Sunday, 20 April 2025
รถโดยสาร

ยกระดับรถโดยสารไทย! ใช้พลังงานไฟฟ้า-ลดคาร์บอนเป็นศูนย์!’ | Click on Clear THE TOPIC EP.162

📌มองอนาคต 'ขนส่งสาธารณะ' เมืองไทย!! ไปกับ ‘ชัยรัตน์ แสงจันทร์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด!!
📌ใน Topic : ยกระดับรถโดยสารไทย! ใช้พลังงานไฟฟ้า-ลดคาร์บอนเป็นศูนย์!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

'นครชัยแอร์' อวดโฉมรถใหม่ เบาะส่วนตัวทุกที่นั่ง วิ่งปฐมฤกษ์ 'กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 1 ต.ค.นึ้

นางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ประธานบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด กล่าวว่า นครชัยแอร์ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้บริการอย่างดีมาโดยตลอด เนื่องจากมีภูมิประเทศที่สวยงาม มีประเพณีวัฒนธรรมที่สวยงาม และมีเสน่ห์ในทุกด้าน แต่ละปีมีนักเดินทางท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างประเทศเดินทางเข้าไปยังพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตลอดทั้งปี และเพื่อเป็นการขอบคุณที่ลูกค้าชาวเชียงใหม่ รวมถึงนักท่องเที่ยวที่ให้การสนับสนุนนครชัยแอร์มาโดยตลอด 

บริษัทฯ ได้เตรียมนำรถมาตรฐาน Gold Class รุ่น Social Distancing V.2 ขนาด 32 ที่นั่ง ให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วันละ 1 เที่ยว ทั้งขาไปและขากลับ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เที่ยวเวลา 22.20 น. และ เชียงใหม่-กรุงเทพฯ เที่ยวเวลา 20.30 น. ในอัตราค่าโดยสารปกติ เริ่มให้บริการเที่ยวแรกในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 โดยลูกค้าสามารถจองตั๋วโดยสารเพื่อเดินทางได้แล้วตั้งแต่วันนี้

สำหรับรถที่นำมาให้บริการ เป็นรถโฉมใหม่ มาตรฐาน Gold Class เบาะโดยสารแบบ Social Distancing V.2 ขนาด 32 ที่นั่ง ดีไซน์ใหม่ให้ความเป็นส่วนตัวทุกที่นั่งแม้เดินทางคนเดียว เป็น 4 แถว แบบ 1 2 1 จากเดิมที่นครชัยแอร์ได้นำเบาะโดยสารแบบ Social Distancing V.1 ขนาด 23 ที่นั่ง เป็นเบาะเดี่ยว 3 แถว มาให้บริการรถเส้นทางกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ และกรุงเทพฯ-สุรินทร์ เมื่อปี 2564 ด้วยรถมาตรฐาน First Class ซึ่งได้รับการตอบรับดีอย่างมากจากผู้ใช้บริการ จึงปรับปรุงพัฒนารถโดยสารมาตรฐาน Gold Class เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ได้ปรับเบาะโดยสารรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยสามารถเลือกที่นั่งเดี่ยวริมหน้าต่าง หรือเลือกที่นั่งคู่ตรงกลางที่สามารถดึงผ้าม่านกั้นปิดได้ เป็นเบาะไฟฟ้าติดตั้งระบบนวดทุกที่นั่ง พร้อมจอทีวีส่วนตัว ขนาด 10 นิ้ว ระบบทัชสกรีนทุกที่นั่ง และช่องเสียบ USB เพื่อการชาร์จแบตฯ โทรศัพท์ 

'ก้าวไกล' อัด!! คมนาคมซ้ำเติมปชช. 'แก้สายรถเมล์-เปลี่ยนสัมปทาน' หลายสายรถขาดช่วง ผู้คนเดือดร้อน ค่าเดินทางเพิ่มขึ้น

(18 ต.ค. 65) ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่ส่งเข้ามาหลายพันข้อความเกี่ยวกับการปล่อยสัมปทาน รถเมล์สาย 140 ให้เอกชนวิ่ง และรถสาย 68 ที่วิ่งน้อยลงส่งผลกระทบต่อการเดินทางและความปลอดภัยของประชาชนรวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการต่อรถ

ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบกเริ่มเปิดให้เอกชนหลายรายที่ชนะการประมูลเส้นทางเข้าให้บริการรถเมล์แทนที่ ขสมก.รัฐวิสาหกิจที่ให้บริการอยู่เดิม โดยหลักการดูเหมือนดีที่จะเปิดให้การเดินรถมีการแข่งขัน ประชาชนจะได้คุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น มีระบบตั๋วอัตโนมัติ เดินรถเป็นเวลา เหมือนกับในต่างประเทศ

แต่ความจริงที่เกิดขึ้นไม่เป็นเช่นนั้นเลย เพราะระบบของบัตรสวัสดิการของรัฐใช้ไม่ได้ ตั๋วเดือนถูกยกเลิก สิทธิลดหย่อนค่ารถเมล์ของผู้สูงอายุใช้ไม่ได้ในรถร่วมใหม่ที่เข้ามาให้บริการ และเอกชนเลือกวิ่งเฉพาะเวลาที่ตัวเองได้กำไร แต่ในช่วงเวลาที่ประชาชนต้องการใช้บริการกลับไม่มีการวิ่ง ซึ่งต่างจากเดิมที่ ขสมก. รถเมล์จะวิ่งตามตาราง เช่น เริ่มตั้งแต่ 04:00 น.-23:00 น. ทำให้พี่น้องประชาชนที่จำเป็นต้องออกจากบ้านในช่วงเช้าตรู่ หรือเลิกงานในกลางดึกไม่มีรถในการโดยสาร

ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงกับเงินกระเป๋าประชาชน เพราะเมื่อไม่มีรถเมล์ในช่วงที่ต้องเดินทางก็ต่อใช้รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้างแทน ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากเดิมมาก

‘อนุชา’ ค้าน ‘ร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางบก’ ให้อำนาจท้องถิ่นคุมการเดินรถฯ ชี้!! เดิมรับสัมปทานเดินรถอยู่แล้ว สุ่มเสี่ยงเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 67 นายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปราย ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ว่า ปัจจุบันต้องยอมรับว่ารถโดยสารสาธารณะยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่ยังเป็นปัญหาที่มีความสำคัญยิ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ใช่การไม่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจ และไม่ใช่การไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ต่างจังหวัดมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี เพราะการกล่าวเช่นนั้นเป็นการไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้

ประเด็นแรกในส่วนของการกระจายอำนาจนั้นมี พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกำหนดแผนแม่บทในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว และกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าวอยู่แล้ว ทั้งการถ่ายโอนภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีการถ่ายโอนภารกิจแล้วทั้งสิ้น 97 สถานี และอยู่ระหว่างดำเนินการ 1 สถานี 

ประเด็นต่อมาคือ การให้สัมปทานเดินรถนั้น กระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2567) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้ให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถขอใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งในพื้นที่ของตนเองได้ และเมื่อได้รับการอนุญาตแล้วยังสามารถให้เอกชนเป็นผู้บริหารจัดการและดำเนินการได้ด้วย 

ทั้งหมดนี้คือจะเน้นย้ำว่า สถานะปัจจุบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการเดินรถคือเป็นผู้ให้บริการหรือ Operator 

ประเด็นต่อมาหากมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ตามร่าง พ.ร.บ. ที่ได้เสนอมาย่อมจะทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะให้อำนาจนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือ นายก อบจ. ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด ซึ่งมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้มีการเดินรถในเขตจังหวัด 

หากมีการแก้ไขตามร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้นายก อบจ. มีอีกสถานะคือสถานะผู้ควบคุมการขนส่งในพื้นที่ หรือ Regulator ด้วย ด้วยเหตุนี้จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นทั้ง Operator และ Regulator ขัดแย้งกับแนวทางที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ที่จะแยกสถานะทั้ง 2 นี้ออกจากกัน 

ทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top