Friday, 24 May 2024
รถ

‘รถไฮโดรเจน’ อีกทางเลือกแก้ปัญหาน้ำมันแพง เครื่องเงียบ ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อนวัตกรรมยานยนต์ ไม่ได้มีแค่รถน้ำมันเชื้อเพลิง รถไฟฟ้าอีวี แต่ ... รถพลังงานไฮโดรเจน ก็เป็นอีกทางเลือกใหม่ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รถพลังงานไฮโดรเจน คือ รถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงานไฮโดรเจน โดยรถยนต์ประเภทนี้ ได้มีการริเริ่มผลักดัน เมื่อช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา เพราะว่าเป็นนวัตกรรมยานยนต์ที่เป็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีหลายฝ่ายร่วมมือกันพัฒนา เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

ในปีนี้ก็ได้มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องของรถพลังงานไฮโดรเจน ออกมาให้เราได้เห็นกัน โดยเฉพาะบริษัทโตโยต้า ที่ได้ทำการพัฒนารถพลังงานไฮโดรเจน โดยได้ตั้งชื่อให้ว่า ‘Mirai Gen 2’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ทางโตโยต้านั้นได้ต่อยอดเกี่ยวกับการใช้พลังงานจากไฮโดรเจนเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนรถยนต์เพื่อให้เกิดประโยชน์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

รถพลังงานไฮโดรเจนนั้น ขับเคลื่อนได้จากเซลล์เชื้อเพลิงที่มีการเติมไฮโดรเจนเข้าไป โดยไฮโดรเจนนี้ก็จะถูกเปลี่ยนมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ และจะปล่อยของเสียออกมาเพียงเฉพาะไอน้ำเท่านั้น อีกทั้งการเติมเชื้อเพลิงในแต่ละครั้งก็ยังใช้เวลาเพียง 3-5 นาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์สันดาป นับเป็นเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันได้มากเลยทีเดียว นอกจากนี้การทำงานของเครื่องยนต์ก็ยังเงียบมาก ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงอีกด้วย 

แนวโน้มของราคาน้ำมันนั้นมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตรงกันข้ามกับราคาของพลังงานไฮโดรเจน เพราะในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีของรถยนต์ไฮโดรเจนแพร่หลายมากขึ้น ก็จะมีผู้ผลิตพลังงานหลายรายมากขึ้น ราคาเชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจน ก็ยิ่งจะถูกลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพลังงานไฮโดรเจนสามารถผลิตได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมด ในปัจจุบันนั้นประเทศไทยก็ได้มีสถานที่ในการเติมเชื้อเพลิงรถไฮโดรเจนแห่งแรกในประเทศไทยแล้ว โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรีระยะเวลาในการเติมเชื้อเพลิงของรถไฮโดรเจนนั้นก็จะใช้เวลาในการเติมเพียง 3-5 นาทีเท่านั้น ก็สามารถขับไปต่อได้แล้ว

ในอนาคตอันใกล้นี้ เราก็คงจะได้เห็นรถพลังงานไฮโดรเจน วิ่งกันเต็มท้องถนน การศึกษาหาข้อมูลไว้ก่อนล่วงหน้า ก็จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นเมื่อโอกาสมาถึง

30 กันยายน พ.ศ. 2511 ยกเลิก 'รถราง' ในกรุงเทพมหานคร หลังได้รับความนิยมลดลง

วันนี้เมื่อ 55 ปีก่อน เป็นวันสุดท้ายของการให้บริการรถรางในกรุงเทพมหานคร หลังได้รับความนิยมลดลง จากการที่ประชาชนมีตัวเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น

กิจการเดินรถราง เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนายจอห์น ลอฟตัส ชาวเดนมาร์ก ของพระบรมราชานุญาตเดินรถราง จนเปิดการเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี พ.ศ. 2431 โดยใช้ม้าลากไปตามราง ถือเป็นระบบขนส่งมวลชนแรกสุดในกรุงเทพฯ และเป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในเวลาต่อมา รถรางถูกพัฒนาจากการใช้ม้าลาก เป็นการใช้ไฟฟ้าลาก ซึ่งก็ถือเป็นรถรางระบบไฟฟ้าชาติแรกในเอเชียอีกด้วย กิจการรถรางถูกเปลี่ยนมือหลายครั้งระหว่างการเปิดให้บริการ จนกระทั่งถูกโอนเป็นกิจการของบริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด และมีเส้นทางเดินรถรางทั่วกรุงเทพฯ 11 สาย

แต่อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนมีตัวเลือกในการเดินทางมากขึ้น รถรางเสื่อมความนิยม ทางการจึงค่อย ๆ ยกเลิกรถรางทีละสาย จนยกเลิกทั้งหมดในวันที่ 30 กันยายน ปี พ.ศ. 2511


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top