Monday, 20 May 2024
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เชียงใหม่ - เปิดอย่างเป็นทางการ งานเกษตรแม่โจ้ (ออนไลน์) Kaset Fair @Maejo 2021 >>Next normal

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานเกษตรแม่โจ้ออนไลน์ 2564 Kaset Fair @Maejo 2021 >>Next normal “นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน” (วิถีใหม่) Smart Agricultural Innovation for Sustainability โดยมี นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมให้การต้อนรับและเที่ยวชมงาน ณ แปลงสาธิตพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า งานเกษตรแม่โจ้ออนไลน์ 2564  Kaset Fair @Maejo 2021 >>Next normal “นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน” (วิถีใหม่) Smart Agricultural Innovation for Sustainability จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 - 29  ธันวาคม 2564 เพื่อฉลองการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครบรอบ 87 ปี และการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบอุดมศึกษาภายใต้กรอบนโยบายของกระทรวงในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเป็นไปตามเป้าหมายและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100 (2477-2577) การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต สร้างสังคมแห่งการ “กินดี” “อยู่ดี” และ “มีสุข” เผยแพร่องค์ความรู้ทางการเกษตรสู่สาธารณชน อันเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยด้านการบริการวิชาการและงานวิจัยต่าง ๆ ให้ได้รับการต่อยอด

รวมถึงเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติ  โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และการปฏิบัติงาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมงานเกษตรแม่โจ้ในครั้งนี้”

 

ม.แม่โจ้ เปิด ห้องปฏิบัติการวิจัยอาหารแห่งอนาคต Future Food Lab (FFL)สนับสนุนผู้ประกอบการ นักศึกษา ต่อยอดเชิงพาณิชน์กลุ่มธุรกิจอาหาร

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม  2565 ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ  ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด “ห้องปฏิบัติการวิจัยอาหารแห่งอนาคต Future Food Lab (FFL)” เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี อาจารย์ ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์  รก.ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน ณ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้จัดงานพิธีเปิด “ห้องปฏิบัติการวิจัยอาหารแห่งอนาคต Future Food Lab (FFL)” เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Food Innopolis@MAEJO) ภายใต้ธีมงาน “You are what you eat: better food better life (กินอาหารอย่างไรให้สุขภาพดี)”ในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของผู้ประกอบการธุรกิจ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่ต้องการเช่าใช้พื้นเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะสั้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต อย่างมีเสถียรภาพ ยั่งยืน และกระจายรายได้สู่สังคมต่อไป

อย่างไรก็ตามเมื่อทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ผลสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วหากปราศจากการนำไปใช้ประโยชน์ ก็คงจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่พวกเราคาดหวังไว้ การจัดงานในวันนี้ จะเป็นเวทีแห่งนี้สร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงกันระหว่างภาครัฐ  ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดี เพื่อแสดงว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้มีทรัพยากรที่พร้อมและสามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการ และนักศึกษาได้เข้าถึงข้อมูลและมีโอกาสนำความรู้ ในมหาวิทยาลัยไปพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง  

อาจารย์ ดร.พนมพร  เฉลิมวรรณ์ รักษาการรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า

“ห้องปฏิบัติการวิจัยอาหารแห่งอนาคต Future Food Lab (FFL)” เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ “You are what you eat: better food better (กินอย่างไรให้สุขภาพดี) อยู่ภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย  Food Innopolis@MAEJO  แผนงาน Future Food Lab  ที่อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และนักศึกษาที่ต้องการใช้พื้นที่เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนศึกษารวบรวมส่วนผสมที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารอินทรีย์ที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า สร้างโอกาสการเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต อย่างมีเสถียรภาพ ยั่งยืน และกระจายรายได้สู่สังคมต่อไป

ม.แม่โจ้ Kick Off เตรียมจัด 'ศึกกำปั้นสะท้านโลก' เฉลิมฉลอง 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรม Kick Off 'ศึกกำปั้นสะท้านโลก' ร่วมเฉลิมฉลอง 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อประชาสัมพันธ์ความคืบหน้า เตรียมพร้อมการจัดการแข่งขันชกมวย 'ศึกกำปั้นสะท้านโลก' ร่วมเฉลิมฉลอง 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2566 ณ เวทีมวยชั่วคราว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดร.สมชาย  เขียวแดง นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ดร.เอกรัฐ ไชยโชติช่วง โปรโมเตอร์ ดร.ประภาส ปาระมีสัก โปรโมเตอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี เลขานุการกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ผู้แทน ดร.องอาจ กิตติคุณชัย  บริษัท ซันสวีท จำกัด(มหาชน) กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ผู้สนับสนุนหลักการจัดงาน ร่วมแถลงความคืบหน้าการจัดกิจกรรม ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า 'มวย' เป็นกีฬาที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ทั้งมวยไทย และมวยสากล เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีมาแต่โบราณ ช่วงแรกที่มวยสากลเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อปี 2455 เราเรียกว่า 'มวยฝรั่ง' จากนั้นกีฬามวยสากลก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น มีนักมวยสากลชาวไทยชกชนะสร้างชื่อเสียงอยู่เนือง ๆ แล้วเมื่อพูดถึง 'มวยไทย' เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของประเทศเลยก็ว่าได้ทุกวันนี้มวยไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และการส่งเสริมให้มวยเป็นกีฬาที่สร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจคู่กับสังคมไทย ดังนั้น 'ศึกกำปั้นสะท้านโลก ฉลองแม่โจ้ 90 ปี ซึ่งมีการจัดการแข่งขันหลากหลายรูปแบบ ทั้งมวยป้องกันแชมป์ IBF การแข่งขันชิงแชมป์โลกมวยไทย และมวยอื่น ๆ อีกหลายรายการ จึงเป็นการส่งเสริมศิลปะการต่อสู้ ทั้งในรูปแบบมวยไทย และมวยสากล ร่วมส่งเสริมวงการกีฬามวยของไทยให้ก้าวไกลในระดับสากล”

“การจัดการแข่งขันชกมวย 'ศึกกำปั้นสะท้านโลก' ร่วมฉลอง 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในครั้งนี้  เป็นกิจกรรมหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี  : เกษตร อาหาร สุขภาพ เป็นการส่งเสริมศักยภาพ 5 F คือ 1) Food (อาหาร)  2) Film (ภาพยนตร์และวีดีทัศน์)  3 ) Fashion (การออกแบบแฟชั่นไทย) 4) Fighting (ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย) และ 5) Festival (เทศกาลประเพณีไทย)  อีกทั้งเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรม ของมหวิทยาลัยที่ได้สั่งสมมายาวนาน ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเราจะจัดงานใหญ่ปลายปี ระหว่างวันที่ 16 – 24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอเชิญชวนเครือข่ายทุกภาคส่วนมาร่วมสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้อย่างยิ่งใหญ่ โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย นำเข้ามูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อใช้ในการพัฒนาวงการศึกษา และสร้างคุณประโยชน์คืนสู่สังคมต่อไป”
 
สำหรับการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ มีรายการหลัก 6 คู่ มีการประกบคู่เอก รายการป้องกันแชมป์ IBF แพนแปซิฟิกรุ่นไลต์เวท ระหว่าง เผด็จศึก จีพีพีเรือใบไข่มุก (แชมป์ IBF แพนแปซิฟิก) พบกับ อัล ทูยูกอน (ผู้ท้าชิงชาวฟิลิปปินส์) นอกจากนั้นยังจัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกมวยไทย IBF รุ่นเฟเธอร์เวท, การแข่งขันมวยหญิง กำปั้นล่าฝันรุ่นแบนตั้มเวท กำหนด 4 ยก , การแข่งขันกำปั้นล่าฝัน มุ่งสู่บัลลังก์โลก รุ่นฟลายเวท กำหนด 6 ยก, กำปั้นล่าฝันรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท กำหนด 6 ยก และ กำปั้นล่าฝันรุ่นมิดเดิ้ลเวท กำหนด 6 ยก รวมถึงการชกมวยไทยดาวรุ่ง และมวยคาดเชือก อีกหลายคู่ ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสด ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง JKN18 และรับชมผ่าน เฟสบุ๊คเพจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่เวลา 21.00 – 23.00 น.

คู่ที่ 1 กำปั้นล่าฝัน มุ่งสู่บัลลังก์โลก รุ่นฟลายเวท กำหนด 6 ยก
ฟ้าคำราม จีพีพีเรือใบไข่มุก Vร ฉัตรชัย ก.ลำพูน 
 
คู่ที่ 2 ป้องกันแชมปิ IBF แพนแปซิฟิก รุ่นไลต์เวท กำหนด 12 ยก
เผด็จศึก จีพีพีเรือใบไข่มุก Vร อัล ทูยูกอน (ชาวฟิลิปปินส์) 
 
คู่ที่ 3 ชิงแชมป์โลกมวยไทย IBF รุ่นเฟเธอร์เวท กำหนด 5 ยก
ทองธวัช เพชรเหรียญทอง VS โจเดวิด ศิษย์ไทยแลนด์ (ชาวสหรัฐฯ) 

ม.แม่โจ้ จัดพิธีลงนาม อนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์เตรียมสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (MAP) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดให้มีพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้  กับ บริษัท อุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานและกล่าวต้อนรับ โดยมี รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รักษาการรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน ณ Co-Working Space สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “การลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย ภายใต้แนวคิดโดยการนำนวัตกรรมไปใช้ในเชิงธุรกิจ โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากผลงานวิจัยให้สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักวิจัยและผู้ประกอบการที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคธุรกิจอย่างมีศักยภาพ  ขอขอบคุณ บริษัท อุตสาหกรรม เทคโนโลยีซีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เห็นถึงคุณค่าของผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนักวิจัยที่ร่วมทุ่มเทสร้างงานวิจัยคุณภาพ จนได้เข้าร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตใช้สิทธิ ที่ภาคเอกชนนำไปต่อ

ยอดใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม และการแสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากบริษัทที่จะถูกผลิตและจำหน่ายออกสู่ตลาดต่อไปในอนาคต  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยินดีที่จะสนับสนุนการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและประชาชนในรูปแบบอื่นอีก หลากหลายช่องทางเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป”

ด้าน รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รักษาการแทนรองอธิการบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า “พิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer)ระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจ โดยความรู้และงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญ ที่จะขับเคลื่อนประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต อย่างมีเสถียรภาพ ยั่งยืน มีการกระจายรายได้ไปสู่สังคมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างและต่อยอดองค์ความรู้ให้มีความเท่าทันต่อโลกสมัยใหม่ ซึ่งการลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับบริษัท อุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 3 สัญญา เป็นการต่อยอดงานวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสู่ตลาดต่อไป  เวทีนี้จึงเป็นการสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงกันระหว่างภาครัฐภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

 ผลงานวิจัยที่จะเข้าร่วมลงนามอนุญาตใช้สิทธิในผลงานครั้งนี้มี จำนวน 3 สัญญา ได้แก่ เรื่อง กระบวนการผลิตถั่วเหลืองหมักด้วยหัวเชื้อ

ผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนุช  เนียมทรัพย์  สังกัด คณะวิทยาศาสตร์

ม.แม่โจ้ เจ้าภาพจัดลงนาม knowledge sharing สร้างความร่วมมือการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ระดับนานาชาติ ไทย - ฟิลิปปินส์

(20 มี.ค.66) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ได้ดำเนินการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเบงเก็ต ประเทศฟิลิปปินส์ (Benguet State University,Philippines) ในฐานะมหาวิทยาลัยประสานดำเนินการเครือข่าย Agi-Aqua Technology Business Incubator (AATBI) จำนวน 22 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศฟิลิปปินส์ 

ทั้งนี้ ได้มีแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างเครือข่าย AATBI กับเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ภายใต้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เครือข่ายแนวคิดการทำงานให้เกิดวิสัทัศน์ เปิดโลกทัศน์สู่ความเป็นสากล รวมไปถึงการเพิ่มพูนประสบการณ์การปฏิบัติของผู้บริหารและบุคลากร

ม.แม่โจ้ จัดงานนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นำเสนอ Pitching ผลิตภัณฑ์ และประกาศผลรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน ECON BIZ#2

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงานนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นำเสนอ Pitching ผลิตภัณฑ์ และประกาศผลรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน ECON BIZ#2ภายใต้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI)

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นำเสนอ Pitching ผลิตภัณฑ์ และประกาศผลรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน ECON BIZ#2 ภายใต้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI)โดยมีรองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า  กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่มหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตามนโยบายการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ MJU Enhancing SMEs and New Entrepreneurs with Smart and Modern Agricultural Technology Innovation (SMAT) มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีอัตลักษณ์ ความเชี่ยวชาญ องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเกษตร ความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล เครือข่ายความร่วมมือ และปัจจัยเกื้อหนุนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางและมีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สอดคล้องกับแนวคิดหลักของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) ซึ่งกิจกรรมในวันนี้อันประกอบด้วยนิทรรศการจากผู้เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การจัดประกวดรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน 

กิจกรรมการบรรยายพิเศษและการเสวนาในหัวข้อที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนอันจะผลักดันไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่จะเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการดำเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing University) ตามนโยบายการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนในการร่วมขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม(TechnologyDevelopment and Innovation) และร่วมขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
 
ด้านรองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการดำเนินโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI) ภายใต้โครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) โดยคณะเศรษฐศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ แนะแนวทางการส่งเสริมการตลาด และขณะนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนผลผลิตการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สอดคล้องกับแนวคิดหลักและแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ ตามนโยบายการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

‘บัวขาว’ เข้ารับปริญญาโท ม.แม่โจ้ สุดภูมิใจ!! นับเป็นใบที่ 5 ในชีวิต

(19 ก.พ.67) ‘บัวขาว บัญชาเมฆ’ ร.ท.สมบัติ บัญชาเมฆ นักมวยชื่อดังขวัญใจทั่วโลก วัย 41 ปี เข้ารับปริญญาใบที่ 5 ของตัวเอง หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณะ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โดยเฟซบุ๊กเพจ Banchamek Gym (Buakaw Banchamek, บัวขาว บัญชาเมฆ) ได้โพสต์ภาพที่ ‘บัวขาว บัญชาเมฆ’ ร.ท.สมบัติ บัญชาเมฆ พร้อมด้วย ‘โค้ชดวง’ นายประวิทย์ สวัสดิรักษา และ ‘ยิ้ม’ ธีรวัฒน์ ยิ้วยิ้ม ผู้จัดการส่วนตัว เข้าร่วมรับปริญญา ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในรหัส 62 แม่โจ้รุ่น 84 สิงห์ไพร รุ่น 15 ซึ่งมีข้อความระบุว่า

“ขอเเสดงความยินดีกับร้อยโท สมบัติ บัญชาเมฆ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณะ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (รหัส 62 แม่โจ้รุ่น 84) สิงห์ไพร รุ่น 15 18 กุมภาพันธ์ 2567”

ทั้งนี้ นับเป็นปริญญาใบที่ 5 ในชีวิตของ ‘บัวขาว บัญชาเมฆ’ ร.ท.สมบัติ บัญชาเมฆ ต่อจากใบที่ 1 ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (ปริญญาตรี) สาขาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เมื่อปี 2560, ใบที่ 2 ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาโท) สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา (วท.ม.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2556, ใบที่ 3 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอก) สาขาวิชายุทธศาสตร์ การพัฒนาภูมิภาค (กลุ่มการศึกษาและจัดการภูมิปัญญา) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เมื่อปี 2557

ตามด้วยใบที่ 4 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอก) การจัดการการกีฬา มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เมื่อปี 2565 และล่าสุดใบที่ 5 ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณะ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ปริญญาโท) ในปี 2567 นี้ โดยมีแฟนคลับของยอดนักชกชาวไทยรายนี้ร่วมแสดงความยินดีกันอย่างเป็นจำนวนมาก

เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MOU กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน การพัฒนาวิชาชีพด้านการเกษตร

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โดยวิทยาลัยนานาชาติ มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  รก.อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  และ นาย Dasho Thinley Namgyel  ปลัดกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นผู้แทนลงนาม  ณ  ห้องอินทนิล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

การลงนามในครั้งนี้ เป็นการสร้างความร่วมมือ ในการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านการเกษตร สัตวศาสตร์ การประมง รวมถึงพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี  ให้กับ บุคลากร ข้าราชการ กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน  ผ่านการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ด้วยองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการทุนการศึกษาด้านการเกษตรและการพัฒนาวิชาชีพ โดยรัฐบาลของราชอาณาจักรภูฏาน  


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top