปด้วยกัน เริ่มด้วย...

1. การประชุมระดับประเทศ ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21-27 กันยายน 2562

2. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ณ สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2562

3. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 ทางออนไลน์

4. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 เมื่อวันที่ 12-15 พฤศจิกายน 2563 ทางออนไลน์

5. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ทางออนไลน์

6. การประชุม ACMECS ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ทางออนไลน์

7. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ทางออนไลน์

8. ประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ทางออนไลน์

9. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 เมื่อวันที่ 26-28 ตุลาคม 2564 ทางออนไลน์

10. การประชุม COP26 เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2564 

11. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2564 ทางออนไลน์

12. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เดินทางเยือน ซาอุฯ เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2565 เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีของรัฐบาลไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน

13. ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11-15 พฤษภาคม 2565

14. การประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565)

15. การประชุมเอเปค ณ ประเทศไทย ครั้งยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565

16. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565

17. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ณ ประเทศเบลเยียม (12-15 ธันวาคม 2565)

เรียกได้ว่า ทุกภารกิจด้านการต่างประเทศของไทย ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ระหว่างปี 2562-ปัจจุบันนั้น ได้สร้างผลลัพธ์อันดีต่อประเทศไทยสามารถลุล่วงภารกิจหลากมิติ ทั้งด้านความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า ความมั่นคง วิชาการ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ระหว่างไทยกับนานาชาติได้อย่างน่าชื่นชม

‘ชัยวุฒิ’ ชมรัฐบาลลุงตู่ หลังความสามารถด้านดิจิทัลไทยพุ่ง 5 อันดับ พร้อมให้กำลังใจรัฐบาลปัจจุบันสานต่อให้ดียิ่งขึ้น

จากผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศโดย World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2566 ที่เพิ่งประกาศออกมาล่าสุด ผลปรากฏว่า ปีนี้ไทยมีอันดับดีขึ้น 5 อันดับมาอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 64 เขตเศรษฐกิจ โดยปรับตัวดีขึ้นทั้ง 3 ด้าน

ด้านเทคโนโลยี (Technology) เป็นปัจจัยที่มีอันดับดีที่สุด โดยอยู่ในอันดับที่ 15 ดีขึ้นกว่าปี 2565 ถึง 5 อันดับ ในขณะที่ด้านความรู้ (Knowledge) และด้านความพร้อมสำหรับอนาคต (Future Readiness) มีอันดับดีขึ้น 4 และ 7 อันดับ ตามลำดับ แม้ว่าจะยังคงอยู่ในอันดับที่ไม่สูงนัก คือ อันดับที่ 41 และ 42 ตามลำดับ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โพสต์เฟซบุ๊ก โดยระบุว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่ IMD เผยอันดับขีดความสามารถการแข่งขันไทย ปี 66 ไต่ขึ้น 3 อันดับ พบปัจจัยบวกทุกด้าน เศรษฐกิจ ประสิทธิภาพภาครัฐและภาคธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเป็นบวก เป็นข่าวดีและความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคนครับขอบคุณรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผลักดันโครงการสำคัญมากมายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขับเคลื่อนประเทศของเรามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยปีนี้ ขยับดีขึ้นครับต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจ ทุ่มเทกำลังช่วยกันทำงานอย่างหนัก 

ที่น่าสนใจคืออันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยดีขึ้นถึง 5 อันดับ World Digital Competitiveness Ranking ปรับดีขึ้นจาก 40 ในปีที่ผ่านมา เป็นลำดับ 35 ในปีนี้ ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่กระทรวงดีอีเอสได้ทุ่มเทกันไปนั้นไม่สูญเปล่า และเชื่อว่า อันดับของประเทศไทยจะดีขึ้นในปีต่อ ๆ ไป เพราะเราได้มีการวางรากฐานด้านดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่องและเริ่มปรากฎผลลัพธ์ออกมาให้เห็นแล้วครับ

“ผมขอเป็นกำลังใจให้กับผู้บริหารกระทรวงดีอีเอสเเละรัฐบาล ชุดปัจจุบัน รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้นทุก ๆ ปีครับ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top