Friday, 4 April 2025
ยิว

เจาะ 3 วิธีแนวทาง ‘กลืนชาติ’ ของต่างด้าวในไทย ใช้เวลาบ่มเพาะ นานนับสิบปี รุกพื้นที่!! สร้างสังคมชนชาติ ขึ้นมาในชุมชน ใช้ความเหมือนทางวัฒนธรรม

ช่วงนี้กระแสต่างด้าวเข้ามากลืนชาติ แย่งธุรกิจคนไทยได้ลุกลามบานปลายนอกจากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงมาสู่แนวทางอื่น ๆ แล้ว วันนี้เอย่าขอเสนอวิธีกลืนชาติของต่างด้าวแบบต่าง ๆ มาให้อ่านกัน

วิธีที่ 1 รุกพื้นที่ขยายเผ่าพันธุ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ประเทศรอบบ้านเราใช้โดยการเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย จับจองพื้นที่ และออกลูกหลานจากนั้นให้ลูกหลานพยายามได้สัญชาติไทย หรืออย่างน้อยก็ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้บัตรประชาชนไทยมา ซึ่งล่าสุดเอย่าได้ข่าวว่าราคาซื้อขายบัตรประชาชนแถว อ. พบพระและ อ. ท่าสองอย่างราคาดีดขึ้นจากเดิมที่เคยมีกลุ่ม CDM และ PDF หนีเข้ามาไทย หลังจีนเทาถูกปราบปรามอย่างหนักทำให้ทั้งจีนเทาและพม่าเทาหนีมาเอาบัตรไทยแลนด์เป็นอันมาก

วิธีที่ 2 สร้างสังคมของชนชาติขึ้นมาในชุมชน ดังที่เกิดขึ้นกับชาวยิวใน อ. ปาย หรือกลุ่มจีนเทาในเมืองใหญ่ โดยกลุ่มนี้มีเงินจะเอาเงินจ้างนอมินีแล้วใช้นอมินีมาซื้อทรัพย์สินและเริ่มการลงทุนจากนั้นก็จะหาวิธีติดสินบนรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยอีกที หรือเพื่อจุดประสงค์คืออยู่ไทยได้นานขึ้น

วิธีที่ 3 คือใช้ที่วิธีกล่อมโดยใช้ความเหมือนทางภาษา วัฒนธรรมและศาสนามาเป็นตัวทำให้ชุมชนยอมรับและช่วยผลักดันคนกลุ่มนี้ให้เป็นคนไทยดังเช่นที่เกิดในหมู่บ้านตามชายแดนกัมพูชา หรือเพื่อจะดึงคนไทยให้ออกห่างเพื่อตั้งรัฐอิสระดังเช่นที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ตอนนี้

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนใช้เวลาบ่มเพาะนานนับสิบปีแต่แม้จะใช้เวลานานคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีจิตสำนึกของความเป็นไทย เพียงแต่เขาต้องการใช้สิทธิประโยชน์จากการเป็นพลเมืองไทยเท่านั้น

เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่เป็นปัญหาที่ลุกลามไปทั่วโลกจน ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์จับจุดนี้มาหาเสียงและยกประเด็น American First มาเป็นจุดที่สร้างคะแนนเสียงให้เขา ประเด็นคือเราคนไทยจะให้คนกลุ่มนี้เข้ามาใช้สิทธิประโยชน์หรือเราควรจะมาปกป้องสิทธิของคนไทยเราบ้างหรือยัง

‘อ.อุ๋ย’ ยัน!! ‘ชาวยิว’ ที่ปาย มีสิทธินับถือ ประกอบพิธีศาสนา อันเป็นสิทธิตาม ‘รธน.’ แต่ต้อง!! เคารพกฎหมาย และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ของประเทศไทยด้วย

(22 ก.พ. 68) นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความเห็นว่า “กรณีข่าวชุมชนชาวยิวที่ปาย ซึ่งมีชาวบ้านออกมาร้องเรียนว่ามีจำนวนมากและก่อความเดือดร้อนรำคาญให้กับชุมชนนั้น ผมเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 31 บัญญัติว่า ‘บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน’

อีกทั้งในมาตรา 67 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติอีกว่า ‘รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น’ และมาตรา 27 วรรคสาม กำหนดว่า ‘การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทํามิได้’

ดังนั้นไม่ว่าชนชาติใด ศาสนาใด จึงมีสิทธิในการอยู่อาศัย พำนัก และนับถือศาสนาของตนโดยเสรีบนผืนแผ่นดินไทย ตราบใดที่เคารพต่อกฎหมายไทย ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อคนไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคง และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกรณีปัญหาชุมชนชาวยิวที่ปาย จึงต้องแยกปลาออกจากน้ำเสียก่อน กล่าวคือ ชาวยิวคนไหนที่เข้ามาท่องเที่ยวตามปกติ อยู่ไม่เกินอายุวีซ่า ก็ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน ต้องปฏิบัติต่อเขาเยี่ยงนักท่องเที่ยวทั่วไป 

ส่วนกลุ่มใดที่เข้ามาโดยเจตนาไม่บริสุทธิ์ ซ่องซุม อยู่เกินอายุวีซ่า ลักลอบทำงาน ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล ไม่เคารพกฎหมายและประเพณีอันดีงามของไทย ก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย ลงโทษอย่างเด็ดขาด ส่งกลับประเทศและแบล็กลิสท์ไม่ให้เข้าประเทศไทยอีก รวมถึงพัฒนาระบบไบโอเมตริกซ์ เชื่อมโยงฐานข้อมูลตำรวจตรวจคนเข้าเมืองกับตำรวจสากล เพื่อคัดกรองผู้มีประวัติอาชญากรรม หรือมีประวัติที่เป็นภัยต่อความมั่นคง เพื่อสกัดไม่ให้เข้าประเทศไทยได้ตั้งแต่ต้นทาง  

หรือหากต้องการให้ปายกลับมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สงบและรักษาประเพณีอันดีงามไว้ในระยะยาว ก็ต้องกำหนดโควตาหรือจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนไว้ และเก็บค่าธรรมเนียมท่องเที่ยวในอัตราสูง เช่น ประเทศภูฏานเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวถึงเกือบสี่พันกว่าบาทต่อคืน เพื่อคัดเลือกนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และนำเงินตรงนี้มาพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในระยะยาวต่อไป ก็ขอฝากผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาครับ ด้วยความปรารถนาดี”

‘ยิว’ เข้ายึด!! ‘ปาย’ เพราะ ‘ไกลปืนเที่ยง - ค่าครองชีพถูก’ ปลอดผู้มีอิทธิพล!! เจรจาง่าย ถ้าได้ผลประโยชน์ที่ลงตัว

(24 ก.พ. 68) เมื่อเอย่าไปหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพวกยิวที่เข้ามายึดเมืองปายในบทความที่แล้วก็ทำให้เอย่าได้พบกับเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่อง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมชาวยิวถึงเลือกจะมาสร้างชุมชนที่เมืองปาย ซึ่งหลายเหตุผลที่เอย่าได้มาเป็นอะไรที่น่าสนใจมากจนเอย่าต้องมาเขียนให้ทุกท่านได้อ่านกัน

ประการแรกคือ  ปายเป็นเมืองไกลปืนเที่ยง แม้จะเป็นเมืองท่องเที่ยวแต่ถือว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวแบบไปกลับเพราะความเจริญในปายยังมีน้อยหากเทียบกับเชียงใหม่หรือเชียงราย  อีกทั้งหน่วยราชการเป็นหน่วยเล็กๆสามารถใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกได้ไม่ยากและคงไม่มีใครมาตรวจสอบ

ประการที่สอง คนที่อยู่ปายจริงๆจะเป็นคนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย  และสามารถเจรจาได้ง่ายหากมีผลประโยชน์ลงตัว

ประการที่ 3 ปายมีศาสนาหลักคือพุทธ แม้จะมีชุมชนมุสลิมอยู่แต่ก็เป็นชุมชนเล็กๆที่รักสงบ

ประการที่ 4 ค่าครองชีพในปายถือว่าถูกมากๆหากเทียบกับเมืองที่มีชาวต่างชาติเข้าไปตั้งรกรากเพื่อทำธุรกิจ

ประการที่ 5 ปายเป็นเมืองท่องเที่ยวแต่ยังขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นส่วนที่ชาวต่างชาติต้องการและนั่นเองคือสิ่งที่ชาวยิวมองเห็น

ประการที่ 6 ปายยังเป็นดินแดนปลอดผู้มีอิทธิพลและต่อให้มีผู้มีอิทธิพลก็มีจำนวนน้อย ซึ่งชาวยิวส่วนใหญ่มีเงินสามารถซื้อคนเหล่านี้ได้ ไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้แก่ผู้มีอิทธิพลหลายคน หลายส่วนหากเทียบกับในเมืองใหญ่

เหตุผลที่กล่าวมา 6 ข้อนี้เป็นอะไรที่น่าคิดเป็นอย่างมากแต่ก็ต้องขอบคุณที่ปายมีชุมชนที่แข็งแกร่งผลักดันให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ อีกทั้งชาวยิวเหล่านี้ไม่มีกลุ่มการเมืองหนุนหลังในไทยที่ส่งผลให้การจัดการยุ่งยากมากขึ้น ก็หวังว่าปัญหาชาวยิวยึดเมืองปายนี้จะถูกแก้ไขได้ในเร็ววัน

‘มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย’ เดือด!! รัฐบาลสหรัฐฯ ลั่นคำขาด จัดการ!! ประท้วงต่อต้าน ‘ชาวยิว’ ไม่งั้น ตัดงบไม่เหลือ

(15 มี.ค. 68) มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเผชิญแรงกดดันหนักจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หลังเกิดกระแสประท้วงที่ลุกลามเป็นความขัดแย้งด้านเชื้อชาติและศาสนา โดยเฉพาะกรณีการต่อต้านชาวยิว (Antisemitism) ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐฯ ตัดสินใจออกมาตรการบีบให้โคลัมเบียต้องรับผิดชอบ และกำหนดเส้นตายให้ปฏิบัติตามก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2025 มิเช่นนั้นมหาวิทยาลัยอาจต้องสูญเสียเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลางอย่างถาวร

สถานการณ์บานปลาย จุดเดือดของมหาวิทยาลัยชั้นนำ

ตลอดช่วงต้นปี 2025 การประท้วงและความขัดแย้งทางอุดมการณ์เกี่ยวกับปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ลุกลามไปทั่วแคมปัสของโคลัมเบีย โดยเฉพาะกรณีที่มีกลุ่มนักศึกษาและบุคลากรออกมาเคลื่อนไหวโจมตีชาวยิวและสนับสนุนแนวคิดต่อต้านไซออนิสต์ ทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่ามหาวิทยาลัยละเลยการปกป้องสิทธิของนักศึกษาชาวยิว

รัฐบาลสหรัฐฯ มองว่าการปล่อยให้เหตุการณ์บานปลายเป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิพลเมืองปี 1964 (Civil Rights Act of 1964) มาตรา VI และ VII ซึ่งครอบคลุมถึงการป้องกันการเลือกปฏิบัติในสถานศึกษา ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานของรัฐตัดสินใจออกคำสั่งถึงคณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อระงับความขัดแย้ง

มาตรการตอบโต้ของรัฐบาลกลาง: คำขาดที่โคลัมเบียต้องทำภายใน 20 มีนาคม 2025

1️⃣ ลงโทษนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประท้วง – นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการยึดพื้นที่ Hamilton Hall และการตั้งแคมป์ต้องถูกลงโทษขั้นเด็ดขาด โดยรัฐบาลเน้นว่าการลงโทษต้องมีความหมายจริงจัง เช่น ไล่ออก หรือพักการเรียนเป็นเวลาหลายปี

2️⃣ อำนาจวินัยต้องรวมศูนย์ที่ประธานมหาวิทยาลัย – ให้ยกเลิก University Judicial Board (UJB) และให้ประธานมหาวิทยาลัยมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการลงโทษนักศึกษา

3️⃣ ออกกฎควบคุมพื้นที่ชุมนุมถาวร – มหาวิทยาลัยต้องกำหนดกฎถาวรเกี่ยวกับ เวลา-สถานที่-วิธีการประท้วง เพื่อไม่ให้กระทบการเรียน การวิจัย และชีวิตประจำวันของแคมปัส

4️⃣ แบนหน้ากาก ห้ามปกปิดตัวตน – ห้ามนักศึกษาสวมหน้ากากเพื่อปิดบังตัวตนหรือข่มขู่ผู้อื่น ยกเว้นเหตุผลทางศาสนาและสุขภาพ ผู้ที่ยังต้องใส่หน้ากากต้องติด บัตรประจำตัวนักศึกษาด้านนอกเสื้อผ้า

5️⃣ คุมเข้มทุกกลุ่มนักศึกษา – ทั้งกลุ่มที่ได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยและกลุ่มที่ไม่ได้รับการรับรอง หากพบว่าเกี่ยวข้องกับการละเมิดนโยบายของมหาวิทยาลัย ต้องถูกสอบสวนและลงโทษ

6️⃣ กำหนดนิยามการต่อต้านชาวยิวอย่างเป็นทางการ – ให้ใช้แนวทางจากคำสั่งของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ (Executive Order 13899) ที่ระบุว่า การเลือกปฏิบัติต่อชาวยิวภายใต้แนวคิดต่อต้านไซออนิสต์ต้องถูกลงโทษ แม้จะเกิดในบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องกับอิสราเอลหรือปัญหาตะวันออกกลาง

7️⃣ เสริมอำนาจหน่วยรักษาความปลอดภัยมหาวิทยาลัย – ต้องให้สิทธิ์เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสามารถจับกุมและขับไล่นักศึกษาหรือบุคคลที่สร้างความไม่ปลอดภัยหรือขัดขวางการเรียนการสอน

8️⃣ ควบคุมแผนกตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกาศึกษา – โคลัมเบียต้องให้แผนกนี้เข้าสู่ ‘ภาวะควบคุมทางวิชาการ’ อย่างน้อย 5 ปี และต้องเสนอแผนปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม

9️⃣ ปฏิรูปกระบวนการรับนักศึกษา – ต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การรับนักศึกษา ปรับระบบคัดเลือกทั้งระดับปริญญาตรี นักศึกษาต่างชาติ และระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมายของรัฐบาลกลาง

โคลัมเบียอยู่ในจุดเปลี่ยน: ทำตามหรือถูกตัดงบ?

รัฐบาลกลางให้เส้นตาย 20 มีนาคม 2025 เป็นวันสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการให้ครบทุกข้อ มิเช่นนั้น ทุนรัฐบาลกลางที่สนับสนุนมหาวิทยาลัยอาจถูกระงับอย่างถาวร นี่เป็นแรงกดดันครั้งใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานะของโคลัมเบียในฐานะมหาวิทยาลัยระดับโลก

ด้านนักศึกษาและคณาจารย์บางส่วนเริ่มออกมาแสดงจุดยืนที่แตกต่างกัน บ้างสนับสนุนการแทรกแซงของรัฐบาล โดยเฉพาะนักศึกษาชาวยิวที่มองว่ามาตรการนี้ช่วยปกป้องพวกเขา ในขณะที่กลุ่มต่อต้านมองว่านี่เป็นการแทรกแซงเสรีภาพทางวิชาการและการแสดงออกของนักศึกษา

โคลัมเบียจะเลือกเส้นทางไหน? ปรับตัวหรือเผชิญผลลัพธ์ที่ใหญ่หลวงกว่านี้? เส้นตายใกล้เข้ามาทุกที ติดตามกันต่อไปว่า มหาวิทยาลัยระดับตำนานแห่งนี้จะเดินหมากต่อไปอย่างไร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top