Monday, 6 May 2024
รถไฟใต้ดิน

3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเปิดการเดินรถ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย "โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ)" อย่างเป็นทางการ 

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เดินทางช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กม. จำนวน 18 สถานี โดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้รับสัมปทานในการลงทุนในระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตามมาตรฐานการให้บริการที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขสัญญา และมีสิทธิ์ในรายได้ค่าโดยสาร รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า

30 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ญี่ปุ่นเปิดรถไฟใต้ดินสายกินซะ เส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในทวีปเอเชีย

วันนี้ เมื่อ พ.ศ. 2470 ญี่ปุ่นเปิดการจราจรรถไฟใต้ดินสายกินซะในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในทวีปเอเชีย วันที่ 30 ธ.ค.ของทุกปีจึงเป็นวันครบรอบสถานีรถไฟใต้ดินแห่งแรก

วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - ญี่ปุ่นเปิดการจราจรรถไฟใต้ดินสายกิงซะในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในทวีปเอเชีย

โตเกียวเมโทรสายกินซะ (ญี่ปุ่น: 銀座線 โรมาจิ: Ginza-sen) หรือ สาย 3 กินซะ (ญี่ปุ่น: 3号線銀座線 โรมาจิ: 3-gōsen Ginza-sen) เป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายหนึ่งของบริษัทโตเกียวเมโทร ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีความยาวทั้งสิ้น 14.3 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เขตชิบุยะ มินะโตะ ชิโยะดะ และไทโต

สัญลักษณ์ของโตเกียวเมโทรสายกินซะที่ปรากฏบนแผนที่หรือป้ายบอกทางจะใช้สีส้ม และตัวอักษรภาษาอังกฤษ 'G'

โดยรถไฟใต้ดินสายกินซะเริ่มต้นขึ้น เมื่อนักธุรกิจนามว่า โนะริสึงุ ฮะยะกะวะ ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1914 ได้เห็นกิจการรถไฟใต้ดินลอนดอน จึงเกิดความคิดว่าโตเกียวจะต้องมีรถไฟใต้ดินเป็นของตัวเอง เขาจึงก่อตั้งบริษัทรถไฟใต้ดินโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京地下鉄道 โรมาจิ: Tōkyō Chika Tetsudō) ขึ้นในปี ค.ศ. 1920 และเริ่มก่อสร้างในอีก 5 ปีต่อมา

เส้นทางระหว่างอุเอะโนะและอะซะกุซะได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1927 ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในซีกโลกตะวันออก ทันทีที่เปิดให้บริการได้รับความนิยมจากผู้โดยสารมาก เพราะสามารถลดระยะเวลาในการรอรถไฟจาก 2 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 5 นาที

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1930 ได้ขยายเส้นทางออกไปอีก 1.7 กิโลเมตร จนถึงสถานีมันเซบะชิ ซึ่งต่อมาสถานีนี้ถูกยกเลิกในอีก 1 ปีต่อมา เมื่อขยายเส้นทางออกไปอีก 500 เมตร จนถึงสถานีคันดะ การก่อสร้างชะงักลงช่วงหนึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สุดท้ายสามารถขยายเส้นทางได้จนถึงสถานีชิมบะชิตามแผนการที่วางไว้

‘จีน’ นำร่องใช้รถไฟใต้ดิน ‘ขนส่งพัสดุด่วน’ ในปักกิ่ง หวังช่วยระบายพัสดุเร็วขึ้น พร้อมลดการจราจรติดขัด

(25 ก.ย. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันเสาร์ (23 ก.ย.) ที่ผ่านมา รถไฟใต้ดินหลายสายในกรุงปักกิ่งของจีนได้เริ่มเข้าร่วมโครงการนำร่องด้านการขนส่งพัสดุด่วนในช่วงที่ไม่ใช่เวลาเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความแออัดของการจราจรบนท้องถนนรวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ข้อมูลจากหวังซูหลิง เจ้าหน้าที่สถาบันการคมนาคมแห่งปักกิ่งระบุว่า เครือข่ายการขนส่งทางรางในย่านเมืองของปักกิ่ง ขยายตัวกว้างขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีรถไฟวิ่งให้บริการรวม 27 เส้นทาง ครอบคลุมเป็นระยะทางรวม 807 กิโลเมตร

หวังกล่าวว่ามหานครแห่งนี้ต้องจัดการกับพัสดุด่วนราว 15 ล้านชิ้นต่อวัน และส่วนใหญ่จัดส่งผ่านการขนส่งทางถนนในเมือง โครงการนำร่องข้างต้นจึงเป็นการใช้ประโยชน์จากกำลังการขนส่งส่วนเกินของระบบรถไฟใต้ดินในช่วงเวลาที่มีผู้โดยสารไม่มาก พร้อมคาดว่าจะสามารถบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดพร้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

โจวหยวน เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการการคมนาคมประจำเทศบาลกรุงปักกิ่งให้ข้อมูลว่า เพื่อรับรองว่าการปฏิบัติงานของเส้นทางรถไฟขนส่งพัสดุด่วนนำร่องนั้นจะเป็นไปอย่างปลอดภัยและเป็นระบบระเบียบ คณะกรรมาธิการฯ จึงกำหนดว่าสินค้าที่ขนส่งนั้นจะต้องไม่อยู่ในรายการสิ่งของต้องห้ามบนรถไฟใต้ดินของปักกิ่ง และจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัย

ทั้งนี้ โจวกล่าวว่าหลายบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้ออกแบบกล่องส่งพัสดุด่วนแบบใช้ซ้ำได้ ซึ่งมีขนาดสอดคล้องกับระบบการขนส่งทางรางในเมือง ทั้งยังพัฒนารถเข็นพัสดุที่สามารถอำนวยความสะดวกและรับรองความปลอดภัยได้โดยเฉพาะขึ้นอีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top