Saturday, 19 April 2025
มวยสากล

ถอด ‘มวย’ จากโอลิมปิก เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิก อาจถอดมวย ออกจากโอลิมปิก 2024 | NEWS GEN TIMES EP.82

ถอด ‘มวย’ จากโอลิมปิก เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิก อาจถอดมวยสากล ออกจากโอลิมปิก 2024 ด้วยข้ออ้างว่า สมาคมมวย (IBA) เกี่ยวข้องกับรัสเซีย และไม่สนใจกีฬามวยจริงๆ

.

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

.

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

. . #THESTATESTIMES #NEWSGENTIMES #โอลิมปิก2024 #โอลิมปิก #มวยสากล

‘อิมาน เคลิฟ’ นักชกชาวแอลจีเรีย เอาชนะ ‘หยาง หลิว’ จากจีน คว้าเหรียญทอง มวยหญิงโอลิมปิก 2024 รุ่น 66 กก.

เมื่อวานนี้ (9 ส.ค.67) การแข่งขันมวยสากล รุ่น 66 กก. หญิง กีฬาโอลิมปิก 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รอบชิงชนะเลิศ อิมาน เคลิฟ นักชกจากแอลจีเรีย เจอกับ หยาง หลิว จากจีน

ปรากฏว่า อิมาน เคลิฟ ชกได้เหนือกว่าเป็นฝ่ายชนะ หยาง หลิว ไป 5-0 คว้าเหรียญทอง โอลิมปิก 2024 ไปครอง ขณะที่เหรียญทองแดงเป็นของ จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง จากไทย และเฉิน เนี่ยนฉิน จากไต้หวัน

สำหรับ อิมาน เคลิฟ ซึ่งมีประเด็นกรณีตรวจเพศ ที่กลายเป็นประเด็นร้อนที่พูดถึงอย่างกว้างขวางใน ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ หลัง แองเจลา คารินี นักชกหญิงชาวอิตาลี ขอถอนตัวจากการแข่งขันหลังขึ้นชกกับ อิมาน เคลิฟ ในเวลาเพียง 46 วินาที 

นอกจากนี้ อิมาน เคลิฟ ยังเป็น 1 ใน 2 นักมวย ที่เป็นตกเป็นประเด็นร่วมกับ หลิน ยู่ติง นักชกจากไต้หวัน เรื่องการตรวจเพศ

‘ไต้หวัน’ แต่งตั้ง 'หลิน ยู่ถิง' เป็น 'ทูตด้านการต่อต้านการบูลลี่แห่งชาติ' หลังผ่านความขมขื่นเรื่องเพศ สู่เจ้าของเหรียญทองมวยสากลหญิง

ไต้หวันต้อนรับยิ่งใหญ่ นักกีฬาทีมชาติที่กลับจากการแข่งขันปารีส โอลิมปิก 2024 ซึ่งหนึ่งในนักกีฬาที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนไต้หวันมากที่สุด คือ หลิน ยู่ถิง นักกีฬามวยสากลหญิง ในรุ่น 57 กิโลกรัม ที่สามารถคว้าเหรียญทองมวยสากลให้กับไต้หวันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จนชาวไต้หวัน ต่างขั้นยกฉายาให้เธอว่าเป็น 'ลูกสาวของชาวไต้หวัน'

แต่กว่าที่ หลิน ยู่ถิง ก้าวมาถึงจุดนี้ เธอต้องผ่านความขมขื่นจากการถูกบูลลี่ ด้วยข้อความหยามเหยียด เกลียดชัง บนโลกออนไลน์มากมาย 

เช่นเดียวกับ อิมาน เคลิฟ นักชกหญิงจากแอลจีเรีย ในประเด็นความคลุมเครือเรื่องเพศสภาพ ที่ทำให้ทั้งคู่ไม่ผ่านการรับรองจากสมาคมมวยสากล (IBA) ให้เข้าแข่งขันในประเภทมวยสากลหญิง แต่ทว่า ทั้ง หลิน ยู่ถิง และ อิมาน เคลิฟ กลับผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ให้สามารถแข่งขันในงานโอลิมปิกได้

เรื่องนี้จึงกลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างร้อนแรง ถึงสิทธิ และความเท่าเทียมในการแข่งขันกีฬา ในกรณีความผิดปกติที่เกิดจากโครโมโซมเพศ ส่งผลให้เพศสภาพไม่ชัดเจน อันเป็นผลให้พวกเธอ ถูกโจมตีโดยชาวเน็ตจากทั่วโลก ที่มองว่าพวกเธอไม่ใช่ผู้หญิงแท้ และไม่เห็นด้วยที่ทั้งคู่จะได้ขึ้นชกกับนักมวยที่มีเพศสภาพเป็นหญิงชัดเจน 

แต่ในขณะเดียวกัน นักมวยทั้งคู่ก็ได้รับแรงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากเพื่อนร่วมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวไต้หวันที่พร้อมออกมาปกป้อง หลิน ยู่ถิง ในฐานะ 'ลูกสาวของชาวไต้หวัน' อีกทั้ง ไล่ ชิงเต๋อ ผู้นำไต้หวัน สั่งให้ทีมกฎหมายเตรียมดำเนินคดีเอาผิดกับชาวเน็ตที่ออกมาบูลลี่ลูกสาวแห่งชาติของชาวไต้หวัน 

และล่าสุด หลิน ยู่ถิง ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานด้านกีฬาให้เป็น 'ทูตด้านการต่อต้านการบูลลี่แห่งชาติ' และยังได้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาพลศึกษาของมหาวิทยาลัยวัฒนธรรมจีน โดยเธอจะได้สอนวิชาการชกมวยสากล และ ทักษะทางกีฬา ตั้งแต่ภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้เป็นต้นไป 

ประเด็นเรื่องความคลุมเครือทางเพศสภาพของ หลิน ยู่ถิง ทำให้เธอถูกเพิกถอนเหรียญรางวัลในการแข่งขันชิงแชมป์มวยโลก ที่จัดโดย IBA ที่ยังแสดงความเห็นขัดแย้งกับ IOC เรื่องสิทธิในการเข้าแข่งขันของเธอ อันเป็นเหตุให้หน่วยงานด้านกีฬาของไต้หวันกำลังพิจารณาฟ้องร้องเอาผิดทางกฎหมายกับ IBA  

ด้าน นายกรัฐมนตรี โช จุงไต เรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการมอบเหรียญเกียรติยศ พร้อมเงินอัดฉีดอีก 9 แสนเหรียญไต้หวันย้อนหลังให้ แม้ หลิน ยู่ถิงจะถูกริบเหรียญจากการแข่งขันชิงแชมป์โลกก็ตาม 

แต่ทั้งนี้ หลิน ยู่ถิง ไม่ต้องการดำเนินคดีกับฝ่ายใดทั้งสิ้น และบอกว่าการได้รับเหรียญทองโอลิมปิกเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตนของเธอแล้ว และเธอยินดีรับตำแหน่งทูตต่อต้านการบูลลี่ และ ทำหน้าที่สอนกีฬาเพื่อส่งเสริมนักกีฬารุ่นใหม่ของไต้หวันต่อไป

เรื่อง: ยีนส์ อรุณรัตน์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top