Sunday, 20 April 2025
รถไฟลาว

'องลงกรณ์' ชี้ 'รถไฟลาว-จีน' มีประโยชน์ต่อไทย ร่นเวลาขนส่งไปจีนใช้เวลาเพียง 1 วันครึ่ง 

เมื่อวันที่ 24 เมษายน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า วันนี้ขอแสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จในการส่งออกทุเรียนไทยล็อตใหญ่ที่สุด 500 ตัน 27 ตู้คอนเทนเนอร์ของฤดูกาลผลิตผลไม้ปี 2565 ที่ขนส่งบนเส้นทางรถไฟสายลาว-จีนตามนโยบายอีสานเกตเวย์และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการขนส่งผลไม้ไทยด้วยระบบรางภายใต้พิธีสารการนำเข้าส่งออกผลไม้ระหว่างไทย-จีนโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทย-ลาวและจีนหลังจากทดสอบการส่งออกทุเรียน 2 ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวน้ำหอม 1 ตู้คอนเทนเนอร์เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

จากนี้จะขยายไปสู่การขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น มังคุด ลำไย ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล มะม่วง เป็นต้น เพื่อเร่งสร้างรายได้เข้าประเทศ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กล่าวว่า ทุเรียนล็อตใหญ่ล็อตแรกมาจากจังหวัดจันทบุรี จำนวน 27 ตู้ ซึ่งเป็นการขนส่งระบบผสมผสาน “ราง-รถ” โดยรถบรรทุกคอนเทนเนอร์รุ่นใหม่บรรทุกทุเรียนที่ผ่านการตรวจสอบโรคพืช ไม่มีทุเรียนอ่อนและปลอดการปนเปื้อนโควิดเดินทางจากภาคตะวันออกถึงจังหวัดหนองคายข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ไปถ่ายตู้ที่ท่าบกท่านาแล้งก่อนลำเลียงไปขึ้นแคร่รถไฟที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ แล้วเดินทางไปยังสถานีรถไฟนาเตยในแขวงหลวงน้ำทาก่อนยกขึ้นรถบรรทุกคอนเทนเนอร์เดินทางต่อไปด่านบ่อเต็นข้ามพรมแดน “ลาว-จีน” ไปตรวจโรคพืชและโควิดที่ด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนาน

ยกระดับ ‘ขบวน 133/134’ สู่ขบวนระหว่างประเทศ ‘ไทย-ลาว’ เชื่อมการเดินทางเข้าถึงพื้นที่ท้องถิ่น หนุนเศรษฐกิจชายแดน

(18 ก.พ.67) เพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้โพสต์รายงานแผนความคืบหน้าขยายการเดินทาง และการยกระดับขบวนรถไฟ 133/134 เพื่อเชื่อมต่อท้องถิ่น ‘ไทย-ลาว’ โดยระบุว่า…

ยกระดับขบวน 133/134 สู่ขบวนระหว่างประเทศ ไทย-ลาว พร้อมเพิ่มขบวนรถไฟท้องถิ่นระหว่างประเทศ ‘อุดรธานี-เวียงจันทน์’ สนับสนุนการค้าขายชายแดน

***เริ่มให้บริการ กลางเดือนพฤษภาคม 2567 นี้!!

วันนี้ขอมา Update แผนความคืบหน้าในการเชื่อมต่อ ‘ไทย-ลาว’

ซึ่งจะขยายการเดินรถไฟจากเดิมที่สิ้นสุดที่ท่านาแล้ง ไปที่สถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ซึ่งเป็นสถานีหลักของทางรถไฟขนาด 1 เมตร ที่ไทยช่วยสนับสนุนในการก่อสร้าง จาก NEDA 
ใครยังไม่รู้จักสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ดูได้จากลิงก์นี้ 
>> https://www.facebook.com/100067967885448/posts/593470202928571/

แต่ที่ผ่านมาหลังจากก่อสร้างเสร็จตั้งแต่กลางปี 2566 ก็ยังติดปัญหาเปิดเดินรถไม่ได้ จากหลายส่วน ตั้งแต่…

- พนักงานขับรถไฟไทย ไม่ต้องการจะเดินรถไฟฝั่งลาว เนื่องจากเกรงปัญหาทางกฏหมาย หากเกิดอุบัติเหตุ
- เส้นทางรถไฟยังไม่ปลอดภัย จุดตัดต่างๆ ยังไม่มีอุปกรณ์กั้น และไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล้ว
- กฏระเบียบ ในการให้บริการรถไฟในฝั่งลาว

ทำให้ต้องมีการจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ก่อนจะเริ่มบริการให้เดินรถ ได้แก่…

- ช่วยฝึกอบรม และซ้อมขับรถไฟไทย ให้กับพนักงานขับรถไฟลาว ในช่วงท่านาแล้ง-เวียงจันทน์
- ลงนามในข้อตกลงด้านเทคนิค และการซ่อมบำรุงระหว่างไทย-ลาว
- ตรวจสอบทางรถไฟในช่วง ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ก่อนเปิดให้บริการ

ซึ่งทั้งหมดจะเสร็จภายในต้นเดือน พฤษภาคม 2567 และจะเปิดให้บริการ ภายในกลางเดือน พฤษภาคม 2567

ซึ่งจะมีการจัดการเดินรถใหม่ เพื่อเชื่อมโยง กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) โดยมีการปรับการเดินรถใหม่ ได้แก่…

- ขบวนรถเร็วระหว่างประเทศ 133/134 กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
- ขบวนรถท้องถิ่นระหว่างประเทศ 481/482 อุดรธานี-หนองคาย-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

โดยช่วง หนองคาย-ท่านาแล้ง จะมีการปรับริ้วขบวนแบ่งเป็นตู้โดยสารและตู้สินค้า ดังนี้…

ตู้โดยสาร แบ่งเป็น
- ตู้ชั้น 2 ปรับอากาศ 2 ตู้
- ตู้ชั้น 3 พัดลม 2 ตู้

ตู้สินค้า 20 คัน

โดยตู้สินค้าจะถูกตัดที่สถานีท่านาแล้ง เพื่อเปลี่ยนถ่ายในย่านสินค้าท่านาแล้ง ส่วนตู้โดยสารมุ่งหน้าต่อไปสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

ซึ่งถ้าเปิดให้บริการในช่วง อุดรธานี-เวียงจันทน์ จะช่วยสนับสนุนการเดินทาง และจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่อุดรธานีของพี่ๆ น้องๆ จากฝั่งลาว มาจับจ่ายใช้สอยฝั่งไทยได้มากเลย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top