Sunday, 19 May 2024
รถไฟฟ้าสายสีชมพู

เหตุผลที่ MRT สายสีชมพู ใช้คำว่า ‘Kor Mor’ แทน Km 6 เพราะต่างชาติเรียกแท็กซี่จะได้ไม่ต้องพูดว่า “คิล้อมิเถอะซิกส์”

(1 มี.ค. 66) หลังจาก เพจ ‘ฉันเป็นนักเสียดสี’ ได้โพสต์แซะป้ายสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ‘สถานีรามอินทรา กม.6’ ระบุว่า “บ้านนอก ใช้คำว่า ‘Kor Mor’ ชี้ คนคิดน่าจะใกล้ปลดเกษียณภาษาอังกฤษไม่ค่อยจะแตก” จนถูกชาวเน็ตถล่มยับเละคาบ้านไปก่อนหน้านั้น

ด้านผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Pat Sangtum’ ก็ได้ออกมาช่วยโพสต์ไขความกระจ่างให้อีกคำรบ ว่าเหตุใดจึงมีการเลือกใช้คำเขียนดังกล่าว ไว้ว่า...

รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี เตรียมเปิดให้ใช้ได้ภายในปี 2566 เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชน

เพจเฟซบุ๊ก Thailand LOVER ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ที่กำลังจะเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการภายในปีนี้ โดยระบุว่า ...

รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี 

รวมจำนวนสถานีทั้งหมด 30+2 สถานี ดังนี้

ช่วงที่ 1 หลักสี่-มีนบุรี แบ่งเป็น 17 สถานี กำหนดเปิด Q1/ปี 66
ช่วงที่ 2 ศูนย์ราชการนนทบุรี-ทีโอที แบ่งเป็น 13 สถานี กำหนดเปิด Q2/ปี 66
ช่วงที่ 3 ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี แบ่งเป็น 2 สถานี กำหนดเปิดปี 68

เส้นทางการเดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงที่ 1  หลักสี่ – มีนบุรี แบ่งเป็น 17 สถานี คาดจะเปิดให้บริการในช่วง Q1 ของปี 2566 มีรายละเอียดดังนี้

🚧 PK14 สถานีหลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
PK15 สถานีราชภัฏพระนคร สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

PK17 สถานีรามอินทรา 3 สถานีแรกบนถนนรามอินทราตั้งอยู่บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก

PK18 สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23 ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า

PK19 สถานีรามอินทรา กม.4 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 33 และซอยรามอินทรา 37

PK20 สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ

PK21 สถานีวัชรพล ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61

PK22 สถานีรามอินทรา กม.6 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42

PK23 สถานีคู้บอน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46

PK24 สถานีรามอินทรา กม.9 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 54 และซอยรามอินทรา 56

PK25 สถานีวงแหวนรามอินทรา ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade

PK26 สถานีนพรัตน์ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ซอยรามอินทรา 103/1 และโรงพยาบาลนพรัตน์

PK27 สถานีบางชัน ตั้งอยู่บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 113 และซอยรามอินทรา 115

PK28 สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างซอยรามอินทรา 121 และ ซอยรามอินทรา 123

PK29 สถานีตลาดมีนบุรี สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2

PK30 สถานีมีนบุรี ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการ และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี

🚧เส้นทางการเดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงที่ 2 ศูนย์ราชการนนทบุรี-ทีโอที แบ่งเป็น 13 สถานี คาดจะเปิดให้บริการในปี 2566 มีรายละเอียดดังนี้

PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีและบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ

PK02 สถานีแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก

PK03 สถานีสนามบินน้ำ ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ

PK04 สถานีสามัคคี ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาดกับถนนสามัคคี

PK05 สถานีกรมชลประทาน ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา
PK06 สถานีแยกปากเกร็ด ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ

PK07 สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี และโฮมโปร ก่อนถึงทางแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

PK08 สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28

PK09 สถานีศรีรัช ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้กับหมู่บ้านเมืองทองธานี

PK10 สถานีเมืองทองธานี ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวงและห้างแม็คโคร สาขาแจ้งวัฒนะ

PK11 สถานีแจ้งวัฒนะ 14 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างบิ๊กซีแจ้งวัฒนะและซอยแจ้งวัฒนะ 14

PK12 สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงศุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

PK13 สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7

🚧 ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงที่ 3 แบ่งออกเป็น 2 สถานี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 มีรายละเอียดดังนี้

MT01 สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี สถานีส่วนต่อขยายตั้งอยู่บนถนนบางปะอิน-ปากเกร็ด ใกล้กับชาเลนเจอร์ฮอลล์ ของอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยจะมีทางเชื่อมจากสถานีเข้าสู่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ได้สะดวกเลย

MT02 สถานีทะเลสาปเมืองทอง สถานีส่วนต่อขยายตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 บริเวณทางแยกไปทางพิเศษอุดรรัถยา โดยจะเชื่อมทางขึ้นลงไปที่ อิมแพ็ค ฟอรั่ม และทะเลสาบเมืองทองได้สะดวกเลย

🚧 โดยส่วนต่อขยายเมืองทองธานีของ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ผู้โดยสารจะทำการเปลี่ยนได้ที่ PK09 สถานีศรีรัช นั่นเอง เรียกได้ว่าเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะขยายพื้นที่การเดินทางให้กับผู้โดยสารจำนวนมาก สามารถระบายผู้ใช้รถใช้ถนน อาจช่วยลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดบนถนนแคราย – มีนบุรีได้ในอนาคต

‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ เตรียมเปิดให้บริการ 32 สถานี ปลายปีนี้ ขึ้นแท่นโมโนเรลที่มีระยะทางยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก!!

(16 ก.ค. 66) รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู เป็นรถไฟ Monorail อีกสายหนึ่งที่กำลังจะเปิดให้บริการในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งความรู้สึกในการโดยสารก็คงไม่ต่างจาก รถไฟเหาะสายสีเหลืองมากนัก แต่ด้วยความที่สายสีชมพูมีเส้นทางที่ยาวมาก ตลอดสายมีสถานีทั้งหมด 30 สถานี มีเส้นทางแยกเข้าเมืองทองธานีอีก 2 สถานี รวมเป็น 32 สถานี ระยะทางรวมทั้งสายประมาณ 34.5 กิโลเมตร ซึ่งหากเปิดให้บริการเมื่อไหร่ สายสีชมพูจะครองตำแหน่ง ‘รถไฟรางเดี่ยว (Monorail) ที่มีระยะทางยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก’ ทันที เป็นรองแค่ Chongqing Monorail Line 3 ที่มีระยะทาง 66 กิโลเมตรเท่านั้น พี่จะเป็นโมโนเรลที่ ‘ยาว ไป ไหน’

เปิดทดสอบเดินรถไฟฟ้า 'สายสีชมพู' 15 สิงหา 66 ก่อนเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งจริงกันยายน

เมื่อวานนี้ (13 ส.ค.66) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.แจ้งความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรีว่า บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการดังกล่าว ได้ทำการทดสอบระบบการเดินรถตั้งแต่ศูนย์ซ่อมบำรุง (DEPOT) ไปยังสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) รวม 30 สถานี หรือตลอดแนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ซึ่งภาพรวมพบว่าไม่มีปัญหาติดขัด ทางรฟม.จึงคาดว่าจะเริ่มทดสอบการเดินรถไฟฟ้าเสมือนจริง (Trial Run) ในวันที่15 สิงหาคมนี้

>> ความก้าวหน้าของงานก่อสร้างล่าสุดในเดือน ก.ค. 2556

- งานโยธาช่วงแคราย - มีนบุรี อยู่ที่ 97.35%

- งานระบบรถไฟฟ้า คืบหน้า 97.74%

- ความก้าวหน้ารวมสะสมอยู่ที่ 97.54%

นอกจากนี้บริษัทฯ จะเปิดให้ประชาชนร่วมทดลองใช้บริการฟรี ระหว่างเดือน กันยายน-ตุลาคม 2566 ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ จัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ซึ่งภาพรวมของโครงการถือว่าเร็วกว่าแผนกำหนดไว้

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะก่อสร้างเป็นทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีสถานีให้บริการทั้งหมด 30 สถานีและมีศูนย์ซ่อมบำรุงและจุดจอดแล้วจร (Park and ride) บริเวณสถานีมีนบุรี โดยโครงการยังมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายหลัก ได้แก่

1. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี

2. รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่

3. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

4. รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

>> สถานีให้บริการจำนวน 30 สถานี ได้แก่

- PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีและบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ

- PK02 สถานีแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก

- PK03 สถานีสนามบินน้ำ ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ

- PK04 สถานีสามัคคี ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาดกับถนนสามัคคี

- PK05 สถานีกรมชลประทาน ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา

- PK06 สถานีแยกปากเกร็ด ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ

- PK07 สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์และโฮมโปร ก่อนถึงทางแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

- PK08 สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28

- PK09 สถานีศรีรัช ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้กับหมู่บ้านเมืองทองธานี

- PK10 สถานีเมืองทองธานี ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวงและห้างแม็คโครซุปเปอร์สโตร์ สาขาแจ้งวัฒนะ

- PK11 สถานีแจ้งวัฒนะ 14 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างบิ๊กซีแจ้งวัฒนะ และซอยแจ้งวัฒนะ 14

- PK12 สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงสุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

- PK13 สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7

- PK14 สถานีหลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิตสามารถเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)

- PK15 สถานีราชภัฏพระนคร สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

- PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ด้วยทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)

- PK17 สถานีรามอินทรา 3 สถานีแรกบนถนนรามอินทราตั้งอยู่บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก

- PK18 สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23 ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า

- PK19 สถานีรามอินทรา กม.4 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 33 และซอยรามอินทรา 37

- PK20 สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ

- PK21 สถานีวัชรพล ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61

- PK22 สถานีรามอินทรา กม.6 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42

- PK23 สถานีคู้บอน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46

- PK24 สถานีรามอินทรา กม.9 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา54 และซอยรามอินทรา 56

- PK25 สถานีวงแหวนรามอินทรา ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade

- PK26 สถานีนพรัตน์ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ซอยรามอินทรา 103/1 และโรงพยาบาลนพรัตน์

- PK27 สถานีบางชัน ตั้งอยู่บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 113 และซอยรามอินทรา 115

- PK28 สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างซอยรามอินทรา 121 และ ซอยรามอินทรา 123

- PK29 สถานีตลาดมีนบุรี สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2

- PK30 สถานีมีนบุรี ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการ และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีได้ด้วยทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)

‘Impact’ มั่น!! ‘สายสีชมพู-เมืองทอง’ พร้อมเปิดปี 68 พ่วง Sky Entrance 195 ล้าน เชื่อม ‘อิมแพ็ค-สีชมพู’

(20 ต.ค. 66) นายพอลล์ กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม ‘อิมแพ็ค เมืองทองธานี’ กล่าวถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเมืองทองธานี ปัจจุบันดำเนินงานก่อสร้างไปแล้วเกือบ 30%

โดยรายละเอียดโครงการก่อสร้างแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 จากสถานีเมืองทองธานี บริเวณห้างแม็คโคร ถนนแจ้งวัฒนะ ต่อเข้ามายังเมืองทองธานี ช่วงที่ 2 งานก่อสร้างสถานี MT-01 บริเวณวงเวียนหน้าอิมแพ็ค และช่วงที่ 3 ระหว่างสถานี MT-01 ถึง MT-02 บริเวณลานริมทะเลสาบเมืองทองธานี โดยภาพรวมงานก่อสร้างยังคงตรงตามกำหนดระยะเวลา และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการได้ในปี 2568

นอกจากงานโครงสร้าง 2 สถานีหลักแล้ว ทางอิมแพ็คได้เตรียมแผนงานก่อสร้าง ‘Sky Entrance’ เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า MT-01 (สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี) และอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ โดยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อิมแพ็ค โกรท หรือ ‘IMPACT’ ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการ Sky Entrance มีการเข้าทำบันทึกข้อตกลง เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเมืองทองธานี ซึ่งมีแนวเส้นทางโครงการเป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร และเส้นทางของรถไฟฟ้าสายดังกล่าวจะเป็นเส้นทางขนานทางด่วนอุดรรัถยา ผ่านบริเวณด้านข้างอาคาร อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ และสิ้นสุดโครงการที่ริมทะเลสาบเมืองทองธานี

สำหรับโครงการ Sky Entrance จะใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้นรวม 195 ล้านบาท เป็นการดำเนินงานก่อสร้างสะพานทางเชื่อม และพื้นที่ล็อบบี้ด้านข้างอาคารชาเลนเจอร์เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งโครงการ Sky Entrance ทางกองทรัสต์ฯ มีความจำเป็นต้องให้การสนับสนุนการก่อสร้างเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานี MT-01 กับอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์เข้าลงทุน สามารถต่อยอดธุรกิจ และอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตามประกาศรถไฟฟ้าสายสีชมพูเส้นทางหลักแคราย-มีนบุรี จะเปิดบริการช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ทาง อิมแพ็ค ได้เตรียมรถรับส่งจากสถานีศรีรัช เข้าสู่ศูนย์ฯ เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้าเบื้องต้นจนกว่าสถานีส่วนต่อขยายจะเปิดบริการ

นายวัชระ จันทระโสภา หัวหน้าฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวเสริมว่า โครงการ Sky Entrance เป็นการดำเนินงานก่อสร้างโดยทีมอิมแพ็ค ค่าใช้จ่ายเป็นงบประมาณในส่วนของ อิมแพ็ค โกรท รีท ถือเป็นโครงการต่อเนื่องในการสร้างสะพานทางเชื่อม (Link Bridge) รอบศูนย์ฯ โดยเป็นการเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเมืองทองธานี สถานี MT-01 (อิมแพ็ค เมืองทองธานี) ตรงวงเวียนหน้าอิมแพ็ค ไปยังอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ระยะทางรวม 230 เมตร พร้อมพื้นที่ล็อบบี้เชื่อมอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ 1 และจะติดตั้งจอ LED ขนาดใหญ่ภายนอก สามารถมองเห็นได้จากรถไฟฟ้า และทางด่วน อีกทั้งติดตั้งจอทันสมัยภายในล็อบบี้ด้วย

อาคารนี้ถูกออกแบบมาให้มีรูปลักษณ์ทันสมัยเป็นอาคารแห่งอนาคต พร้อมนวัตกรรมที่ก้าวล้ำโดดเด่นเรื่องของความยั่งยืน ทั้งการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม และทางพลังงาน โดยจะเริ่มก่อสร้างในช่วงต้นปี 2567 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 14 เดือน แล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2568 รอเปิดบริการรองรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเมืองทองธานีแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างงานก่อสร้างโครงการทั้งหมด ทีมวิศวกรของอิมแพ็คจะเข้มงวดทำหน้าที่ตรวจสอบสัญญาจ้าง ประสานงานบริษัทก่อสร้างเพื่อดูแลผลกระทบ เช่น การจราจร ทัศนียภาพ ความสะดวก และความปลอดภัยในพื้นที่จนกว่าจะเสร็จสิ้นส่งมอบโครงการทั้งหมดราวเดือนกรกฎาคม 2568

‘กรมราง’ ตรวจงาน ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ช่วงแคราย-มีนบุรี คืบหน้าแล้วกว่า 98.37% คาด!! พร้อมให้บริการ 18 ธ.ค.นี้

(25 ต.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ร่วมกับ รฟม. บริษัทที่ปรึกษาโครงการ (PCPK) และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้ให้บริการเดินรถ เพื่อติดตามความพร้อมก่อนเปิดให้บริการประชาชนในเดือนธันวาคม 66

รถไฟฟ้าสายสีชมพู หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘น้องนมเย็น’ เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายที่สองของไทย ถัดจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีแนวเส้นทางเริ่มจากศูนย์ราชการนนทบุรี วิ่งผ่านถนนสำคัญหลายเส้น ได้แก่ ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา และถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงมีนบุรี รวมระยะทาง 34.50 กิโลเมตร 30 สถานี

มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ได้แก่ สายสีเชียว สายสีแดง สายสีม่วง ปัจจุบันมีความคืบหน้าแล้วกว่า 98.37%

การลงพื้นที่ครั้งนี้ เริ่มต้นจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (PK16) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีวัดพระศรีมหาธาตุของรถไฟฟ้าสายสีเขียว จุดเด่นของสถานีนี้ คือ ชานชาลาและทางวิ่งจะถูกแยกเป็น 2 ฝั่ง และมีสะพานรถยนต์ข้ามแยกวงเวียนบางเขนคั่นอยู่ตรงกลาง

โดยจะมี Skywalk ให้ผู้ใช้บริการสามารถเดินทะลุจากชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีชมพูไปที่บริเวณขายตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้เลย โดยไม่ต้องแตะบัตรเข้า-ออกอีกครั้ง ทำให้เดินทางสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
.
ต่อมาได้ร่วมทดสอบการเดินรถ จากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุไปยังสถานีหลักสี่ (PK14) สถานีนี้มี Skywalk เชื่อมต่อไปที่สถานีหลักสี่ของรถไฟชานเมืองสายสีแดง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และศูนย์การค้าไอทีสแควร์ ซึ่งอยู่คนละฝั่งของถนนวิภาวดีรังสิตได้

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) โดยมี Skywalk แห่งแรกในไทย ที่มีทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) ความยาว 340 เมตร ในอนาคตสถานีนี้จะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย - ลำสาลีได้อีกด้วย

สำหรับสถานีแจ้งวัฒนะ 14 (PK 11) - สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ (PK 13) ที่เริ่มการก่อสร้างทางขึ้น - ลงได้ล่าช้า ปัจจุบันก่อสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างเหล็กแล้ว อยู่ระหว่างก่อสร้างหลังคา ราวกันตก ติดตั้งและทดสอบการใช้งานบันไดเลื่อนและลิฟต์

ในส่วนของการเชื่อมต่อ สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ จะมี Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ปฏิบัติงานในบริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติกว่าแสนราย รวมถึงทยอยคืนพื้นผิวจราจรตลอดแนวเส้นทาง เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเดินทางได้สะดวกปลอดภัย

ซึ่ง รฟม. ได้เร่งรัดผู้รับจ้างในการเปิดให้บริการเร็วขึ้นจากเดิม เดือนมิถุนายน 2567 เบื้องต้นผู้รับจ้างคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 โดยให้บริการในช่วง 06.00 - 24.00 น. อย่างไรก็ตาม รฟม. จะต้องตรวจสอบงานและความปลอดภัยให้เป็นไปตามสัญญาก่อนเปิดให้บริการต่อไป

‘สายสีชมพู’ ปลุก ‘แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา-มีนบุรี’ คึกคัก ‘คอนโดใหม่’ ทะลัก 6.8 หมื่น ลบ. ราคาที่ดินพุ่งเท่าตัว

(8 พ.ย. 66) นายภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี หลังเตรียมเปิดบริการในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ส่งผลให้ตลาดคอนโดมิเนียมตลอดเส้นทางของรถไฟฟ้าสายนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง 

โดยพบว่าผู้พัฒนารายใหญ่มีการลงทุนเปิดตัวโครงการใหม่คึกคัก ทั้งย่านรามอินทรา แจ้งวัฒนะ และมีนบุรี โดย สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566  มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายตลอดแนวสายสีชมพูแล้ว 38,192 ยูนิต มูลค่า 68,700 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่แนวถนนติวานนท์ และแจ้งวัฒนะมากสุดคิดเป็น 49.28 % ของจำนวนทั้งหมด และมีอัตราการขายเฉลี่ยของทุกพื้นที่อยู่ที่ 73.50%

“ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมของราคาคอนโดมิเนียมแนวสายสีชมพู ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 100% หรือเฉลี่ยปีละกว่า 10% โดยช่วงก่อนหน้าการกระจุกตัวของโครงการคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่อยู่ถนนติวานนท์-แจ้งวัฒนะ และรามอินทราเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังรถไฟฟ้ามีความคืบหน้าพบว่าย่านมีนบุรี ถนนรามคำแหง 209 มีผู้พัฒนารายใหญ่ เช่น ออริจิ้น, แอสเซทไวส์ เข้าไปพัฒนาโครงการใหม่และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี” นายภัทรชัยกล่าว

นายภัทรชัยกล่าวว่า ตลาดคอนโดมิเนียมสายสีชมพูคึกขึ้น เกิดจากคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครชั้นในเริ่มมีมากขึ้นและราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการปรับราคาขายที่สูงขึ้นในทุกปี ทำให้ผู้ซื้อระดับกลาง-ล่างที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดเริ่มหาซื้อคอนโดมิเนียมได้ยากขึ้น ด้านผู้พัฒนาก็ยังต้องการจับกำลังซื้อกลุ่มระดับกลาง-ล่างเอาไว้ให้มากที่สุด จำเป็นต้องมองหาทำเลใหม่ที่ราคาที่ดินยังไม่สูง ยังสามารถพัฒนาโครงการเพื่อรองรับกำลังซื้อกลุ่มนี้ได้ แต่ยังจำกัดอยู่ในบริเวณมีศักยภาพ มีศูนย์การค้า ศูนย์ราชการ ชุมชนขนาดใหญ่ เช่น แยกติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา

นายภัทรชัยกล่าวว่า ปัจจุบันราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 65,000 บาท/ตารางเมตร(ตร.ม.) มีคอนโดมิเนียมเปิดขายตั้งแต่ระดับราคา 45,000 - 90,000 บาท/ตร.ม. ขึ้นอยู่กับทำเล รูปแบบโครงการ โดยราคาขายปรับขึ้นมาจากเมื่อปี 2556 มากกว่า 100% หรือเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 10% และหากสายสีชมพูเปิดอย่างเป็นทางการคาดการณ์ว่าคอนโดมิเนียมใหม่ที่เปิดขายหลังจากนี้คงมีราคาเริ่มต้นที่ไม่ต่ำกว่า 70,000 บาท/ตร.ม.แน่นอน เพราะราคาที่ดินเริ่มปรับขึ้นไปแล้วเช่นกันในช่วง 1-2 ปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% หรือมากกว่านี้ในบางทำเล ซึ่งราคาขายที่ดินอยู่ในช่วง 80,000-300,000 บาท/ตารางวา อนาคตคาดว่าจะพุ่งขึ้นเป็นเท่าตัว จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าคอนโดมิเนียมหรือบ้านจัดสรรใหม่ ๆ ต้องมีราคาแพงกว่าปัจจุบันแน่นอน

‘รถไฟฟ้าสีชมพู’ ได้ฤกษ์เปิดให้นั่งฟรี 30 สถานี 21 พ.ย.นี้ ส่วนค่าโดยสารจะเริ่มเก็บหลังเปิดทดลองใช้บริการ 1 เดือน

(20 พ.ย. 66) เพจ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู แจ้งว่า นับถอยหลังอีก 1 วัน เปิดทดลองให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการครบทั้ง 30 สถานี ตั้งแต่ ศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) - มีนบุรี (PK30) ช่วงทดลองใช้บริการฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย

ข่าวแจ้งว่า ในวันที่  21 พ.ย.นี้ ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ครม. จะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริง ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร หลังจากนั้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการตลอดสาย 30 สถานี เป็นระยะเวลาราว 1 เดือน

ทั้งนี้ ในช่วงการเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 21 พ.ย.66 นี้ จะมีบางทางออก (Exit) ของบางสถานีที่ยังไม่พร้อมเปิดให้บริการ แต่สามารถเปิดให้บริการประชาชนและมีความปลอดภัย ทั้งนี้ยืนยันว่าจะเสร็จครบ 100% ก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ

สำหรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รวม 30 สถานี ราคาเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท ส่วนผู้สูงอายุ ราคาเริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 23 บาท โดยช่วงทดลองใช้บริการฟรีไปจนถึง 18 ธ.ค.66 จากนั้นจึงจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร

สำหรับ 30 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่เปิดให้บริการประกอบด้วย

1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีและบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) 
2. สถานีแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก
3. สถานีสนามบินน้ำ ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ
4. สถานีสามัคคี ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาดกับถนนสามัคคี
5. สถานีกรมชลประทาน ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา
6. สถานีแยกปากเกร็ด ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ
7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์และโฮมโปร ก่อนถึงทางแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
9. สถานีศรีรัช ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้กับหมู่บ้านเมืองทองธานี
10. สถานีเมืองทองธานี ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวงและห้างแม็คโครซุปเปอร์สโตร์ สาขาแจ้งวัฒนะ
11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างบิ๊กซีแจ้งวัฒนะและซอยแจ้งวัฒนะ 14
12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงศุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
13. สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7
14. สถานีหลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิต
15. สถานีราชภัฏพระนคร สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ 
17. สถานีรามอินทรา 3 สถานีแรกบนถนนรามอินทราตั้งอยู่บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก
18. สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23 ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า
19. สถานีรามอินทรา กม.4  ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 33 และซอยรามอินทรา 37
20. สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ
21. สถานีวัชรพล  ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61
22. สถานีรามอินทรา กม.6 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42
23. สถานีคู้บอน  ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46
24. สถานีรามอินทรา กม.9 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 54 และซอยรามอินทรา 56
25. สถานีวงแหวนรามอินทรา  ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade
26. สถานีนพรัตน์ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ซอยรามอินทรา 103/1 และโรงพยาบาลนพรัตน์
27. สถานีบางชัน  ตั้งอยู่บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 113 และซอยรามอินทรา 115
28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างซอยรามอินทรา 121 และ ซอยรามอินทรา 123
29. สถานีตลาดมีนบุรี สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2
30. สถานีมีนบุรี ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการ 

‘อ.วีระ’ ยิ้มแย้ม!! ทดลองใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู สะดวก!! ‘สถานีลาดปลาเค้า’ อยู่ใกล้หน้าหมู่บ้าน

(23 พ.ย. 66) เพจ ‘สำนักพิมพ์โรนิน’ โพสต์ภาพ ‘วีระ ธีรภัทร’ นักจัดรายการวิทยุ นักเขียน คอลัมนิสต์ และเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ชาวไทย ที่ไปใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงสถานีลาดปลาเค้า ซึ่งเป็นสถานีใกล้บ้าน พร้อมระบุข้อความว่า…

“สายสีชมพู : เมื่อสถานีรถไฟฟ้าอยู่ใกล้หน้าหมู่บ้าน”

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีชมพู เริ่มเปิดให้บริการแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. 66 - 17 ธ.ค. 66 โดยให้บริการตั้งแต่ช่วงมีนบุรี-วัดพระศรีมหาธาตุ และจะเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. เป็นต้นไป

'ทนายแจม-ก้าวไกล' รีวิว 'รถไฟฟ้าสายสีชมพู' ไม่ใจดีกับเราเลย ที่จับสูงเกิน ทำแขนตึง คนตัวเล็กก็จับเสาไม่ได้ เพราะโบกี้คนแน่น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เปิดให้ใช้บริการ ระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร โดยมีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี มีจุดเชื่อมต่อไปโครงข่ายอื่น 4 จุด ทำให้เชื่อมต่อได้หลายเส้นทาง

ล่าสุด ทนายแจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ได้รีวิวการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีชมพู ถึงปัญหาที่พบในการใช้บริการบางจุด และอยากให้มีการปรับปรุง โดยมีผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ ร่วมสะท้อนปัญหาด้วย

ข้อความระบุว่า “รีวิว นั่ง #สายสีชมพู ครั้งแรก จากศูนย์ราชการฯ ไปต่อวัดพระศรีฯ ‘ตึงแขน’ มาก ที่จับอยู่สูงเกินไปนะคะ น้องนมเย็นไม่ใจดีกับเราเลย” พร้อมได้ระบุต่อว่า “ที่ไม่สามารถจับเสาได้ เพราะโบกี้คนแน่น ทำให้ผู้โดยสารที่ตัวเล็กไม่สามารถจับได้”

นอกจากนี้ผู้โดยสารรายอื่น ยังได้ร่วมสะท้อนปัญหา เช่น

-เห็นด้วยเลยค่ะ เราสูง 170 ยืนจากสถานีวัดพระศรีถึงสถานีคู้บอนคือเมื่อยมาก เราเองก็ว่ามันสูงเกิน ที่จับก็น้อยเกินถ้าเทียบกับพื้นที่ยืน บางทีช่วงคนเยอะไม่มีที่จับหน้าจะคว่ำเพราะมันกระตุกแรง
ที่จับเขาไม่ได้ใส่สายตรงกลางให้มันห้อยลงมา รบกวนรถไฟฟ้ามาใส่สายกันด้วยนะคะ ไม่ได้มีแต่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็กต้องใช้ น้อง ๆ เด็กนักเรียนก็ต้องใช้ค่ะ

ช่วยป้าอ้อด้วยฮะ สูงเหลือเกิน ข้อข่งข้อเข่างิ คนแน่นมากกกก จะจับที่จับก็เสมิฟฮะ / เตี้ย 55

เนื่องจากไม่มีพนักงานขับ ตอนจอดจึงลงเพื่อเปิดทางให้ด้านในลงสะดวกแต่ประตูปิดทั้งที่มีคนกำลังลงเลยขึ้นกลับไปไม่ได้ ต้องรออีกสองเที่ยวเพราะแน่นขึ้นไม่ได้ น้องนมเย็นไม่น่ารักเท่าไหร่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top