Saturday, 18 May 2024
ภาษีที่ดิน

“รัชดา” ย้ำ เก็บภาษีที่ดินปี 65-66 อัตราคงเดิม แจง ข้อมูลโซเชียลแชร์ปรับลด 90% คลาดเคลื่อน 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลคลาดเคลื่อนในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการจัดเก็บภาษี ว่า รัฐบาลประกาศคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2565-2566 ในอัตราเดียวกับปี 2563-2564 ไม่มีการปรับลดการจัดเก็บลง 90% เหมือนที่ผ่านมา ในปีนี้ผู้เสียภาษียังได้รับการบรรเทาภาระภาษีในหลายกรณี อาทิ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรม จะได้รับยกเว้นภาษี

ทั้งนี้การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565 เมื่อคำนวณได้เท่าไร จะต้องจ่ายเต็มจำนวน เนื่องจากกระทรวงการคลังมองว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายได้หลักที่นำเข้าสู่ท้องถิ่น และจากที่มีการลดภาษีที่ดินฯ ลง 90% ในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ ทำให้รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง ปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ขาดรายได้ไปพัฒนาพื้นที่ 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ต้องประกาศอัตราภาษีที่จะใช้จัดเก็บในปี 2565 เนื่องจากอัตราภาษีเดิม ที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะปี 2563 - 2564 แต่ความเดือดร้อนของประชาชน รัฐบาลจึงคงอัตราภาษีที่ดินฯ แบบเดิมเช่นเดียวกับปีภาษี 2563-2564 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กับผู้เสียภาษี และเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้มีระยะเวลาในการปรับตัวสำหรับการชำระภาษีในอัตราที่แท้จริง   

รัฐบาลชี้ภาษีที่ดินปีนี้เก็บอัตราเดิม พร้อมมีเงื่อนไขการยกเว้น

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังคงมีการแชร์ข้อมูลคลาดเคลื่อนในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการจัดเก็บภาษี จึงขอแจ้งให้ทราบอีกครั้งว่า รัฐบาลได้ประกาศคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีภาษี 2565-2566 ในอัตราเช่นเดียวกับปี 2563-2564 แต่ไม่มีการปรับลดการจัดเก็บลง 90% เหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ ผู้เสียภาษียังคงได้รับการบรรเทาภาระภาษีในหลายกรณี อาทิ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรมจะได้รับยกเว้นภาษี 

สำหรับการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565 เมื่อคำนวณได้เท่าไร จะต้องจ่ายเต็มจำนวน เนื่องจากกระทรวงการคลังมองว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายได้หลักที่นำเข้าสู่ท้องถิ่น ซึ่งจากที่มีการลดภาษีที่ดินฯ ลง 90% ในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ ทำให้รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ขาดรายได้ไปพัฒนาพื้นที่ 

ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ต้องประกาศอัตราภาษีที่จะใช้จัดเก็บในปี 2565 เนื่องจากอัตราภาษีเดิมที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะปี 2563 - 2564 แต่ด้วยความเข้าใจถึงความเดือดร้อนของประชาชน รัฐบาลจึงคงอัตราภาษีที่ดินฯ แบบเดิมเช่นเดียวกับปีภาษี 2563-2564 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กับผู้เสียภาษี และเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้มีระยะเวลาในการปรับตัวสำหรับการชำระภาษีในอัตราที่แท้จริง   

รองโฆษกพรรคกล้า จี้รัฐทบทวนเก็บภาษีที่ดินเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ชี้เร็วไปผู้ประกอบการท่องเที่ยวตั้งรับไม่ทัน เจอทั้งวิกฤตโควิดและสงคราม ด้าน “กรณ์” เห็นด้วยค่อย ๆ ปรับ เพราะสถานการณ์ยังไม่ปกติ และควรเร่งชดเชยรายได้ท้องถิ่นที่หายไป 

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 นายเทมส์ ไกรทัศน์ รองโฆษกและผู้เสนอตัวสมัคร ส.ส.ภูเก็ต พรรคกล้า กล่าวภายหลังจากลงพื้นที่ในภูเก็ตและได้รับร้องเรียนจากภาคธุรกิจโรงแรม และภาคบริการขนาดเล็กและขนาดกลาง ถึงกรณี รัฐบาลประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  100% แบบไม่มีผ่อนผัน ว่า ภาษีที่ดินฯ ตราขึ้นเพราะกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนฯ และภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งใช้มานานแล้วและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กล่าวคือการจัดเก็บภาษีตั้งอยู่บนความเป็นธรรม มีทรัพย์สินมาก ก็เสียมาก หากปล่อยรกร้างไม่ทำประโยชน์ ยิ่งทำให้เสียมูลค่าเสียการเติบโตเศรษฐกิจในภาพรวม จึงต้องเสียแพงขึ้น ซึ่งมีความเป็นธรรมเป็นเหตุเป็นผล แต่หลักการดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า โลกเศรษฐกิจที่มีการลงทุนเป็นปกติ คนใช้ชีวิตปกติ แต่นี่เกิดโรคระบาดต่อเนื่องยาวนาน สิ่งต่าง ๆ บนโลกเหมือนชะงักมากว่า 2 ปี แถมยังมีมาตรการผ่อนคลายที่รัฐออกมาช้า สะท้อนว่ายังหวั่นเกรงการระบาดอยู่ แต่ภาษีที่ดินฯ กลับขอให้จ่ายปกติไว ๆ 
.
รองโฆษกพรรคกล้า กล่าวด้วยว่า ผู้ประกอบการยังไม่สามารถเดินหน้าทำธุรกิจได้ปกติ ทั้งบุคคลหรือผู้ประกอบการที่ถือครองที่ดิน (และอาคาร) ก็ลำบากกันถ้วนหน้า รายได้ไม่เข้า หรือแม้จะพอมีเข้ามาบ้าง ก็เอาไปใช้หนี้เก่าที่กู้มาตอนเจอวิกฤตโควิด ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา บางส่วนที่สามารถกลับมาเริ่มเปิดกิจการได้แล้ว ก็มาเจอปัญหาใหม่จากสงครามรัสเซียกับยูเครน เพราะช่วงล่าสุดที่ผ่านมาคนรัสเซียเข้าภูเก็ตเป็นอันดับ 1 และมาซ้ำเติมด้วยปัญหาเงินเฟ้อที่ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น จ.ภูเก็ตซึ่งมีปัญหาของแพงอยู่แล้ว ก็ยิ่งแพงขึ้นไปอีก ตอนนี้หลายฝ่ายทั้ง ภาคเอกชน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมถึงสมาคมโรงแรมไทย ก็ออกมาส่งเสียงเรื่องนี้ รัฐบาลได้ยิน แต่ยังคงยืนยันว่าจะไม่ผ่อนผันให้แล้ว ซึ่งมองว่ารัฐบาลถอนความช่วยเหลือเร็วไป ปีก่อนเก็บแค่ 10% ปีนี้มา 100% เลยแทนที่จะค่อย ๆ ขึ้นแบบขั้นบันได ก็จะช่วยให้คนทำธุรกิจลืมตาอ้าปากได้บ้าง มีกำลังที่จะจ้างงานต่อ เป็นผลดีต่อห่วงโซ่ธุรกิจภาพรวม 
.
“แทบจะทุกคนเข้าใจว่ารัฐต้องนำภาษีไปใช้จ่าย พัฒนา แก้ปัญหาต่างๆ ถ้าท่านมองว่าตอนนี้ต้องช่วยกัน เห็นใจรัฐบาลบ้าง ท่านก็ควรตัด/ลดงบจำพวกอบรมศึกษาดูงาน สร้างอาคารราชการใหม่ จัดซื้อของอะไรที่ไม่ช่วยกระเตื้องเศรษฐกิจปากท้อง ออกไปก่อน สัก 2-3 ปี ได้ไหมครับ ภาษีที่ดินฯ จะมองว่ามันเหมือนเป็นภาษีคนรวย ภาษีของนักธุรกิจ ก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ความจริงแล้ว มันผูกกันไปทั้งวัฏจักรเศรษฐกิจ หากผู้ประกอบการเขาแย่ ทำต่อไม่ไหว เพราะมีต้นทุนทางภาษีก้อนใหญ่มาซ้ำเติมปัญหาเดิมเข้าไปอีก การเลิกจ้าง หยุด-ปิดกิจการ  ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือขึ้นราคาสินค้าและบริการ พนักงานสวัสดิการลด เงินเดือนไม่ขึ้น เป็นต้น แล้วแรงกระเพื่อมก็ถึงเราอยู่ดี มากน้อยต่างกันไป เอกชนเขาอุตส่าห์รอดมาได้ ช่วยยื่นมือพาเขาไปต่อด้วยครับ” นายเทมส์ กล่าว

‘อรรถวิชช์’ ทีมเศรษฐกิจพรรคกล้า ขอ ครม. ฟังผู้ประกอบการ ลดจัดเก็บภาษีที่ดิน 90% ต่ออีก 1 ปี หวังช่วยผู้ประกอบการฟื้นตัวจากพิษโควิด

16 เมษายน 2565 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า ในฐานะทีมเศรษฐกิจ พรรคกล้า กล่าวถึงกรณีรัฐจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีนี้เต็ม 100% ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน โดยเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90% จ่ายจริง 10% เช่นเดียวกับ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะผู้ประกอบการประสานเสียงพร้อมกันแล้วว่า “ยังไม่พร้อมจ่าย” โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวและบริการ ธุรกิจโรงแรมกว่า 70,000 แห่งทั่วประเทศ ต้องรับภาระเต็มๆ ทั้งที่รายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวหายไปกว่า 80% และยังต้องแบกรับภาระขาดทุนสะสมตลอดการระบาด 2 ปีที่ผ่านมา

เลขาธิการพรรคกล้า กล่าวเสริมว่า โดยเฉพาะหน่วยงาน กทม. ยิ่งไม่พร้อม เพราะเป็นท้องถิ่นที่มีส่วนราชการย่อยอีก 50 เขตปกครอง ต่างจาก อบต. , เทศบาล หรือเมืองพัทยา ที่มีส่วนราชการเพียง 1 เขตปกครองเท่านั้น ระบบไอทีที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้นำมาใช้นั้น จะใช้ไม่ได้สมบูรณ์ในกรณี กทม.  และ กทม.เองก็เพิ่งประมูลระบบไอที เพื่อการจัดเก็บภาษีที่ดินโดยเฉพาะไปไม่ถึง 2 เดือนเอง กว่าจะใช้ได้จริงก็สิงหาคม ระบบอัตรากำลังคนก็ยังไม่ได้ปรับปรุง ฝ่ายรายได้ของสำนักงานเขตมีคนไม่ถึง 15 คน แต่มีงานประเมินใหม่กว่า 20,000 รายใน 1 เขต  คงยากถ้าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นตามเป้าภายในเดือนมิถุนายน   


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top