Sunday, 20 April 2025
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

'วัชระ' ยื่น 'ป.ป.ช.' สอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค ทำชาวบ้านเดือดร้อน หลังปิดจ๊อบไม่คืนสภาพเดิมถนนและไฟฟ้าเกาะกลาง 

นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่านนายไพโรจน์ นิยมเดชา นักสืบคดีทุจริต ถึงนายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 

ขอให้สอบสวนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค เฉพาะช่วงถนนจรัญสนิทวงศ์ 13 ถึงบางแค ระยะทาง 9 กิโลเมตร บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ผู้ก่อสร้างในวงเงิน 13,380 ล้านบาท กลับคืนสภาพถนนด้วยการลาดยางแทนถนนคอนกรีตให้กรุงเทพมหานครอันเป็นการผิดสัญญาการก่อสร้างว่าเป็นการผิดกฎหมายป.ป.ช.หรือกฎหมายอาญาอื่นใดหรือไม่ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร คู่สัญญาและบริษัทเอกชนต้องรับผิดชอบตามกฎหมายหรือไม่ กรณีนี้ได้รับการร้องเรียนจากชาวฝั่งธนบุรีว่าไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาการก่อสร้างคือไม่ได้คืนสภาพถนนให้กับกรุงเทพมหานครในสภาพเดิมตามที่ระบุไว้ในสัญญาและการก่อสร้างรถไฟฟ้าได้เสร็จมานานแล้วทำให้รัฐเสียประโยชน์ คือ

1. สภาพถนน เดิมเป็นถนนคอนกรีตตั้งแต่ถนนจรัญสนิทวงศ์ 13 จนถึงบางแคระยะทาง 9 กิโลเมตร บริษัทก่อสร้างกลับลาดยางแทนถนนคอนกรีต โดยไม่ปรากฏว่ากรุงเทพมหานครหรือคู่สัญญามีการทักท้วงแต่อย่างใด  จึงขอให้ตรวจสอบว่าบริษัทเอกชนปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้างครบถ้วนหรือไม่ เจ้าหน้าที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนห่งประเทศไทย หรือ รฟม.และข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือผิดกฎหมายอื่นใดของป.ป.ช.หรือไม่ 

 

อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินลอดใต้แม่น้ำแห่งแรกของไทย แค่ 2 นาที เชื่อมความเจริญสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

'บิ๊กตู่' ชวนประชาชนนั่งข้ามเจ้าพระยาผ่านรถไฟฟ้าใต้ดินลอดอุโมงค์แม่น้ำเจ้าพระยา ความสำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ ที่ใช้เวลาเพียง 2 นาที เชื่อมฝั่งธน-เกาะรัตนโกสินทร์ สู่มหานครแห่งความสุข 

(20 ส.ค.66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เร่งผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยได้ติดตามทุกโครงการของรถไฟฟ้ามหานคร ให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผนและมีความสำเร็จให้ตรงตามเวลาตามเป้าหมาย

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ทั้งนี้หนึ่งในสายรถไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางการเดินทางและใกล้แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเก่าคือ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วง หัวลำโพง-บางแค เป็นโครงการเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ไปฝั่งธนบุรี ความพิเศษของเส้นทางระหว่างสถานีสนามไชยกับสถานีอิสรภาพ เป็นเส้นทางผ่านอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศไทย เป็นระยะทางประมาณ 200 เมตร โดยพล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นประธานในพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา (Eastbound TBM Launching Ceremony) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายฯ สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชย - สถานีท่าพระ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 กระทั่งแล้วเสร็จสามารถเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา

ตรงนี้เป็นเส้นทางที่สะดวกในการเชื่อมระหว่างพระนคร (เกาะรัตนโกสินทร์) ไปยังฝั่งธนบุรี และเป็นจุดแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลกของไทย แหล่งสถานศึกษา 3 มหาวิทยาลัย (ม.ศิลปากร วังท่าพระ-ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์-คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล วังหลัง) และโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่ง จึงทำให้เส้นทางนี้สามารถลดปัญหาการจราจร ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยเป็นอย่างมาก

“โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงสถานีสนามไชย-สถานีอิสรภาพ รถไฟฟ้าจะต้องผ่านอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 นาที แต่ต้องก่อสร้างด้วยเทคนิคพิเศษ เนื่องจากเป็นการขุดอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร และตัวอุโมงค์รถไฟฟ้าขุดลึกลงไปจากก้นแม่น้ำอีก 10 เมตร หรือลึก 30 เมตรจากผิวดิน โดยในบางช่วงที่ลึกที่สุดจะลึกไปถึง 38 เมตรเทียบเท่าตึก 10 ชั้น โดยที่บริเวณจุดกลางแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีความลึก 30.86 เมตรใต้ท้องน้ำและลึก 9.71 เมตรจากใต้ท้องน้ำถึงหลังอุโมงค์ พิกัดจุดกลางแม่น้ำเจ้าพระยาห่างจากสถานีสนามไชย 323.92 เมตร“ น.ส.ทิพานัน กล่าว

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายฯ นี้ ผ่านย่านเมืองเก่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จึงมีความตั้งใจที่จะให้มีแผนพัฒนาให้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมที่วิจิตรทั้งภายนอกและภายในให้สอดรับกับบริบทในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งมีความสวยงามมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมผสมเข้าไปด้วย เช่น สถานีวัดมังกร, สถานีสนามไชย, สถานีอิสรภาพ, สถานีสามยอด จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าแวะชมไปด้วย

“การเชื่อมความเจริญใต้น้ำเจ้าพระยา ขยายความเจริญสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งฝั่งธนบุรีและเกาะรัตนโกสินทร์ ฝั่งพระนคร เป็นการเชื่อมสู่มหานครแห่งความสุข เชื่อมคนสองฝั่งเมืองเข้าด้วยกันอย่างลงตัวเป็นความทันสมัยที่ไม่หลงลืมวัฒนธรรมความเป็นไทยที่จะสอดแทรกไว้ตามสถานีต่างๆ ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่อนุมัติงบประมาณและเป็นผลงานการพัฒนาของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่มีความมุ่งมั่นให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้มากขึ้น และยกระดับเชื่อมการเดินทาง ล้อ-ราง-เรือ ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น พร้อมกับส่งเสริมการท่องเที่ยวและการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย” น.ส.ทิพานัน กล่าว

MRT สายสีม่วง-สีน้ำเงิน เริ่มแคมเปญสุดเจ๋ง!! 20 สถานี 20 ตราประทับ สร้างความประทับใจ

(11 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชี Wanwit Niampan  (Ham) ได้เผยแพร่ข้อความว่า

'MRT' เริ่มแคมเปญ 'ตราประทับสถานี' แล้วครับบบบ

ตราประทับสถานี เป็น Tools หนึ่งในการส่งเสริมการเดินทาง อาจจะด้วยการท่องเที่ยว หรือการสะสมแต้มเพื่อ benefit โดยแนวคิดนี้จริง ๆ ในญี่ปุ่นและไต้หวันใช้มานานแล้ว ที่ญี่ปุ่นเรียกว่า EkiStamp เพื่อให้เป็น 'ที่ระลึก' ว่าเคยได้เดินทางมาที่สถานที่แห่งนั้น และเกิดการ recall ของผู้บริโภคต่อในอนาคต ทั้งด้านทัศนคติที่ดี (Attitude) การมีความสัมพันธ์ (Relation) ระหว่างตัวองค์กรกับผู้ใช้บริการ 

ตรายางสามารถสร้าง perception (การรับรู้) ในด้านประสาทสัมผัส เช่น ตา (ดูลวดลาย) อารมณ์ (การตีความและความรู้สึกที่ทำให้ระลึกถึงสถานที่นั้น) เมื่อมีกิจกรรมก็สามารถทำให้คนมีอารมณ์ร่วมและอยากสะสมบ้าง

เพิ่มเติม ตอนนี้มีแค่ 20 สถานี ในสายสีน้ำเงินและม่วง ครับ

สำหรับผู้ที่สนใจติดตามข้อมูลได้ที่ https://www.mrta.co.th/th/customer-relations-activities-news/20736?fbclid=IwY2xjawF1sEtleHRuA2FlbQIxMAABHYYZAn1qZpgBO1yvlcGSI__4ejc77e4D4DMG-UZ5Ep_saUxaYOtnrl1LaA_aem_juROfHThgzga7l5K-aTVFw 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top